วิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์มีอะไรบ้าง

1. Positive Thinking
เริ่มต้นด้วยการคิดบวก มองโลกในด้านบวก เพื่อให้ตนเองทำงานอย่างมีความสุข มองคนอื่นๆ มองเพื่อนร่วมงานในด้านที่ดีๆของเค้า ไม่จับกลุ่มวงสนทนา วิพากวิจารณ์ผู้อื่น เราต้องเข้าใจอยู่เสมอว่า ไม่มีใครดีพร้อม สมบูรณ์แบบไปทุกด้าน แต่ละคนมีด้านดีและไม่ดีแตกต่างกันออกไป แค่ Positive Thinking ในการทำงานทุกๆวัน ก็จะทำให้เราเป็นสุขแล้ว.
2. ให้เกียรติผู้อื่นอยู่เสมอ
การยอมรับและให้เกียรติผู้อื่นทำให้ลดความขัดแย้งในการทำงานลงได้ในทุกๆสถานการณ์ ต้องเข้าใจและยอมรับในความคิดและการตัดสินใจของเพื่อนร่วมงาน โดยอาศัยหลักของเหตุผล และผลประโยชน์ส่วนรวมก่อนเสมอ 
3. สื่อสารให้เป็น
ในการทำงานขาดไม่ได้ในเรื่องของการสื่อสาร หากเราเป็นผู้ที่สื่อสารเป็นแล้วนั้น จะทำให้การทำงานราบรื่นและลดข้อผิดพลาด รวมไปถึงลดความขัดแย้งด้วย โดยการสื่อสารจะต้องตรงจุด ตรงประเด็น  ชัดเจน ไม่นำอารมณ์ส่วนตัวมาใช้ในการสื่อสาร ขณะที่เป็นผู้ฟังก็ต้องให้ความใส่ใจตอนที่เพื่อนร่วมงานพูด เพื่อที่จะสามารถเข้าใจถึงสาระสำคัญของเนื้อหา สิ่งนี้ช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิด และเมื่อผู้พูด พูดจบแล้ว คุณก็จะสามารถสรุปสิ่งที่ได้ยิน และสื่อความหมายระหว่างกันได้อย่างตรงประเด็นเช่นกัน
4. ตัดสินใจอย่างเหมาะสมหากเกิดความขัดแย้ง
อย่าปล่อยให้สถานการณ์ที่ย่ำแย่เกิดการลุกลาม จนเป็นเรื่องใหญ่โต รีบแก้ปัญหา ด้วยการปรับเปลี่ยนแผนในการทำงาน เพื่อหาถึงสาเหตุ ของปัญหาที่เกิดขึ้น หากยังไม่สามารถแก้ปัญหากับเพื่อนร่วมงานได้ จึงนำไปปรึกษากับระดับผู้บริหารต่อไป โดยต้องไม่ใส่สี ตีความให้เกินความเป็นจริง การทำงานเราจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทก่อน รายงานผู้บริหารตามความเป็นจริง
5. ระมัดระวังความสัมพันธ์ ในองค์กร
คุณต้องแน่ใจว่า ไม่ได้ปล่อยให้ความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อน เข้ามารบกวนในเนื้อหาของการทำงาน คุณต้องให้ความสนใจไปที่ การจัดลำดับความสำคัญของงานมากกว่า มุ่งเน้นให้งานมาก่อนเสมอ  และต้องพยายามลดข้อโต้แย้ง ในประเด็นเรื่องส่วนตัว ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานออกไป
6. อ่อนน้อม ถ่อมตน และเปิดใจ
ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงาน ด้วยความสุภาพนอบน้อม กับหัวหน้างานและผู้หลักผู้ใหญ่ในองค์กร รู้จักถ่อมตนและหากได้รับการชื่นชม ต้องรู้จักให้เครดิตเพื่อนๆ พี่ๆ ร่วมงานในทีมเสมอ   การทำงานต้องเปิดใจให้กว้าง ให้การเคารพต่อความรู้สึกของเพื่อนร่วมงาน เหมือนอย่างเช่นที่คุณต้องการให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นทำสิ่งเดียวกันนี้กับ คุณเช่นเดียวกัน
7. ยอมรับถึงวัฒนธรรม และลักษณะของบุคคลที่แตกต่างกัน 
เพื่อนร่วมงานแต่ละคน ไม่ได้ใช้มาตราฐานแบบเดียวกัน ไม่ได้มีนิสัย ลักษณะอารมณ์ที่เหมือนๆกัน ล้วนแล้วแต่มาจากหลากหลายที่ ในการทำงาน ต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราให้มาก ยอมรับในความแตกต่างและต้องรู้จักใช้เหตุผลตัดสิน

เครดิต //www.siamhrm.com/

เทคนิควิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการสร้างมิตร

              เทคนิควิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ สามารถทำได้ง่ายๆ มีดังนี้

             ๑. ยิ้มแย้ม หมายถึง เราจงยิ้มแย้มเข้าไว้ ยิ้มอย่างจริงใจ ยิ้มทุกที่ ยิ้มให้กับทุกคน

             ๒. แจ่มใส หมายถึง การที่เรามีอารมณ์ที่แจ่มใส สดใส ใครอยู่ใกล้ก็รู้สึกอบอุ่นมีความสุข

             ๓. ตั้งใจสนทนา หมายถึง เราจงตั้งใจสนทนา เป็นผู้ฟังมากๆ ยิ่งฟังมากก็จะรู้มาก

            ๔. เจรจาไพเราะ หมายถึง เราจงเจรจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะเสนาะโสต คำพูดที่รื่นหูจะมีแต่คนนิยมชมชอบ ไม่มีใครชอบคนพูดตะคอก พูดเสียดสี

            ๕. สงเคราะห์เกื้อกูล หมายถึง   เราจงให้การสงเคราะห์เกื้อกูลแก่ผู้ที่เราเกี่ยวข้อง เช่นให้ความช่วยเหลือจัดหาสิ่งของมาฝากบ้างตามสมควร

          ศิลปะการเข้าถึงบุคคลเพื่อสร้างความคิดร่วม 

เนื่องจากมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมที่อยู่คนเดียวในโลกไม่ได้ มนุษย์จึงต้องสัมพันธ์ กันทั้งด้านชีวิตส่วนตัว ทำงานสร้างสรรค์ร่วมกัน การสร้างมนุษยสัมพันธ์เพื่อความคิดร่วมกันในการดำเนินภารกิจในชีวิตประจำวัน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นโดยใช้ศิลปะในการเข้าถึงบุคคลดังนี้

            ๑. เคารพในความเป็นมนุษย์ของทุกคน โดยไม่มีชั้นวรรณะ ปฏิบัติต่อกันในลักษณะของคนกับคน บุคคลอื่นคือมนุษย์ร่วมโลกและสังคมเดียวกันกับเรา มีเกียรติ มีค่า และมีสิทธิเท่าเทียมกับเรา เราจึงควรให้เกียรติ เกรงใจและไม่ล้ำสิทธิของผู้อื่น

            ๒.การมองโลกในแง่ดีและมองแต่ส่วนดีของผู้อื่นจะทำให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อสิ่งต่างๆและบุคคลที่อยู่แวดล้อมตัวเรา ไว้วางใจและเชื่อมั่นในบุคคลอื่น ซึ่งจะง่ายแก่การขอความร่วมมือ 

            ๓. ถามความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น แม้ว่าความคิดเห็นนั้นอาจจะขัดหรือตรงกันข้ามกับความคิดเห็นของเรา โดยเปิดโอกาสให้มีการอภิปราย ซักถามและเสนอแนะ ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจว่ามีบทบาทสำคัญ มีส่วนร่วมในผลสำเร็จขององค์การด้วย

            ๔. ชี้แจงนโยบาย แผนงานและปัญหาต่าง ๆ ให้เป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจนและทันต่อเหตุการณ์ หากสิ่งใดไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ให้อธิบายให้ฟังด้วยเหตุผลจนเข้าใจ ตลอดจนสนับสนุนให้บุคคลอื่นมีบทบาทร่วมในการกำหนดนโยบายวางแผนและตัดสินในเกี่ยวกับการแก้ปัญหา เป้าหมายและการดำเนินการขององค์การ

            ๕. การรักษาและสนใจเรื่องเกี่ยวกับ ผลประโยชน์ของผู้ร่วมงาน    และส่วนรวมมากกว่าผล

ประโยชน์ของตนเอง เช่น การขอปรับวุฒิ เลื่อนขั้น เงินพิเศษ เป็นต้น

            ๖. ใจกว้าง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เอาใจใส่ต่อความทุกข์ส่วนตัวและในด้านการทำงานของบุคคลอื่น ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วย เมื่อมีทุกข์ก็ช่วยเหลือให้กำลังใจและคำปรึกษาแนะนำแนวทางและวิธีแก้ไข ปัญหาที่กำลังประสบเท่าที่จะทำได้อย่างเห็นใจ จริงใจและเสมอต้นเสมอปลาย

            ๗. ให้ความยุติธรรมและปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเสมอภาคในทุกๆ ด้านไม่ลำเอียงหรือแสดงว่ารักใคร เกลียดใครเป็นพิเศษตำหนิหรือลงโทษผู้กระทำผิด และสนับสนุนยกย่อง ชมเชย และให้เกียรติผู้ที่ทำความดี ตลอดจนแสดงความยินดีเมื่อผู้อื่นประสบความสำเร็จไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใครก็ตาม

            ๘. เอาใจใส่และสนองความต้องการของบุคคลอื่น ทั้งในด้านวัตถุและจิตใจเท่าที่จะทำได้ โดยพยามยามผสมผสานความต้องการของสมาชิกแต่ละคนให้สอดคล้องกับความต้องการและเป้าหมายขององค์การ เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในองค์การ ความจงรักภักดีต่อองค์การ และความสามัคคีก็จะเกิดขึ้น

            ๙. แสดงจุดร่วม สงวนจุดต่าง พยายามพูดกันในสิ่งที่สามารถตกลงกันได้ ส่วนสิ่งที่ขัดแย้งกันไม่ควรจะกล่าวถึงหากมีการแก้ไขปรับปรุงก็ควรแก้ไขปรับปรุงที่ตัวเราเองก่อนที่จะขอให้ผู้อื่นแก้ไขเปลี่ยนแปลง

            ๑๐. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลอื่น และเข้ากับบุคคลอื่นได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้รับความสนับสนุนร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ของชีวิต ตลอดจนการสร้างบรรยากาศในการอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่น ให้เป็นไปในทางที่เกิดความสัมพันธ์ที่ดีตลอดเวลา รู้จักทักทาย ยิ้มแย้มแจ่มใส สนุกสนานร่างเริง สดชื่น กระฉับกระเฉง พูดกับบุคคลอื่นด้วยถ้อยคำที่เป็นมิตร นุ่มนวล สุภาพ อ่อนโยน และถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน เช่น "พวกเรา" และให้เกียรติกัน ควรงดเว้นการเป็นนักวิชาการบ้างในบางขณะ หาเรื่องสนุกสนานมาพูดคุย หลีกเลี่ยงการโต้เถียง และอาจเห็นคล้อยตามในเรื่องที่ไม่สลักสำคัญ อย่านินทาว่าร้ายวิพากษ์วิจารณ์บุคคลอื่นโดยไม่จำเป็น ในกรณีที่ต้องออกคำสั่งให้ผู้อื่นปฏิบัติตามก็ควรจะเป็นคำสั่งที่อ่อนโยนละมุนละม่อม   และถามความรู้สึกก่อนที่จะออกคำสั่งก็จะได้รับการปฏิบัติตามอย่างเต็มใจ

ที่มา  :  socialscience.igetweb.com/index

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก