บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอะไรบ้าง


ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
     การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหูกวางนั้น เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหาร่วมสร้างร่วมจัดทำส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน   ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหูกวาง   ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน  การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหูกวางจะสมบูรณ์ได้   จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่ให้เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหากันอย่างจริงจัง    องค์การบริหารส่วนตำบลหูกวาง    ยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกกลุ่มทุกวัยของประชากร    นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริม    และสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน    และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคคลากรที่มีคุณภาพโดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษาส่วนด้านพัฒนาอาชีพ นั้น  จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น และยังจัดให้ตั้งเศรษฐกิจแบบพอเพียงโดยส่วนรวม
        การวิเคราะห์ภารกิจ   อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล  ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537   แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)  พ.ศ. 2546    และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.  2542 และรวบรวมกฎหมายอื่นของ  อบต.  ใช้เทคนิค  SWOT  เข้ามาช่วย  ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบล    มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร  โดยวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน   โอกาส   ภัยคุกคาม   ในการดำเนินการตามภารกิจตามหลัก   SWOT   องค์การบริหารส่วนตำบลหูกวาง     กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา  โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้ เป็น  7  ด้าน    ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537  แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)  พ.ศ. 2546  และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542  ดังนี้

5.1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
     (1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก (มาตรา 67 (1))
     (2) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร (มาตรา 68(1))
     (3) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (มาตรา 68(2))
     (4) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ (มาตรา 68(3))
     (5)  การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ (มาตรา 16(4))
     (6)  การสาธารณูปการ (มาตรา 16(5))
5.2 ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
     (1) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (มาตรา 67(6))
     (2) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (มาตรา 67(3))
     (3) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬาการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ(มาตรา 68(4))
     (4)  การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (มาตรา  16(10))
     (5) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา 16(12))
     (6) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (มาตรา 16(15))
     (7) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล (มาตรา 16(19))
5.3 ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
     (1) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา 67(4))
     (2) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (มาตรา 68(8))
     (3) การผังเมือง (มาตรา 68(13))
     (4) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ (มาตรา 16(3))
     (5) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (มาตรา 16(17))
     (6) การควบคุมอาคาร (มาตรา 16(28))
5.4 ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชย์และการท่องเที่ยว  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
     (1) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว (มาตรา 68(6))
     (2) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์ (มาตรา 68(5))
     (3) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร (มาตรา 68(7))
     (4) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม (มาตรา 68(10))
     (5) การท่องเที่ยว (มาตรา 68(12))
     (6) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ (มาตรา 68(11))
     (7) การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ (มาตรา 16(6))
     (8) การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 16(7))
5.5 ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้
     (1) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา 67(7))
     (2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล (มาตรา 67(2))

5.6 ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้
     (1) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา 67(8))
     (2) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (มาตรา 67(5))
     (3) การจัดการศึกษา (มาตรา 16(9))
5.7 ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
     (1) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้   ตามความจำเป็นและสมควร (มาตรา 67(9))
     (2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา 16(16))

             ภารกิจทั้ง 7 ด้านตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนตำบล สามารถจะแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลหูกวาง ได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ประกอบด้วยการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบล จะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล   นโยบายของรัฐบาล   และนโยบายของ ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นสำคัญ
ภารกิจหลักและภารกิจรองที่ องค์การบริหารส่วนตำบลจะดำเนินการ
         ภารกิจหลัก
1.ด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
2.ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
3.ด้านการจัดระเบียบชุมชน  สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
4.ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.ด้านการพัฒนาการเมืองและการบริหาร
6.ด้านการส่งเสริมการศึกษา
7.ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
         ภารกิจรอง
1. การฟื้นฟูวัฒนธรรมและส่งเสริมประเพณี
2. การสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพกลุ่มอาชีพ
3. การส่งเสริมการเกษตรและการประกอบอาชีพทางการเกษตร
4. ด้านการวางแผน   การส่งเสริมการลงทุน

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทหน้าที่ต่างจากรัฐบาลอย่างไร

รัฐบาล มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการบริหาร พัฒนาและแก้ไขปัญหาให้แก่ประเทศชาติ ส่วนองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทหน้าที่เฉพาะในท้องถิ่น ของตน

หน้าที่และอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีกี่ข้อ

ประการแรก บัญญัติเรื่องอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้โดยตรงว่ามีเรื่องใดบ้าง รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่รวม 7 เรื่อง เช่น การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

การปกครองส่วนท้องถิ่นฝ่ายสภาทำหน้าที่ใด

(1) ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย (2) จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (3) สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (4) ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น

บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อมจำแนกได้กี่ลักษณะ

บทบาท” หมายถึง ลักษณะของการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นบทบาทจึงมีความสัมพันธ์กับอำนาจและหน้าที่ บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม จำแนกออกได้เป็น 4 ลักษณะ กล่าวคือ การดำเนินการ การส่งเสริม การประสาน และการสนับสนุน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก