ข้อ บกพร่อง ในการกรอกใบสมัคร ข้อ ใด ส่งผลเสีย มากที่สุด

ใบสมัครงานที่ผู้สมัครต้องกรอกตอนที่ไปสมัครงานตามบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ นั้น จะมีลักษณะ ต่างๆกันในแต่ละแห่ง แต่โดยส่วนรวมแล้วมักจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันแทบทุกแห่ง โดยมีรายละเอียดการกรอกดังนี้

๑. หลักการเบื้องต้น (How to complete an application form)
๑.๑ ทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ของใบสมัคร (Read clear what the procedures are) เช่น ให้เขียนหรือพิมพ หรือข้อความตอนใดที่ต้องเขียนด้วยอักษรตัวพิมพ์
๑.๒ ตอบคำถามในใบสมัครให้ครบถ้วน (Complete all questions) ข้อความใดที่ไม่ต้องการก็ให้ทำเครื่องหมายหรือใส่ข้อความลงไป
๑.๓ กรอกใบสมัครให้ดูน่าสนใจที่สุด (Make it clean, clear,accurate interesting, and wellpresented) หมายถึงเขียนให้สะอาดเรียบร้อยและเลือกเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุด
๑.๔ เตรียมคำถามที่อาจถูกถามจากการกรอก (Prepare to be questioned about what you filled in) เป็นการเตรียมคำอธิบายว่าสิ่งที่เรากรอกลงไปนั้น ถ้าต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมจะอธิบายเพิ่มเติมได้อย่างไร
๑.๕ กรอกใบสมัครให้เสร็จโดยเร็วและรีบส่งทันที (Complete and submit an application assoon as possible)

๒.การกรอกประวัติส่วนตัว (Personal Details)
๒.๑ การเขียนชื่อ เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งชื่อ (Name) และนามสกุล (Last Name / Surname) โดยใส่คำนำหน้าชื่อด้วย เช่น Mr. , Mrs. , Miss. , Ms. , บางแห่งจะให้เขียนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
ตัวอย่าง
Name : Mr. SOMBAT RAKDI (English)
NAME : นายสมบัติ รักดี (THAI)

๒.๒ การเขียนที่อยู่ (Address) ควรเขียนให้ละเอียด การเขียนชื่อทางภูมิศาสตร์(Geographical name) นั้นสามารถเขียนทับศัพท์ได้เลย เช่น
ตัวอย่าง
Soi (ซอย)๑๓ - Thanon (ถนน-แต่คำว่าถนนสามารถใช้คำว่า Road แทนได้เพราะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป) Amphoe / khet (อำเภอ / เขต) Changwat (จังหวัด จะเขียนนำหน้าชื่อหรือ ไม่ก็ได้ เพราะชื่อจงัหวัดต่าง ๆ เป็นที่รู้จักกันดีแล้ว) และอย่าลืมใส่รหัสไปรษณีย์ตัวอย่าง Present Address ๖๒๒/๑๕๑ Soi Suan Luang, Charansanitwong Rd., Khet Bangkoknoi, Bangkok ๑๐๗๐๐

- การเขียนที่อยู่ในบางครั้งจะมีช่องสำหรับกรอก ๒ ช่องคือ
Home Address / Present Residence(ที่อยู่บ้าน) หรืออาจใช้ Permanent Address ที่อยู่ถาวร คือที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน Mailing Address หมายถึงที่อยู่ที่ต้องการให้ติดต่อทางไปรษณีย์

**กรณีที่สถานที่อยู่เป็นสถานที่เดียวกันทั้งสองช่อง ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องเขียนข้อความซ้ำกันควรเขียนว่า As above หรือ Same as above หมายถึงที่อยู่เหมือนกับสถานที่อยู่ข้างต้น

๒.๓ สถานภาพทางการสมรส (Marital Status) และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ(Personal Data)
ผู้สมัครต้องการเครื่องหมาย / ลงหน้าช่องที่เว้นไว้
ตัวอย่าง
Single (โสด)
Married (แต่งงานแล้ว)
Widowed (เป็นหม้าย)
Married with no children (แต่งงานแล้วแต่ยังไม่มีบุตร)
Divorced (หย่า)
Separated (แยกทางกัน)

– ในกรณีที่แต่งงานแล้ว จะต้องกรอก
Marriage Cert. No .. (หมายเลขใบทะเบียนสมรส)
Issued at . (ออกให้ที่อำเภอ หรือเขต)
Dated Issued (วัน เดือน ปีที่ออกใบทะเบียนสมรส )
Spouse (ชื่อคู่สมรส)
Birthdate (วัน เดือน ปีเกิด) เช่น May ๑, ๑๙๗๐
Birthplace / Nataive Place (สถานที่เกิด) ให้เขียนชื่อจังหวัดที่เกิด เช่น Pattani
ID Card No. (เลขประจำตัวบัตรประชาชน) เช่น ๒ ๙๐๙๙ ๐๐๐๕๐ ๑๑ ๖
Issued at (สถานที่ออกบัตร) เช่น Amphoe Panare, Pattani
Date Issued / Dated (วันที่ออกบัตร) เช่น October ๑๒, ๑๙๙๐
Expiry date / Valid Until (วันที่บัตรหมดอายุ) เช่น October ๑๑, ๑๙๙๖
Religion (ศาสนา) เช่น Buddhism / Islam / Catholic / Protestant
Taxpayers No. (หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี)
Social Security No. (เลขประจำตัวบัตรประกันสังคม)

๒.๔ สถานภาพทางการทหาร (Military Status) มี ๓ สถานภาพคือ
Serving หมายถึง การอยู่ในระหว่างรับราชการทหาร เช่น กำลังอยู่ในภาวะเป็นทหารเกณฑ์ Completed หมายถึง ผ่านการเกณฑ์ทหารมาแล้วโดยการเป็นทหารเกณฑ์ Exempted หมายถึง ได้รับการยกเว้นโดยการเรียน ร.ด.จบหลักสูตร หรือจับฉลากได้ใบดำ หรือร่างกายไม่ได้ขนาด หรือกำลังเป็นนักศึกษา

ในบางครั้งเราต้องบอกเหตุผลของการได้รับการยกเว้นว่าเป็นเพราะอะไร (With reason) สามารถบอกได้หลายวิธี เช่น
Finished Reserved Officers Training Corps Course (R.O.T.C.) (สำเร็จหลักสูตรรักษาดินแดน) หรือจะใช้ว่า Finished Military Service Training of Territorial Defence Course (สำเร็จหลักสูตรรักษาดินแดน
Reserved Status หรือ Reservist (ทหารกองหนุน)
Registered Status หรือ Registrant (ทหารกองเกิน)
Exempted through Military Drawing Ballot (ผ่านการเกณฑ์ทหาร เพราะจับฉลากได้ใบดำ)
Exempted by Being Undersize (เพราะร่างกายไม่ได้ขนาด) by physical disability (เพราะจุดบกพร่องของร่างกาย) by being a student (เพราะเป็นนักศึกษา)

๒.๕ สุขภาพ (Health Conditions) ส่วนใหญ่จะถามถึงสุขภาพและโรคประจำตัวหรือการได้รับอุบัติเหตุว่าเป็นอย่างไร คำศัพท์ที่ถามเกี่ยวกับโรคภัย ได้แก่
Physical disabilities or defects – ข้อบกพร่องทางร่างกาย
Handicap – ความพิการ
Chronic disease – โรคติดต่อ
Serious mental illness – การเจ็บป่วยทางจิต
Serious physical illness – การเจ็บป่วยทางกาย
Colour blindness – โรคตาบอดสี

๒.๖ รายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัว (Family Details) ในใบสมัครจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อบิดา-มารดา พี่-น้อง และจุดที่สำคัญคือ อาชีพของแต่ละคน คำศัพท์ที่ใช้กรอกในช่องอาชีพ(Occupation) มีดังนี้
Civil Servant (Government Official) ข้าราชการพลเรือน
Retired Government Official ข้าราชการบำนาญ
Officer รับราชการ (ทหาร ยศร้อยตรีขึ้นไป)
Sub Lieutenant ร้อยตรี (Sub. Lt.)
Lieutenant ร้อยโท (Lt.) Army Captain ร้อยเอก (Army Capt.)
Soldier รับราชการ (ทหาร ยศต่ำกว่าร้อยตรี)
Sergeant Major First Class จ่านายสิบเอก (จ.ส.อ.)
Sergeant Major Second Class จ่าสิบโท (จ.ส.ท. )
Sergeant Major Third Class จ่านายสิบตรี (จ.ส.ต.)
Sergeant สิบเอก (ส.อ.) Self-Employed หรือ Own Business ทำงานส่วนตัว
State Enterprise Employee พนักงานรัฐวิสาหกิจ
Employee ลูกจ้าง
Trader ค้าขาย

๓.การกรอกประวัติการศึกษา (Educational Background)

๓.๑ ระดับประถมศึกษา (Educational Level)
Primary (ระดับประถมศึกษา)
Secondary (ระดับมัธยมศึกษา)
Vocational / Technical (ระดับอาชีวะ หรือวิชาชีพ)
College (ระดับวิทยาลัย)
University (ระดับมหาวิทยาลัย)

๓.๒ วุฒิการศึกษา (Degree / Certificate)
Certificate, Diploma ประกาศนียบัตร
High School Certificate ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย
Certificate of Technical Vocation ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)
Certificate of Vocational Education (Cert. Of Voc.Ed.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หรือ
Vocational Certificate (Voc. Cert.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
Diploma / High vocational Certificate (Dip. / High Voc. Cert.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
Bachelor of Science (B. Sc.) ปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์
Bachelor of Engineering (B.Eng.) ปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์
Bachelor of Industrial Technology (B.Ind.Tech.)ปริญญาตรีด้านอุตสาหกรรมศาสตร์
Bachelor of Accountancy (B.Acct.) ปริญญาตรีด้านบัญชี
Bachelor of Business Administration (B.BA.) ปริญญาตรีด้านบริหารธุรกิจ

//www.odos.moe.go.th/news_detail2.php?NewsTitleID=467

//www.tlcthai.com/education/job/12209.html

ข้อผิดพลาดในการกรอกใบสมัครมีสาเหตุใดบ้าง

10 ข้อผิดพลาด เขียนใบสมัครไม่ได้งาน.
ประวัติการทำงานไม่น่าประทับใจ ... .
เขียนเยิ่นเย้อเกินไป ... .
เขียนน่าเบื่อ ... .
เขียนยาวเกินไป ... .
เขียนศัพท์สแลง ... .
สะกดคำผิด ... .
ไม่มีคนรับรอง ... .
เขียนที่อยากทำเฉพาะเจาะจงเกินไป.

การกรอกแบบรายการไม่ครบถ้วนมีผลเสียอย่างไร

- ขอย้ำว่าการกรอกข้อมูลในใบสมัครงานไม่ครบถ้วนนั้น นอกจากผู้คัดเลือกจะเกิดทัศนคติที่ไม่ดีกับผู้สมัครแล้ว ยังทำให้ผู้สมัครงานพลาดโอกาสอีกด้วย เช่นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการศึกษา ผู้สมัครมักกรอกข้อมูลเฉพาะการศึกษาในช่วงก่อนการเข้าทำงานเท่านั้น แต่หารู้ไม่ว่าข้อมูลของการศึกษาใน เบื้องต้นก็มีส่วนทำให้ผู้สมัครงานมีโอกาสได้งาน ...

ข้อผิดพลาดใดมักเกิดขึ้นได้บ่อยในใบสมัครงาน

การแสดงออกถึงความกังวลเรื่องเงินเดือนหรือค่าตอบแทน นับเป็นอีกหนึ่งข้อผิดพลาดในการสมัครงานที่มักเกิดขึ้นในระหว่างการสัมภาษณ์งาน คุณไม่อยากให้ผู้สัมภาษณ์งานถามคำถามที่สนใจแต่ทางบริษัทฝ่ายเดียว ซึ่งจะทำให้คุณไม่ได้รับการพิจารณา เช่นเดียวกัน ก่อนที่คุณจะได้รับคัดเลือกเข้าทำงาน อย่าสนใจเพียงเงินเดือนหรือสวัสดิการอื่น ๆ ...

ข้อใดที่จำเป็นมากที่สุด ในการใช้กรอกใบสมัครงาน

เคล็ดลับ กรอกใบสมัครงาน ออนไลน์ ให้ถูกเรียกสัมภาษณ์งานไวๆ.
1. สมัครงานให้ตรงตำแหน่ง ... .
2. อย่าเว้นตรงไหนให้ว่าง กรอกให้หมดทุกช่อง ... .
3. กรอกประวัติการทำงาน / การศึกษาให้ชัดเจน ... .
4. เด็กจบใหม่ไม่มีประสบการณ์ ให้กรอกตามนี้ ... .
5. ความสามารถพิเศษ ... .
6. เงินเดือนที่คาดหวัง ... .
7. ใช้รูปถ่ายสุภาพ ... .
8. ข้อมูลติดต่อ ต้องชัดเจน.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก