พืชเศรษฐกิจที่สําคัญคืออะไร

เศรษฐกิจพอเพียง

  • Home

    • เศรษฐกิจพอเพียงคือ?

  • ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    • การนำไปใช้

    • ความหมายของพืชเศรษฐกิจ

    • ความหมายหลักการ3ห่วง2เงื่อนไข

    • ตัวอย่างพืชเศรษฐกิจ

    • ประโยชน์ของเศรษฐกิจพอเพียง

    • สาเหตุที่ทำโครงงานนี้ขึ้นมา

      • วิธีการทำไซด์

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง‎ > ‎

ความหมายของพืชเศรษฐกิจ

                  พืชเศรษฐกิจ คือ พืชที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต มีลักษณะเด่นทางการค้า สามารถนำไปบริโภคโดยเป็นอาหารที่ให้วิตามิน 
แร่ธาตุ และเป็นแหล่งพลังงานของมนุษย์และสัตว์ อีกทั้งสามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว และประกอบเป็นอาชีพได้

Comments

ประเภทเอกสาร

หนังสือ/เอกสาร

หน่วยงานจัดพิมพ์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หมวดหลัก

F01-การเพาะปลูกพืช

ดรรชนี-ไทย

พืชเศรษฐกิจ;ข้าว;ข้าวโพด;ข้าวฟ่าง;ข้าวสาลี;ข้าวบาร์เลย์;มันสำปะหลัง;มันเทศ;มันฝรั่ง;ถั่วเหลือง;ถั่วเขียว;ถั่วลิสง;ทานตะวัน;งา;ละหุ่ง;คำฝอย;มะพร้าว;ปาล์มน้ำมัน;อ้อย;ฝ้าย;ปอแก้ว;ปอกระเจา;ป่านศรนารายณ์;สับปะรด;ยาสูบ;ยางพารา;ฟ้าทะลายโจร;ถิ่นกำเนิด;แหล่งปลูก;ประวัติการปลูก;เนื้อที่ปลูก;ผลผลิต;ลักษณะทางพฤกษศาสตร์;สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม;การปลูก;โรคพืช;แมลงศัตรูพืช;การใช้ประโยชน์

ผู้แต่ง (สังกัด)

[1] สนธิชัย จันทร์เปรม (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเกษตร ภาควิชาพืชไร่นา)
[2] รังสฤษดิ์ กาวีต๊ะ
[3] เรวัต เลิศฤทัยโยธิน
[4] นพพร สายัมพล

เพิ่มเติม

แสดงน้อยลง

APA

สนธิชัย จันทร์เปรม, รังสฤษดิ์ กาวีต๊ะ, เรวัต เลิศฤทัยโยธิน และ นพพร สายัมพล. (2542). พืชเศรษฐกิจ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Chicago

สนธิชัย จันทร์เปรม, รังสฤษดิ์ กาวีต๊ะ, เรวัต เลิศฤทัยโยธิน และ นพพร สายัมพล. พืชเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2542.

MLA

สนธิชัย จันทร์เปรม, รังสฤษดิ์ กาวีต๊ะ, เรวัต เลิศฤทัยโยธิน และ นพพร สายัมพล. พืชเศรษฐกิจ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2542.

Vancouver

สนธิชัย จันทร์เปรม, รังสฤษดิ์ กาวีต๊ะ, เรวัต เลิศฤทัยโยธิน และ นพพร สายัมพล. พืชเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2542.

จำนวนการเข้าชมและการดาวน์โหลด

จำนวนผู้เข้าชม1,522วันนี้สัปดาห์นี้เดือนนี้
13
171
432

Cited by Google Scholar -

การเปลี่ยนแปลงทุกมิติในขณะนี้เกิดมาพร้อมกับการปรับตัวครั้งใหม่ของการใช้ชีวิตประจำวันและภาคบริโภค ส่งผลกระตุ้นให้การทำธุรกิจ ภาคผลิต ภาคบริการ ภาคลงทุน ปรับเปลี่ยนใหญ่อีกครั้ง ต่างแข่งขันนำเทคโนโลยี ระบบดิจิทัล นวัตกรรม และแนวคิดแปลกใหม่ มาเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน!!

ด้านการผลิตนั้น ภาคอุตสาหกรรมจะพลิกตัวได้เร็ว ทันเหตุการณ์กว่าภาคเกษตรกรรม ยิ่งประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังยึดอาชีพทางการเกษตร หรือเกี่ยวข้องมาโดยตลอด แม้ขณะนี้อยู่ในช่วงพยายามพัฒนาไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรม แต่เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา

ดังนั้น ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร รากฐานการเกษตรไทยยังอยู่ในภาวะเสี่ยง และผลกระทบเกิดจากภาวะอากาศแปรปรวน ความผันผวนของผลผลิต ความต้องการใช้หรือบริโภค และราคา จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกรัฐบาลต้องมีแนวคิด และแผนบริการจัดการภาคเกษตรที่ดี

หากกล่าวถึง 5 อันดับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย ส่วนใหญ่จะระบุถึงข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งในรัฐบาลนี้เห็นความสำคัญที่ต้องดูแลต่อเนื่อง หนึ่งในแผนงานพยุงสินค้าเกษตร และขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเกษตร

สถานการณ์ปี 2565 จะเป็นอย่างไร จากข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และศูนย์วิจัยกสิกรไทย สะท้อนสถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนี้

“ยางพารา”… ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ราคายางแผ่นดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 56.02 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.94 บาทต่อ กก. และยางแผ่นรมควันเฉลี่ยอยู่ที่ 59.46 บาทต่อ กก. ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.74 บาทต่อ กก. ภาพรวมราคายางแผ่นดิบ และยางแผ่นรมควันปรับตัวเพิ่มขึ้น ปริมาณยางเข้าสู่ตลาดน้อยกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ประกอบกับปริมาณยางที่เข้าสู่ตลาดน้อยลง ขณะที่ผู้ประกอบการยังคงต้องการปริมาณยางเพื่อส่งมอบ นอกจากนี้ดัชนีราคาผู้ผลิตสำหรับยางสังเคราะห์ของสหรัฐในเดือนธันวาคม 2564 ที่เพิ่มขึ้น 19.7% ปีต่อปี เป็นปัจจัยสนับสนุนราคายางในระยะต่อไป

คาดการณ์ราคายางแผ่นดิบ ระหว่างวันที่ 7-11 กุมภาพันธ์ ยางแผ่นดิบเคลื่อนไหวไม่ต่ำกว่า 55.35 บาทต่อ กก. โดยภาพรวมมีปัจจัยที่ส่งผลต่อราคายาง ดังนี้ ปัจจัยสนับสนุนคือค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า โดยธนาคารกสิกรไทยประมาณกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ที่ 32.70-33.40 บาท หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานสหรัฐที่เพิ่มขึ้นเกินคาดและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้น

ส่วนปัจจัยกดดันคือ จีนเพิ่งกลับมาทำการ ในขณะที่สต๊อกยางจีน ณ ตลาดล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้ล่าสุดปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยวันที่ 28 มกราคม 2565 อยู่ที่ 228,700 ตัน เพิ่มขึ้น 2,290 ตัน ระวังแรงเทขายเพื่อระบายยางออกมาหลังเปิดตรุษจีน

“ปาล์มน้ำมัน”… ปัจจุบันราคาอยู่ที่ 8.64-9.03 บาทต่อ กก. ลดลงจากเดือนก่อน 13.50-17.27% เนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันรอบใหม่เริ่มทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับรัฐบาลตรึงราคาน้ำมันปาล์มเพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวด เป็นการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งผู้ประกอบการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

คาดการณ์ราคาขายเฉลี่ยทั้งประเทศ ผลปาล์มทะลายสัปดาห์นี้เฉลี่ย 9.03 บาทต่อ กก. ลดลงจาก 11.26 บาทต่อ กก. ในสัปดาห์ที่ผ่านมา 19.80% ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย 51.25 บาทต่อ กก. ลดลงจาก 55.53 บาทต่อ กก. ในสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.71%

ส่วนภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ ขณะนี้ตลาดซื้อขายล่วงหน้า น้ำมันปาล์มของมาเลเซียปิดตัวในระดับต่ำหลังช่วงเทศกาลตรุษจีน แต่ยังคงมีปัจจัยต้านจากอินโดนีเซียที่มีคำสั่งให้กักตุนน้ำมันปาล์มเพื่อขายในประเทศให้มีปริมาณ 20% ของผลผลิตทั้งหมด โดยสัญญาน้ำมันปาล์มที่ส่งมอบเดือนเมษายน 2565 ของตลาดอนุพันธ์มาเลเซียปิดตัวลดลง 1.2% ที่ตันละ 5,523 ริงกิต ราคาในตลาดต่างประเทศ ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 46.44 บาทต่อ กก. สูงขึ้นจากตันละ 44.16 บาทต่อ กก. ในสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.58% ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 48.37 บาทต่อ กก. สูงขึ้นจากตันละ 45.86 บาทต่อ กก. ในสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.10% ส่วนราคาในไทยสัปดาห์หน้ายังมีราคาลดลง

“ข้าว”… ปัจจุบันการซื้อขายข้าวตลาดต่างประเทศ ข้าวขาว 100% ชั้น 2 ส่งออกท่าเรือกรุงเทพฯ เอฟ.โอ.บี. ราคาทรงตัวที่ตันละ 453 เหรียญสหรัฐ ส่วนปลายข้าว เอ.วัน.พิเศษ ส่งออก เอฟ.โอ.บี.ยืนราคาที่ตันละ 404 เหรียญสหรัฐ

ด้านตลาดซื้อขายข้าวในประเทศ ข้าวขาว 100% ชั้น 2 ราคาทรงตัวที่กระสอบละ 1,350 บาท ส่วนปลายข้าว เอ.วัน.พิเศษ ณ โรงงานอาหารสัตว์ ยืนราคาที่กระสอบละ 1,190 บาท ประเมินว่าราคาข้าวไทยในปี 2565 น่าจะให้ภาพการเติบโตที่กระเตื้องขึ้นเล็กน้อย

หลังจากผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในปี 2564 แต่คงเป็นการเติบโตบนฐานที่ต่ำ คาดว่าอาจอยู่ที่ราว 8,900-9,400 บาทต่อตัน หรือหดตัว 1.6% ถึงขยายตัว 4% จากปัจจัยหนุนด้านอุปทานที่คาดว่าปัญหา Supply Disruption จากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์เพื่อส่งออกน่าจะคลี่คลายมากขึ้นหลังกลางปี 2565

อย่างไรก็ดี คงต้องจับตาปัจจัยท้าทายที่ยังคงรุมเร้าต่อเนื่องจากปีก่อน อย่างการแข่งขันในตลาดโลกที่รุนแรง โดยเฉพาะอินเดียและเวียดนาม รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงจากเชื้อกลายพันธุ์ จะทำให้ราคาข้าวอาจเคลื่อนไหวได้ในกรอบแคบๆ จากปัญหาเชิงโครงสร้างราคาที่มีความซับซ้อนและส่งผลกดดันราคาข้าวไทยมาอย่างยาวนาน กระทบต่อเนื่องมาถึงในปี 2565 ที่แม้ราคาข้าวอาจกระเตื้องขึ้นได้บ้างแต่ก็นับว่าราคายังอยู่ในระดับที่ต่ำ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การใช้มาตรการดูแลราคาข้าวของภาครัฐเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในระยะสั้นเฉพาะหน้านับว่ายังมีความจำเป็นและยังคงมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือด้านรายได้แก่เกษตรกร ขณะเดียวกันการนำแนวทางการแก้ปัญหาราคาข้าวระยะกลาง-ยาวมาปรับใช้ควบคู่ไปด้วยนับว่าเป็นเครื่องยนต์ที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนข้าวไทยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการยกระดับในภาคการผลิต

“มันสำปะหลัง”… ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.32 บาท ลดลงจาก กก.ละ 2.33 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็น 0.43% ส่วนราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 6.33 บาท ลดลงจาก กก.ละ 6.38 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็น 0.78% ราคาขายส่งในประเทศ แบ่งเป็น ราคาขายส่งมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 7.46 บาท ราคาสูงขึ้นจาก กก.ละ 7.45 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็น 0.13% ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 15.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. มันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,078 บาทต่อตัน ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน อยู่ที่ 8,042 บาทต่อตัน ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ย 16,091 บาทต่อตัน ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน อยู่ที่ 16,019 บาทต่อตัน

ส่วนผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564-กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.664 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3.387 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.796 ล้านไร่ ผลผลิต 32.499 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.318 ตัน พบว่าพื้นที่เก็บเกี่ยวลดลง 1.35% แต่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น 0.71% และ 2.08% ตามลำดับ โดยเดือนมกราคม 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.48 ล้านตัน ทั้งนี้ ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.30 ล้านตัน หรือคิดเป็น 62.02% ของผลผลิตทั้งหมด

“ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์”… ปัจจุบันราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ที่ราคา 8.72-8.77 บาทต่อ กก. ลดลงจากเดือนก่อน 0.11-0.68% เนื่องจากสัญญาราคาส่งมอบข้าวสาลีปรับลดลงจากการขายออกทำกำไร จึงคาดว่าผู้ประกอบการจะนำเข้าข้าวสาลี เพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ราคาสูง
ส่งผลให้ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศลดลง

ส่วนราคา ณ ไซโลโรงงานอาหารสัตว์ อยู่ที่หาบละ 651 บาท ขณะนี้ใกล้สิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวทำให้ผลผลิตมีน้อย ส่งผลให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทรงตัวในระดับสูง

ด้านตลาดซื้อขายล่วงหน้าชิคาโก รอบส่งมอบเดือนมีนาคม 2565 ราคาอยู่ที่ 622.5 เซนต์ต่อบุชเชล คาดการณ์ปริมาณน้ำฝนในแถบอเมริกาใต้เพิ่มขึ้น หลังจากที่ประเทศบราซิลและอาร์เจนตินาเผชิญกับอากาศแห้งแล้งช่วงเดือนมกราคม ช่วยคลายความกังวลความแห้งแล้งได้ในระยะสั้น ปัจจุบันเกษตรกรในบราซิลเพาะปลูกข้าวโพดรุ่นสองแล้ว 14% เร็วกว่าปีที่ผ่านมาที่ 1.5% และคุณภาพข้าวโพดในอาร์เจนตินาอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก เพิ่มขึ้นจาก 22% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็น 32% ส่วนราคาในไทยสัปดาห์หน้ายังทรงตัว

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีหลากหลายปัจจัยเสี่ยงทั้งในประเทศและต่างประเทศเริ่มเปลี่ยนไป เพื่อให้ทุกภาคหน่วยมีเข็มทิศต่อพืชเศรษฐกิจทั้ง 5 ชนิดนี้ จึงมีการจัดสัมมนา “ประกันรายได้สินค้าเกษตร 5 สินค้า” โดยกระทรวงพาณิชย์ ในวันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00-12.00 น. มี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเสวนาและปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ประกันรายได้พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย”

จากนั้นฟังแนวทางและมุมมองต่อสินค้าเกษตร 5 ชนิดคือ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากอธิบดีกรมการค้าภายใน และผู้เชี่ยวชาญภาคเกษตร ซึ่งการสัมมนาจัด ณ อาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ในรูปแบบไลฟ์สตรีมมิ่ง

การเสวนาครั้งนี้จะชี้ชัดให้รู้ถึงประโยชน์โครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร นั่นคือบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และลดความเหลื่อมล้ำตามนโยบายรัฐบาล

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก