ประโยชน์ ในการพูดแสดงความคิดเห็น ใน ชีวิตประจำวัน

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

ความหมายของการพูด

                 การพูดเป็นพฤติกรรมทางภาษาที่ควบคู่ไปกับการฟังเพื่อการสื่อความหมายระหว่างมนุษย์  เป็นการเปล่งเสียงออกมาเป็นภาษาเพื่อถ่ายทอดความรู้  ความคิด            ความรู้สึก  หรือความต้องการของผู้พูดไปยังผู้ฟัง  โดยใช้ถ้อยคำ  น้ำเสียง  และอากัปกิริยา  จนเป็นที่เข้าใจกันได้

                  การพูดที่ดี  คือ  การใช้ถ้อยคำ  น้ำเสียง  รวมทั้งกิริยาอาการต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามจรรยามารยาท ประเพณีนิยมของสังคม เพื่อถ่ายทอดความคิด  ความรู้  ความรู้สึก  ความต้องการ  ทัศนคติ  และ   ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ฟังได้รับรู้และก่อให้เกิดการตอบสนองตรงตามที่ผู้พูดต้องการ

                  การพูดจึงเป็นการสื่อสารสองทาง  คือ  มีทั้งผู้พูดและผู้ฟัง  การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  “ศาสตร์” หมายถึง การพูดจะต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการต่างๆ ที่ใช้สอน  ถ่ายทอด  ปฏิบัติ  ฝึกฝน  เช่นเดียวกับหลักวิชาแขนงอื่นๆ   ส่วน “ศิลป์”  หมายถึง  การพูดเป็นเรื่องของความสามารถพิเศษเฉพาะบุคคล   นอกจากนี้การพูดยังจัดเป็นทักษะและวิชาชีพอีกประการหนึ่ง  ซึ่งสามารถขยายความได้ดังนี้

                       - ที่ว่าเป็นศาสตร์  เพราะ  เป็นวิชาที่มีหลักเกณฑ์  มีทฤษฎีให้เรียนรู้และถ่ายทอดกันได้  เช่น  หลักเกณฑ์การออกเสียงจัดเป็นสัทศาสตร์    การแสดงกิริยาอาการจัดเป็นจริยศาสตร์ และการติดต่อสื่อสารจัดเป็นสังคมศาสตร์ เป็นต้น

                        -  ที่ว่าเป็นศิลป์  เพราะ  ต้องนำหลักเกณฑ์ไปปฏิบัติให้เกิดความไพเราะสวยงาม  เป็นที่ประทับใจแก่ผู้ฟัง  การศึกษาแต่หลักเกณฑ์หรือทฤษฎีเพียงอย่างเดียวจึงไม่  สามารถที่จะช่วยให้ผู้ศึกษาวิชาการพูดได้รับประโยชน์จากการพูดมากเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องนำไปปฏิบัติ  โดยเพิ่มเทคนิคและกลวิธีต่างๆ ที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความพอใจ

                     -  ที่ว่าเป็นทักษะ  เพราะ  การพูดต้องอาศัยการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญจึงจะใช้ประโยชน์ได้ดี  ยิ่งชำนาญมากเท่าใดก็ยิ่งพูดดีขึ้นเท่านั้น  ถึงแม้ว่าจะเรียนรู้ทฤษฎีและมีศิลปะในการพูดเป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้ว  แต่ถ้าขาดการฝึกฝนก็จะเอาดีไม่ได้  ตรงกับสุภาษิตที่กล่าวว่า  “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น  สิบตาเห็นไม่เท่kมือคลำ  และสิบมือคลำไม่เท่าทำเอง

                       -  ที่ว่าเป็นวิชาชีพ  เพราะ  ทุกๆ อาชีพใช้ภาษาพูดเป็นสื่อในการติดต่อสื่อสาร  ถ้าพูดดีเป็นศรีสง่าตนเอง  ประกอบอาชีพใดๆ ก็มีแต่ความเจริญก้าวหน้า   แต่ถ้าพูดไม่ดีจะมีแต่ความเสื่อมและเกิดอันตรายแก่ตนเองเช่นกัน    ดังสุภาษิตที่กล่าวว่า  “พูดดีเป็นศรีแก่ปาก

ประเภทของการพูด   แบ่งได้  2  ประเภท  คือ

  1.  การพูดระหว่างบุคคล  ได้แก่ 

หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส  แสดงอาการยินดีที่ได้พบผู้ที่เราทักทาย

การทักทายปราศรัย  ลักษณะการทักทายปราศรัยที่ดีดังนี้ 

กล่าวคำปฏิสันถารที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม  เช่น สวัสดีครับ  สวัสดีค่ะ

                แสดงกิริยาอาการประกอบคำปฏิสันถาร

ข้อความที่ใช้ประกอบการทักทายควรเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความสบายใจ

 การแนะนำตนเอง  การแนะนำเป็นสิ่งจำเป็น และมีความในการดำเนินชีวิตประจำวัน  บุคคลอาจแนะนำตนเองในหลายโอกาสด้วยกัน การแนะนำตนเองมีหลักปฏิบัติดังนี้คือ  ต้องบอกชื่อ   นามสกุล  บอกรายละเอียดกับตัวเรา และบอกวัตถุประสงค์ในการแนะนำตัว

                การสนทนา   หมายถึง  การพูดคุยกัน  พูดจาเพื่อนสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  และประสบการณ์   การรับสารที่ง่ายที่สุด    คือ  การสนทนา    

                 คุณสมบัติของการสนทนาที่ดี  คือหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ง่าย  ๆ  สุภาพ  คำพูดและน้ำเสียงน่าฟัง เป็นกันเองกับคู่สนทนา                                                     

2. การพูดในกลุ่ม     

                การพูดในกลุ่มเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน  ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษาเป็นเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้ซักถาม  แสดงความคิดเห็น  หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาเล่าให้ฟังกัน  มีวิธีการดังต่อไปนี้

  •  เล่าถึงเนื้อหาและประเด็นประเด็นสำคัญ ๆ  ว่ามีอะไรบ้าง

  • ภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาที่ง่าย

  • น้ำเสียงชัดเจนน่าฟัง  เน้นเสียงในตอนที่สำคัญ   

  • ใช้กิริยาท่าทางประกอบการเล่าเรื่องตามความเหมาะสม

  • ผู้เล่าเรื่อควรจำเรื่องไดเป็นอย่างดี

  • มีการสรุปข้อคิดในตอนท้าย 


วิดีโอ YouTube


กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก