ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ผู้ชาย

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็กเป็นโรคของระบบทางเดินปัสสาวะในเด็กที่พบบ่อยที่สุด อุบัติการณ์ของโรคขึ้นอยู่กับอายุ เพศ เชื้อชาติ ประมาณร้อยละ 3-7 ในเด็กที่มีไข้  ส่วนใหญ่พบในเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชาย

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract Infection : UTI)

โดยทั่วไปหมายถึง โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบนหรือส่วนล่างก็ได้

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบน หรือ กรวยไตอักเสบ (Acute pyelonephritis)

ส่วนใหญ่จะมีไข้สูงเป็นหลัก ในเด็กเล็กอาจมีไข้สูงเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีอาการจำเพาะอื่น เด็กโตอาจมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดเอว คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง หรือ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)

เด็กจะมีอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นฉุนบางรายอาจมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย

การวินิจฉัย  

ทำได้โดยการตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะและการเพาะเชื้อปัสสาวะ การเก็บปัสสาวะจะต้องเก็บอย่างถูกวิธีและส่งตรวจภายใน 30 นาที เด็กที่ติดเชื้อมักตรวจพบเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ บางรายอาจตรวจพบเม็ดเลือดแดง หรือพบเชื้อแบคทีเรีย  เด็กที่ปัสสาวะเป็นเลือดสดๆอาจมีนิ่วหรือเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบชนิดที่มีเลือดออกในกระเพาะปัสสาวะ  (Hemorrhagic cystitis)  การเพาะเชื้อปัสสาวะจะมีแบคทีเรียในปัสสาวะปริมาณมากกว่า 100,000 cfu เชื้อส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียกรัมลบ เช่น E.coli , Proteus, Klebsiella   ซึ่งเป็นเชื้อที่อยู่ในอุจจาระ หรืออยู่บริเวณอวัยวะเพศ  ถ้าทำความสะอาดไม่ดี หรือมีการบาดเจ็บบริเวณนี้ เชื้อก็จะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ไปตามท่อไต หรือถึงไตได้    นอกจากนี้ในเด็กที่ติดเชื้อในกระแสเลือด เช่นทารกแรกเกิด หรือเด็กโตที่ติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรงเช่น Staphylococcus aerius หรือ Pseudomonas aeruginosa เชื้อเหล่านี้สามารถกระจายมาที่ไตได้โดยตรง

เด็กที่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะพบว่ามีความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะร่วมด้วยร้อยละ 30-40 ดังนั้นในเด็กเล็กจึงแนะนำในการตรวจทางรังสีวิทยาเพิ่มเติม เช่น การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงของไตและกระเพาะปัสสาวะ (Renal bladder ultrasonography) เพื่อตรวจดูขนาด รูปร่างของไต ตรวจความผิดปกติอื่น เช่น ไตบวมน้ำ (Hydronephrosis) นิ่ว ฝีหนอง เนื้องอกที่ไต หรือถุงน้ำในไต

การตรวจฉีดสี Cystogram เป็นการตรวจดูลักษณะของกระเพาะปัสสาวะ ท่อไต และท่อปัสสาวะ ตรวจภาวะปัสสาวะไหลย้อนกลับ (VUR) ความผิดปกติของท่อปัสสาวะ หรือกระเพาะปัสสาวะอื่นๆ

การรักษาและป้องกัน  

เด็กที่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจำเป็นที่จะต้องได้รับยาปฏิชีวนะอย่างรวดเร็วและขนาดที่เหมาะสม ในรายที่ไม่รุนแรงสามารถให้เป็นยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน แต่ถ้ารายที่รุนแรงหรือในรายที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อในกระแสเลือดควรให้ทางหลอดเลือดดำ โดยระยะเวลาของการให้ยานาน 7-14 วัน ในเด็กทารก หรือมีความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะร่วมด้วยแพทย์อาจต้องให้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันการติดเชื้อซ้ำ โดยรับประทานทุกวัน ซึ่งระยะเวลาการให้ยาขึ้นกับชนิดและความรุนแรงของโรค

นอกจากนี้ยังควรเน้นการดูแลความสะอาดของอวัยวะเพศเด็ก เช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง ลดการใช้ผ้าอ้อมไม่ใส่ตลอด 24 ชั่วโมง เด็กผู้ชายควรรูดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศเพื่อทำความสะอาด ปรับพฤติกรรมการขับถ่าย ไม่กลั้นปัสสาวะ และ รักษาภาวะท้องผูก

ภาวะแทรกซ้อน  

ในระยะแรกถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม เชื้ออาจลุกลามเข้ากระแสเลือดโดยเฉพาะในเด็กทารกซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้   ในระยะยาวสามารถทำให้เกิดแผลเป็นที่ไต ความดันโลหิตสูงในวัยผู้ใหญ่ หรือ ในรายที่มีความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะร่วมด้วยและมีการติดเชื้อซ้ำๆหลายครั้งจะทำให้การทำหน้าที่ของไตเสื่อมลง และรุนแรงจนเกิดไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

สรุป 

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็กเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป เด็กอาจมาด้วยอาการไข้สูงอย่างเดียวโดยไม่มีอาการจำเพาะอื่น ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสมสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เด็กที่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะพบว่าบางรายมีความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะที่เป็นมาแต่กำเนิดร่วมด้วย จึงควรได้รับการตรวจวินิจฉัยทางรังสีเพิ่มเติมตามความเหมาะสม การติดตามและเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิดช่วยลดการติดเชื้อซ้ำและภาวะแทรกซ้อนระยะยาว

พบแพทย์เฉพาะทางสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ #คลิ๊กเลย

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ถึงแม้ว่าการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะมักจะพบได้ในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย แต่ก็พบว่าก็มีผู้ชายที่ได้รับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะปีละหลายล้านคนเช่นกัน โดยการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซึ่งรวมไปถึง ไต ท่อจากไต กระเพาะปัสสาวะอาจรุนแรง และบางครั้งก็อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะฉะนั้นควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุและอาการของการติดเชื้อและการเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว

สาเหตุของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

ระบบทางเดินปัสสาวะนั้นมีหน้าที่ในการขับน้ำที่เป็นส่วนเกินออกจากร่างกาย (ประมาณ 1.5 quart ของปัสสาวะต่อวัน) เพื่อรักษาสมดุลของสารต่างๆในร่างกาย และเกลือในเลือดและยังช่วยผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง การที่ปัสสาวะมีการเคลื่อนที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโดยการล้างเอาสารติดเชื้อต่าง ๆ ออกไป และต่อมลูกหมากยังผลิตสารที่ช่วยชะลอการเติบโตของแบคทีเรียอีกด้วย ซึ่งปกติแล้วปัสสาวะจะปลอดเชื้อ แต่ในบางกรณีอาจมีแบคทีเรียชนิด E.coli ซึ่งอาศัยอยู่ในลำไส้อาจจะเข้ามายังท่อปัสสาวะทำให้เกิดการติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ โดยการติดเชื้อนี้อาจมีการแพร่เชื้อจากทางเดินปัสสาวะเข้าสู้กระเพาะปัสสาวะและไตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 25650 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กด

ผู้ชายที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะประกอบด้วย

  • ผู้ที่มีทางเดินปัสสาวะผิดปกติ เช่นมีนิ่วในไต หรือต่อมลูกหมากโต
  • ผู้ที่มีสายสวนหรือท่ออยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
  • ผู้ที่เป็นเบาหวาน หรือโรคที่มีการกดระบบภูมิคุ้มกัน

อาการของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชาย

ถึงแม้ว่าผู้ชายผู้ชายที่มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซึ่งบางคนอาจจะไม่มีอาการแสดงใดๆเลยก็ได้ แต่สำหรับผู้ชายส่วนใหญ่ที่มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะมักมีอาการบางอย่างต่อไปนี้

  • รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย แต่ปัสสาวะออกน้อย
  • รู้สึกแสบหรือปวดบริเวณกระเพาะปัสสาวะขณะปัสสาวะ
  • อ่อนเพลีย
  • มีไข้ (มักแสดงว่าการติดเชื้อได้ขึ้นไปถึงไตแล้ว)
  • ปัสสาวะขุ่น (อาจมีปัสสาวะเป็นเลือดได้)
  • ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น
  • คลื่นไส้และอาเจียน อาจพบได้ในการติดเชื้อที่ไจ
  • ปวดหลัง

การวินิจฉัยการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

ถ้าคุณมีอาการของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งแพทย์จะทำการเก็บปัสสาวะของคุณไปตรวจหาเชื้อแบคทีเรียและอาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติมเช่นการฉีดสีดูภายในไจ (intravenous pyelogram) การทำ ultrasound หรือการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (cystoscopy) เพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะหากเป็นบ่อยหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาที่ให้

การรักษาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

การรักษาโดยทั่วไปจะใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อดังกล่าว ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องได้รับประทานยาจนครบตามที่แพทย์สั่งแม้ว่าจะมีอาการของการติดเชื้อและอาจจะหายก่อนที่ยาจะหมดก็ตาม

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ //honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก