โอนเงินผิดบัญชี ติดต่อ ปลายทาง ไม่ได้

นาทีนี้แทบจะไม่มีใคร ไม่ใช้ “Mobile Banking” เพราะทำให้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น แลทำธุรกรรมการเงินได้อย่างรวดเร็ว แต่ความเร็วของแอปโอนเงินนี่แหละ ที่มักจะทำให้หลายคนอาจจะเผลอ “โอนเงินผิดบัญชี” โดยไม่ได้ตั้งใจ แต่โอนเงินผิดบัญชีสามารถทวงคืนได้ และหากผู้รับโอนไม่ยอมคืนเงิน มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์

วันนี้ TrueID จึงจะมาแนะนำวิธีแก้ไขหากเราเผลอ “โอนเงินผิดบัญชี” จะขอเงินคืนอย่างไร และธนาคารสามารถเอาเงินคืนเราก่อนได้ไหม ไปดูกัน

โอนเงินผิดบัญชี ต้องทำยังไง

1.เก็บ e-Slip เป็นหลักฐาน

2.แจ้งปัญหาไปยังธนาคารต้นทาง

3.ส่งเอกสารเพิ่มเติมตามที่ธนาคารร้องขอ

4.ธนาคารดำเนินการตรวจสอบ

  • กรณีโอนผิดแต่ธนาคารเดียวกัน ธนาคารจะติดต่อผู้รับโอนผิดโดยตรง
  • กรณีโอนผิดต่างธนาคาร ธนาคารจะประสานงานกับธนาคารของผู้รับโอนผิด

5.หากผู้รับโอนยินดีคืนเงิน ธนาคารก็จะดำเนินการโอนเงินจำนวนนั้นคืน

6.หากผู้รับโอนไม่ยอมคืน ผู้โอนจะต้องแจ้งความดำเนินคดีฐานยักยอกทรัพย์ ซึ่งมีโทษจำคุกตามกฎหมายต่อไป

แจ้งตำรวจได้ เมื่อโอนเงินผิดบัญชี

1.นำเอกสาร ทำรายการ เช่น สลิปการโอน/ใบบันทึกรายการ หรือภาพถ่ายหน้าจอของข้อความแจ้งผลการโอนเงิน , สำเนาบัตรประชาชน (เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง) ให้ขีดฆ่า / ปิดทับ , สำเนาเอกสาร บริเวณข้อมูลกรุ๊ปเลือด และ/หรือ ศาสนา

2.แจ้งเจ้าหน้าที่ประจำสถานีตำรวจเพื่อขอออก ใบแจ้งความ/บันทึกประจำวันที่ระบุเหตุการณ์

3.กรณีผู้รับโอนไม่ยินยอมคืนเงิน/ไม่สามารถติดต่อได้ ผู้โอนต้องแจ้งความ ณ สถานีตำรวจ ขอออกเอกสารตราครุฑที่เรียกว่า “หมายเรียกพยานเอกสาร/พยานวัตถุ” (คลิกเพื่อดูตัวอย่าง) เพื่อออกคำสั่งทางกฎหมายให้ธนาคารของผู้รับโอนเงินดำเนินการอายัดบัญชี หรือให้เปิดเผยข้อมูลบัญชีปลายทางให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป


การโอนเงินสามารถทำได้โดยง่าย ผ่านแอปฯ ธนาคาร แต่หากเกิดโอนเงินผิดบัญชีขึ้นมา และผู้รับโอนเพิกเฉย อีกทั้งนำเงินที่ได้ไปใช้โดยไม่ส่งคืนเจ้าของ ถือว่ามีความผิดความผิดฐานยักยอกทรัพย์ และธนาคารจะไม่สามารถดึงเงินจากบัญชีผู้รับโอนโดยพลการได้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับโอนปลายทางก่อน

โอนเงินผิดบัญชีแล้วไม่คืน มีความผิด

ปัจจุบันกาวโอนเงินสามารถทำได้ง่าย ผ่านแอปของธนาคารที่เราเป็นลูกค้า การโอนเงินผิดบัญชีจึงเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ ในกรณีที่มีการโอนเงินผิดบัญชีแล้วได้มีการติดต่อให้ผู้ที่รับโอนคืนเงินแล้ว แต่ทางเจ้าของบัญชีผู้รับโอนกลับเพิกเฉย และนำเงินที่ได้มาไปใช้เอง โดยไม่ส่งคืนเจ้าของ ถือว่ามีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ตามประมาลกฎหมายอาญา มาตวา 352 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ใดครอบครองทรัพย์ ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ..." ความผิดฐานนี้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เช็กก่อนโอนเงิน

1.จากบัญชีไหน ใช่บัญชีที่จโอนเงินไปรึเปล่า

2.ถึงใคร ใช่คนที่เราจะโอนให้ไหม ถ้าโอนผิดคนวุ่นวายอีกนานกว่าจะได้คืน

3.เท่าไหร่ ใช่จำนวนที่เราจะโอนหรือไม่ อย่าลืมเช๋กว่ามี "0" กี่ตัว เกินหรือขาดไหม

4.มีค่าธรรมเนียมหรือไม่

5.กดยืนยัน หลังจากเช็กข้อ 1-4 ดีแล้ว อย่าลืมเก็บสลิปไว้เป็นหลักฐานด้วย

ข้อมูลจาก ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน (ศคง.) , กระทรวงยุติธรรม , SCB

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

หลายคนคงเจอกับโอนเงินผิดบัญชี โอนไปให้ใครไปที่ไหนไม่รู้ การโอนเงินผิดบัญชี ที่พบบ่อยคือ ใส่เลขบัญชีธนาคารไม่ถูกต้อง เช่น ตัวเลขสลับกัน ตัวเลขใกล้เคียงกัน หรืออาจเกิดจากการใส่เลขบัญชีผิดช่องระหว่างช่องโอนเงินผ่านเลขบัญชีกับช่องโอนเงินผ่านหมายเลขพร้อมเพย์ หรือใส่เลขที่บัญชีถูก แต่เลือกธนาคารที่จะโอนผิด รวมถึงความรีบร้อนในการทำรายการจนลืมตรวจสอบชื่อบัญชีปลายทางก่อนกดโอน

เมื่อโอนเงินผิดบัญชี หลายคนก็ยังไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร ติดต่อใครดี ซึ่งตามกฎหมายแล้ว ธนาคารจะไม่สามารถโอนเงินคืนให้แก่ผู้โอนเงินผิด หากเจ้าของบัญชีปลายทางไม่ยินยอม เพราะธนาคารไม่มีสิทธิ์ในการดึงเงินออกจากบัญชีโดยพลการ แต่ธนาคารจะเป็นตัวกลางช่วยประสานงานขอคืนเงินให้เท่านั้น

อ้างอิงจากศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)มีขั้นตอนการดำเนินการเมื่อโอนเงินผิด ไว้ดังนี้

1.นำเอกสารดังต่อไปนี้ไปติดต่อสถานีตำรวจ

-เอกสารการทำรายการ เช่น สลิปการโอน/ใบบันทึกรายการ หรือภาพถ่ายหน้าจอของข้อความแจ้งผลการโอนเงิน

-สำเนาบัตรประชาชน (เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง)

ให้ขีดฆ่า / ปิดทับ สำเนาเอกสาร บริเวณข้อมูลกรุ๊ปเลือด และ/หรือ ศาสนา

2.แจ้งเจ้าหน้าที่ประจำสถานีตำรวจเพื่อขอออก ใบแจ้งความ/บันทึกประจำวันที่ระบุเหตุการณ์ โดยระบุข้อมูลในเอกสารดังนี้

-ชื่อธนาคารที่ทำรายการ ทั้งฝั่งต้นทางและปลายทาง

-วันที่และเวลาที่ทำรายการ

-จำนวนเงินที่โอน

-ช่องทางการโอนเงิน เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ATM / CDM / VTM), Mobile Banking, Internet Banking

-ชื่อบัญชี และ เลขที่บัญชี ของผู้ทำรายการโอน (บัญชีต้นทาง)

-ชื่อบัญชี และ เลขที่บัญชี ของผู้ที่ได้รับเงินผิด (บัญชีปลายทางที่โอนผิด)

-ชื่อบัญชี และ เลขที่บัญชี / หมายเลขพร้อมเพย์ ของปลายทางที่ต้องการโอนที่ถูกต้อง

3.นำส่งหลักฐานให้แก่ธนาคารที่ใช้ในการโอนเงิน

4.เมื่อธนาคารได้รับข้อมูลครบถ้วนแล้ว ธนาคารจะช่วยประสานงานกับปลายทางที่เป็นผู้รับโอนเงินผิด/ธนาคารปลายทางที่รับโอนเงินผิด

5.ธนาคารแจ้งผลการดำเนินการ

-กรณีผู้รับโอนยินยอมคืนเงิน : ธนาคารจะโอนเงินคืนเข้าบัญชีผู้โอนให้

-กรณีผู้รับโอนไม่ยินยอมคืนเงิน/ไม่สามารถติดต่อได้ : ผู้โอนต้องแจ้งความ ณ สถานีตำรวจ ขอออกเอกสารตราครุฑที่เรียกว่า “หมายเรียกพยานเอกสาร/พยานวัตถุ” เพื่อออกคำสั่งทางกฎหมายให้ธนาคารของผู้รับโอนเงินดำเนินการอายัดบัญชี หรือให้เปิดเผยข้อมูลบัญชีปลายทางให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

สุดท้ายต้องเตือนตัวเองไว้เสมอว่า ก่อนกดยืนยันโอนเงินทุกครั้งจะต้องมีสติ โดยต้องสังเกตเวลาก่อนกดยืนยันการโอน ต้องตรวจสอบหมายเลขบัญชีหรือหมายเลขพร้อมเพย์ ชื่อบัญชี ชื่อธนาคาร และจำนวนเงินที่ต้องการโอนให้ถูกต้องทุกครั้ง ก่อนกดยืนยันเพื่อทำรายการทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาด จะได้ไม่เสียเวลา วุ่นวาย ยุ่งยาก!

Business Today//businesstoday.co

Supporting Thailand's business communities./ FB Page: Business Today Thai/ Social: Business Today Thai (สำหรับ Twitter, YouTube, Telegram)/ LINE: @Business today/ เว็บที่เกี่ยวข้อง: Thailand Today: www.thailandtoday.co/ FB: Thailantoday.co (English)/ Thailand Today News: www.thailandtoday.news/ FB: Thailandtoday.news (Mandarin Chinese)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก