ใช้สิทธิประกันสังคม ต้อง ใช้ อะไรบ้าง

คนทำงานอย่างเรา ๆ สิ่งที่ควรจะทำและจำเป็นมากก็คือ การสมัครเป็นผู้ประกันตนของประกันสังคมนั่นเอง แต่เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่สมัครไปแล้วอาจยังไม่ทราบว่า สิทธิประกันสังคมสำหรับรักษาพยาบาลคืออะไร? มีอะไรบ้าง? กรณีเจ็บป่วยแบบนั้นแบบนี้จะใช้สิทธิ์ได้ไหม? แล้วสามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้เท่าไร? บอกเลยว่าเป็นปัญหาโลกแตกอีกปัญหาหนึ่งเลยละ งั้นวันนี้ Wongnai Beauty ไปไขข้อข้องใจพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า เพื่อที่เราจะได้ไม่เสียสิทธิ์และใช้สิทธิ์ได้อย่างคุ้มค่าค่ะ

ทำความรู้จัก "ประกันสังคม" กันสักนิด

ประกันสังคม เป็นกองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมหรือผู้ประกันตน ให้ได้รับประโยชน์ทดแทนเมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ซึ่งไม่ได้เกิดจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน

ใครใช้สิทธิประกันสังคมได้บ้าง?

สำหรับคนที่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตน และใช้สิทธิประกันสังคมได้นั้นต้องเป็นบุคคล 3 กลุ่ม ดังนี้

  • พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป (ผู้ประกันตน มาตรา 33)
  • บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อน แล้วลาออก (ผู้ประกันตน มาตรา 39)
  • บุคคลที่ประกอบอาชีพอิสระ (ฟรีแลนซ์) หรือแรงงานนอกระบบ (ผู้ประกันตน มาตรา 40)

Note : ผู้ที่จะสมัครและใช้สิทธิได้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ แต่ถ้าอายุครบ 60 ปีแล้ว แต่นายจ้างยังจ้างให้ทำงานต่อ ก็ให้ถือเป็นผู้ประกันตนต่อไปได้

สิทธิรักษาพยาบาลประกันสังคมมีอะไรบ้าง?

เท่าที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าสิทธิประกันสังคมหลัก ๆ จะครอบคลุมทั้งหมด 7 กรณีด้วยกัน ได้แก่ กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน แต่วันนี้เราจะขอพูดถึงกรณีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประกันสังคมรักษาพยาบาลเป็นหลักค่ะ 

คราวนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันค่ะ ว่าในกรณีในเจ็บป่วยต่าง ๆ กรณีคลอดบุตร หรือกรณีต้องการเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม เราจะสามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากประกันสังคมได้เท่าไหร่บ้าง

Note : ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมมาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน จึงจะสามารถใช้สิทธิประกันสังคมรักษาพยาบาลจากประกันสังคมได้

1. กรณีเจ็บป่วยปกติ

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ

  • จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ : เมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดสิทธิ หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น
  • กรณีที่ต้องหยุดพักตามคำสั่งแพทย์ และหมดสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง : จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ไม่เกิน 90 วัน/ครั้ง และไม่เกิน 180 วัน/ปี ยกเว้นป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 365 วัน

2. กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ

1. กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ

  • ผู้ป่วยนอก : สามารถเบิกได้เท่าที่จ่ายจริง
  • ผู้ป่วยใน : สามารถเบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท

2. กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน

  • ผู้ป่วยนอก
    - เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท
    - เบิกเกิน 1,000 บาท ในกรณีให้เลือด ฉีดบาดทะยัก อัลตราซาวนด์ ขูดมดลูก ค่าฟื้นคืนชีพ และกรณีที่ต้องสังเกตอาการในห้องอย่างน้อย 3 ชั่วโมงขึ้นไป
  • ผู้ป่วยใน
    - ค่าห้องและค่าอาหาร : เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
    - ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU : เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท
    - ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล กรณีรักษาในห้อง ICU : เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท
    - ค่าผ่าตัดใหญ่ : เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000-16,000 บาท
    - ค่าฟื้นคืนชีพ : เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท
    - ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และหรือเอ็กซเรย์ : เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท

3. กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต

สำหรับกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่สถานพยาบาลใกล้เคียงทุกแห่งและไม่ต้องสำรองจ่าย แต่! จะต้องเป็น 6 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามนี้เท่านั้น

6 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่จะได้รับสิทธิรักษาพยาบาลฟรี ได้แก่

1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง
3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วมด้วย
4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซึก พูดไม่ชัด หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ

สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลที่ใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤต ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง โดยนับรวมวันหยุดราชการ

4. กรณีคลอดบุตร

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ : ผู้ประกันตนหญิงและชายมีสิทธิได้รับค่าคลอดบุตรโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ผู้ประกันตนหญิง : สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ จะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาท และเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน (เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง)
  • ผู้ประกันตนชาย : ที่มีภรรยาจดทะเบียนสมรสหรือหญิงซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภรรยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะได้รับเฉพาะเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจำนวน 13,000 บาท

5. กรณีทันตกรรม

5.1 กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ : จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 900 บาท/ปี โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

รายละเอียดการเบิกค่าบริการต่าง ๆ มีดังนี้

  • ถอนฟัน : เบิกได้ 250-450 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุ Amalgum : เบิกได้ 300-450 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุเหมือนฟัน : เบิกได้ 350-500 บาท
  • ขูดหินปูน : เบิกได้ 400 บาท
  • ผ่าฟันคุด : เบิกได้ 900 บาท

Note : เนื่องจากบางสถานพยาบาลไม่มีบริการทางทันตกรรม ฉะนั้นอย่าลืมมองหาป้ายสติ๊กเกอร์ก่อนนะคะ

5.2 กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้

1. กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน : จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,500 บาท

  • ถอดได้ 1-5 ซี่ : เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,300 บาท
  • ถอดได้มากกว่า 5 ซี่ : เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,500 บาท

2. กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก : จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,400 บาท

  • ถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง : เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 2,400 บาท
  • ถอดได้ทั้งปากบนและล่าง : เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,400 บาท

13 โรคและบริการที่จะไม่ได้รับสิทธิรักษาพยาบาล

มาดูกันค่ะว่ามีโรคและบริการอะไรบ้างที่จะไม่ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลจากประกันสังคม

1. โรคหรือการประสบอันตรายจากการใช้สารเสพติด
2. การบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรัง
3. การกระทำใด ๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
4. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
5. การรักษาภาวะมีบุตรยาก
6. การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
7. การตรวจใดๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น
8. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
9. การเปลี่ยนเพศ
10. การผสมเทียม
11. การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น
12. ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าฟันคุด และกรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้
13. แว่นตา

ประกันสังคมใช้อะไรได้บ้าง

เท่าที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าสิทธิประกันสังคมหลัก ๆ จะครอบคลุมทั้งหมด 7 กรณีด้วยกัน ได้แก่ กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน แต่วันนี้เราจะขอพูดถึงกรณีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประกันสังคมรักษาพยาบาลเป็นหลักค่ะ

บุคคลทีต้องใช้สิทธิประกันสังคมได้แก่บุคคลกลุ่มใดบ้าง

ผู้ประกันตน คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงาน และทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป.
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน.
กรณีคลอดบุตร.
กรณีทุพพลภาพ.
กรณีตาย.
กรณีสงเคราะห์บุตร.
กรณีชราภาพ.
กรณีว่างงาน.

สิทธิประกันสังคม 7 กรณีมีอะไรบ้าง

สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33.
กรณีเจ็บป่วย ... .
กรณีคลอดบุตร ... .
กรณีทุพพลภาพ ... .
กรณีเสียชีวิต ... .
กรณีชราภาพ ... .
กรณีสงเคราะห์บุตร ... .
กรณีว่างงาน.

ประกันสังคมใช้ได้ครั้งละกี่บาท

สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลทั่วไปได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท และค่าห้อง ค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700. สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล ค่าห้องและค่าอาหาร เมื่อรักษาในห้อง ICU ไม่เกินวันละ 4,500 บาท หากต้องผ่าตัดใหญ่ สามารถเบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000-16,000 บาท ตามระยะเวลาการผ่าตัด ค่าฟื้นคืนชีพ เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก