ผล งาน ของ vincent van gogh

แม้ศิลปินชาวดัตช์ที่มีผลงานโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ศิลปะอย่าง Vincent van Gogh จะล่วงลับไปนานร่วม 130 ปี แต่ชีวิตและผลงานของเขาก็กลับยังคงมีอิทธิพลและสร้างแรงบันดาลใจให้ใครอีกหลายคนตราบจนปัจจุบัน นอกจากผลงานที่เป็นอมตะอยู่เหนือกาลเวลาของเขาแล้ว ส่วนหนึ่งอาจจะต้องยกความดีความชอบนี้ให้กับ Van Gogh Museum พิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นที่รวบรวมผลงานของตัว Van Gogh เอง และผลงานของศิลปินอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ถือเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่โดดเด่นที่สุดในแง่การปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีเครื่องมือมากมายเพื่อใช้สื่อสารเรื่องราวของศิลปินเอกคนนี้ทั้งในตัวพิพิธภัณฑ์ และสื่อออนไลน์

ซึ่งสิ่งที่ทำให้เราประทับใจสุด ๆ คือในหมู่มวลพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีมากมายบนโลกใบนี้ พิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมอย่าง Van Gogh Museum กลับยังคงยืนหนึ่ง เป็นที่ฮอตฮิตสำหรับคนทุกเพศทุกวัยไม่เสื่อมคลาย โดยในปี 2017 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ต้อนรับผู้เยี่ยมชมไปกว่า 2.3 ล้านคน ซึ่งถือเป็นจำนวนที่มากที่สุดในพิพิธภัณฑ์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ รวมถึงเป็นอันดับ 23 ของโลกด้วย นอกจากนั้น ทางพิพิธภัณฑ์ยังมีความพยายามจะนำผลงานของ Van Gogh ออกไปสู่วงกว้างให้คนเข้าถึงได้มากขึ้น จึงมีการจัดทำระบบข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่ง่ายต่อการสืบค้น รวมถึงมีการทำคลิปวีดีโอให้เราได้เข้าไปศึกษาตัวตนและผลงานของศิลปินเอกคนนี้กันแบบง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว ซึ่งในช่อง YouTube ของทาง Van Gogh Museum เองก็ยังมีการปล่อยคลิป Virtual Tour พาเราเดินดูผลงานของ Van Gogh ในพิพิธภัณฑ์กันแบบไม่มีกั๊กด้วย

สัปดาห์นี้เราจึงอยากชวนทุกคนไปร่วมทัวร์เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ในแต่ละโซนไปพร้อม ๆ กัน พร้อมแอบส่องเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ เบื้องหลังผลงานมาสเตอร์พีซแต่ละชิ้นว่าจะมีเรื่องราวที่น่าสนใจอะไรซ่อนอยู่บ้าง เผื่อว่าวันหน้าฟ้าใหม่จะได้ปักหมุดไปเที่ยวที่นี่กันแบบฟิน ๆ

Self-Portrait with Straw Hat (1887)

ด้วยความที่ขณะยังมีชีวิต Van Gogh เป็นเพียงศิลปินยากจนที่ไม่มีเงินจะไปจ้างใครมาเป็นแบบวาดรูป ทำให้เขาจำเป็นจะต้องฝึกฝนการวาดภาพมนุษย์จากการใช้ตัวเองเป็นแบบ จนในปัจจุบันเขากลายเป็นหนึ่งในศิลปินที่วาดภาพตัวเองเก็บไว้เยอะที่สุด ซึ่งในโซน Self-Portrait นี้ ทางพิพิธภัณฑ์ก็ได้รวบรวมผลงาน Self-Portrait ชิ้นเล็กชิ้นน้อยของเขาไว้มากมาย หนึ่งในชิ้นที่เราชอบเป็นพิเศษคือ ‘Self-Portrait with Straw Hat (1887)’ ผลงานที่เขาวาดไว้ตั้งแต่ปี 1887 ในช่วงที่ยังที่ยังใช้ชีวิตอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยนอกจากเขาจะไม่มีเงินจ้างแบบมาวาดรูปแล้ว แม้แต่ผืนผ้าใบที่ใช้วาดรูปนี้ก็ยังเป็นด้านหลังของผ้าใบเก่าที่เขาใช้วาดภาพหุ่นนิ่งไปก่อนหน้านี้

Self-Portrait as a Painter (1888)

อีกหนึ่งผลงาน Self-Portrait ที่โด่งดังของ Van Gogh โดยผลงาน ‘Self-Portrait as a Painter (1888)’ ถือเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายที่เขาวาดในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่ซึ่งเขาทุ่มเททำงานศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ไว้มากมาย แต่กลับได้มาเพียงความเหนื่อยล้าทั้งทางกายและทางใจ

The Potato Eaters (1885)

ขยับจากโซน Self-Portrait มาสู่โซน Painter of Peasants ซึ่งจะพาเราย้อนอดีตกลับไปดูจุดเริ่มต้นของศิลปินเอกคนนี้สมัยที่ยังศึกษางานสไตล์ Realism อยู่ โดยผลงานมาสเตอร์พีซของเขาอย่าง ‘The Potato Eaters (1885)’ นี้ Van Gogh ถ่ายทอดความยากลำบากของกลุ่มชาวนาในชนบทผ่านลักษณะร่างกายของเหล่าชาวนาที่ดูซูบผอม หยาบกร้าน รวมถึงบรรยากาศในภาพที่ดูมืดมัวจนต้องเพ่งมอง นอกจากผลงานสีน้ำมันชิ้นนี้แล้ว เขายังผลิตมันในรูปแบบภาพพิมพ์หิน (Lithograph) ด้วย ปัจจุบันภาพพิมพ์หินชิ้นดังกล่าวถูกเก็บรักษาไว้ที่ Museum of Modern Art (MOMA) ในมหานครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกานั่นเอง

The Bedroom (1888)

Van Gogh เป็นศิลปินอีกคนหนึ่งท่ีได้รับอิทธิพลจากงานภาพพิมพ์ญี่ปุ่นที่กำลังหลั่งไหลแผ่อิทธิพลเข้ามาสู่ยุโรปขณะนั้นเข้าอย่างจัง ในโซน Dreaming of Japan ทางพิพิธภัณฑ์จึงได้รวบรวมผลงานของเขาที่ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์มาจากภาพพิมพ์ญี่ปุ่นไว้มากมายหลายชิ้น โดยขณะที่เขาใช้ชีวิตอยู่ที่เมือง Arles ประเทศฝรั่งเศส เขาได้วาดผลงานผลงานชิ้นเอกอย่าง ‘The Bedroom (1888)’ เพื่อบันทึกภาพห้องนอนของเขาในบ้าน Yellow House ที่เขาใช้พักอาศัยในขณะนั้น (ซึ่งบ้านหลังนี้เองก็ปรากฏตัวในผลงานของเขาอีกหลายชิ้นด้วยเช่นกัน) โดยในจดหมายที่เขาส่งถึง Theo น้องชายของเขา Van Gogh ระบุว่า เขาจงใจวาดรูปข้าวของเครื่องใช้ในห้องนี้ให้ดูแบน ไร้น้ำหนัก และปราศจากเงาตกทอดตามหลักความถูกต้องของแสงและเงา เพื่อให้ผลงานชิ้นนี้มีลักษณะออกมาใกล้เคียงกับงานภาพพิมพ์ญี่ปุ่นมากที่สุด ซึ่งผลลัพธ์ของมันก็คงจะเป็นที่ถูกอกถูกใจเขามาก จนได้ผลิตมันออกมาในอีก 2 เวอร์ชั่นเพิ่มเติม ปัจจุบัน ผลงานอีก 2 ชิ้นถูกเก็บรักษาไว้ที่ Art Institute of Chicago ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Musée d'Orsay ประเทศฝรั่งเศส

Self-Portrait with Bandaged Ear (1889)

และแล้วเราก็มาถึงผลงาน ‘Self-Portrait with Bandaged Ear (1889)’ อีกหนึ่งผลงาน Self-Portrait กับหูที่หายไป ซึ่งความจริงแล้วเรื่องราวของ Van Gogh กับการตัดหูนั้นก็ยังมีการถกเถียงกันไม่จบสิ้น บ้างก็ว่า เขามีอาการทางจิต คลุ้มคลั่งควบคุมตัวเองไม่ได้จนตัดหูของตัวเอง บ้างก็ว่า เขาตัดหูเพื่อเป็นของต่างหน้าส่งไปให้หญิงโสเภณีที่หลงใหล หรือแม้แต่บางทฤษฎีที่สงสัยว่า ความจริงแล้ว Van Gogh อาจไม่ใช่คนตัดหูของตัวเอง แต่เป็นศิลปินและเพื่อนรักอย่าง Paul Gauguin ที่ตัดหูของเขาหลังจากมีเรื่องบาดหมางผิดใจกัน แต่ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีไหน ผลงานชิ้นนี้ก็น่าจะเป็นสัญลักษณ์อย่างดีที่บอกว่าศิลปินเอกคนนี้ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับอาการทางจิตที่คอยรบกวนชีวิตและความสัมพันธ์ของเขากับคนรอบข้างตราบจนวันสุดท้ายของชีวิต

Sunflowers (1889)

เมื่อพูดถึง Van Gogh แล้ว ภาพแรก ๆ ที่เราจะนึกถึงคงหนีไม่พ้นภาพดอกทานตะวันสีเหลืองเด่นในแจกันที่กำลังตั้งตระหง่านอย่างโดดเดี่ยวจากผลงาน ‘Sunflowers (1889)’ ที่แม้จะใช้สีเพียงไม่กี่สีในการสร้างสรรค์ แต่กลับทรงพลังจนกลายเป็นหนึ่งในผลงานภาพวาดดอกไม้ที่ไอคอนนิคที่สุดในโลกศิลปะ โดยความจริงแล้ว Van Gogh ได้วาดดอกทานตะวันในแจกันในลักษณะดังกล่าวไว้อีกหลายชิ้น แต่ชิ้นที่ถูกจัดแสดงอยู่ที่ Van Gogh Museum คือผลงานที่เขาผลิตเพิ่มเติมในภายหลังจากที่ Paul Gauguin ขอเป็นของขวัญหลังจากมาพักอาศัยร่วมกันที่บ้าน Yellow House นั่นเอง

Wheatfield with Crows (1890)

‘Wheatfield with Crows (1890)’ คืออีกหนึ่งผลงานชิ้นสำคัญของ Van Gogh แม้จะยังไม่มีหลักฐานที่ปรากฏแน่ชัด และยังมีการถกเถียงอยู่เป็นระยะ แต่นักประวัติศาสตร์ศิลป์หลายคนก็เชื่อว่าผลงานชิ้นนี้คือเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของเขาก่อนจะจากโลกใบไปในวัยเพียง 37 ปี ซึ่งภาพทุ่งข้าวสาลีสีเหลืองอร่ามที่กำลังถูกปกคลุมไปด้วยความขมุกขมัวของท้องฟ้ามืดมนและฝูงอีกานี้เองก็เป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่บอกเล่าความโศกเศร้าและโดดเดี่ยวของเขาในช่วงบั้นปลายชีวิตได้เป็นอย่างดี

Almond Blossom (1890)

ปิดท้ายกันที่โซน Painting Against All Odds ซึ่งผลงานที่เตะตาเรามากที่สุดคงหนีไม่พ้นผลงาน ‘Almond Blossom (1890)’ ซึ่งถือเป็นอีกครั้งที่อิทธิพลของงานภาพพิมพ์ญี่ปุ่นแสดงออกอย่างชัดเจนในภาพวาดของเขา ทั้งการจัดวางองค์ประกอบ และการใช้เส้นเอาต์ไลน์สีเข้นมาตัดขอบ สำหรับ Van Gogh แล้ว การผลิดอกบนกิ่งก้านของต้นอัลมอนด์เหล่านี้เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของความหวังและการกำเนิดใหม่ ซึ่งนี่เองอาจจะเป็นสาเหตุที่เขาวาดผลงานชิ้นนี้ขึ้นเพื่อเป็นของขวัญแก่ Theo และ Jo น้องชายและน้องสะใภ้ของเขาที่เพิ่งคลอดลูก โดยหลานชายคนนี้เองก็ถูกตั้งชื่อว่า Vincent Willem ตามชื่อของเขานั่นเอง

Free Virtual Tour: 

📍 Van Gogh Museum
อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
€ 19 ต่อคน อายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าชมฟรี
Website: //www.vangoghmuseum.nl/en
Facebook: //www.facebook.com/VanGoghMuseum/ 
Instagram: //www.instagram.com/vangoghmuseum/ 

ผลงานที่มีชื่อเสียงของ วินเซนต์ แวนโก๊ะ คือข้อใด

ฟินเซนต์ ฟัน โคค
สัญชาติ
ดัตช์
การศึกษา
Anton Mauve
มีชื่อเสียงจาก
จิตรกรรม วาดภาพชีวิต ภาพบุคคล และทิวทัศน์
ผลงานเด่น
คนกินมันฝรั่ง (1885) ดอกทานตะวัน (1887) ห้องนอนที่อาร์ล (1888) ราตรีประดับดาว (1889) ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแช (1890) ฝูงกาเหนือทุ่งข้าวสาลี (1890) The Siesta (1890) Church at Auvers (1890)
ฟินเซนต์ ฟัน โคค - วิกิพีเดียth.wikipedia.org › wiki › ฟินเซนต์_ฟัน_โคคnull

วินเซนต์ แวน โก๊ะ" สร้างผลงานชิ้นใด

ผลงานที่โด่งดังที่สุดของแวนโก๊ะ คือภาพวาดของ Irises เขาวาดภาพในปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิตและเรียกมันว่า “แสงที่ส่องมาสำหรับความเจ็บป่วยของฉัน” ในขณะที่เขารู้สึกว่างานของเขามีส่วนทำให้ความหวังกลายเป็นสิ่งวิกลจริต ในเดือนกันยายนปี ค.ศ 1987 ผลงานชิ้น Irises ขายได้ 53.9 ล้านเหรียญ และได้รับการบันทึกสถิติในทุกๆ สองปีครึ่ง ณ ...

แวนโก๊ะมีผลงานกี่ชิ้น

ในช่วงเวลาแค่เพียงสิบกว่าปีของอาชีพการงาน แวน โกะห์ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะราว 2,100 ชิ้น เป็นภาพวาดสีน้ำมันกว่า 900 ชิ้น และภาพวาดลายเส้น 1,100 ชิ้น ส่วนใหญ่ทำขึ้นในช่วงเวลาสองปีสุดท้ายในชีวิตเขา

ผลงานราตรีประดับดาวเป็นผลงานของใคร

ฟินเซนต์ ฟัน โคคราตรีประดับดาว / ศิลปินnull

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก