การศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาค ทําให้รู้ เรื่องราวเกี่ยวกับอะไร

เศรษฐศาสตร์มหภาค

         เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาหน่วยกิจส่วนรวม เช่น การผลิต รายได้ประชาชาติ การบริโภคการออม การลงทุน การจ้างงาน ภาษีอากร การคลังสาธารณะ การค้าระหว่างประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจ

         การศึกษาเศรษฐศาสตร์ระดับมหภาค เป็นการศึกษาที่ได้เน้นด้านการเพิ่มขึ้นของผลผลิตประชาชาติ การเพิ่มรายได้ให้แก่แรงงานและการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ความหมายของเศรษฐศาสตร์มหภาค
         จอห์น เมนารด เคนส์ “ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มิได้ให้ข้อสรุปที่จะนำมาใช้ได้กับนโยบายได้ทันทีโดยทฤษฏี เศรษฐศาสตร์เป็นวิธีการมากกว่าเป็นกฎเกณฑ์ และเป็นเทคนิคในการคิดซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง”
         ลีออลเนล รอบบินส์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน 
         โดยทั่วไปแล้วเป็นการศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการ มาสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่ไม่จำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการ มาสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่ไม่จำกัด

         เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น ผลิตผลรวมของประเทศ การจ้างงาน การเงินและการธนาคาร การพัฒนาประเทศ การค้าระหว่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นปัญหาที่กว้างขวางกว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาค เพราะว่าไม่ได้กระทบเพียงหน่วยธุรกิจเท่านั้น แต่จะกระทบถึงบุคคล หน่วยการผลิต และ อุตสาหกรรมทั้งหมด และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้นจะมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบี้องต้น(GNP) และการว่าจ้างงาน จะหาว่าอะไรเป็นสาเหตุให้ผลิตผลรวมและระดับการว่าจ้างงานมีการเคลื่อนไหวขึ้นลง เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่างๆได้ตรงจุด เช่น ภาวะเงินเฟ้อเงินฝืด และ ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น

ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์มหภาค
         เนื่องจากเศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคน ดังนั้นเศรษฐศาสตร์มหภาคจึงมีความสำคัญดังนี้
         1. ประชาชนทั่วไป ในฐานะเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ ถ้ามีความเข้าใจในภาวะเศรษฐกิจ ก็จะสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจได้อย่างทันท่วงที ช่วยให้ประชาชนเข้าใจการบริหารประเทศของรัฐบาลและสามารถที่จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลได้ดียิ่งขึ้น 
         2. ผู้ประกอบการ ไม่ว่าผู้ประกอบการอาชีพใดก็ต้องอาศัยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ในการประกอบการตัดสินใจบริหารงานต่างๆ ซึ่งจะสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้ และเป็นการลดความเสียงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย 
         3. เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ สำหรับผู้ที่มีความรู้ในทางเศรษฐศาสตร์ในระดับสูงใน "ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มหภาค" เกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ การเงินการคลัง และการธนาคาร วัฎจักรเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจ จะเป็นเครื่องมือขั้นต้นประกอบการวิเคราะห์เศรษฐกิจในขั้นต่อไป 

ที่มา://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit3/chapter3/chapter3_3/mi_macroeconomics/macroeconomics.html

ปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์แยกการศึกษาเศรษฐศาสตร์ออกเป็น 2 สาขาใหญ่ๆ คือ

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (microeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจใดหน่วยเศรษฐกิจหนึ่ง เช่น การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภครายใดรายหนึ่งว่าจะมีการตัดสินใจในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการอย่างไร จำนวนเท่าใด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความพอใจสูงสุดภายใต้ขีดจำกัดของรายได้จำนวนหนึ่ง พฤติกรรมของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งว่าจะตัดสินใจเลือกผลิตสินค้าอะไร จำนวนเท่าใด ด้วย วิธีการอย่างไร และจะกำหนดราคาเท่าไร จึงจะได้กำไรสูงสุด ศึกษาพฤติกรรมการลงทุน การออมของ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ศึกษากลไกตลาดและการใช้ระบบราคาเพื่อการจัดสรรสินค้า บริการ และทรัพยากร อื่นๆ จะเห็นได้ว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาคส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับราคาในตลาดแบบต่างๆ นักเศรษฐศาสตร์บางท่านจึงเรียกวิชาเศรษฐศาสตร์อีกชื่อหนึ่งว่า ทฤษฎีราคา (Price Theory)

เศรษฐศาสตร์มหภาค (macroeconomics) เป็นการศึกษาภาวะเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ทั้งระบบเศรษฐกิจหรือทั้งประเทศ อันได้แก่ การผลิตของระบบเศรษฐกิจ การบริโภค การออม และการลงทุนรวมของประชาชน การจ้างงาน ภาวะการเงินและการคลังของประเทศ ฯลฯ เศรษฐศาสตร์มหภาคโดยทั่วไปจะครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น รายได้ประชาชาติ วัฏจักรเศรษฐกิจ เงินเฟ้อและระดับราคา การคลังและหนี้สาธารณะ เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ การเงินและสถาบันการเงิน และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ฯลฯ

ที่มา: //www.wphat.com/knowledge/onlinebooks/econ_ele/econ/eco1.htm

ที่มารูปภาพ : //www.google.co.th/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C+%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99&espv=2&biw=1242&bih=602&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjdj5CU9_zQAhWIO48KHTB4AIQQ_AUIBygC&dpr=1.1#imgrc=PfTDm4409OCFuM%3A

การศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาคจะทําให้รู้เรื่องเกี่ยวกับอะไร

1.4.1 เศรษฐศาสตร์จุลภาค (microeconomics) คือเศรษฐศาสตร์ที่มุ่งศึกษา ถึงการตัดสินใจของ ส่วนย่อยในระบบเศรษฐกิจ โดยผู้ผลิตหรือผู้บริโภคคนใดคนหนึ่ง ครัวเรือนในครัวเรือนหนึ่ง ธุรกิจใด ธุรกิจหนึ่ง อุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตคนหนึ่งตัดสินใจจะกำหนด

การศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคจะทำให้บุคคลมีความรู้เรื่องใด *

เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) ศึกษาพฤติกรรมและ ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวม(Aggregate) เช่น ผลผลิต มวลรวม รายได้ประชาชาติ การบริโภคมวลรวม การลงทุนมวลรวม การใช้จ่ายของรัฐบาล และการจ้างงาน เป็นต้น

เศรษฐศาสตร์มหภาคคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

เศรษฐศาสตร์มหภาค หมายถึง การศึกษาระบบเศรษฐกิจในภาพรวมในระดับชาติและ นานาชาติ หรือองค์ประกอบของระบบเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นการศึกษาที่มองในภาพรวมมากกว่าที่จะลง ในรายละเอียดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับชาติ เช่น แทนที่เศรษฐศาสตร์มหภาคจะเกี่ยวกับสินค้า หรือบริการที่ขายได้ในแต่ละประเภท แต่นักเศรษฐศาสตร์มหภาคจะมองภาพรวมว่าผู้ ...

ข้อใดเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์จุลภาค

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (microeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจใดหน่วยเศรษฐกิจหนึ่ง เช่น การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภครายใดรายหนึ่งว่าจะมีการตัดสินใจในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการอย่างไร จำนวนเท่าใด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความพอใจสูงสุดภายใต้ขีดจำกัดของรายได้จำนวนหนึ่ง พฤติกรรมของผู้ผลิตหรือ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก