การเลือกตั้งสภานักเรียน คือ

  • หน้าแรก
  • อัลบั้มรูป
  • กิจกรรมการเลือกตั้งสภานักเรียน 2562

กิจกรรมการเลือกตั้งสภานักเรียน 2562

ด้วยโรงเรียนธิดาแม่พระ จ.สุราษฎร์ธานี ได้จัดให้มีการดำเนินการเลือกตั้งประธานนักเรียน คณะกรรมการสภานักเรียน ประจำปีการศึกษา 2562 ในวันที่ 4 กันยายน2562 โดยมีทั้งครูและนักเรียนเข้าร่วมเลือกตั้งในครั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมวิถีประชาธิปไตย การทำงานเป็นหมู่คณะ ส่งเสริมภาวะการเป็นผู้นำ และเพื่อพัฒนาทางด้านความคิด รวมทั้งมีความรู้ ความเข้าใจในระบบประชาธิปไตย มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

  • arrow_back
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • arrow_forward

 

ที่มาและความสำคัญ
สภานักเรียนเป็นองค์กรหนึ่งของเยาวชนนักเรียนในสถานศึกษาที่มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนา
ระบอบประชาธิปไตยในโรงเรียนโดยการเป็นผู้นำนักเรียนร่วมพัฒนาเยาวชนนักเรียนในโรงเรียนให้มีระเบียบวินัย
มีคุณธรรมจริยธรรมรักประเทศชาติและท้องถิ่น ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ของเยาวชนไทยและนักเรียนในยุคปัจจุบัน

สภานักเรียน

สภานักเรียน หมายถึง องค์กรของนักเรียนภายในโรงเรียน
ซึ่งได้รับการเลือกมาจากนักเรียนในโรงเรียนและภายในห้องเรียน
เพื่อเป็นหน้าที่เป็นผู้แทนของนักเรียนภายในโรงเรียน เป็นสื่อกลาง
เพื่อความเป็นประชาธิปไตยมีสิทธิและหน้าที่ของนักเรียน
โดยไม่ขัดกับระเบียบและนโยบาย ของโรงเรียน กำหนดแผนการปฏิบัติกิจกรรม
เชิงสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน
สังคม และ ประเทศชาติ
องค์ประกอบของสภานักเรียน

  1. คณะกรรมการบริหารงานสภานักเรียน จำนวน 20 คน
  2. คณะกรรมการสภานักเรียน ตัวแทนจากห้องเรียน ห้องเรียนละ 1 คน จำนวน 65 คน
  3. ครูที่ปรึกษา จำนวน 3 คน

บทบาทหน้าที่ของสภานักเรียน

คณะกรรมการสภานักเรียนเป็นตัวแทนของนักเรียนทั้งโรงเรียน เป็นผู้ที่คอยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นผู้ที่คอยประสานงานระหว่างนักเรียนกับโรงเรียน เพื่อประโยชน์ของโรงเรียนและนักเรียนเป็นที่สำคัญ

คณะกรรมการบริหารสภานักเรียน ประจำปีการศึกษา 2554

ประธานนักเรียน

  1. นางสาว อัญชลี ใจปันธิ

รองประธานนักเรียน

  1. นางสาว จิราภรณ์ ศรีจันทร์
  2. นาย กรชวัล กันแก้ว

เลขาสภานักเรียน

  1. นางสาว จริยานันท์ พันตา

ประชาสัมพันธ์

  1. นางสาว มธุริน ชุมภู

ฝ่าย สารสนเทศ และเทคโนโลยี

  1. นาย วัชรพงษ์ โกแสนตอ
  2. นาย ธรรมศาสตร์ กันทะสอน
  3. นาย ธนโชติ กันจันทร์วงศ์

ฝ่ายปฎิคม

  1. นางสาว ทรงฉัตร ชาติเผือก
  2. นางสาว วนิดา อิยวญชัย

ฝ่ายบริการ

  1. นางสาวศิริทิพย์ มูลจักร
  2. นางสาว วราลักษณ์ สรวยเจริญ
  3. นาย ภัทรวิศิษฐ์ กาติ๊บ
  4. นางสาว ประภารัตน์ บัวหลวง
  5. นาย เอกณรงค์ หอมนาน

ฝ่ายกิจกรรม

  1. นาย กฤษฏา ชาญชัย
  2. นางสาว ปุณยาวี บุญแรง
  3. นางสาว อภิษณา พูลทรัพย์
  4. นาย ณัฐพล ศรีคำ
  5. นาย ภาณุพงษ์ ศรีมูล
 
 

เริ่มต้นด้วยกิจกรรม “รู้จักเธอ รู้จักสภานักเรียน”

ให้โพสต์อิท แล้วเขียน 3 คำถาม

“สภานักเรียนที่ดีเป็นอย่างไร”

“สิทธิคืออะไร”

“ประชาธิปไตยคืออะไร”

จากนั้นให้เดินไปหาเพื่อนที่ยังไม่รู้จัก ทำความรู้จักกันแล้วถามคำถามที่ได้หนึ่งคำถาม จดคำตอบเพื่อนลงในกระดาษ และหมุนเวียนไปจนครบ

กลับมานั่งล้อมวง แชร์กันว่า ได้คำตอบจากเพื่อนว่าอย่างไรบ้าง

ให้นักเรียนได้ทำความรู้จักกัน และทบทวนแนวคิดสำคัญคร่าวๆ

กิจกรรม “ข้ามเส้น”

ติดเทปกาวแบ่งฝั่งห้องเป็นซ้าย ขวา

คือฝั่ง “เห็นด้วย” และ “ไม่เห็นด้วย”

เมื่ออ่านข้อความแต่ละข้อแล้ว ให้ผู้เข้าร่วมเลือกฝั่ง เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย

“คนเราเกิดมาไม่เท่าเทียมกัน”

“ประชาธิปไตยคือการใช้เสียงส่วนใหญ่เสมอ”

“การเลือกตั้ง เท่ากับ ประชาธิปไตย”

“เด็กสมัยนี้เรียกร้องแต่สิทธิ ไม่รู้จักหน้าที่”

ถามทีละข้อ แล้วให้แต่ละฝ่าย ได้แสดงเหตุผลและทัศนะต่อข้อความข้างต้น

ตื่นเต้นมากครับ กับคำตอบของนักเรียน หลายเรื่องยังคงดีเบทกันได้ สำคัญคืออย่าเพิ่งชี้ขาดว่าอะไรถูกอะไรผิด ให้แต่ละฝ่ายได้แลกเปลี่ยนและเรียนรู้จากการแสดงความเห็นของอีกฝ่าย หลายคนพูดได้เฉียบคมจนผมอึ้ง 

จากนั้นก็กลับมานั่งแล้วชวนคุยถึงความเข้าใจหลายอย่างที่ได้ถกเถียงกัน 

มีการเลือกตั้งไม่ได้แปลว่าเป็นประชาธิปไตย ถ้าการเลือกตั้งนั้นไม่เป็นอิสระ ไม่ยุติธรรม และไม่มีความต่อเนื่อง

เสียงส่วนใหญ่ไม่ใช่ประชาธิปไตย เสียงของทุกคนต่างหากที่เป็น เราหลงใช้การโหวต โดยทิ้งเสียงส่วนน้อย คนชายขอบให้เป็นผู้แพ้ แต่ขาดการอภิปรายพูดคุย ประนีประนอมหา ฉันทามติ ร่วมกัน

อย่างคำว่าคนดีกับพลเมืองดีเหมือนกันหรือไม่ ? 

แล้วสภานักเรียนต้องเป็นคนดี หรือพลเมืองดี? หรือเป็นทั้งสองอย่าง

เปิดภาพชายสูงวัยนั่งให้อาหารนกในสวนสาธารณะ ตั้งคำถามว่าชายคนนี้เป็นคนดีหรือไม่ แล้วเป็นพลเมืองดีหรือเปล่า?

เปิดภาพนักข่าวที่เตะขาเด็กผู้ลี้ภัยไม่ให้เข้าประเทศ เรียกเป็นพลเมืองดีได้ไหม เป็นคนดีหรือเปล่า?

ชวนคุยเรื่อง พลเมือง 3 แบบตามแนวคิดของ Joel Westheimer

พลเมืองรับผิดชอบ พลเมืองมีส่วนร่วม พลเมืองมุ่งเน้นความยุติธรรม

แล้วการทำงานสภานักเรียนควรเป็นพลเมืองแบบไหน

ผมยกตัวอย่าง ปัญหาขยะในโรงเรียน

เราจะแก้ปัญหา โดยการควบคุมการทิ้งขยะของนักเรียน โดยการช่วยกันเก็บ โดยการรณรงค์ หรือการหาต้นตอสาเหตุ แก้เชิงโครงสร้างและระบบการจัดการ

ถึงตรงนี้ ผมพานักเรียนที่เข้าร่วม “สำรวจตัวเอง” และแชร์กับเพื่อน

รอบแรก ให้นึกถึง “เหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกภูมิใจ มีคุณค่า ได้รับความเคารพ”

คำตอบที่ได้เช่น สอบได้ที่หนึ่ง ได้รางวัล ได้เป็นรุ่นพี่ ได้รับการเลือกเป็นหัวหน้า ได้มีคนรับฟัง

รอบที่สอง ให้นึกถึง “เหตุการณ์ที่เราถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมด้วยเหตุจากอัตลักษณ์หรือการเป็นตัวของเราเอง

คำตอบเช่น เป็นเด็กหลังห้อง เป็น LGBTQ คิดต่างจากเพื่อนแล้วถูกบูลลี่ ถูกครูแปะป้ายแล้วไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น

ผมอธิบายว่าคนเราเกิดมาเท่าเทียมกันในฐานะมนุษย์ แต่ธรรมชาติมนุษย์เรามีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดอำนาจที่แตกต่างกัน และถูกแบ่งออกเป็นกระแสหลัก และชายขอบ และเกิดการใช้อำนาจเหนือ เพื่อกำหนดคุณค่า บังคับควบคุม และเอารัดเอาเปรียบ หรือใช้อำนาจเหนือเพื่อปกป้อง สนับสนุน ส่งเสริม 

ในฐานะสภานักเรียนก็เช่นกัน ที่ได้อำนาจหน้าที่อะไรบางอย่างจากนักเรียน จะต้องทำงานยึดโยงกับนักเรียน และควรใช้อำนาจนั้นปกป้อง ดูแลสิทธิของนักเรียน

ผมบรรยายเรื่องสิทธิเด็ก 4 ประการต่อ ได้แก่ สิทธิที่จะมีชีวิต สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และสิทธิที่จะมีส่วนร่วม แล้วชาวนคุยว่า เรามาโรงเรียนหนึ่งวันต้องเจออะไรบ้าง

สรุปแล้วสิ่งที่พบเจอทั้งทางกายภาพและทางด้านจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก และในช่วงวันธรรมดา เราใช้ชีวิตในโรงเรียนมากกว่าบ้าน ถ้าชีวิตที่โรงเรียนเราบัดซบ แปลว่าชีวิตส่วนใหญ่ก็บัดซับ

แล้วเรามาโรงเรียนทำไม?

สุดท้ายชวนหาคำตอบว่าเรามาโรงเรียนทำไม?

เพื่อรับการขัดเกลา

เพื่อรับการถ่ายทอด

เพื่อได้เรียนรู้ พัฒนาด้าน อารมณ์ สังคม สติปัญญา

เพื่อเปลี่ยนแปลงตนเองและสังคม

เพื่อค้นพบตนเอง

ปรากฎผลเหมือนกันทุกครั้ง นักเรียนคาดหวังมาเพื่อค้นพบตนเอง เรียนรู้พัฒนาด้านต่างๆ และเปลี่ยนแปลงสังคม แต่โรงเรียนมุ่งเน้นเพียงการถ่ายทอดและขัดเกลา

ในฐานะสภานักเรียน เป็นองค์กรหนึ่งที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในโรงเรียน ควรมีบทบาทหน้าที่อย่างไรบ้าง ที่จะเติมเต็ม และตอบสนองความต้องการของนักเรียนที่เลือกพวกเขามา

ผมแบ่งกลุ่มสภานักเรียนของห้อง คณะกรรมการนักเรียน และคณะสี ให้ออกแบบ และเขียนบทบาทหน้าที่ของตนเอง เพื่อตอบโจทย์สิทธิเด็กทั้ง 4 ข้อ และลองมองวิธีการผ่านแนวคิดในการจัดการศึกษาว่าควรเป็นอย่างไรแล้วควรมีค่านิยมที่เปลี่ยนไปอย่างไร

การเป็นสภานักเรียน คือเป็นผู้แทนของนักเรียน มีหน้าที่ในการปกป้องและพิทักษ์สิทธิ ของนักเรียนทุกคน คือผู้นำการเปลี่ยนแปลง

การจัดกิจกรรมหรือการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ใช่เพียงการทำให้นักเรียนยอมรับและออกไปเผชิญโลกจริงได้ แต่เป็นการมองหาสังคมที่ดีกว่าร่วมกัน และออกจากโรงเรียนไปเพื่อสร้างมันขึ้นมา

วันนี้ไม่ได้มาบอกว่าสภานักเรียนต้องทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้

แต่เพียงอยากจุดประกาย และให้มองเห็นความเป็นได้ มองหาสิ่งที่ควรเป็น สิ่งที่ควรได้รับ และตะหนักในสิทธิของตนเองและผู้อื่น มองให้เห็นถึงสิ่งผิดปกติและความไม่เป็นธรรม และใช้กำลังสุดความสามารถจากบทบาทการเป็นสภานักเรียนในการเปลี่ยนแปลงมัน

“สภานักเรียน มีหน้าที่ ปกป้องและพิทักษ์สิทธิของนักเรียน”

การเลือกตั้งสภานักเรียนเพื่ออะไร

- เพื่อฝึกฝนให้นักเรียนเข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตย - เพื่อให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และหน้าที่ของตนเอง - เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแลปกครองและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ

สภานักเรียนหมายถึงอะไร

สภานักเรียนเป็นองค์กรหนึ่งของเยาวชนนักเรียนในสถานศึกษาที่มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนา ระบอบประชาธิปไตยในโรงเรียนโดยการเป็นผู้นำนักเรียนร่วมพัฒนาเยาวชนนักเรียนในโรงเรียนให้มีระเบียบวินัย มีคุณธรรมจริยธรรมรักประเทศชาติและท้องถิ่น ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตย

กรรมการสภานักเรียนคืออะไร

ข้อ 5 คณะกรรมการสภานักเรียน หมายความว่า องค์กรกิจกรรมตัวแทนของนักเรียนโรงเรียนซึ่งมี หน้าที่ประสานงานระหว่างคณะผู้บริหาร คณะครูนักเรียน และชุมชนพร้อมทั้งมีบทบาทในการดาเนินกิจกรรม ของนักเรียนและโรงเรียน และเป็นองค์กรที่ได้จาลองรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สภา รร. มี หน้าที่ อะไร

(1) ประสานงานกับงานประสัมพันธ์ของโรงเรียนในกิจการที่เกี่ยวข้อง (2) จัดเตรียมเครื่องขยายเสียงให้พร้อมใช้งานในกิจกรรมต่างๆ (3) จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของคณะกรรมการสภานักเรียน (4) ดำเนินหน้าที่พิธีกรในช่วงพิธีการหน้าเสาธง (5) เป็นพิธีกรในกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนตามที่ได้รับมอบหมาย (6) ถ่ายภาพกิจกรรม ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก