บทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูก เป็นผลงานของกวีท่านใด

เป็นบทละครพูดขนาดสั้นเพียงหนึ่งองก์ สันนิษฐานว่าเป็นบทละครพูดภาษาไทยเรื่องแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เอง


เนื้อเรื่องย่อ

          นายล้ำมาที่บ้านพระยาภักดีนฤนาถ มีอ้ายคำซึ่งเป็นคนรับใช้ของพระยาภักดีให้การต้อนรับ และนั่งคอยดูอยู่ห่างๆเนื่องจากไม่ไว้ใจเพราะเห็นสภาพของนายล้ำที่แต่งตัวปอนๆ ท่าทางดื่มเหล้าจัดจนเมื่อพระยาภักดีกลับมาบ้านได้พบนายล้ำจึงทำให้ทราบเรื่องราวของคนทั้งสอง จากการสนทนาโต้ตอบกันว่า เดิมนายล้ำเป็นเพื่อนกับพระยาภักดี ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหลวงกำธร ส่วน นายล้ำเป็นทิพเดชะ นายล้ำมีภรรยา คือแม่นวล มีลูกสาวคือ แม่ลออ เมื่อแม่ลออมีอายุ 2 ขวบ เศษ นายล้ำก็ถูกจำคุกเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม่นวลเลี้ยงดูลูกสาวมาตามลำพัง ก่อนตายจึงยก ลูกสาวให้เป็นลูกบุญธรรมของพระยาภักดี นายล้ำจำคุกอยู่ 10 ปี ก็ออกจากคุกไปร่วมค้าฝิ่นอยู่ กับจีนกิมจีนเง็ก ที่พิษณุโลก พอถูกตำรวจจับได้ก็แก้ข้อกล่าวหาเอาตัวรอดฝ่ายเดียว ต่อมาก็ ตกอยู่ในสภาพสิ้นเนื้อประดาตัว จึงตั้งใจจะมาอยู่กับแม่ลออ ซึ่งมีอายุ 17 ปี กำลังจะแต่งงาน กับนายทองคำ แต่พระยาภักดีพยายามชี้แจงให้นายล้ำเห็นแก่ลูกสาวไม่ต้องการให้ถูกคนอื่น รังเกียจว่ามีพ่อเป็นคนขี้คุกและฉ้อโกง จนในที่สุดเสนอเงินให้ 100 ชั่ง แต่นายล้ำก็ไม่ยอมเมื่อ แม่ลออกลับมาถึง นายล้ำจึงได้รู้จักกับแม่ลออและได้เห็นประจักษ์ว่าตนเลวเกินกว่าจะเป็นพ่อ ของแม่ลออ ซึ่งหล่อนได้วาดภาพพ่อไว้ในใจว่า พ่อเป็นคนดีที่หาที่ติไม่ได้เลย


 ศิลปะการประพันธ์

๑. ใช้ภาษาโบราณ แต่ทำความเข้าใจได้ไม่ยาก เช่น ไม่รับประทาน” (ไม่รับประทาน คือ ไม่เอา)

๒. ใช้คำพูดที่สั้น แต่แฝงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวละครไว้กระชับ เช่น

                 พระยาภักดี. ค้าอะไร ?

                 นายล้ำ. ฝิ่น.


   ๓. ใช้บทสนทนาแสดงบรรยากาศ เหตุการณ์ และอารมณ์ของตัวละคร เช่น

                 นายล้ำ. ผมไม่เอาเงินของคุณ.

                 พระยาภักดี. ถ้ายังงั้นก็ไปให้พ้นบ้านฉัน, ไป !


คุณค่าด้านวรรณศิลป์

๑) การใช้บทสนทนาที่เหมาะสมกับสถานภาพของตัวละคร

กวีสามารถสร้างบทสนทนาที่เหมาะสมกับสถานภาพของตัวละครที่กล่าวบทสนทนานั้นตำแหน่งทางสังคม ยศถาบรรดาศักดิ์ รวมไปถึงอายุของตัวละคร


๒) การใช้บทสนทนาที่สอดคล้องกับลักษณะนิสัยและอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร

บทละครพูดดำเนินเรื่องผ่านบทสนทนาเป็นหลัก ทำให้การสื่อสารเรื่องราวรวมไปถึงลักษณะของตัวละครต้องสื่อผ่านบทสนทนานั้น โดยกวีสร้างบทสนทนาที่ช่วยสื่อถึงนิสัยและอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครได้เป็นอย่างดี


๓) การใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมายลึกซึ้ง

ในบทละครนี้มีการใช้ถ้อยคำที่สั้นกระชับ แต่กินความมาก สามารถสื่อความหมายได้ลึกซึ้ง ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ชมเข้าใจเรื่องราวได้ดียิ่งขึ้น


๔) การสื่อความหมายโดยนัย

หมายถึง การสื่อความหมายออกมาโดยไม่แสดงออกมาตรงๆ แต่สื่อผ่านคำพูดที่สื่อเป็นนัยให้ทราบ


๕) การใช้สำนวน

การใช้สำนวนทำให้บทสนทนาสื่อความหมายได้อย่างกินความกว้างขวางมากขึ้น และยังช่วยนำเสนอความคิดบางอย่างของตัวละครได้อีกด้วย


คุณค่าด้านสังคมและสะท้อนวิถีไทย ดังนี้

๑) ธรรมเนียมการต้อนรับแขก

ทุกครอบครัวในสังคมไทยย่อมได้รับการปลูกฝังจากคนรุ่นพ่อรุ่นแม่เสมอว่า เป็นธรรมเนียมไทยแต่โบราณ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับการต้อนรับแขกด้วยความเต็มใจและเลี้ยงรับรองอย่างดีที่สุดถือเป็นมารยาททางสังคมประการหนึ่ง และผู้ที่ได้รับการต้อนรับย่อมประทับใจและกล่าวถึงในความมีน้ำใจของเจ้าบ้าน


๒) การกำหนดค่าและรูปแบบของเงิน

ในระบบเศรษฐกิจไทยจะใช้ระบบแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน ต่อมาเมื่อสังคมมีโครงสร้างที่ซับซ้อน มีระบบเศรษฐกิจที่ชัดเจนมากขึ้น ระบบเงินตราจึงเข้ามาเป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน


๓) ค่านิยมการนับถือบุคคลที่เพียบพร้อมทั้งรูปสมบัติและทรัพย์สมบัติ

ได้สะท้อนให้เห็นค่านิยมของคนไทยที่นับถือบุคคลจากรูปลักษณ์ภายนอกโดยมิได้มองถึงคุณธรรมความดีของบุคคลผู้นั้น บุคคลใดมีความประพฤติด่างพร้อย ทำให้เสียชื่อเสียงเกียรติยศ ไม่ว่าจะเคยเป็นคนดีหรือเป็นคนเลวมาก่อนก็ตาม เมื่อชีวิตมีมลทินก็ทำให้เป็นที่รังเกียจของสังคม


๔) แสดงให้เห็นถึงสัจธรรมของมนุษย์

มนุษย์ทุกคนย่อมเห็นแก่ตัวเป็นธรรมดา แม้กระทั่งนายล้ำเองยังต้องต่อสู้กับความรู้สึกเห็นแก่ตัวหรือเห็นแก่ลูกของตนเองและในที่สุดอำนาจฝ่ายสูงก็ชนะ นายล้ำยอมจากไปผจญกับความยากลำบากเพราะเห็นแก่ลูกมากกว่า จึงเป็นเรื่องที่น่ายกย่องที่เขาเคยทำผิดแต่ก็สำนึกตัวได้


ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ

๑. การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังจะเห็นได้จากผลทุจริตของนายล้ำที่ต้องรับโทษจำคุกเป็นเวลา ๑๐ ปี

๒. ความรักระหว่างพ่อลูกเป็นความรักบริสุทธิ์ไม่หวังผล ดังที่นายล้ำล้มเลิกความเห็นแก่ตัวของตนเอง เมื่อได้รับรู้ว่าแม่ลออมีความภาคภูมิใจในตัวบิดาผู้ให้กำเนิดอย่างไร

๓. ความรักบริสุทธิ์สามารถเผื่อแผ่ไปถึงบุคคลอื่นได้ ตัวอย่างเช่นความรักของพระยาภักดีนฤนาถที่มีต่อแม่ลออ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เลือดเนื้อเชื้อไขของตนเอง


การนำไปใช้ในชีวิตจริง

๑. การหลงในอบายและการทำกรรมชั่วทั้งปวงล้วนนำมาซึ่งปัญหาครอบครัวและปัญหาสังคม

๒. การรู้ผิดชอบชั่วดีในการกระทำของตนจะช่วยให้ครอบครัวปกติสุขไร้ซึ่งปัญหา


สรุป

บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ลูก เป็นผลงานพระราชนิพนธ์ที่แสดงถึงความรักอันบริสุทธิ์ระหว่างพ่อและลูกทำให้รู้ว่าไม่มีความรักใดบริสุทธิ์เท่าความรักตามธรรมชาติที่พ่อมอบให้แก่ลูก



พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ

 

ผู้แต่ง : พระสุนทรโวหาร (ภู่)

ลักษณะการประพันธ์ : พระอภัยมณีแต่งด้วย

                                      กลอนสุภาพในลักษณะนิทาน

ที่มาของเรื่อง : สุนทรภู่ผูกเรื่องพระอภัยมณีขึ้นจากการฟังคำบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของบุคคลในสังคมผสมผสานกับจินตนาการของตนเอง

จุดมุ่งหมายในการประพันธ์ : สุนทรภู่แต่งพระอภัยมณีเพื่อขายเลี้ยงชีพในยามที่ตกยากอยู่ในคุกแต่เมื่อพ้นโทษแล้วก็แต่งเพื่อถวายพระองค์เจ้าลักขณานุคุณและกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ


เนื้อเรื่องย่อ

ความเดิมตอนต้นเรื่อง







พระอภัยมณีและศรีสุวรรณพระอนุชาถูกขับออกมาจากเมืองรัตนาของท้าวสุทัศน์พระบิดา เนื่องด้วยท้าวสุทัศน์ทรงเห็นว่าวิชาปี่ของพระอภัยมณีและวิชากระบี่กระบองของศรีสุวรรณเป็นวิชาชั้นเลว ไม่มีประโยชน์ในการปกครอง พระอภัยมณีและศรีสุวรรณเดินทางมาพบ ๓ พราหมณ์ คือ วิเชียร โมรา สานน และได้เป่าปี่ให้ฟังจนทั้งหมดหลับไป นางผีเสื้อสมุทรผ่านมาและพอใจในเสียงปี่จึงได้ลักพาพระอภัยมณีไปไว้ยังถ้ำแล้วแปลงกายเป็นสาวงามมาปรนนิบัติ พระอภัยมณีทราบแต่ทำอะไรไม่ได้จึงจำใจอยู่กินกับนางผีเสื้อ

ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ

           พระอภัยมณีอยู่กับนางผีเสื้อสมุทรในถ้ำจนมีพระโอรสชื่อว่าสินสมุทร        สินสมุทรมีมีลักษณะผสมระหว่างพระอภัยมณีและนางผีเสื้อสมุทรดังความว่า

           ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรงเดช           แต่ดวงเนตรแดงดูดังสุริย์ฉาย

            ทรงกำลังดังพระยาคชาพลาย                           มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดา


พระอภัยมณีได้เลี้ยงและถ่ายทอดความรู้ที่พระองค์มีให้กับสินสมุทรจนหมดและมอบของสำคัญไว้ให้ คือ พระธำมรงค์และผ้าคาดเอว วันหนึ่งเมื่อนางผีเสื้อสมุทรออกไปหาอาหาร ด้วยความซุกซนสินสมุทรได้ทดลองผลักหินปากถ้ำจนเปิดแล้วออกไปเที่ยวเล่นในทะเล สินสมุทรพบเงือกชราแต่ไม่รู้จักว่าคืออะไรจึงนำเงือกกลับไปให้พระอภัยมณีทอดพระเนตร พระอภัยมณีเห็นดังนั้นจึงเล่าความจริงให้สินสมุทรฟังทั้งหมด สินสมุทรทราบความแล้วก็เสียใจเป็นอันมาก เงือกฟังแล้วได้อ้อนวอนให้พระอภัยมณีสั่งให้สินสมุทรปล่อยตนไปเสียและให้สัญญาว่าจะพาพระอภัยมณีหนีพึ่งพระโยคีที่เกาะแก้วพิสดารซึ่งอยู่ห่างออกไปราว ๑๐๐ โยชน์ เงือกชราบอกว่าการไปที่เกาะแก้วพิสดารนั้นตนต้องใช้เวลาถึง ๗ วัน ว่ายน้ำไปในมหาสมุทรแต่กลัวนางผีเสื้อสมุทรจะตามทันเพราะนางผีเสื้อสมุทรนั้นมีพละกำลังมากเมื่ออยู่ในทะเลซึ่งใช้เวลาเพียง ๓ – ๔ วันก็ไปถึงเกาะแล้ว เงือกชราแนะให้พระอภัยมณีทำอุบายลวงนางผีเสื้อสมุทรเพื่อจะได้มีเวลาในการหลบหนี

ตกกลางคืนในวันเดียวกัน นางผีเสื้อสมุทรเกิดฝันร้ายว่ามีเทวดามาควักเอานางทั้งสองออกแล้วเหาะหายไป นางตกใจตื่นแล้วเล่าความฝันนั้นให้พระอภัยมณีฟังทั้งหมด พระอภัยมณีเห็นเป็นโอกาสดีจึงทำนายฝันไปว่านางนั้นจะมีเคราะห์ร้ายอาจถึงแก่ชีวิต

และแนะนำให้นางไปบำเพ็ญศีลอยู่บนเขา ๓ วัน เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และห้ามกินเนื้อสัตว์เป็นอันขาด นางผีเสื้อหลงกลพระอภัยมณี สินสมุทรทราบความโดยตลอด       ก็เสียใจจนพระอภัยมณีต้องห้าม ดังความว่า

                    สินสมุทรสุดแสนสงสารแม่                ด้วยรู้แน่ว่าบิดาจะพาหนี

                    ให้ห่วงหลังกังวลด้วยชนนี                 เจ้าโศกีกราบก้มบังคมคัล

                    บิดาดูรู้แจ้งจึงแกล้งห้าม                     จะวอนตามเขาไปไยในไพรสัณฑ์

                    อยู่เป่าปี่ตีเกราะเสนาะครัน                 แล้วรับขวัญลูกน้อยกลอยฤทัย

พระอภัยมณีและสินสมุทรได้หนีไปกับครอบครัวเงือก เมื่อครบ ๓ วัน นางผีเสื้อสมุทรกลับมาไม่พบใครจึงออกตระเวนทะเลตามหาด้วยร่างเนรมิตเป็นยักษ์แล้วเรียกภูตผีในทะเลมาถามจนได้ความและตามพระอภัยมณีไปทันภายใน ๓ วัน สินสมุทรพยายามห้ามแล้วแต่นางผีเสื้อสมุทรไม่ฟัง สินสมุทรจึงหลอกล่อให้มารดาหลงทางเพื่อให้เงือกลูกสาวพาพระอภัยมณีหนีไปให้ถึงเกาะแก้วพิสดาร


เงือกชราสองผัวเมียถูกนางผีเสื้อฆ่าตายซึ่งในขณะเดียวกันพระอภัยมณี            สินสมุทรและเงือกสาวได้หนีขึ้นเกาะแก้วพิสดารทันพระโยคีออกมาห้ามปรามนางผีเสื้อสมุทรแต่นางไม่ฟังและต่อว่าย้อนกลับมาพระโยคีจึงเสกทรายปกป้องเกาะไว้เพื่อไม่ให้นางผีเสื้อสมุทรเข้ามาได้


ศิลปะการประพันธ์

๑. มีความไพเราะ มีสัมผัสในเกือบทุกวรรค เช่น

นิจจาเอ๋ยเคยอยู่เป็นคู่ชื่น               ทุกวันคืนค่ำเช้าไม่เศร้าหมอง


๒. มีการสรรคำที่โดดเด่น สื่อความหมายได้กินใจ เช่น

แม้นสิ้นสูญบุญนางในปางนี้              ไม่มีที่พึ่งพาจะอาศัย

จะกอดศพซบหน้าโศกาลัย                   ระกำใจว่าจะม้วยไปด้วยกัน


๓. ใช้ภาษาพูดทั่วไป ทำให้อ่านเข้าใจง่าย เช่น

แล้วร้องถามตามประสาเป็นทารก        นี่สัตว์บกหรือสัตว์น้ำดำหนักหนา

โจนกระโจมโครมครามตามเรามา         จะเล่นข้าท่าไรจะใคร่รู้


๔. ใช้คำอุปมาเพื่อให้ภาพชัดเจน เช่น

ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรงเดช         แต่ดวงเนตรแดงดูดังสุริย์ฉาย


๕. ใช้คำพรรณนาเพื่อสื่อความเคลื่อนไหว เช่น

ฝูงพิมพาพาฝูงเข้าแฝงวน                 บ้างผุดพ่นฟองน้ำบ้างดำจร


๖. ใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น

ลงกลิ้งเกลือกเสือกกายร้องไห้โร่              เสียงโฮโฮดังก้องห้องคูหา


๗. บรรยายเหตุการณ์ได้เห็นภาพและสะเทือนอารมณ์ เช่น

เสียแรงรักหนักหนาอุตส่าห์ถนอม             สู้อดออมสารพัดไม่ขัดขืน

          ช่างกระไรใจจืดไม่ยืดยืน                    นางสะอื้นอ้าปากจนรากเรอ



ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ

๑. ความรักควรมีสติ ไม่ควรใช้ความหลงเพราะจะทำให้รักนั้นย้อนกลับมาทำร้ายเช่นเดียวกับนางผีเสื้อสมุทร

๒. เด็กต้องมีความเคารพผู้ใหญ่ ดังจะเห็นได้จากการที่พระอภัยมณีสอนให้สินสมุทรขอขมาเงือกชราก่อนจะพาขึ้นบ่าหนีไป

ฉากของเรื่องบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกใช้สถานที่ใด

ฉาก ห้องหนังสือ ในบ้านพระยาภักดีนฤนาถ

สิ่งใดที่สําคัญที่สุดในบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ลูก แสดงถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูกผ่านพฤติกรรมของตัวละครแต่ละตัว โดยพระยาภักดีนฤนาถ เป็นตัวแทนของบิดาเลี้ยงที่ทำหน้าที่พ่อด้วยความเต็มใจ ส่วนนายล้ำ เป็นตัวแทนของบิดาผู้ให้กำเนิดซึ่งสามารถเปลี่ยนความเห็นแก่ตัวไปเป็นความเห็นแก่ลูกได้ในที่สุด แนวคิดของเรื่องมุ่งทำให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ้งใจว่าไม่มี ...

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกแต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด

เรื่อง เห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดร้อยแก้ว มีความยาว ๑ องค์ เนื้อเรื่องมีขนาดสั้น ปมเรื่องไม่ซับซ้อน บทละครพูดเป็นการสนทนาโต้ตอบ ของตัวละครที่เหมือนในชีวิตจริง

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกดำเนินเรื่องอย่างไร

เนื้อเรื่อง บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ลูก แสดงถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูกผ่านพฤติกรรมของตัวละครแต่ละตัว โดยพระยาภักดีนฤนาถ เป็นตัวแทนของบิดาเลี้ยงที่ทำหน้าที่พ่อด้วยความเต็มใจ ส่วนนายล้ำ เป็นตัวแทนของบิดาผู้ให้กำเนิดซึ่งสามารถเปลี่ยนความเห็นแก่ตัวไปเป็นความเห็นแก่ลูกได้ในที่สุด

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก