อริยสัจ 4 กับเศรษฐกิจ พอ เพียง

THAIRATH MEMBERSHIP

Live ชมรายการสด

ข่าว

ข่าว

  • ข่าวล่าสุด
  • พระราชสำนัก
  • ทั่วไทย
  • ในกระแส
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ
  • ต่างประเทศ
  • อาชญากรรม
  • ยานยนต์
  • เทคโนโลยี
  • ราคาทองคำ
  • รายงานพิเศษ

กีฬา

  • ฟุตบอลต่างประเทศ
  • ฟุตบอลไทย
  • Sport insider
  • ไฟต์สปอร์ต
  • กีฬาโลก
  • วิดีโอ
  • แกลเลอรี่
  • ซีเกมส์ 2021

ไทยรัฐทีวี

  • ดูย้อนหลัง
  • วาไรตี้บันเทิง
  • กีฬา
  • ผังรายการ
  • Live

โปรโมชั่น

โปรโมชั่น

  • ซื้อ-ขาย
  • ส่วนลด
  • เช็คราคา

Thairath Talk

หนังสือพิมพ์

คอลัมน์

บันเทิง

ดวง

หวย

นิยาย

วิดีโอ

Podcast

ไลฟ์สไตล์

กิจกรรม

Thairath Plus

Thairath Plus

  • Speak
  • Money
  • Everyday Life
  • Nature Matter
  • Subculture
  • Futurism
  • Spark

Mirror

Mirror

100 ปี ชาตกาล
กำพล วัชรพล

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ติดต่อโฆษณา

facebookfacebook twittertwitter instagraminstagram youtubeyoutube

                                                                   งานวิจัย

         งานวิจัยเรื่องที่ 1
(วิภาพรรณ พินลา, ชุติมา วัฒนคีรีและ กิตติคุณ รุ่งเรื่อง, 2555)ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 90 คน ได้จากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) 2 กลุ่ม กลุ่มละ 45 คน กลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา และกลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ เวลาที่ใช้ในการทดลองกลุ่มละ 18 คาบ ตามแบบแผนการวิจัยแบบสุ่มกลุ่ม ทดสอบก่อน-หลัง (Randomized Control Group Pretest-Posttest Design) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าที (t-test Independent sample และ t-test for dependent sample)

ผลการวิจัยพบว่า

1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา กับการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ไม่แตกต่างกัน

2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

4. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาไม่แตกต่างกัน

5. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

6. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

งานวิจัยเรื่องที่ 2

(วาสนา ตันมูล, 2558)การศึกษาเรื่องการพัฒนาการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบผังกราฟิกบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ ความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคมกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 86 คน จำแนกเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 43 คน เป็นกลุ่มทดลอง และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 43 คน เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบผังกราฟิกบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดความรับผิดชอบ แบบสังเกตพฤติกรรม ความรับผิดชอบต่อการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ ของกรมสุขภาพจิต สำหรับวัยรุ่น (อายุ 12 – 18 ปี) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว

           ผลการวิจัยพบว่า

1) ค่าดัชนีประสิทธิผลของคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบผังกราฟิกบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ ความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเท่ากับ 0.69, 0.68 และ 0.67 ตามลำดับ และค่าดัชนีประสิทธิผลของคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ ความรับผิดชอบ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเท่ากับ 0.54, 0.56 และ 0.53 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้

2) การคิดวิเคราะห์ ความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้  แบบผังกราฟิกบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และนักเรียนที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบปกติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การคิดวิเคราะห์ ความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างนักเรียนที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบผังกราฟิกบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และนักเรียนที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ก่อนเรียนไม่แตกต่างกัน แต่หลังเรียน แตกต่างกัน  โดยกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) การคิดวิเคราะห์ ความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่างกัน เมื่อเรียนโดยคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบผังกราฟิกบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) ตัวแปรวิธีเรียนซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ วิธีเรียนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบผังกราฟิกบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิธีเรียนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ความฉลาดทางอารมณ์สูง ปานกลาง และต่ำมีปฏิสัมพันธ์กันบางส่วน ซึ่งส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ ความรับผิดชอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่มีปฏิสัมพันธ์กันและไม่แตกต่างกัน

งานวิจัยเรื่องที่ 3 

 (เอกชัย ภูมิระรื่น, 2558)ได้ศึกษาวิจัยเรื่องสถานะ และความสำคัญของวิชาสังคมศึกษาในการสร้างพลเมืองหลังเหตุการณ์   14 ตุลาคม 2516 มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงสถานะ และความสำคัญของวิชาสังคมศึกษาโดยเน้นวิชาหน้าที่พลเมืองซึ่งเป็นวิชาย่อยในหมวดวิชาสังคมศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516ซึ่งเป็นยุคเปลี่ยนผ่านที่นำไปสู่ความแปลกแยกทางความคิดในหมู่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้เป็นผลผลิตของระบบการศึกษาสมัยใหม่ โดยระบบการศึกษาที่รัฐได้ดำเนินการนั้นย้อนแย้งกับสภาวการณ์ทางการเมืองที่แท้จริงของประเทศ เพื่อให้ทราบว่าวิชาสังคมศึกษามีสถานะ และความสำคัญต่อการสร้างพลเมืองภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งมีปรากฏการณ์ทางสังคมที่ได้แสดงให้เห็นถึงประเด็นดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง

    ผลการวิจัยพบว่า

 วิชาสังคมศึกษามีฐานะเป็นสื่อกลางในการสร้างเสริมความรู้ แนวคิดทางการเมือง และคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีในแบบที่รัฐต้องการ ตามกรอบแนวคิดของหลักสูตรการศึกษาสมัยใหม่ที่รัฐกำหนดขึ้นมาตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และยังคงฐานะเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่นำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาในเวลาต่อมา และพบว่าเกิดการปรับปรุงหลักสูตรเพียงเฉพาะหมวดวิชาสังคมศึกษา เพื่อขยายกรอบแนวคิดในการสร้างพลเมืองดีที่พึงปรารถนาเพื่อให้สอดคล้องกับบริบททางการเมืองของประเทศ

                                                                               
                                                                                       อ้างอิง

วาสนา ตันมูล. (เมษายน-มิถุนายน 2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม แลความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา กับการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร(57), 1-10.

วิภาพรรณ พินลา, ชุติมา วัฒนคีรีและ กิตติคุณ รุ่งเรื่อง. (7 มกราคม-มิถุนายน 2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา กับการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)(7), 1-13.

เอกชัย ภูมิระรื่น. (มิถุนายน-สิงหาคม 2558). สถานะ และความสำคัญของวิชาสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในการสร้างพลเมือง หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร(2), 1-17.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก