บทละคร เรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ ปราบ น นท ก ด้านวรรณศิลป์

บทประพันธ์ 48

ครั้นล้างนนทกมรณา พระจักราผู้มีอัชฌาสัย

เหาะระเห็จเตร็ดฟ้าด้วยว่องไว ไปยังเกษียรวารี

เมื่อนั้น ฝ่ายนางรัชดามเหสี

องค์ท้าวลัสเตียนธิบดี เทวีมีราชบุตรา

คือว่านนทกมากำเนิด เกิดเป็นพระโอรสา

ชื่อทศกัณฐ์กุมารา สิบเศียรสิบหน้ายี่สิบกร

อันน้องซึ่งถัดมานั้น ชื่อกุมภรรณชาญสมร

องค์พระบิตุเรศมารดร มิให้อนาทรสักนาที

49

การวิเคราะห์
คุณค่า

วรรณคดี

หลักการวิเคราะห์คุณค่าด้านเนื้อหา 50

ผู้อ่านต้องอ่านเนื้อหาสาระให้เข้าใจตลอดทั้งเรื่อง โดยศึกษาตั้งแต่
ที่มาของเรื่อง ประวัติผู้แต่ง คำศัพท์ สำนวนโวหาร โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก
บทสนทนา แก่นของเรื่อง หรือเจตนาของผู้แต่งว่าต้องการสื่อสารอะไรให้แก่ผู้
อ่าน และผู้อ่านสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร เช่น

บทละครนอกเรื่อง สังข์ทอง จะเห็นได้ว่าแม้พระสังข์ทองจะเอารูปเงาะ
เข้าสวมไว้ คนทั่วไปก็มองว่าพระสังข์ทองเป็นเงาะป่า น่าหัวเราะเยาะ แต่นางรจนา
กลับมองเห็นสิ่งที่อยู่ภายในว่าเป็นคนดี มีน้ำใจ มีคุณธรรม มีความสามารถ และ
ฉลาดหลักแหลม นางรจนาจึงเลือกคนที่รูปลักษณ์ภายนอกไม่งดงาม แต่ภายในเปี่ ยม
ด้วยความสามารถ แม้จะถูกไล่ไปอยู่ที่กระท่อมปลายนาแต่นางก็มีความสุขเมื่อได้อยู่
กับคนที่ตนรัก

51

หลักการวิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์

ผู้อ่านจะต้องพิจารณาทั้งรสของถ้อยคำและรสความ เพื่อให้เห็นความงามของ
ภาษา การที่ผู้อ่านจะเกิดจินตนาการตามเนื้อเรื่องได้จะต้องเข้าใจการใช้สำนวน
โวหาร ภาพพจน์ การเล่นคำ การเล่นเสียง และรสในวรรณคดีไทย

โวหารที่ใช้ในการประพันธ์

1. บรรยายโวหาร คือ การเขียนบรรยายเหตุการณืที่เป็นข้อเท็จจริงของสิ่ง ต่าง ๆ
อย่างตรงไปตรงมา

2. พรรณนาโวหารคือ การเล่ารายละเอียดของเรื่องราว เพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพ
ตามบทประพันธ์ของกวี

52

หลักการวิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์

3. เทศนาโวหาร คือ โวหารที่มุ่งในการสั่งสอนชักจูงจิตใจผู้อ่านให้คล้อยตาม
4. สาธกโวหาร คือ โวหารที่มีจุดมุ่งหมายให้ความชัดเจนด้วยการยกตัวอย่าง
ประกอบ เพื่ออธิบายสนับสนุนความคิดเห็นให้ผู้อ่านเข้าใจและเกิดความเชื่อถือ
5. อุปมาโวหาร คือ โวหารเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ
ชัดเจนยิ่งขึ้นมักมีคำเปรียบ ประดุจ ดุจ ดั่ง เหมือน ราวกับ เพียง เล่ห์ เป็นต้น

53

หลักการวิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์

ภาพพจน์

การใช้ภาพพจน์ คือ การใช้สำนวนในการสร้างภาพในใจของผู้อ่านให้ชัดเจนตรงกับ
ความคิดความรู้สึกของกวี ประเภทของภาพพจน์ มีดังนี้

1. อุปมา คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งคล้ายหรือเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง โดยมีคำแสดง
ความเปรียบ เช่น เปรียบ ประดุจ ดุจ ดั่ง เหมือน ราวกับ ราว เพียง เพี้ยง ฯลฯ

2. อุปลักษณ์ คือ การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งซึ่งแตกต่างจากอุปมาเพราะ
อุปมาเป็นการเปรียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนหรือคล้ายกับสิ่งหนึ่ง โดยอุปลักษณ์มักใช้คำว่า เป็น
คือ ในการเปรียบเทียบ

3. อติพจน์ คือ การใช้ถ้อยคำที่กล่าวผิดไปจากความเป็นจริง โดยกล่าวถึงสิ่งหนึ่ง
เปรียบเทียบกับสิ่งที่ดูเกินมากกว่าความจริง

54

หลักการวิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์

4. บุคคลวัตหรือบุคลาธิษฐาน คือ การกล่าวถึงสิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจ ให้มีการ กระทำ
และความรู้สึกนึกคิดอย่างมนุษย์

5. สัทพจน์ คือ การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติโดยใช้ตัวอักษรสะกดให้ออกเสียง
คล้ายกับเสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือที่ได้ยินทั่วไปมากที่สุด

6. สัญลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง โดยไม่มีคำแสดงความ
เปรียบ “เขาเป็นคนเจ้าชู้มาก เห็นเปลี่ยนตุ๊กตาหน้ารถประจำเลย”

55

หลักการวิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์

การใช้ภาษาให้เกิดเสียงเสนาะ

การใช้ภาษาให้เกิดเสียงเสนาะ คือ การเลือกใช้ถ้อยคำให้เกิดเสียงเสนาะทำให้บท

ประพันธ์เกิดความไพเราะ เช่น

การเล่นเสียง คือ การเลือกสรรคำที่มีเสียงสัมผัสกัน ได้แก่ การเล่นเสียงอักษร เสียง

สระ และเสียงวรรณยุกต์ เพื่อเพิ่มความไพเราะและแสดงความสามารถของกวีที่แม้จะเล่น

เสียงของคำแต่ยังคงความหมายไว้ได้ ดังบทประพันธ์

เสนาสูสู่สู้ ศรแผลง

ยิ่งค่ายหลายเมืองแยง แย่งแย้ง

รุ กร้นร่นรนแรง ฤทธิ์รีบ

ลวงล่วงล้วงวังแล้ว รวบเร้าเอามา

56

หลักการวิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์

๑. การเล่นเสียงอักษร คือการใช้คำที่มีเสียงพยัญชนะเดียวกันหลาย ๆ
พยางค์ติดกัน เพื่อความไพเราะ จากบทประพันธ์ดังนี้ รุก-ร้น-ร่น-รน-แรง-ฤทธิ์-
รีบ เป็นเสียง /ร/

๒. การเล่นเสียงสระ คือ การใช้สัมผัสสระที่มีเสียงตรงกัน ถ้ามีตัวสะกดก็
ต้องเป็นตัวสะกดในมาตราเดียวกัน แม้จะใช้พยัญชนะมาใช้เล่นสัมผัสเสียงสระอีก
เช่น สู-สู่-สู้, ค่าย-หลาย

๓. การเล่นเสียงวรรณยุกต์ คือ การใช้คำที่ไล่ระดับเสียง ๒ หรือ ๓ ระดับ
เป็นชุด ๆ เช่น ลวง-ล่วง-ล้วง

๔. อื่น ๆ เช่น การเล่นคำซ้ำ การเล่นคำพ้องเสียง การเล่นคำพ้องความหมาย
การเล่นคำตรงข้าม การเล่นคำเชิงถาม

57

หลักการวิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์

รสในวรรณคดีไทย

แบ่งได้ ๔ ชนิด ดังนี้
เสาวรจนีย์ (บทชมโฉม)
นารีปราโมทย์ (บทเกี้ยว โอ้โลม)
พิโรธวาทัง (บทตัดพ้อ)
สัลลาปังคพิไสย (บทโศกเศร้า)

58

หลักการวิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์

เสาวรจนีย์ (บทชมโฉม)

การเล่าชมความงามของตัวละครในเรื่อง อาจเป็นตัวละครที่เป็นมนุษย์

อมนุษย์ หรือสัตว์ ซึ่งการชมนี้เป็นการชมความเก่งกล้าของกษัตริย์ ความงามของ

ราชวังหรือความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง ตัวอย่าง บทโฉมนางเงือก ซึ่งติดตาม

พ่อแม่มาเพื่อพาพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร จากเรื่องพระอภัยมณี

หน่อกษัตริย์ทัศนานางเงือกน้อย ดูแช่มช้อยโฉมเฉลาทั้งเผ้าผม

ประไพพักตร์ลักษณ์ล้ำล้วนขำคม ทั้งเนื้อนมนวลเปล่งออกเต่งทรวง

ขนงเนตรเกศกรอ่อนสะอาด ดังสุรางค์นางนาฏในวังหลวง

พระเพลินพิศคิดหมายเสียดายดวง แล้วหนักหน่วงนึกที่จะหนีไป

59

หลักการวิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์

นารีปราโมทย์ (บทเกี้ยว โอ้โลม)

การกล่าวแสดงความรัก การเกี้ยวพาราสีหรือการพรรณนาในบทโอ้โลมปฏิโลม

ก่อนจะถึงบทสังวาสนั้นด้วย

ตัวอย่าง

ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน

แม้นเกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา

แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา

แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมปทุมทอง

เจ้าเป็นถ้าอำไพขอให้พี่ เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง

จะติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป

60

หลักการวิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์

พิโรธวาทัง (บทโกรธ ตัดพ้อ)

การกล่าวข้อความแสดงอารมณ์ไม่พอใจตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไปจนถึงเรื่องใหญ่

ตั้งแต่ ไม่พอใจ โกรธ ตัดพ้อ ประชดประชัน กระทบกระเทียบเปรียบเปรย เสียดสี

ตัวอย่าง

เมื่อนั้น พระผู้ผ่านไอศูรย์สูงส่ง

ประกาศิตสีหนาทอาจอง จะณรงค์สงครามก็ตามใจ

ตรัสพลางย่างเยื้องยุรยาตร จากอาสน์แท่นทองผ่องใส

พนักงานปิดม่านทันใด เสด็จเข้าข้างในฉับพลันฯ

ในบทที่ยกมานี้ เป็นตอนที่ท้าวดาหาได้ฟังความจากราชทูตของเมืองกะหมังกุหนิง

ที่กล่าวไว้ว่าถ้าท้าวดาหาไม่ยอมยกบุษบาให้กับวิหยาสะกำ ก็ขอให้เตรียมบ้านเมืองไว้ให้ดี

เพราะเมืองกะหมังกุหนิงจะยกทัพมารบ เมื่อท้าวดาหาได้ฟังก็โกรธเดือดดาลทันใด จึงบอกไป

ว่าจะมารบก็มา แล้วก็ลุกออกไปทันที

61

หลักการวิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์

สัลลาปังคพิไสย (บทโศก)

การกล่าวข้อความแสดงอารมณ์โศกเศร้า อาลัยรัก การครวญคร่ำรำพันรำพึง

ตัวอย่าง

ว่าพลางทางชมคณานก โผนผกจับไม้อึงมี่

เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา

นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา

จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสการะวาตี

แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง เหมือนร้างห้องมาหยารัศมี

นกแก้วจับแก้วพาที เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา

จากบทข้างบน จะเห็นได้ว่าอิเหนากำลังโศกเศร้าอย่างหนัก เพราะไม่ว่าจะมอง
อะไร ก็นึกถึงแต่นางทั้งสามที่ตนรัก อันได้แก่ จินตะหรา มาหยารัศมี และสการะวาตี มอง
สิ่งใด ก็สามารถเชื่อมโยงกับนางทั้งสามได้หมด

62

หลักการวิเคราะห์คุณค่าด้านสังคม

วรรณคดีและวรรณกรรมมักสอดแทรกความรู้ สะท้อนวัฒนธรรม สภาพวิถี
ชีวิต ความคิด ค่านิยม ความเชื่อของผู้คนในสมัยที่แต่ง ซึ่งผู้อ่านจะต้องอ่านอย่าง
พิจารณาว่าผู้อ่านได้รับความรู้เรื่องใดบ้าง และได้เห็นสภาพวิถีชีวิต ความคิด ความ
เชื่อ ที่แฝงอยู่ในงานประพันธ์อย่างไร เช่น

วรรณคดีเรื่อง นิราศเมืองงแกลง สะท้อนวิถีชีวิตของผู้คน เกี่ยวกับการ
ประกอบอาชีพหรือการทำมาหากิน เป็นไปตามสภาพแวดล้อม เช่น อาชีพประมง
ชาวบ้านจะตั้งบ้านเรือนริมทะเล มีเรือแพ มีเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำ เช่น โป๊ะล้อม
อวน ข้อง ชาวบ้านผู้หญิงจะถีบกระดานถือตะกร้าเก็บหอย นอกจากคนไทยแล้วยังมี
คนจีนที่เข้ามาประกอบอาชีพชาวประมง และทำมาหากินในเมืองไทย

63

หลักการวิเคราะห์คุณค่าด้านสังคม

ดังบทประพันธ์

ดูเรือแพแต่ละลำล้วนโปะโหละ พวกเจ๊กจีนกินโต๊ะเสียงโหลเหล

บ้างลุยเลนล้วงปูดูโซเซ สมคะเนใส่ข้องเที่ยวมองคอย

อันนารีที่ยังสาวพวกชาวบ้าน ถีบกระดานถือตะกร้าเที่ยวหาหอย

ดูแคล่วคล่องแล่นแฉลบลอย เอาขาห้อยทำเป็นหางไปกลางเลน

หลักการวิเคราะห์ข้อคิดที่สามารถนำไปประยุกต์ 64
ใช้ในชีวิตประจำวัน

การอ่านวรรณคดีหรือวรรณกรรม เมื่อผู้อ่านสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเรื่องที่อ่านมี
คุณค่าด้านเนื้อหา ด้านวรรณศิลป์ ด้านสังคมอย่างไร ผู้อ่านย่อมสามารถมองเห็นข้อคิด
ต่าง ๆ ที่สอดแทรกอยู่ในวรรณคดีเรื่องนั้น และเห็นแนวทางในการนำข้อคิดไปใช้ในชีวิต
ประจำวัน โดยเริ่มจาก

1. พิจารณาข้อคิด การอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมทุกเรื่อง ผู้อ่านจะได้รับ
ข้อคิดที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับวัยและประสบการณ์ของผู้อ่าน ซึ่งผู้อ่านจะต้องพิจารณา
ว่าเป็นข้อคิดในเรื่องใด และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

2. การนำไปใช้ เมื่อพิจารณาข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณคดีแล้วว่าสามารถนำ
ไปใช้ในชีวิตประจำวันและเกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคมจึงควรน้อมนำข้อคิดที่ได้
มาประพฤติปฏิบัติโดยเริ่มที่ตนเองก่อนจากนั้นจึงขยายไปสู่บุคคลอื่น

แบบฝึกหัดวิเคราะห์วรรณคดี 65

เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

1. รามกียรติ์ได้รับอิทธิพลมาจากวรรณคดีของอินเดีย เรื่อง ...........................................................
2. เมื่อนั้น ใช้กับ .......................................................................................................................................

บัดนั้น ใช้กับ ........................................................................................................................................
มาจะกล่าวบทไป ใช้กับ.......................................................................................................................
3. นนทกมีหน้าที่........................................................อยู่ที่.......................................................................
4. นนทกได้รับประทานพรสิ่งใดจากพระอิศวร...................................................................................
5. กระเษียรวารี หมายถึง........................................................................................................................
6. สยมภูวญาณ, อิศราธิบดี หมายถึง....................................................................................................
7. “องค์อัครลักษมี” หมายถึงใคร……………………………………………………………….....................………
8. “พระสุรัสวดี” หมายถึงใคร.................................................................................................................
9. ท่ารำของนารายณ์แปลงมี............ท่า อะไบ้าง.................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
และท่ารำที่ทำให้นนทกทำร้ายตนเองจนถึงแก่ความตาย คือ............................................................

แบบฝึกหัดวิเคราะห์วรรณคดี 66

เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

10. บทละคร เรื่อง รามกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก สะท้อนสภาพความเป็นจริงของสังคม

และมนุษย์อย่างไร............................................................................................................................

.......................................................................................................................................................................

11. “ต้องสุบรรณเทวานาคี ดั่งพิษอสุนีไม่ทนได้

ล้มฟาดกลาดเกลื่อนลงทันใด บรรลัยไม่ทันพริบตา”

จากบทประพันธ์มีการใช้ภาพจน์ คือ.............................................................................................

12. “เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์ พิศพักตร์ผ่องเพียงแขไข

งามโอษฐ์งามแก้มงามจุไร งามนัยน์เนตรงามกร

งามถันงามกรรณงามขนง งามองค์ยิ่งเทพอัปสร

งามจริตกิริยางามงอน งามเอวงามอ่อนทั้งกายา

ถึงโฉมองค์อัครลักษมี พระสุรัสวดีเสน่หา

สิ้นทั้งไตรภพจบโลกา จะเอามาเปรียบไม่เทียบทัน

ดูไหนก็เพลินจำเริญรัก ในองค์เยาวลักษณ์สาวสวรรค์

ยิ่งพิศยิ่งคิดผูกพัน ก็เดินกระชั้นเข้าไป”

จากบทประพันธ์ปรากฏรสวรรณคดี คือ.........................โดยกล่าวถึง................................................

.......................................................................................................................................................................

แบบฝึกหัดวิเคราะห์วรรณคดี 67

เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

13. จงยกตัวอย่างบทประพันธ์ที่มีการใช้อุปมาเปรียบเทียบ

……………………………………………………………………………………………………………………………………………

……..………………………………………………………………………………………………………….…………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………….............………………………………………………

14. “เมื่อนั้น พระสยมภูวญาณเรืองศรี

ได้ฟังนนทกพาที ภูมีนิ่งนึกตรึกไป

อ้ายนี่มีชอบมาช้านาน จำจะประทานพรให้

คิดแล้วก็ประสิทธิ์พรชัย จงได้สำเร็จมโนรถ”

จากบทประพันธ์ นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไร

……………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………...........

......................................................................................................................................................................….

แบบฝึกหัดวิเคราะห์วรรณคดี 68

เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

15. “สุดเอยสุดสวาท โฉมประหลาดล้ำเทพอัปสร

ทั้งวาจาจริตก็งามงอน ควรเป็นนางฟ้อนวิไลลักษณ์

อันซึ่งธุระของเจ้า หนักเบาจงแจ้งให้ประจักษ์

ถ้าวาสนาเราเคยบำรุ งรัก ก็จะเป็นภักดิ์ผลสืบไป

ตัวพี่มิได้ลวนลาม จะถือความสิ่งนี้นี่ไม่ได้

สาวสรรค์ขวัญฟ้ายาใจ พี่ไร้คู่จะพึ่งแต่ไมตรี”

จากบทประพันธ์ปรากฏรสวรรณคดี คือ...............................................................................................

16. “บัดนั้น นนทกน้ำใจแกล้วกล้า

กริ้วโกรธร้องประกาศตวาดมา อนิจจาข่มเหงเล่นทุกวัน

จนหัวไม่มีผมติด สุดคิดที่เราจะอดกลั้น

วันนี้จะได้เห็นกัน ขบฟันแล้วชี้นิ้วไป”

จากบทประพันธ์แสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยของตัวละครนนทกอย่างไร.......................................

......................................................................................................................................................................

......................................................................................................................................................................

แบบฝึกหัดวิเคราะห์วรรณคดี 69

เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

17. ................................. นนทกผู้มีอัชฌาสัย
น้อมเศียรบังคมแล้วทูลไป จะขอพรเจ้าไตรโลกา
ให้นิ้วข้าเป็นเพชรฤทธี จะชี้ใครจงม้วยสังขาร์
จะได้รองเบื้องบาทา ไปกว่าจะสิ้นชีวี

18. ............................... พระอิศวรบรมนาถา
ได้ฟังองค์อมรินทรา จึ่งมีบัญชาตอบไป
อ้ายนี่ทำชอบมาช้านาน เราจี่งประทานพรให้
มันกลับทรยศกบฏใจ ทำการหยาบใหญ่ถึงเพียงนี้

แบบฝึกหัดวิเคราะห์วรรณคดี 70

เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

19. “ชาตินี้มึงมีแต่สองหัตถ์ จงไปอุบัติเอาชาติใหม่

ให้สิบเศียรสิบพักตร์เกรียงไกร เหาะเหินเดินได้ในอัมพร

มีมือยี่สิบซ้ายขวา ถือคทาอาวุธธนูศร

กูจะเป็นมนุษย์แต่สองกร ตามไปราญรอนชีวี”

จากบทประพันธ์สะท้อนให้เห็นความเชื่อของคนไทยอย่างไร............................................................

......................................................................................................................................................................

......................................................................................................................................................................

20. จากบทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก นักเรียนได้รับข้อคิดอย่างไร

บ้าง

......................................................................................................................................................................

......................................................................................................................................................................

......................................................................................................................................................................

แบบทดสออบบหหลลัังงเเรรีียยนน 71

วรรณคดีเรื่อง รแาบมบเกทียดรสติ์อบตอก่นอนนเราียรานยณ์ปราบนนทก
วรรชั้ณนมคัธดียเมรื่ศอึกงษราาปมีทเี่กี2ยรติ์

คำชี้แจง ให้ตนัอกเนรียนนทาำรแบาบยทณด์สปอรบาหลบังนเรีนยนกจทำนกวน 20 ข้อ

ลิงก์แบบทดสอบก่อนเรียน :

สแกนคิวอาร์โค้ด คิวอาร์โค้ด

แบบทดสออบบหหลลัังงเเรรีียยนน 72

วรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก
แชับ้นบมัทธดยสมอศึบกกษ่อานปีเทรี่ีย2น

คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถาวมตร่อรไณปนี้ใคห้ดถูีกต้เอรืง่อง รามเกียรติ์

ตอน นารายณ์ปราบนนกทก1. ใครเป็นผู้แต่งเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก
1. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 2. พระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ลิงก์แบบทดสอบก่อนเรียน :3. พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด
คิวอาร์โค้ด1. กลอนสุภาพ
2. กลอนบทละคร

3. กาพย์ยานี 11 4. กาพย์ฉบัง 16

3. พระอิศวรประทานพรใดแก่นนทก

1. ร่างกายที่งดงาม 2. นิ้วเพชรที่สามารถสังหารผู้ใดก็ได้

3. แก้วแหวนเงินทอง 4. พร 3 ประการ

แบบทดสออบบหหลลัังงเเรรีียยนน 73

4. ใครคือผู้ที่พระอิศวรขอให้มาลงโทษนนทกที่กำลังมีใจกำเริบ ไม่ยับยั้งชั่งใจ ใช้อำนาจไม่ถูกต้อง

1. พระนารายณ์ แบบทดสอ24..บพพรรกะะ่รออิานมนทร์เรียน
3. หนุมาน

5. “โฉมเอยโฉมเฉลา วรรเณสาวคภาดคีย์แเน่รืง่นอ้องยพิสรมัายมเกียรติ์
เจ้ามาแต่สวรรค์ชั้นใด นามกรชื่อไรนะเทวี”
คำประพันธ์นี้เป็นรสวรตรณอคนดีใดนารายณ์ปราบนนกทก

31..เพสิาโวรรธจวนาีทังลิงก์แบบทดส24..อนสับาลรลีปากป่รัอางโคมนพิทสเัยย์รียน :

คิวอาร์โค้ด6. “จนผมโกร๋นโล้นเกลี้ยงถึงเพียงหู ดูเงาในน้ำแล้วร้องไห้
ฮึดฮัดขัดแค้นแน่นใจ ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า”

คำประพันธ์นี้นอกจากจะบอกถึงความโกรธแล้วยังมีอารมณ์ใดอีก

1. เศร้าใจ 2. น้อยใจ

3. ขัดใจ 4. เสียใจ

แบบทดสออบบหหลลัังงเเรรีียยนน 74

7. คำประพันธ์ข้อใดเป็นต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมดในบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก

1. ให้นิ้วข้าเป็นเพชรฤทธี จะชี้ใครจงม้วยสังขาร์

แบบทดสอบก่อนเรียนจะได้รองเบื้องบาทา
ไปกว่าจะสิ้นชีวี

2. ชาตินี้มึงมีแต่สองหัตถ์ จงไปอุบัติเอาชาติใหม่

วรรณคดี เรื่อง รามเกียรติ์ให้สิบเศียรสิบพักตร์เกรียงไกร
เหาะเหินเดินได้ในอัมพร

3. อ้ายนี่ทำชอบมาช้านาน เราจึงประทานพรให้
ตอน นารายณ์ปราบนนกทกมันกลับทรยศกระบถใจ
ทำการหยาบใหญ่ถึงเพียงนี้

สุราฤทธิ์ตบหัวแล้วลูบหน้า
บ้างถอนเส้นเกศาวุ่นไป
ลิงก์แบบทดสอบก่อนเรียน :4. อยู่บันไดไกรลาสเป็นนิจ
บ้างให้ตักน้ำล้างบาทา
คิวอาร์โค้ด8. ข้อใดใช้ภาพพจน์อุปมา
1. เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์
พิศพักตร์ผ่องเพียงแขไข

งามโอษฐ์งามแก้มงามจุไร งามนัยน์เนตรงามกร

2. พระองค์ผู้ทรงศักดาเดช ไม่โปรดเกศแก่ข้าบทศรี

กรรมเวรสิ่งใดดั่งนี้ ทูลพลางโศกีรำพัน

3. โฉมเอยโฉมเฉลา เสาวภาคย์แน่งน้อยพิสมัย

เจ้ามาแต่สวรรค์ชั้นใด นามกรชื่อไรนะเทวี

4. เหตุใดมิทำซึ่งหน้า มารยาเป็นหญิงไม่บัดสี

ฤาว่ากลัวนิ้วเพชรนี้ จะชี้พระองค์ให้บรรลัย

แบบทดสออบบหหลลัังงเเรรีียยนน 75

9. คำประพันธ์ในข้อใดที่เห็นภาพพจน์ชัดเจนที่สุด

แบบทดสอบก่อนเรียน1. ครั้นถึงซึ่งเชิงไกรลาส
ก็ชวนกันย่างเยื้องจรลี
คนธรรพ์เทวราชฤาษี
ข้าไปยังที่อัฒจันทร์

วรรณคดี2. บัดนั้น เรื่องบนังนรคทมากแผมูล้ใ้วจเบสกทาีหยจสรรไปติ์
รับพรพระศุลีมียศ

ตอน นารายณ์ปราบนนกทก3. จนผมโกร๋นโล้นเกลี้ยงถึงเพียงหู ดูเงาในน้ำแล้วร้องไห้
ฮึดฮัดขัดแค้นแน่นใจ ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า
4. ครั้นถึงลจึิ่งงปรก์ะณแตบบทบบทงสุ์ดสอบทูลกอ่งอค์พนระเอริศียวรนเรือง:ศรี
ย่อมเมตตาปรานีทั่วพักตร์
พิศพักตร์ผ่องเพียงแขไข
คิวอาร์โค้ดว่าพระองค์เป็นหลักธาตรี

10. “เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์

งามโอษฐ์งามแก้มงามจุไร งามนัยน์เนตรงามกร

งามถันงามกรรณงามขนง งามองค์ยิ่งเทพอัปสร

งามจริตกิริยางามงอน งามเอวงามอ่อนทั้งกายา”

จากคำประพันธ์ปรากฏรสวรรณคดีใด

1. เสาวรจนี 2. นารีปราโมทย์

3. พิโรธวาทัง 4. สัลลาปังคพิสัย

แบบทดสออบบหหลลัังงเเรรีียยนน 76

11. ข้อใดใช้คำถามเชิงวาทศิลป์

แบบทดสอบก่อนเรียน1. โฉมเอยโฉมเฉลา
เจ้ามาแต่สวรรค์ชั้นใด
เสาวภาคย์แน่งน้อยพิสมัย
นามกรชื่อไรนะเทวี

วรรณคดี2. ประสงค์สิ่งใดจะใคร่รู้ เรืท่อำไงมมารอยาู่ทีม่นี่เกียรติ์
ข้าเห็นเป็นน่าปรานี มารศรีจงแจ้งกิจจา
3. ทำไมมาล่ตวงอไถ่นถามนารายณล์วนปลารมาบุบกรุนกเขน้ามกาใทกลก้

ท่านนี้ไม่มีความเกรงใจ

ลิงก์แบบทดสอบก่อนเรียน :4. อันซึ่งธุระของเจ้า
เราเป็นข้าใช้เจ้าโลกา
หนักเบาจงแจ้งให้ประจักษ์

คิวอาร์โค้ดถ้าวาสนาเราเคยบำรุงรัก
ก็จะเป็นภักดิ์ผลสืบไป

12. “เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน

ทั้งกวางเดินดงหงส์บิน กินรินเรียบถ้ำอำไพ”

คำประพันธ์ที่ยกมาให้ความรู้ทางนาฏศิลป์ในข้อใด

1. ต้นแบบการรำแม่บท 2. ต้นแบบการขับร้องเพลงไทยเดิม

3. ต้นแบบเพลงการบรรเลงดนตรีไทย 4. ต้นแบบการประยุกต์เครื่องแต่งกายละครรำ

แบบทดสออบบหหลลัังงเเรรีียยนน 77

13. “ถึงโฉมองค์อัครลักษมี พระสุรัสวดีเสน่หา

แบบทดสอบก่อนเรียนสิ้นทั้งไตรภพจบโลกา
จะเอามาเปรียบไม่เทียบทัน”

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับบทประพันธ์ข้างต้น
วรรณคดี เรื่อง รามเกียรติ์1. การใช้ภาพพจน์สัทพจน์
2. การใช้ภาพพจน์อติพจน์

3. การใช้ภาพตพจอน์นบุคคนลวัาตรายณ์4.ปการรใาช้บภานพพนจนก์อุทปลักกษณ์
14. “เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์

ลิงก์แบบทดสอบก่อนเรียน :งามโอษฐ์งามแก้มงามจุไร
พิศพักตร์ผ่องเพียงแขไข
งามนัยน์เนตรงามกร

งามถันงามกรรณงามขนง คงิาวมอองาค์ยริ่์งโเทคพ้อดัปสร
งามจริตกิริยางามงอน
งามเอวงามอ่อนทั้งกายา”

จากบทประพันธ์มีความโดดเด่นในการแต่งอย่างไร

1. การซ้ำคำ เพื่อเน้นย้ำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ความรู้สึกคล้อยตาม 2. การใช้อุปมาเปรียบเทียบ

3. การใช้คำแสดงอารมณ์ 4. การใช้ถ้อยคำหลากคำ

แบบทดสออบบหหลลัังงเเรรีียยนน 78

15. “จนผมโกร๋นโล้นเกลี้ยงถึงเพียงหู ดูเงาในน้ำแล้วร้องไห้

ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า
มิตายก็จะได้เห็นหน้า
ฮึดฮัดขัดแค้นแน่นใจ

แบบทดสอบก่อนเรียนเป็นชายดูดู๋มาหมิ่นชาย

คิดแล้วก็รีบเดินมา เฝ้าพระอิศราธิบดี”
วรรณคดี เรื่อง รามเกียรติ์จากบทประพันธ์มีความโดดเด่นในการแต่งอย่างไร

ตอน นารายณ์ปราบนนกทก1. การใช้คำน้อยแต่กินความมาก 2. การใช้ถ้อยคำหลากคำ

3. การใช้คำแสดงอารมณ์ 4. การซ้ำคำ เพื่อเน้นย้ำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ความรู้สึกคล้อยตาม

16. “อ้ายนี่ทำชอบมลาิช้งานกา์นแบบทดสเรอาจบี่งปกร่ะอทนานเพรรีใยห้น :
มันกลับทรยศกบฏใจ ทำการหยาบใหญ่ถึงเพียงนี้”

คิวอาร์โค้ดข้อใดเป็นความรู้สึกของผู้พูด
1. เคียดแค้นที่ถูกดูหมิ่น 2. ขุ่นเคืองที่ปิดบัง

3. โกรธที่ถูกหลอก 4. เจ็บช้ำที่ถูกลวง

17.ข้อใดใช้ภาษาได้เกิดภาพชัดเจนที่สุด

1. จนผมโกร๋นโล้นเกลี้ยงถึงเพียงหู ดูเงาในน้ำแล้วร้องไห้

2. ผู้ใดทำชอบต่อเบื้องบาท ก็ประสาททั้งพรแลยศศักดิ์

3. อ้ายนี่ทำชอบมาช้านาน เราจึ่งประทานพรให้

4. สิ้นทั้งไตรภพจบโลกา จะเอามาเปรียบไม่เทียบทัน

แบบทดสออบบหหลลัังงเเรรีียยนน 79

18. ข้อใดสะท้อนความเชื่อของคนในสังคมไทย

1. มีมือยี่สิบซ้ายขวา ถือคฑาอาวุธธนูศร

แบบทดสอบก่อนเรียน2. ได้ฟังจึ่งตอบวาที กูนี้แปลงเป็นสตรีมา

3. วรรณคดีชาตินี้มึงมีแต่สองหัตถ์ จเงรไืป่ออุบงัติเอราาชามติใเหกมี่ยรติ์
4. ให้สิ้นวงศ์พงศ์มึงอันศักดา ประจักษ์แก้เทวาทุกราศี
ตอน นารายณ์ปราบนนกทก19.“ชาตินี้มึงมีแต่สองหัตถ์
จงไปอุบัติเอาชาติใหม่

ให้สิบเศียรสิบพักตร์เกรียงไกร เหาะเหินเดินได้ในอัมพร”

ลิงก์แบบทดสอบก่อนเรียน :“จงไปอุบัติเอาชาติใหม่” หมายถึงใคร

1. พิเภก คิ2ว. อกุมาภรก์รโรคณ้ด
3. ทศกัณฐ์ 4. อินทรชิต

20. ทางพุทธศาสนา “เรื่องนารายณ์ปรานนทก” ให้ข้อคิดที่นำไปใช่ในชีวิตประจำวันได้ดีที่สุด

1. อย่ารังแกผู้ที่ด้อยกว่าตน

2. ความลุ่มหลงมัวเมาจะนำภัยมาถึงตัว

3. การให้อำนาจแก่ผู้ที่ขาดสติย่อมนำความเดือดร้อนมาให้

4. การอาฆาต พยาบาท จองเวรจองกรรม ย่อมนำมาซึ่งความเดือดร้อน

คิดว่าบทละครเรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทกให้คุณค่าด้านใดเด่นชัดที่สุด

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก แม้จะมีเนื้อหาสั้น ๆ แต่ก็พร้อมด้วยความโดดเด่นทางด้านเนื้อหาที่ให้คุณค่าและให้ข้อคิดแก่ผู้เรียน อีกทั้งยังให้คุณค่าในด้านการใช้ถ้อยคำที่ไพเราะ ลึกซึ้ง มีการพรรณนาที่ทำให้ผู้เรียนเกิดจินตภาพตามไปกับเนื้อเรื่อง และเนื้อเรื่อง พฤติกรรมตัวละครยังสะท้อนให้เห็นถึงความจริงของสังคม ...

รามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทกมีกี่ตอน

เนื้อเรื่องแบ่งเป็น ๓ ตอน คือ ตอนที่๑ กาเนิดตัวละคร ตอนที่๒ ตอนเกิดสงคราม ตอนที่๓ ตอนพระรามกลับเข้าครองเมือง และเข้าใจผิดนางสีดา Page 12 ตอนที่คัดมาให้ศึกษา คือ ตอน นารายณ์ปราบนนทก อยู่ในตอนที่๑ เป็นมูลเหตุที่นนทกจะมาเกิดเป็นทศกัณฐ์ และพระนารายณ์จะอวตารมาเป็นพระราม (ลิลิต นารายณ์สิบปาง กล่าวเป็นปางที่๗) ประวัติผู้แต่ง

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทกมีความสำคัญอย่างไร

๑. อำนาจตกอยู่ในมือของคนที่ลืมตัว จะเกิดผลร้ายตามมาได้ ๒. เมื่อคนมีอำนาจ จะตัดสินใจด้วยความรู้สึกก้าวร้าวรุนแรงได้ง่ายเมื่อคิดว่าถูกรังแก ๓. คนเราควรใช้อำนาจเพียงเพื่อป้องกันตัวไม่ให้รับพิบัติเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อทำลายผู้อื่นเพื่อแก้แค้น ๔. ความหลงอำนาจเป็นกิเลสอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้อยู่ร่วมในสังคมต้องได้รับความเดือดร้อน

ใครเป็นผู้แต่งบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ลักษณะคำประพันธ์ กลอนบทละคร จุดประสงค์ในการแต่ง เพื่อใช้เล่นละครใน และใช้เป็นบทปลุกใจประชาชนให้กล้าหาญ สอนศีลธรรมแก่ประชาชน ที่มาของเรื่อง บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ฉบับระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก