สรุป ขุนช้าง ขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

ตอนที่ ๓๕ ขุนช้างถวายฎีกา

                    ผู้แต่ง 
                                        ไม่ปรากฏนามผู้แต่งตอนขุนช้างถวายฎีกาแต่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าแต่งดีเยี่ยมโดยเฉพาะ กระบวนกลอนที่สื่ออารมณ์                                สะเทือนใจ(เป็น ๑ ใน ๘ ตอนที่ได้รับการยกย่อง) ในตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างและตอนขุนแผนพานางวันทองหนีเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ

                      พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตอนขุนช้างขอนางพิมและขุนช้างตามนางวันทองเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนกำเนิด

                      พลายงามเป็นสำนวนของสุนทรภู่ 

                    ที่มาของเรื่อง 
                                    ขุนช้างขุนแผนเป็นตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาในเมืองสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี    โดยเชื่อกันว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในแผ่นดินสมเด็จพระ 

                    พันวษาแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยในตำนานเล่าเพียงว่า นายทหารยศ ขุนแผนผู้หนึ่งได้ถวายดาบฟ้าฟื้นแด่สมเด็จพระพันวษา ซึ่งใช้วิธีการถ่ายทอดโดยการ

                    เล่าสืบสืบต่อกันมาเป็นนิทาน  จนกระทั่งมีผู้คิดวิธีการเล่าโดยการขับเป็นลำนำขึ้นมา  จึงกลายเป็นใช้บทเสภา มีทั้งหมด ๔๓ ตอนด้วยกัน  ตอนที่นำมา                           เป็นบทเรียนนี้  คือ ตอนที่ ๓๕ 

                    เนื้อเรื่อง
                                    กล่าวถึงพลายงาม  เมื่อชนะคดีความขุนช้างแล้ว ขุนช้างได้พานางวันทองกลับไปอยู่สุพรรณบุรี  ส่วนตัวพลายงามเองก็กลับไปอยู่บ้านพร้อม

                    หน้าญาติและพ่อ  ขาดก็แต่แม่ ทำให้พลายงามเกิดความคิดที่จะพานางวันทองกลับมาอยู่ด้วยกัน  จะได้พร้อมหน้าพ่อ แม่ ลูก  พอตกดึกจึงไปลอบขึ้น                            เรือนขุนช้างแล้วพานางวันทองหนีมาอยู่ที่บ้านกับตน ตอนแรกนางก็ไม่ยินยอมที่จะมา เพราะกลัวจะเป็นเรื่องให้อับอายว่า  คนนั้นลากไป  คนนี้ลากมาอีก                      และเกรงจะมีปัญหาตามมาภายหลัง จึงบอกให้พลายงามนำความไปปรึกษาขุนแผน  เพื่อฟ้องร้องขุนช้างดีกว่าจะมาลักพาตัวไป    แต่พลายงามไม่ยอม                        สุดท้ายนางวันทองจึงจำต้องยอมไปกับพลายงาม

                                    ฝ่ายขุนช้างนอนฝันร้ายก็ผวาตื่นเอาตอนสาย  ครั้นตื่นขึ้นมาก็ร้องเรียกหานางวันทอง ออกมาถามบ่าวไพร่ก็ไม่มีใครเห็นจึงโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ                        มุ่งมั่นจะตามนางวันทองกลับมาให้ได้ ฝ่ายพลายงามก็เกรงว่าขุนช้างจะเอาผิด  ถ้ารู้ว่าตนไปพานางวันทองมา  จะเพ็ดทูลสมเด็จพระพันวษาอีก  แม่อาจ                        จะต้องโทษได้ จึงใช้ให้หมื่นวิเศษผลไปบอกขุนช้างว่า ตนนั้นป่วยหนักอยากเห็นหน้าแม่  จึงใช้ให้คนไปตามนางวันทองมาเมื่อกลางดึก ขอให้แม่อยู่กับ                        ตนสักพักหนึ่งแล้วจะส่งตัวกลับมาอยู่กับขุนช้างตามเดิม ขุนช้างโมโหและแค้นยิ่งนักที่พลายงามทำเหมือนข่มเหงไม่เกรงใจตน จึงร่างคำร้องถวายฎีกา                          แล้วลอยคอมายังเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระพันวษาเพื่อถวายฎีกา ทำให้สมเด็จพระพันวษาพิโรธมาก  ให้ทหารรับคำฟ้องมาแล้วให้เฆี่ยนขุนช้าง ๓๐ ที                      แล้วปล่อยไป และยังทรงตั้งกฤษฎีกาการรักษาความปลอดภัยว่า  ต่อไปข้าราชการผู้ใดที่มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยแล้วปล่อยให้ใครเข้ามาโดยมิได้

                    รับอนุญาตจะมีโทษมหันต์ถึงประหารชีวิต

                                    กล่าวฝ่ายขุนแผนนอนอยูในเรือนกับนางแก้วกิริยาและนางลาวทองอย่างมีความสุข  ครั้นสองนางหลับ  ขุนแผนก็คิดถึงนางวันทองที่พลายงาม                        ไปนำตัวมาไว้ที่บ้าน  จึงออกจากห้องย่องไปหานางวันทองหวังจะร่วมหลับนอนกัน  แต่นางปฏิเสธแล้วพากันหลับไป  แต่พอตกตึกนางวันทองก็เกิด

                    ฝันร้ายตกใจตื่นเล่าความฝันให้ขุนแผนฟัง ขุนแผนฟังความฝันของนางก็รู้ทันทีว่าเป็นเรื่องร้าย  อันตรายถึงชีวิตแน่นอน แต่ก็แกล้งทำนายไปในทางดีเสีย                      เพื่อนางจะได้สบายใจ 

                                    ฝ่ายสมเด็จพระพันวษา ครั้นทรงอ่านคำฟ้องของขุนช้างก็ทรงกริ้วยิ่งนัก  ให้ทหารไปตามตัวนางวันทอง ขุนแผนและพระไวยมาเฝ้าทันที                                 ขุนแผนเกรงว่านางวันทองจะมีภัย  จึงเสกคาถาและขี้ผึ้งให้นางวันทองทาปากเพื่อให้พระพันวษาเมตตา  แล้วจึงพานางเข้าเฝ้า  เมื่อพระพันวษาเห็นนาง                        วันทองก็ใจอ่อนเอ็นดู  ตรัสถามเรื่องราวที่เป็นมาจากนางวันทองว่า  ตอนชนะคดีให้ไปอยู่กับขุนแผนแล้วทำไมจึงไปอยู่กับขุนช้างนางวันทองก็กราบทูล                        ด้วยความกลัวไปตามจริงว่า ขุนแผนถูกจองจำ  ขุนช้างเอาพระโองการไปอ้างให้ฉุดนางไปอยู่ด้วย  เพื่อนบ้านเห็นเหตุการณ์ก็ไม่กล้าเข้าช่วยเพราะกลัว                        ผิดพระโองการ สมเด็จพระพันวษาฟังความทรงกริ้วขุนช้างมาก ทรงถามนางวันทองอีกว่าขุนช้างไปฉุดให้อยู่ด้วยกันมาตั้ง ๑๘ ปี แล้วคราวนี้หนีมาหรือมี                        ใครไปรับมาอยู่กับขุนแผน  นางวันทองก็กราบทูลไปตามจริงว่า  พระไวยเป็นผู้ไปรับมาเวลาสองยาม ขุนช้างจึงหาความว่า หลบหนี  สมเด็จพระพันวษา                        ทรงกริ้วพระไวยที่ทำอะไรตามใจตน นึกจะขึ้นบ้านใครก็ขึ้น  ทำเหมือนบ้านเมืองไม่มีขื่อมีแป และว่าขุนแผนรู้เห็นเป็นใจ  

                                    สมเด็จพระพันวษาทรงคิดว่า สาเหตุของความวุ่นวายทั้งหมดนี้เกิดจากนางวันทองจึงให้นางวันทองตัดสินใจว่าจะอยู่กับใคร  นางวันทองตกใจ                        ประหม่า อีกทั้งจะหมดอายุขัยจึงบันดาลให้พูดไม่ออกบอกไม่ถูกว่าจะอยู่กับใคร  นางให้เหตุผลว่า นางรักขุนแผน  แต่ขุนช้างก็ดีกับนาง ส่วนพลายงามก็                        เป็นลูกรัก ทำให้สมเด็จพระพันวษากริ้วมาก  เห็นว่านางวันทองเป็นคนหลายใจ เป็นหญิงแพศยา จึงให้ประหารชีวิตนางวันทองเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง

                    แก่ผู้อื่นต่อไป 

                    คุณค่าที่ได้รับ 
                                ด้านวรรณศิลป์ ด้านสังคม 
                                            • แสดงให้เห็นถึงศิลปะการแต่ง เช่น     

                                                        ๑. การพรรณนาให้เห็นภาพ

                                                        ๒. สัมผัสอักษร

                                                        ๓. ภาพพจน์

                                                                ๓.๑ อุปมา

                                                                ๓.๒ อุปลักษณ์ 

                                                                ๓.๓ สัทพจน์ 

                                                                ๓.๔ คำถามเชิงวาทศิลป์ 

                                       •  แสดงให้เห็นภาพสังคมสมัยก่อนๆเช่น 

                                                       ๑.  ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ 

                                                       ๒.  ความรักนะหว่างแม่และลูก 

                                                       ๓.  สะท้อนให้เห็นชีวิต  วัฒนธรรม  ค่านิยม และความเชื่อ 

                                                       ๔.  ความเชื่อในกฎแห่งกรรม 

                ด้านเนื้อหา 
                            ในยุคสมัยหนึ่งๆมักนิยมเรื่องราวที่เข้ากับยุคสมัยนั้นๆ เรื่องราวและเนื้อหาของวรรณคดีจะไม่ตายตัวแต่จะ เปลี่ยนไปตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของ                    สังคม พัฒนาการของสังคมจะเปป็นเครื่องกำหนดเนื้อหาของวรรณคดี 

                ความรู้เพิ่มเติม 

                เสภาขุนช้างขุนแผน

                        เดิมเรื่องขุนช้าง ขุนแผน เล่าเป็นนิทาน แต่เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยาวมาก เมื่อแต่งเป็นกลอน และขับเป็นลำนำด้วยก็ยิ่งจะต้องใช้เวลามาก ไม่                   สามารถจะขับให้ตลอดเรื่องในคืนเดียวได้ บทเสภาที่แต่งขึ้นจึงแต่งแต่เป็นตอนพอที่จะขับได้ภายในหนึ่งคืน ดังนั้น บทเสภาเดิมตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า หรือที่

            แต่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จึงแต่งเป็นท่อนเป็นตอน ไม่เป็นเรื่องติดต่อเหมือนกับบทละคร การเอาบทเสภามารวมติดต่อกันให้เป็นเรื่องโดยสมบูรณ์ เพิ่งทำ

            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ หนังสือเสภาสมัยกรุงเก่าน่าจะสูญหายหมด เนื่องจากผู้ที่แต่งหนังสือเสภาสำหรับขับหากิน น่าจะปิดบังหนังสือของ               ตน เพื่อป้องกันผู้อื่นมาแข่งขัน จะให้อ่านเพื่อท่องจำ

            ก็เฉพาะในหมู่ศิษย์และคนใกล้ชิด ด้วยสภาพดังกล่าวหนังสือเสภาจึงสาบสูญได้ง่าย ไม่เหมือนหนังสือประเภทอื่น เช่น หนังสือบทละคร และหนังสือสวด 

            ดังนั้น บทเสภาครั้งกรุงเก่า จึงตกมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์เพียงเล็กน้อย จากการจดจำกันมาและมีไม่มากตอน

                        ตำนานเสภาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานแสดงที่มาได้ค่อนข้างดี ซึ่งจะพบได้จากกลอนของสุนทรภู่ กลอนไหว้ครู ที่ได้มีการเอ่ยชื่อครูเสภา

            ไว้หลายท่าน พร้อมทั้งผลงานของท่านเหล่านั้น ที่ให้ไว้ในงานเสภา เช่น ครูทองอยู่ ครูแจ้ง ครูสน ครูเพ็ง พระยานนท์ เป็นต้น ส่วนครูปี่พาทย์ก็มีครูแก้ว 

            ครูพัก ครูทองอิน ครูมีแขก ครูน้อย เป็นต้น หนังสือเสภาที่แต่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ฯ จะแต่งเป็นตอน ๆ แต่ละตอนยาวประมาณ 

            ๒ เล่มสมุดไทย พอจะขับได้ภายในหนึ่งคืน หนังสือเสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน แต่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ 

            และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เท่าที่รวบรวมได้ในหอพระสมุด มีต่างกันถึง ๘ ฉบับ และยังมีฉบับปลีกย่อยอีกต่างหาก รวมประมาณ ๒๐๐ เล่ม สมุดไทย

            ที่มาของเรื่อง ขุนช้างขุนแผน

            (๑)   เรื่องนี้เชื่อกันว่าเกิดขึ้นจริงในสมัยสมเด็จพระพันวษา แห่ง กรุงศรีอยุธยา

                          - ตำนวนเดิมเล่าเพียงว่า มีนายทหารผู้มีฝีมือนายหนึ่ง มีตำแหน่งเป็นขุนแผน ได้ถวาย ดาบฟ้าฟื้นแด่สมเด็จพระพันวษา

            (๒)   ต่อมามีการนำเรื่อง ขุนช้างขุนแผน มาแต่งเป็นกลอนสุภาพและใช้ บทขับเสภา โดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

                         - บทขับเสภาที่นิยมมากที่สุดคือเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ซึ่งได้รับการยกย่อจากวรรณคดีสโมสรว่า เป็นยอดของกลอนสุภาพที่มีความไพเราะ ดีเลิศ                ทั้งเนื้อเรื่องและกระบวนกลอน

            (๓)   บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน มีกวีเอกหลายท่านร่วมกันแต่ง สันนิษฐานว่าแต่งตั้งแต่สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

                         - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า

                                  *ตอน ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง และตอน ขุนแผนพานางวันทองหนี เป็นพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

                                  *ตอนขุนช้างขอนางพิม และ ตอนขุนช้างตามนางวันทอง เป็นพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งยังดำรงพระ                อิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์)

                                  *ตอน กำเนิดพลายงาม เป็นสำนวนของสุนทรภู่

            (๔)   ตอน ขุนช้างถวายฎีกานี้ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่เป็นหนึ่งใน ๘ ตอนที่ได้รับการยกย่องจากสมาคมวรรณคดี (สมัย ร.๗) ว่าแต่งดีเป็นเยี่ยม 

            โดยเฉพาะกระบวนกลอนที่สื่ออารมณ์สะเทือนใจ

            โครงเรื่อง

            • นางวันทอง มีชื่อเดิมว่า พิมพิลาไลย ซึ่งเป็นเพื่อนเล่นกับ พลายแก้ว และ ขุนช้าง ในตอนเด็ก

            • เมื่อโตขึ้น นางพิมได้พบกับ พลายแก้ว อีกครั้ง ซึ่งในตอนนั้น พลายแก้ว บวชเณรอยู่ ซึ่งทั้งสองก็แอบรักใคร่ชอบพอกัน เณรแก้วจึงแอบสึกและขึ้นไปหา

            นางพิมบนเรือน

            • ทางด้าน ขุนช้าง ซึ่งมีฐานะร่ำรวย แต่หน้าตาอัปลักษณ์ก็หลงรักนางพิมเช่นกัน จึงวอนให้ นางเทพทอง (เป็นมารดา) ไปสู่ขอนางพิม

            • นางพิมเกรงว่า มารดาตนจะรับขันหมากของขุนช้าง จึงให้นางสายทอง (พี่เลี้ยง) ไปส่งข่าวให้เณรแก้ว รีบชิงมาสู่ขอก่อน

            • เณรแก้ว ลาสิกขา และให้นางทองประศรี มารดาของตน ไปสู่ขอนางพิม ทั้งคู่จึงได้แต่งงานกัน

            • หลังเข้าหอได้เพียงสองวัน พลายแก้วได้รับคำสั่งให้นำทัพไปรบกับ พระเจ้าเชียงใหม่

            • นางพิมตรอมใจด้วยความคิดถึงพลายแก้ว บวกกับขุนช้างซึ่งทำทุกอย่างเพื่อให้นางพิมใจอ่อนมาเป็นภรรยาตน จึงล้มป่วยลง และได้เปลี่ยนชื่อเป็น วันทอง

            • ขุนช้างหลอก วันทอง ว่า พลายแก้ว เสียชีวิตในสนามรบไปแล้ว นางศรีประจัน(แม่ของวันทอง) เกรงว่าวันทองจะถูกริบเป็นม่ายหลวง จึงบังคับให้                        แต่งงานกับขุนช้าง นางจึงต้องแต่ง แต่วันทอง ยังไม่เชื่อว่าพลายแก้วตายแล้ว จึงเฝ้ารอ พลายแก้ว และขัดขืนยังไม่ยอมเป็นภรรยาขุนช้าง

            • พลายแก้วชนะศึกกลับมา ได้รับยศเป็น ขุนแผน และได้รับพระราชทานนางลาวทอง มาเป็นภรรยาด้วย เมื่อขุนแผนได้พบกับ วันทอง ก็เกิดทะเลาะวิวาท                กันว่าวันทองไปแต่งงานใหม่ ส่วนวันทองก็ว่าขุนแผนนอกใจไปมีภรรยาใหม่ ขุนแผนโกรธจึงเข้าข้างลาวทอง และพานางไปอยู่กับแม่ที่กาญจนบุรี

            • นางวันทองทั้งโกรธแค้นเสียใจ และคิดว่าขุนแผนหมดรักตนแล้ว จึงยอมตกเป็นภรรยาขุนช้างในคืนนั้นเอง

            • ขุนแผนยังคงคิดถึงวันทอง จึงได้แอบขึ้นเรือนขุนช้างไป และพบวันทองนอนคู่กับขุนช้างอยู่ ก็โกรธ แต่ทำอะไรไม่ได้นอกจากด่ประจานให้อับอาและ

            จากไปทำให้ขุนช้างแค้นใจมาก

            • ต่อมาขุนช้างได้โอกาส เมื่อนางลาวทองไม่สบาย ขุนแผนซึ่งเข้าเวรอยู่ เป็นห่วง อยากกลับไปดูแล จึงฝากเวรไว้กับขุนช้าง ซึ่งขุนช้างก็ได้นำความไปทูล 

            สมเด็จพระพันวษา ว่าขุนแผนหนีเวร  สมเด็จพระพันวษาจึงลงโทษด้วยการให้ขุนแผนออกไปตระเวณด่านอยู่ชายแดน และ นำตัวลาวทองมากักไว้ไม่ให้

            ทั้งสองพบกัน

            • ขุนแผนโกรธแค้นขุนช้าง จึงคิดชิงตัวนางวันทอง โดยรวบรวมของวิเศษ 3 อย่าง ได้แก่ กุมารทอง  ดาบฟ้าฟื้น  ม้าสีหมอก

            • จากนั้นขุนแผนจึงลอบขึ้นเรือนขุนช้างอีกครั้ง ซึ่งได้พบกับนางแก้วกิริยาธิดาสุโขทัย ที่บิดานำมาขัดดอกกับขุนช้างไว้ และได้นางเป็นภรรยา จากนั้นจึง                เข้าไปหานางวันทอง 

            ซึ่งวันทองไม่อาจจากขุนช้างได้ แต่เพราะด้วยความรักขุนแผน จึงยอมตามไปอยู่กับขุนแผน

            • ขุนช้างโกรธที่ขุนแผนพาตัวนางวันทองไปจึงถวายฎีการ้องทุกข์ สมเด็จพระพันวษา

            • ขุนแผนพาวันทองเร่รอนไปอยู่ตามป่า จนนางตั้งครรภ์ ขุนแผนสงสารวันทองที่ได้รับความลำบากจึงให้พระพิจิตรพาไปมอบตัวและกราบทูลเรื่องราว                    ทั้งหมด สมเด็จพระพันวษาจึงตัดสินให้ขุนแผนได้นางวันทองคืนและขุนช้างถูกปรับไหม

            • ต่อมาขุนแผนคิดถึงนางลาวทองจึงขอพระราชทานคืน สมเด็จพระพันวษากริ้วมาก และมีรับสั่งให้จับขุนแผนไปขังคุก ซึ่งขุนแผนยอมติดคุกโดยไม่คิดหนี                 (ทั้งๆที่มีวิชาอาคมสามารถหนีได้)

            • วันหนึ่งขุนช้างสบโอกาส ให้บ่าวไพร่มาฉุดนางวันทองซึ่งกำลังไปเยี่ยมขุนแผน นางจึงต้องกลับไปอยู่กับขุนช้าง และคลอดลูกชื่อ พลายงาม

            • ยิ่งพลายงามโตขึ้นก็ยิ่งหน้าตาละม้ายคล้ายขุนแผน ขุนช้างเมื่อรู้ว่าไม่ใช่ลูกตน จึงลวงพลายงามไปฆ่าในป่า แต่ได้ผีพรายของขุนแผนช่วยไว้ จึงรอดมาได้              นางวันทองจึงให้พลายงามไปอยู๋กับนางทองประศรี(แม่ของขุนแผน) ที่กาญจนบุรี ส่วนตัวนางจำต้องอยู่กับขุนช้าง จนเมื่อพลายงามโตขึ้นได้รับราชการ                 ทำความดีความชอบ ได้เป็นจมื่นไวยวรนาถ

            • ในงานแต่งงานของพลายงาม ขุนช้างและนางวันทอง มาช่วยงาน  ขุนช้างเมาและมีเรื่องกับพลายงาม จึงถูกพลายงามทำร้าย ขุนช้างจึงไปถวายฎีกา                    กล่าวโทษพลายงาม  และได้มีการดำน้ำพิสูจน์กัน ปรากฏว่าขุนช้างแพ้ และถูกตัดสินประหารชีวิต แต่นางวันทองขอให้พลายงาม ขอพระราชทาน                        อภัยโทษไว้ เพราะขุนช้างก็เคยดีกับนาง

            • พลายงามคิดถึงมารดา อยากให้กลับมาอยู่ด้วยกันพร้อมหน้า จึงลอบขึ้นเรือนและพานางหนี รุ่งขึ้นก็เกรงว่าขุนช้างจะเอาผิด จึงให้บ่าวไปส่งความว่าตน                ป่วยหนัก อยากให้แม่มาดูใจสักพัก แล้วจะส่งคืน

            • ขุนช้างโกรธ จึงร่างฎีกาถวายถวายต่อสมเด็จพระพันวษาอีก

            • สมเด็จพระพันวษามีรับสั่งให้ไปเรียกทุกคนที่เกี่ยวข้องมา และเริ่มทำการตัดสินคดีความ ฝ่ายพลายงามผิดด้วยการไปลอบขึ้นบ้านผู้อื่น ทำเช่นบ้านเมือง                ไม่มีกฎหมาย ฝ่ายขุนช้างก็ผิดที่ว่าไปแย่งวันทองมา

            • สมเด็จพระพันวษาให้นางวันทองเข้าเฝ้าและตรัสถามให้กระจ่างว่านางจะเลือกอยู่กับใคร ขุนแผน ขุนช้าง หรือ พลายงาม ด้วยความประหม่า และ ณ                     ตอนนั้นชะตาถึงฆาต ทำให้นางตอบออกไปว่า นางก็รักขุนแผน แต่ขุนช้างก็แสนดี ส่วนพลายงามนี้ก็ลูกในอก

            • พระพันวษาโกรธมาก จึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตนาง

                            - ครอบครัวของ ''ขุนไกรพลพ่าย'' รับราชการทหาร มีภรรยาชื่อ ''นางทองประศรี'' มีลูกชายด้วยกันชื่อ ''พลายแก้ว'' 

                            - ครอบครัวของ ''ขุนศรีวิชัย'' เศรษฐีใหญ่ของเมืองสุพรรณบุรี รับราชการเป็นนายกองกรมช้างนอก ภรรยาชื่อ ''นางเทพทอง'' มีลูกชายชื่อ ''ขุนช้าง'' 

                            ซึ่งหัวล้านมาแต่กำเนิด 
                            - ครอบครัวของ ''พันศรโยธา'' เป็นพ่อค้า ภรรยาชื่อ ''ศรีประจัน'' มีลูกสาวรูปร่างหน้าตางดงามชื่อ ''นางพิมพิลาไลย'' 
                ครอบครัว ขุนแผน 
                        ขุนแผน + ภรรยา ๕ คน 
                                ๑. นางวันทอง(พิมพิลาไลย) = พลายงาม 
                                ๒. นางลาวทอง(ไปรบที่เชียงใหม่) 
                                ๓. นางบัวคลี่(หนีไปถึงซ่องโจร) = กุมารทอง 
                                ๔. นางแก้วกิริยา(ลอบขึ้นเรือนขุนช้าง) = พลายชุมพล 
                                ๕. นางสายทอง(พี่เลี้ยงนางวันทอง) 
                ครอบครัว จมื่นไวยวรนาถ (พลายงาม) 
                        จมื่นไวยวรนาถ + ภรรยา ๒ คน 
                                ๑. นางสร้อยฟ้า = พลายยง 
                                ๒. นางศรีมาลา = พลายเพชร 

                ของวิเศษของขุนแผน

                        กุมารทอง 
                            ตำรากุมารทองเป็นไสยศาสตร์ในยุคที่เรียกว่ากรรมฐานนิพานสูตร อันมีอยู่ในสมุดข่อยสมัยกรุงศรีอยุธยา ตำราแบ่งเป็นสองประเภทคือ 1 กุมารทอง                    ใช้งาน 2.กุมารทองทำร้าย แต่วิธีเบื้องต้นในการสร้างคล้ายกันคือการนำวิญญาณใช้ประโยชน์แบบเตภูมิ 4 อัน ประกอบด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ 

                        ม้าสีหมอก                                                              
                            สีหมอก เป็นม้าแสนรู้พาหนะประจำตัวของขุนแผน แม่เป็นม้าเทศชื่ออีเหลือง พ่อเป็นม้าน้ำ คลอดจากท้องแม่เมื่อวันเสาร์ขึ้น ๙ ค่ำ ตัวสีหมอก 

                ตาสีดำ  หลวงศรีวรข่านได้รับคำสั่งจากสมเด็จพระพันวษาให้ไปซื้อม้าที่เมืองมะริด ประเทศอินเดีย สีหมอกซึ่งเป็นลูกม้ารุ่นหนุ่มก็ติดตามแม่มาด้วย แต่                            ความซุกซนทำให้เที่ยวไล่กัดม้าตัวอื่นๆอยู่เสมอ ต้องตามตำราจึงเข้าไปขอซื้อ แล้วเสกหญ้าให้กิน สีหมอกก็ติดตามขุนแผนไปโดยดี 

                        ดาบฟ้าฟื้น                                          
                            ดาบฟ้าฟื้นเกิดจาก การเอาเหล็กรวมทั้งโลหะอื่นแล้วก็นำมาหล่อรวมกัน พอฤกษ์งามยามดีก็ตั้งศาลเพียงตา แล้วให้ช่างตีเหล็กบรรจงแต่งตามรูปที่                ต้องการ เมื่อเสร็จแล้วมีสีเขียวแมลงทับ จากนั้นก็เจาะไม้ชัยพฤกษ์เอาผมผีพรายตัวร้าย ๆ ใส่เข้าไปแล้วเอาชันกรอกทับเป็นด้าม เมื่อขุนแผนลองแกว่งดูก็เกิด                เมฆลมพัดตลบอบอวลฟ้าผ่าดังเปรี้ยงปร้าง แล้วเอาไม้สรรพยามาทำฝักแต่งเติมเสริมความงามจนพอใจจึงตั้งชื่อว่า  ดาบฟ้าฟื้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก