เรียนจิตวิทยา ออนไลน์ จุฬา

รายละเอียดสินค้า : จิตวิทยาการศึกษา

เนื่องจากหนังสือจิตวิทยาการศึกษาเล่มนี้ ไม่เพียงแต่ให้พื้นฐานความรู้เรื่องทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับการเรียนการสอน แต่ได้สรุปผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับการประยุทธ์ในห้องเรียน ฉะนั้น จึงเหมาะสมกับนิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา ในแขนงวิชาจิตวิทยาการศึกษาจิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว และวิชาเอกทางการศึกษาทุกแขนง

FACULTY Of PSYCHOLOGY

CHULALONGKORN UNIVERSITY

About us

สถานที่ตั้ง

คณะจิตวิทยา จุฬา ตั้งอยู่ที่อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ ชั้น 7
ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330

ชั้น 5 ศูนย์สุขภาวะทางจิต
ชั้น 6 ศูนย์ประเมินทางจิตวิทยา
ชั้น 7 สำนักคณบดี
ชั้น 8 ห้องพักอาจารย์

วิธีการเดินทาง

bts สนามกีฬาแห่งชาติ
รถปอพ. สาย 2
รถเมล์ ลงป้ายสนามกีฬาแห่งชาติ

สถานที่ใกล้คณะ สถานที่อื่นๆ
mbk
คณะใกล้เคียง
คณะสหเวชศาสตร์ สวนหลวงสแควร์
คณะพยาบาลศาสตร์ สนามกีฬาแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย)
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

วิชาการภายในคณะ

รูปแบบหลักสูตรปริญญาตรีคณะจิตวิทยา

หลักสูตรของคณะจิตวิทยา จุฬา จะแบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร
ได้แก่ หลักสูตรไทย และหลักสูตรนานาชาติหรือภาคอินเตอร์ (JIPP)

หลักสูตรภาคไทย
2 ปีแรกจะได้เรียนวิชาบังคับซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานของแต่ละสายทางจิตวิทยา
เช่น วิชาจิตวิทยาการปรึกษาขั้นต้น พอขึ้นปี 3 และปี 4 จะได้เลือกเรียนในวิชาเลือก
ตามวิชาที่ตนเองสนใจ โดยคณะจิตวิทยาจุฬาจะไม่มีการแบ่งสาขาการเรียนที่ชัดเจน
นิสิตสามารถเลือกเรียนวิชาของสาขาใดก็ได้ตามความสนใจ

หลักสูตรนานาชาติ หรือ Joint International Psychology Program (JIPP)

สาขาในคณะ

ดั่งที่กล่าวไปว่าคณะจิตวิทยาจุฬาไม่ได้แบ่งเป็นสาขา
การเรียนที่ชัดเจนในระดับปริญญาตรี แต่อย่างไร
ก็ตามทางคณะก็มีวิชาของแต่ละสาขาทางจิตวิทยาให้
นิสิตได้เลือกลงตามความสนใจ โดยจะมีวิชาให้เลือก

เรียนตามสาขาดังนี้

จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology)

เรียนเกี่ยวกับพัฒนาการมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนตายอย่างเป็นลำดับ เป็นการศึกษาและ
ทำความเข้าใจพัฒนาการต่างๆทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
โดยในคณะจะมีวิชาทางจิตวิทยาพัฒนาการหลากหลายวิชาให้เลือกเรียน เช่น จิตวิทยา

เด็ก จิตวิทยาวัยรุ่น จิตวิทยาผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ เป็นต้น

จิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology)

เรียนเกี่ยวกับการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ซึ่งเป็นกระบวนการที่เอื้อให้คนได้ทำความเข้าใจ
ตนเองได้อย่างลึกซึ้งและมองเห็นแนวทางการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยนักจิตวิทยาการ

ปรึกษาจะไม่เข้าไปแนะนำหรือแทรกแซง ซึ่งในระดับปริญญาตรี จะได้เรียนเกี่ยวกับ
พื้นฐานของวิชาชีพจิตวิทยาการปรึกษา ทฤษฎีและการปฏิบัติในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
มาตรฐานทางวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ โดยถ้าสนใจในสาขานี้และอยากต่อยอดไป

ประกอบอาชีพในอนาคต ก็ต้องเรียนต่อปริญญาโทในสาขาจิตวิทยาการปรึกษาต่อไป

จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
(Industrial and Organizational Psychology)

เป็นการนำหลักการ แนวคิด และทฤษฎีทางจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในบริบทของ
การทำงาน เช่นการคัดเลือกบุคลากร การฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงาน

การจูงใจในการทำงาน เพื่อปรับปรุงสุขภาวะและเพิ่มประสิทธิผลของผลการ
ปฏิบัติงานขององค์การและบุคลากรภายในองค์การ

จิตวิทยาสังคม (Social Psychology)

จะได้เรียนเกี่ยวกับทฤษฎี งานวิจัย และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อ
ศึกษาพฤติกรรมของบุคคลที่ได้รับอิทธิพลจากผู้อื่น อิทธิพลทางสังคม

ปริชานทางสังคม และความสัมพันธ์ทางสังคม

จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology)

เป็นการเอาจิตวิทยาประยุกต์ใช้กับศาสตร์ต่างๆ โดยในคณะเราก็จะมีวิชาให้
เลือกเยอะแยะมากมาย เช่น จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาสุขภาพ จิตวิทยาปริชาน

จิตวิทยาอาชญากรรม เป็นต้น

จิตวิทยาเรียนอะไรบ้าง?

นอกจากจะได้เรียนวิชาที่ได้กล่าวไปแล้ว วิชาที่จะได้เรียนเป็นหลักคือระเบียบวิธีวิจัยและสถิติ
ทางจิตวิทยา การออกแบบเชิงวิเคราะห์เชิงทดลองและเชิงสำรวจ โดยคณะจิตวิทยาที่จุฬาฯจะ
เน้นการทำวิจัยเป็นหลัก และเนื่องจากเป็นวิทยาศาสตร์สายสุขภาพ เราก็จะได้เรียนวิชาชีววิทยา
สรีรวิทยา(physiology) ชีวจิตวิทยา(biopsychology) ซึ่งเรียนเกี่ยวกับสรีรวิทยาของระบบ
ประสาท พัฒนาการของสมอง ระบบรับความรู้สึกและสั่งการ แนวทางทางชีววิทยาสําหรับ
พฤติกรรม แรงจูงใจ อารมณ์ และความผิดปกติทางจิต นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกอีกเยอะแยะ

มากมาย โดยสามารถดูวิชาอื่นๆได้ในลิงค์ที่แนบไว้

หลักสูตรวท.บ. สาขาวิชาจิตวิทยา 2563
//drive.google.com/file/d/1UFkLf1hFbxn-
R0PrwuLs4F5kewje1zuV/view?usp=sharing

สำหรับหลักสูตรปริญญาตรีและปริญญาเอก สามารถสืบค้น
ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
//www.psy.chula.ac.th/psy/course.php

หลักสูตรนานาชาติ

Joint International Psychology Program (JIPP)

Joint International Psychology Program หรือ JIPP เป็นหลักสูตรนานาชาติ
ของคณะจิตวิทยา ในหลักสูตรนี้เราจะเรียนสองปีแรก (4 เทอม) ที่คณะจิตวิทยาจุฬา
ก่อนจะไปเรียนต่อที่ School of Psychology University of Queensland (UQ)
ที่ประเทศออสเตรเลีย เป็นเวลาหนึ่งปีครึ่ง (3 เทอม) และกลับมาทํา senior project
ที่จุฬาในเทอมสุดท้าย ก่อนจะจบด้วยปริญญาตรีสองใบคือวิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขา
จิตวิทยาจากจุฬา(B.Sc.inPsychology)และศิลปศาสตร์บัณฑิตภาควิชาจิตวิทยา
(B.A. in Psychology) จาก UQ

กิจกรรมจากทางหลักสูตร JIPP
• JIPP Trip ค่ายรับน้องสามวันสองคืนสําหรับนิสิต JIPP ปีหนึ่ง
• นิสิตในภาคอินเตอร์สามารถเข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ กับภาคไทยได้

วิชาการของหลักสูตร JIPP

วิชาการที่จุฬา วิชาการที่ UQ

7 วิชา (21 หน่วยกิต) / เทอม 4 วิชา/เทอม
(ไม่ได้เรียนกับภาคไทย)
1) วิชาบังคับ
1) วิชาพื้นฐานของแต่ละสาขาของจิตวิทยา • Psychological Research Method II
เช่น • Psychological Research Method III
• จิตวิทยาท่ัวไป (General Psychology) • Neuroscience for Psychologist
• จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental • Learning & Cognition
Psychology) • Measurement in Psychology
• จิตวิทยาสังคม (Social Psychology)
• จิตวิทยาการรู้คิด (Cognitive 2) วิชาบังคับเลือก (Neuroscience
Psychology) Elective)
• จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
(Industrial & Organizational 3) วิชาบังคับเลือก (Non-neuroscience
Psychology) Elective)
• จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology)

2) วิชาที่เกี่ยวกับการเขียนวิจัย เช่น
• สถิติ (Statistics)
• ระเบียบวิจัย (Research Method)
• การทดสอบทางจิตวิทยา (Psychological
Testing & Measurement)

3) วิชาพื้นฐานเพื่อไปต่อยอดการเรียนประสาท
วิทยาศาสตร์ (Neuroscience) ที่ UQ เช่น
• ชีววิทยาพื้นฐาน (General Biology)
• ชีววิทยาเพื่อความเข้าใจของจิตวิทยา
(Biopsychology)

• สรีระวิทยาเพื่อความเข้าใจของจิตวิทยา
(Psychophysiology)

หมายเหตุ: วิชาในลิสต์นี้ยังไม่รวมวิชาบังคับ
เลือกและวิชาGenEd

จบไปแล้วทำอะไรได้บ้าง?

หากตอบแบบกว้างๆคือสามารถทำอาชีพอะไรก็ได้ งานที่เกี่ยวกับคนก็ย่อมมีการใช้
จิตวิทยามาเกี่ยวข้องเสมอ สิ่งที่ได้แน่ๆจากการเรียนจิตวิทยาคือ soft skills ต่างๆ เช่น

การทำความเข้าใจมนุษย์ ทั้งด้านความคิด จิตใจ พฤติกรรม การเป็นผู้ฟังที่ดี เป็นต้น
และเมื่อจบไปแล้วก็สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ทั้งงานที่ตรงสายและประยุกต์

ตัวอย่างอาชีพที่สามารถทำได้ เช่น

จิตวิทยาพัฒนาการ : ครูแนะแนว, นักจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก วัยรุ่น ผู้สูงอายุ โดยสามารถ
ทำงานได้ทั้งในโรงพยาบาล โรงเรียน หรือตามศูนย์ต่างๆ, งานทางด้าน EI เป็นต้น

จิตวิทยาการปรึกษา : นักจิตวิทยาการปรึกษา (ต้องเรียนต่อป.โท)

จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ : เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource)

จิตวิทยาคลินิก : นักจิตวิทยาตามโรงพยาบาลต่างๆ (จุฬามีสอนวิชาจิตวิทยาคลินิกพื้นฐานใน
ระดับปริญญาตรี แต่ในปัจจุบันจุฬายังไม่มีสาขาจิตวิทยาคลินิกในระดับปริญญาโท)

หรือจะนำไปประยุกต์ เช่น นักวิจัยด้านจิตวิทยา นักศิลปะบำบัด นักดนตรีบำบัด
นักจิตวิทยานิติวิทยาศาสตร์ นักการตลาด เป็นต้น

เข้ามาในคณะแล้วจะได้เจอกับ

กิจกรรมอะไรบ้าง?

เมื่อเข้ามาเรียนในคณะจิตวิทยา จะได้พบกับกิจกรรมทั้งกิจกรรมภายในคณะและกิจกรรม
นอกคณะที่ทำร่วมกับคณะอื่นๆ สำหรับกิจกรรมภายในคณะ เช่น กิจกรรมเจาะจิต เป็น

กิจกรรมแนะแนวคณะจิตวิทยาจุฬาฯสำหรับนักเรียนมัธยมปลาย หรือ กิจกรรมสิบส้อม ที่
คณะจิตวิทยา 10 มหาวิทยาลัยจะได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน หรือจะเป็นกิจกรรมสำหรับรับ

น้องปี 1 ได้แก่กิจกรรมสามพบและค่ายรับน้องต่างจังหวัด (PDC)

กิจกรรมนอกคณะที่จะได้ออกไปทำร่วมกับทางส่วนกลางของมหาวิทยาลัย หรือทำร่วมกับ
คณะอื่นๆก็มีหลากหลายกิจกรรมเช่นกัน อาทิเช่น กิจกรรม Open house ซึ่งเป็นกิจกรรม
ที่แต่ละคณะจะได้จัดกิจกรรมต่างๆเพื่อแนะนำและแนะแนวให้กับน้องมัธยมปลายหรือบุคคล
ทั่วไปที่สนใจ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม Chula Expo ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะถูกจัดขึ้นทุก 4 ปี

เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมของคณาจารย์และนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผ่านนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ

ชมรมในคณะ

ชมรมดนตรี (Psyche music)

Psyche music เป็นชมรมดนตรีสากล เน้นการเล่นเป็นวงร่วมกับสมาชิก มีตำแหน่ง
ต่างๆ ได้แก่ กีต้าร์ กลอง เบส คีย์บอร์ด และร้อง อย่างไรก็ตามยังเคยมีตำแหน่ง
เครื่องดนตรีพิเศษอื่น ๆ อีก เช่น แซกโซโฟน
ตามสถานการณ์ปกติ ชมรม Psyche music จะมีงานประจำปีชื่อว่า ดนตรีในสวน
เป็นงานดนตรีที่เปิดให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาดูได้ ซึ่งจะจัดอย่างน้อยปีละสองครั้ง
นอกจากนี้ชมรม Psyche music ยังมีกิจกรรมที่จะได้เล่นตามงานต่าง ๆ ของคณะ
และมหาวิทยาลัย เช่น Psyche night สามพบ หรืองานลอยกระทงประจำปี นอกจาก
นี้ ทางชมรมดนตรียังมีกิจกรรมค่ายชมรมที่จะไปขึ้นที่ต่างจังหวัดอีกด้วย

ชมรม MC (Psyche MC)

Psyche MC ทำหน้าที่เป็นพิธีกรในกิจกรรมและงานพิธีการต่าง ๆ ของคณะจิตวิทยา
ดำเนินกิจกรรมที่จัดขึ้นภายในคณะจิตวิทยา เช่น การต้อนรับน้อง ๆ ในวันสัมภาษณ์
CU First date กิจกรรมรับน้องสามภพ ปฐมนิเทศน์ ค่ายPDC ค่ายเจาะจิต พิธีไหว้
ครู รวมไปถึงงานอื่น ๆ อีกมากมาย
มี Workshop ฝึกฝนทักษะของ MC ให้พร้อมอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบท การ
แก้ปัญหาเฉพาะหน้า จังหวะการพูดและเทคนิคในการสร้างความบันเทิง

ชมรมกลองสันทนาการ (Psyche Drummer)

เป็นชมรมกลองสันทนาการ มีหน้าที่สร้างสีสันและสร้างจังหวะสนุกสนานให้กับ
กิจกรรมต่าง ๆ ในและนอกคณะ
กิจกรรมที่ชมรมเข้าร่วม ได้แก่ Freshy game กิจกรรมรับน้อง และกิจกรรมที่ทำ
ร่วมกับนอกคณะ เช่น สันโต้ สี่เส้า เป็นต้น โดยคนที่ไม่มีทักษะก็สามารถเข้ามาลองตี
ได้ มีคนพร้อมสอนเสมอจ้า

เรื่องที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับคณะ !

Q: เรียนจิตวิทยาแล้วอ่านใจคนได้ / สะกดจิตคนได้
A: ไม่ได้ค่ะ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่มุ่งเน้นศึกษาสาเหตุว่าทำไมมนุษย์ถึงทำ
พฤติกรรมนี้ออกมากันนะ ? เขาคนนั้นคิดอะไรอยู่ถึงแสดงพฤติกรรมนั้นออกมา ?
โดยการสังเกตและออกแบบการทดลองอย่างรัดกุมเพื่อศึกษาปรากฎการณ์ต่าง ๆ
ที่ทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมออกมาอย่างเป็นระบบและนำไปพัฒนาเป็นทฤษฎี
เพื่ออธิบายสาเหตุและทำนายการเกิดพฤติกรรมนั้น ๆ นั่นเอง ในฐานะนักจิตวิทยา
เราจึงไม่สามารถตัดสินความคิดของคน ๆ นึงได้จากภายนอกเท่านั้น เราจึงต้อง
อาศัยการทดลองและทฤษฎีต่าง ๆ มาช่วยประกอบการศึกษาจิตใจของมนุษย์ที่มี
ความซับซ้อนมากเกินกว่าที่เราจะสามารถทำนายได้

Q: จิตวิทยากับจิตแพทย์ต่างกันยังไง
A: จิตแพทย์ต้องจบการศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตร์ และศึกษาต่อในหลักสูตร
เฉพาะทางจิตเวชศาสตร์ ก็คือต้องเรียนจบแพทย์มาก่อนนั่นเอง โดยจิตแพทย์
สามารถวินิจฉัยโรคทางจิตเวชและสามารถจ่ายยาได้ ในขณะที่นักจิตวิทยาจะจบการ
ศึกษาจากหลักสูตรจิตวิทยา สามารถทำงานได้ตามสาขาที่กล่าวไปข้างต้น และบาง
สาขาก็ยังสามารถทำงานร่วมกันกับจิตแพทย์ได้เช่นกัน เช่นการบำบัดหรือการ
ประเมินทางจิตวิทยา เพียงแต่นักจิตวิทยาจะไม่สามารถวินิจฉัยและจ่ายยาได้

Q: เรียนจิตวิทยาแล้วต้องอยู่กับคนบ้า
A: ไม่เสมอไปน้า จิตวิทยามีหลายสาขา ในสายจิตวิทยาคลินิก
หรือปรึกษา บ้างอาจเจอผู้ที่มีอาการทางจิต แต่สายอื่นๆก็
ทำงานกับคนทั่วไปเด้อ

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

ศูนย์บริการสุขภาวะทางจิต

คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ได้มีบริการการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยากับนักจิตวิทยาการปรึกษาเพื่อส่ง
เสริมสุขภาวะทางจิตให้แก่นิสิตและบุคคลทั่วไป หากเป็นนิสิตคณะจิตวิทยาจุฬาฯจะสามารถเข้ารับ
บริการส่วนนี้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือติดต่อเพื่อเข้า

รับบริการของศูนย์สุขภาวะทางจิตคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ที่
Facebook เพจ ศูนย์สุขภาวะทางจิต (Center for Psychological Wellness)

//www.facebook.com/WellnessPsyCU

ช่องทางการติดต่อ

Facebook คณะ //www.facebook.com/PsychologyChula/
JIPP //www.jipp.psy.chula.ac.th/
ศูนย์สุขภาวะทางจิต //www.facebook.com/WellnessPsyCU
คณะกรรมการนิสิตคณะจิตวิทยา (กนจว.)

Facebook: //www.facebook.com/scpchula)
Instagram: //www.instagram.com/psychescp.cu/
ค่ายเจาะจิต //www.facebook.com/jorjitcu

รีวิวคณะ

Youtube

คณะจิตวิทยา จุฬา เรียนอะไร?-? ใช้คะแนนอะไรบ้าง? | babiekt
vlog 00 | พาทัวร์คณะจิตวิทยา จุฬา | babiekt - YouTube
เรียนจิตวิทยา อ่านใจ สะกดจิต ได้ไหมนะ ? | คณะจิตวิทยา จุฬาฯ | จุฬาฯ
มาแล้ววว EP.18
เด็กมาหาไร: EP.21 "จิตวิทยา จุฬาฯ" วิทยศาสตร์ด้านพฤติกรรม

Dek-D

[Review] คณะจิตวิทยา จุฬาฯ : ตอนที่ 1 จิตวิทยาเรียนอะไร?
เคล็ดลับความสำเร็จ "พี่ฟ้า" ติดจิตวิทยา จุฬาฯ ตั้งแต่รอบ 2 เพราะโอกาส
มาต้องคว้าไว้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก