การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ภาษาอังกฤษ

การโยกย้ายไปยังสถานที่ใหม่ๆ เอาแค่ในประเทศนี่แหละ หลายๆ คนยังรู้สึกว่าปรับตัวได้ยากเลย นับประสาอะไร หากเราต้องย้ายไปศึกษาต่อในต่างประเทศที่เราไม่คุ้นชิน เมื่อไหร่ก็ตามที่เราต้องไปเจอเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ สังคมใหม่ เพียงลำพัง เรื่องของ culture shock หรือความแตกต่างทางวัฒนธรรม ก็คงเป็นสถานการณ์ที่หลีกเลี่ยงได้ลำบาก

SI-English เคยนำเสนอ วิธีรับมือกับ Culture Shock ไปบ้างแล้ว (อ่าน รับมือ Culture Shock อย่างไรเมื่อเราต้องไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ) คราวนี้ก็เช่นเดียวกัน เราได้หยิบเอาเคล็ดลับ วิธีเอาชนะความแปลกแยกและแตกต่างทางวัฒนธรรม พร้อมเคล็ดลับในการสร้างมิตรภาพใหม่ๆ มาฝากอีกครั้ง เพื่อที่น้องๆ จะได้ศึกษาเล่าเรียนอย่างสบายใจ เกรดสวย ชิลๆ ไม่เครียด และไม่ต้องร้องไห้คิดถึงเมืองไทยวันละสามเวลากันครับ

วิธิที่ #1 – เปิดใจรับสิ่งใหม่

น้องๆ หลายคนที่ไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศลำพัง อาจรู้สึกวิตกหรือตื่นเต้นกับหลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่างที่เราไม่ค่อยได้พบเจอที่ไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ ภาษา สำเนียง อาหาร นิสัยใจคอของผู้คน วัฒนธรรมประเพณี ฯลฯ จนถึงขั้นไม่สามารถข้ามผ่านหรือปรับตัวได้ ก็เลยสร้างกำแพงขึ้นมาเพื่อให้ตัวเองรู้สึกปลอดภัย สถานการณ์เช่นนี้คือสิ่งที่เรียกกันว่า “Culture shock” ครับ

และหนึ่งในวิธีที่จะเอาชนะความกลัวหรือความต่างทางวัฒนธรรม ก็คือ “การเปิดหัวใจ” รับสิ่งใหม่ๆ เหล่านั้น ลองเปลี่ยนวิธีคิด มองมุมกลับ ปรับมุมมอง ด้วยการทรีตความต่างเหล่านี้ เสมือนเป็นโอกาสในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมใหม่ๆ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้เราเอาชนะ Culture shock ได้เท่านั้น แต่มันอาจจะช่วยให้น้องๆ ค้นพบความชอบส่วนตัวใหม่ๆ ก็เป็นได้ เปลี่ยนอาการช็อค มาเป็นการเรียนรู้ประสบการณ์และการผจญภัย ซึ่งสิ่งนี้แหละคือ คืออีกหนึ่งเป้าหมายของการศึกษาในต่างประเทศ

วิธีที่ #2 – หัดถามคำถาม

ความกลัวที่เกาะกินใจนักศึกษาต่างชาติ ที่อยู่ต่างบ้านต่างเมืองอีกอย่างหนึ่งนั่นคือ “กลัวที่จะต้องยืนงงในดงฝรั่งตามลำพัง” และหากปล่อยไว้นานๆ อาจนำไปสู่ความคิดที่ว่า เราไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้จริงๆ ถ้าจะมีอะไรสักอย่างที่เราอยากแนะนำสำหรับสถานการณ์นี้มากที่สุด เห็นจะได้แก่ “ไม่รู้อะไร ก็ให้ถาม” แค่ใช้ความกล้าเพียงเล็กน้อยในการถามคำถาม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราไม่เข้าใจหรืออยากได้ความช่วยเหลือ แล้วน้องๆ จะประหลาดใจว่า คนรอบข้างเขาอยากจะช่วยเราใจจะขาด แต่ถ้าเราไม่พูด ไม่เอ่ยปาก เขาจะตรัสรู้หรือยื่นมือเช้ามาช่วยเราได้ยังไง ถูกไหม จำไว้ว่า “ถ้าไม่กล้าถามคำถาม เราก็จะไม่มีทางได้พบคำตอบ” ครับ

วิธีที่ #3 – หาเพื่อนใหม่

Culture shock จะกลายเป็นเรื่องขี้ปะติ๋วไปเลย หากเราแวดล้อมไปด้วยคนรู้จัก ปลุกความกล้าในตัวแล้วเข้าไปทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ๆ ยิ่งถ้ามีคนไหนที่เจอปัญหาเดียวกันกับเรา นั่นจะยิ่งทำให้เราสนิทกันง่ายขึ้น มิตรภาพนั้นสำคัญมากกก (ก. ไก่ล้านตัว) ต่อชีวิตในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย เรียกว่าเป็นปัจจัยใหญ่ที่จะขาดไม่ได้เลยล่ะ น้องๆ คงนึกออกว่า จะดีสักแค่ไหนหากเราได้รู้ว่า ไม่ไดมีแค่เราเพียงลำพัง ที่ต้องเจอกับปัญหาด้านการปรับตัว (คนอื่นๆ ก็เหมือนกันนั่นแหละ) แถมการสร้างมิตรภาพและเครือข่ายยังช่วยฝึกทักษะทางด้านการเข้าสังคม หรือ social skills ของเรา เพื่อความก้าวหน้าในอนาคตได้อีกด้วย

วิธีที่ #4 –มั่นใจในตัวเอง

โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ประกอบด้วยนักศึกษาและบุคลากรที่มาจากหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และแหล่งที่มา บางวัฒนธรรมอาจจะมีส่วนเหมือนหรือคล้าย และไปกันได้กับวัฒนธรรมอื่นๆ ซึ่งคงไม่เป็นปัญหาอะไร แต่หากเรามาจากรากเหง้าและวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนใคร เช่น วัฒนธรรมไทย ขอให้รู้ไว้เลยว่ามัน “ไม่ใช่เรื่องน่าอาย” อย่าอายที่จะเป็นตัวของตัวเอง อย่าอายที่จะแตกต่าง หากเราเชื่อมั่นว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดีแล้ว ตรงกันข้าม เพื่อนใหม่หลายๆ คน อาจรู้สึกสนใจในสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมเฉพาะของเราก็ได้ เช่น งานอดิเรกที่เราทำ อาหารที่เราทาน ภาษาที่เราพูด และอื่นๆ การศึกษาต่อในต่างประเทศ คือก้าวที่สำคัญของการวางแผนเกี่ยวกับอาชีพการงานและความฝันของเราในอนาคต และวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นที่ดีที่สุด คือการเป็นตัวของเอง

การเอาชนะความต่างทางวัฒนธรรม และสร้างมิตรภาพใหม่ อาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน แต่สิ่งที่สำคัญที่เราอยากจะบอกกับน้องๆ ก็คือ หากเกิดปัญหา อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ แม้น้องๆ จะอยู่ในต่างประเทศ ก็มีผู้คนรอบข้างพร้อมและยินดีจะช่วยเหลืออยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนๆ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ support ของมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียน และที่ปรึกษาของเรา เป็นต้นครับ

สำหรับน้องๆ ที่สนใจสมัครเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และไอร์แลนด์ สามารถติดต่อสอบถามและรับคำปรึกษาจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาต่อต่างประเทศของ SI-English ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เรียนภาษาอังกฤษพร้อมรู้จักวัฒนธรรมผับใน Ireland

เทคนิคพูดภาษาอังกฤษยังไง ให้ไหลลื่น! จนฝรั่งต้องยอม

5 วิธีฝึกภาษาอังกฤษพร้อม ๆ กับเพลิดเพลินไปกับงานอดิเรกของคุณ

การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ภาษาอังกฤษ

การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ภาษาอังกฤษ

June 29, 2022 Career Advice

การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ภาษาอังกฤษ

Adaptability ทักษะในการปรับตัวที่ผู้นำและคนทำงานยุคใหม่ต้องมี 

ในช่วงปีสองปีมานี้เรามักได้ยินคำว่า resilience บ่อยๆ ว่าเราต้องมี resilience ในการเผชิญหน้ากับปัญหา คือต้องสามารถที่จะล้มและลุกได้เร็ว สามารถฟื้นตัวสู่สภาวะได้เร็ว ซึ่งการที่เราจะมี resilience ได้ สิ่งแรกที่เราต้องมีก็คือ adaptability หรือ ทักษะในการปรับตัว เพื่อที่จะปรับทัศนคติในการมองปัญหา ปรับวิธีคิด และปรับวิธีการแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเจอกับความท้าทายที่เข้ามาซึ่งจะช่วยให้เราสามารถก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ที่เข้ามาได้ ซึ่ง adaptability หรือ ทักษะในการปรับตัวคือพระเอกที่เราจะพูดถึงในวันนี้ โดยเราได้คัดส่วนหนึ่งมาจากบทความของ Mckinsey: Future proof: Solving the ‘adaptability paradox’ for the long term มาสรุปให้ผู้อ่านได้อ่านกันค่ะ 

อยากมีทักษะ Adaptability ต้องฝึกสามสิ่งนี้ 

ผู้นำและคนทำงานสมัยนี้ต้องเจอกับความท้าทายของยุคสมัยที่ต่างไปจากอดีต พวกเขาต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและปัญหาใหม่ที่ไม่เคยเจออยู่ตลอดเวลา  ความสามารถในการปรับตัวและปรับวิธีคิดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพื่อที่เมื่อเผชิญกับปัญหาที่ท้าทายต่างๆ จะสามารถยืดหยุ่นความคิดและวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ทักษะในการปรับตัวจึงเป็นทักษะจำเป็นที่เราต้องหมั่นฝึกฝน ซึ่งความสามารถในการปรับตัวก็เหมือนกล้ามเนื้อที่เราต้องฝึกฝนมันให้แข็งแรง สิ่งนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า adaptability muscle โดยการที่เราจะสามารถปรับตัวได้ดีเราต้องพัฒนาตัวเองในสามด้านด้วยกันคือ 

  1. learning agility หรือ ความคล่องตัวในการเรียนรู้ การฝึกเป็นคนที่ขวนขวายหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ จะเอาแต่ยึดติดอยู่กับตำราเดิมหรือวิธีที่เคยใช้ในอดีตเพียงอย่างเดียวไม่ได้  
  2. emotional flexibility หรือความยืดหยุ่นทางอารมณ์การฝึกความสามารถในการบริหารจัดการอารมณ์ ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพราะหากเราไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้ก็จะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจ ส่งผลเสียทั้งต่อคนรอบข้างและบรรยากาศในการทำงาน  
  3. openness หรือใจที่เปิดกว้างการฝึกที่จะเปิดใจที่จะมองสิ่งต่างๆ ในมุมที่ต่างออกไป เปิดใจที่จะรับฟังความเห็นจากผู้อื่นและประสบการณ์ใหม่ๆ สามสิ่งนี้จะช่วยให้เราสามารถนิ่งและมีสติท่ามกลางความกดดันต่างๆ ที่รุมเร้า และมองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในมุมที่สงสัยใคร่รู้ มากกว่าที่จะพยายามต้านกระแสของความเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ 

Mindset ของคนที่มี Adaptability เป็นอย่างไร? 

การจะดูว่าคนแบบไหนมีทักษะในการปรับตัวที่ดีก็ต้องดูวิธีมองปัญหาและจัดการกับปัญหาของแต่ละคนเป็นหลัก เรามาดูกันว่า mindset ของคนที่ขาดทักษะในการปรับตัวกับคนที่มีทักษะในการปรับตัวและมีทัศนคติที่ยืดหยุ่นนั้นต่างกันอย่างไรในตารางด้านล่างนี้ เพื่อที่เราจะได้หันมาปรับ mindset ของเราให้พร้อมรับความท้าทายใหม่ๆ กันค่ะ 

mindset ของคนที่ติดกับ status quo เดิมๆ 

mindset ของคนที่มีทักษะ adaptability 

Fixed – มองความท้าทายเป็นบททดสอบที่มีผลลัพธ์ตายตัวคือสำเร็จหรือล้มเหลวเท่านั้น  

Growth – มองความท้าทายและความผิดพลาดเป็นโอกาสในการเรียนรู้และและเติบโต  

Expertคิดว่าตนเองเป็นผู้รู้ เมื่อเจอความท้าทายก็จะพยายามแก้ปัญหาด้วยคำตอบที่มีในใจแล้ว 

Curiousคิดว่าตัวเองไม่รู้ ต้องถามเยอะๆ และออกไปเรียนรู้เพื่อหาวิธีใหม่ๆ มาแก้ปัญหา 

Reactiveระบุสาเหตุของปัญหาและใช้วิธีเดิมที่เคยใช้และผ่านการทดสอบมาอย่างดีแล้วมาแก้ปัญหา 

Creative - เปิดกว้างในการทดลอง คิดค้นวิธีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาแก้ปัญหา  

Victim – รับบทเหยื่อเมื่อเจอปัญหา โดยอ้างสิ่งที่อยู่เหนือความควบคุมว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้สำเร็จ 

Agentรับบทผู้แทนเมื่อเจอปัญหา เชื่อมั่นในความสามารถของตัวเองในการเรียนรู้และเอาชนะอุปสรรค 

Scarcity - มองว่าปัญหาเกิดจาการขาดแคลนทรัพยากร ทางเลือก หรือมีสิ่งที่ต้องแลก 

Abundanceมองว่าปัญหาคือการค้นหาสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายสามารถ win-win ไปด้วยกัน 

Certaintyมักเลือกทำตามแผนเดิมมากกว่าหาทางใหม่ที่อาจได้ผลดีกว่า 

Exploration - วางแผนไว้แต่พร้อมยืดหยุ่นเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต 

Protection - มีแนวคิดที่มุ่งเน้นไปที่การป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น 

Opportunityมีแนวคิดที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้น 


จากตารางนี้คงพอเห็นภาพแล้วใช่ไหมคะว่า
mindset ของคนที่มีทักษะ adaptability เป็นอย่างไร เราจะเห็นว่าคนที่มีทักษะ adaptability จะมีแนวคิดที่เปิดกว้าง พร้อมที่จะเรียนรู้ เชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองแต่ขณะเดียวกันก็ต้องลดอัตตาของตัวเองลงโดยทำตัวเป็นน้ำที่ไม่เต็มแก้วเพื่อให้มีที่ว่างในการเปิดรับสิ่งใหม่ๆ การทำงานยุคนี้บางครั้งเราก็ไม่ควรด่วนตัดสินจากประสบการณ์เร็วเกินไปหรือปฏิเสธอะไรไปเสียก่อน แต่ควรเปิดใจที่จะเรียนรู้และศึกษาว่าสิ่งต่างๆ นั้นเป็นอย่างไร เพราะหากเราปิดรับและยึดติดกับวิธีการเดิมๆ เพียงอย่างเดียว สุดท้ายเราก็จะไม่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่หรือพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่าได้เลย 

การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ภาษาอังกฤษ

การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ภาษาอังกฤษ