สถานการณ์การสูบบุหรี่ใน วัยรุ่น

สำนักงานสถิติฯ เผยผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ พ.ศ. 2560

              นายภุชพงค์ โนดไธสง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยผลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560  จากผลสำรวจ  พบว่า จากจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น 55.9 ล้านคน เป็นผู้ที่สูบบุหรี่ 10.7 ล้านคน (ร้อยละ 19.1) แยกเป็นผู้ที่สูบเป็นประจำ 9.4 ล้านคน (ร้อยละ 16.8)  และเป็นผู้ที่สูบนานๆ ครั้ง 1.3 ล้านคน (ร้อยละ 2.3) กลุ่มอายุ 25-44 ปี มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุด (ร้อยละ 21.9) กลุ่มอายุ 20-24 ปี (ร้อยละ 20.7) กลุ่มอายุ 45-59 ปี (ร้อยละ 19.1) สำหรับกลุ่มผู้สูงวัย (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 14.4 กลุ่มเยาวชน(อายุ 15-19 ปี) มีอัตราการสูบบุหรี่ต่ำสุด (ร้อยละ 9.7) 
              แนวโน้มการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปลดลงไม่มาก แต่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 20.7 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 19.9 ในปี 2558 และร้อยละ 19.1 ในปี 2560 ผู้ชายที่สูบบุหรี่ลดลงมากกว่าผู้หญิง โดยผู้ชายลดลง ร้อยละ 40.5 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 39.3 ในปี 2558 และร้อยละ 37.7 ในปี 2560 สำหรับผู้หญิงลดลงจากร้อยละ 2.2 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 1.8 ในปี 2558 และร้อยละ 1.7 ในปี 2560 อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรก มีผลต่อการเข้าถึงการมีสุขภาวะที่ดีและจำนวนปีการสูญเสียสุขภาวะ อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำเพิ่มขึ้นมาเพียงเล็กน้อยจาก 17.8 ปี ในปี 2557 เป็น 18 ปี ในปี 2560 พบกับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.nso.go.th นายภุชพงค์ฯ กล่าว

 

*********************************

 

จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่าการที่วัยรุ่นสูบบุหรี่เป็นระยะเวลายาวนาน จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พัฒนาไปใช้ยาเสพติดชนิดต่างๆที่อันตรายขึ้น เช่น Cocain , Methamphetamine , Alcohol และจากการศึกษาในหนูทดลองพบว่ามีผลกระตุ้นความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น กล่าวโดยสรุป บุหรี่ คือยาเสพติดต้นทาง (Gateway) นำไปสู่ยาเสพติดชนิดที่ร้ายแรงขึ้นนั่นเอง(Menglu Yuan,Sarah J Cross.et al.,2015)

จากผลกระทบดังกล่าวของนิโคตินในวัยรุ่นจะลดลงตามเวลาถ้าการได้รับนิโคตินลงลงทันทีทันใด แต่ยังมีการศึกษาวิจัยอีกหลายงานวิจัยที่ขัดแย้งกัน เช่น ทำให้หุนหันพลันแล่นมากขึ้น มีความระมัดระวังตัวน้อยลง และยากที่จะทำให้มันสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งแม้จะโตขึ้น (Menglu Yuan,Sarah J Cross.et al.,2015) ซึ่งยังไม่มีใครแน่ใจว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับวัยรุ่นที่สมองต้องได้รับนิโคตินจากการสูบบุหรี่ในขณะที่สมองกำลังพัฒนา อาจนำไปสู่ความเสี่ยงสูงต่อการเสพติดระยะยาว

แนวทางการช่วยเหลือวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ ไม่ใช่มุ่งเน้นไปที่ตัววัยรุ่นอย่างเดียวเท่านั้น ควรทำให้องค์ประกอบต่างๆที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นตัววัยรุ่น ครอบครัว สถานศึกษาและชุมชน เพื่อรณรงค์ป้องกันและควบคุมการสูบบุหรี่ให้มีประสิทธิภาพ การคัดกรองและการประเมิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ผู้ประเมินต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษและพิษภัยของสูบบุหรี่ จะทำให้สามารถคัดกรองได้อย่างครอบคลุมและสามารถหาแนวทางการช่วยเหลือวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ได้ตรงประเด็นปัญหา(Fritz,D.J.,2008) เนื่องจากการช่วยเหลือและบำบัดรักษาผู้ที่เสพติดบุหรี่นั้นจะแตกต่างกันไปตามระยะเวลาการสูบและระดับความรุนแรงของการติด การสูบบุหรี่ในผู้ใหญ่มักจะมีอาการคล้ายการถอนยาที่รุนแรงเพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็นตัวกระตุ้นให้อยากสูบ วัยรุ่นอาการถอนยารุนแรงน้อยกว่าแต่โอกาสพัฒนาเป็นยาเสพติดชนิดอื่นของวัยรุ่นมีสูงในขณะที่ของผู้ใหญ่ที่ไม่มี (Menglu Yuan,Sarah J Cross.et al.,2015)

การป้องกันและบำบัดรักษา ต้องประสานงานและร่วมมือกับบุคลากรทั้งสถานศึกษา ครอบครัว ชุมชน ให้ความรู้แก่วัยรุ่นทั่วไปเกี่ยวกับโทษและพิษภัยของสูบบุหรี่ ทักษะชีวิตและการดำเนินชีวิตเพื่อห่างไกลบุหรี่และรู้เท่าทันกลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่ในการหลอกล่อให้เกิดผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่

ในส่วนของการบำบัดรักษานั้นมีทั้งการบำบัดด้วยยาและการบำบัดรักษาทางจิตสังคมซึ่งจะแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของระยะเวลาการสูบและระดับความรุนแรงของนิโคตินจากการคัดกรองและประเมินดังกล่าว โดยส่วนใหญ่วัยรุ่นที่สูบบุหรี่มักมีระดับความรุนแรงของนิโคตินเล็กน้อยถึงปานกลาง ดังนั้นการบำบัดรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือ การบำบัดทางจิตสังคม การประเมินแรงจูงใจในการปรับพฤติกรรม การให้การปรึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มทั้งผู้ปกครองและวัยรุ่น เนื่องจากการบำบัดด้วยยาอาจมีผลเสียที่ตามมา เช่น การติดนิโคตินเพิ่มมากขึ้น(Grimshaw&Stanton,2005)

กล่าวโดยสรุป ปัญหาความรุนแรงของการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นทั้งระยะเวลาและความรุนแรงของระดับการติดนิโคตินมีแนวโน้มสูงขึ้น รวมทั้งมีการพัฒนาของชนิด ส่วนผสม เช่น บุหรี่รสต่างๆ บุหรี่ไฟฟ้ามาหลอกล่อให้วัยรุ่นสามารถตอบสนองต้องการที่ผิดของตนเองและความสะดวกในการเสพและพกพามากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนทั้งชุมชนและครอบครัวต้องร่วมมือกันในการป้องกันและช่วยเหลือ ให้กำลังใจและให้โอกาสแก่วัยรุ่นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็จะช่วยให้สังคมวัยรุ่นปลอดบุหรี่ได้อย่างแท้จริง

ที่มา :

Fritz,D.J.,Wilder,L.C.,Hardin,S.B.,&Horrock,M(2008).Program Strategies for aldolescent smoking cessation,JOSN:Official Publication of the National Association of school Nurse

Menglu Yuan,Sarah J Cross.et al.,(2015),Nicotine and the adolescent brain , The Journal of Physiology,Aug 15;593(pt 16)

Grimshaw,G.M.,&Stanton,A.(2005).Tobacco cessation interventions for young people.Cochrane Database of Systematic Reviews (online)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก