มาตรา 80/1 2 แห่งประมวลรัษฎากร

  • หน้าแรก

  • News & Events

  • บทความ

  • การเงินและบัญชี

  • ใบกำกับภาษีภาษาต่างประเทศหรือสกุลเงินตราต่างประเทศ

ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จะจัดทำรายการในใบกำกับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ และหรือเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ จะต้องยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขออนุมัติจัดทำรายการในใบกำกับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ และเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ

ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิขออนุมัติ มีดังต่อไปนี้

  • ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งส่งสินค้าไปขายในต่างประเทศ แต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร

  • ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งการให้บริการได้กระทำในราชอาณาจักร และได้ใช้บริการนั้นในต่างประเทศ แต่ไม่เป็นไปตามประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด จึงไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร

ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่สามารถจัดทำได้โดยไม่ต้องขออนุมัติ มีดังต่อไปนี้

  • ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งส่งออกสินค้าตามมาตรา 77/1(14) แห่งประมวลรัษฎากร และได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

  • ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งการให้บริการได้กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากร กำหนด และได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร

การยื่นคำร้อง

  • ผู้ประกอบการสามารถยื่นหนังสือต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรภาคในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


แหล่งที่มา : Link

เลขที่หนังสือ

กค 0811/พ.06961

ข้อกฎหมาย

มาตรา 80/1, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 15)ฯ

ข้อหารือ

     บริษัทฯ ประกอบกิจการรับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับบริษัทผู้ว่าจ้างซึ่งเป็น
ผู้ประกอบการในต่างประเทศ โดยบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามข้อกำหนดของ
ผู้ว่าจ้าง และเมื่อทำเสร็จแล้ว บริษัทฯ จะจัดส่งโปรแกรมดังกล่าวไปให้บริษัทลูกค้าในต่างประเทศทาง
ระบบ Internet หรือนำไปติดตั้งให้กับบริษัทลูกค้าในต่างประเทศ โดยบริษัทฯ จะส่งมอบ Source
Code ของโปรแกรมไปด้วย และบริษัทฯ ไม่มีลิขสิทธิ์ในโปรแกรมที่เขียนขึ้นแต่อย่างใด
     บริษัทฯ ขอทราบว่า การรับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับบริษัทผู้ว่าจ้างใน
ต่างประเทศตามข้อเท็จจริงดังกล่าว จะได้รับสิทธิในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตาม
มาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่

แนววินิจฉัย

     เนื่องจากกรณีที่บริษัทฯ รับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง โดย
บริษัทฯ ต้องส่งมอบ Source Code ของโปรแกรม และโดยบริษัทฯ ไม่มีลิขสิทธิ์ในโปรแกรมดังกล่าว
เข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของ ดังนั้น กรณีที่บริษัทฯ รับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับบริษัท
ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศตามข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงเป็นการให้บริการรับจ้างทำของให้กับผู้ประกอบการ
ในต่างประเทศ โดยบริษัทฯกระทำกิจการอันเป็นสาระสำคัญของการรับจ้างทำของในประเทศไทย และ
ได้ส่งผลของการให้บริการรับจ้างทำของไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมด ฉะนั้น หากการรับจ้างดังกล่าวมี
หลักฐานเป็นหนังสือ บริษัทฯ จะได้รับสิทธิในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1
(2) แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 15)ฯ
ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534

วันที่เอกสาร

16 ธันวาคม 2542

เลขที่หนังสือ

กค 0811/พ.12649

ข้อหารือ

บริษัทฯ ประกอบกิจการเป็นที่ปรึกษากฎหมายและมีลูกค้าที่เป็นบริษัทต่างประเทศที่มิได้
ประกอบกิจการในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก
บริษัทฯ หารือว่า กรณีที่บริษัทฯ ให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายแก่ลูกค้าซึ่งเป็น
บริษัทต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยในกรณีดังต่อไปนี้ โดยบริษัทฯ ได้ส่งผลของบริการ
ไปให้ลูกค้าในต่างประเทศทั้งสิ้น จะได้รับสิทธิในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา
80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่
1. ลูกค้าของบริษัทฯ ในต่างประเทศซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยประสงค์จะ
ลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้น หุ้นกู้ หรือตราสารหนี้ หรือลักษณะอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน หรือประสงค์ที่จะทำ
การจัดตั้งบริษัทขึ้นในประเทศไทยเพื่อลงทุน ก่อนหน้าที่ลูกค้าจะทำการลงทุนดังกล่าว ได้หารือปัญหา
ข้อกฎหมายและข้อแนะนำอันเกี่ยวข้องกับธุรกิจและสัญญา บริษัทฯ ได้ส่งคำปรึกษาที่เกี่ยวข้องให้แก่ลูกค้า
ในต่างประเทศเป็นหนังสือ และได้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าที่ปรึกษาต่าง ๆ จากลูกค้าใน
ต่างประเทศ
2. ลูกค้าของบริษัทฯ ในต่างประเทศซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยเป็นผู้ขายสินค้า
หรือเป็นผู้ให้บริการที่ปรึกษาแก่บุคคลในประเทศไทย เช่น ได้ให้คำแนะนำทางการเงินแก่ธนาคารใน
ประเทศไทย โดยไม่มีตัวแทนที่ก่อให้เกิดเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ได้ทำ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องและจัดเตรียมเอกสารสัญญาต่าง ๆ โดยจัดส่งผลงานการวิเคราะห์
และเอกสารดังกล่าวให้แก่ลูกค้าของบริษัทฯในต่างประเทศ
3. ลูกค้าของบริษัทฯ ในต่างประเทศ เป็นเจ้าหนี้บุคคลในประเทศไทย และมีความ
ประสงค์ที่จะทำการปรับโครงสร้างหนี้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ลูกค้าได้จ้างบริษัทฯ เป็นที่ปรึกษาเพื่อให้
คำแนะนำปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้ โดยบริษัทฯ ได้จัดส่งรายงานให้ลูกค้าซึ่ง
เป็นเจ้าหนี้ในต่างประเทศ
4. ลูกค้าของบริษัทฯ เป็นสำนักงานกฎหมายในต่างประเทศซึ่งมิได้ประกอบกิจการใน
ประเทศไทย และได้ให้บริการกฎหมายแก่ลูกความในต่างประเทศ หรือแก่ลูกค้าในประเทศไทย และได้
ว่าจ้างบริษัทฯ เพื่อให้คำแนะนำทางกฎหมาย โดยบริษัทฯ ได้จัดส่งผลงานให้แก่ลูกความโดยตรง ลูกค้า
ของบริษัทฯ จะนำผลงานไปวิเคราะห์ประกอบกับผลงานของตนเองเพื่อจัดทำข้อแนะนำให้กับลูกความของ
ลูกค้าต่อไป โดยบริษัทฯ ไม่มีนิติสัมพันธ์กับลูกความของลูกค้าแต่อย่างใด

แนววินิจฉัย

เนื่องจากการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมาย เข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของ ดังนั้น
กรณีที่บริษัทฯ ให้บริการที่ปรึกษากฎหมายแก่ลูกค้าในต่างประเทศซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวโดยมีการส่งผลของบริการไปให้ลูกค้าในต่างประเทศทั้งสิ้น และโดยการ
ให้บริการนั้น มีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงได้รับสิทธิในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา
80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 27 ธันวาคม
พ.ศ. 2534

กรมสรรพากรแก้ไขล่าสุด

22 พฤษภาคม 2563

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก