Scb พักชําระหนี้ 2564 pantip

회원님이 요청이 처리되지 않았습니다.

요청을 처리하는 중 문제가 발생하였습니다. 가능한 한 빨리 문제를 해결하도록 하겠습니다.

  • 홈으로 돌아가기

  • 한국어
  • English (US)
  • Tiếng Việt
  • Bahasa Indonesia
  • ภาษาไทย
  • Español
  • 中文(简体)
  • 日本語
  • Português (Brasil)
  • Français (France)
  • Deutsch

  • 가입하기
  • 로그인
  • Messenger
  • Facebook Lite
  • Watch
  • 장소
  • 게임
  • Marketplace
  • Facebook Pay
  • Oculus
  • Portal
  • Instagram
  • Bulletin
  • 지역
  • 기부 캠페인
  • 서비스
  • 투표 정보 센터
  • 그룹
  • 정보
  • 광고 만들기
  • 페이지 만들기
  • 개발자
  • 채용 정보
  • 개인정보처리방침
  • 쿠키
  • AdChoices
  • 이용 약관
  • 고객 센터
  • 연락처 업로드 및 비사용자
  • 설정
  • 활동 로그

Meta © 2022

ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ย ระหว่างพักชำระหนี้และยอดที่ต้องชำระ เมื่อสิ้นสุดโครงการ

สินเชื่อหมุนเวียน (Speedy Cash)

การชำระค่างวดสำหรับลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการขอรับความช่วยเหลือจากการได้รับผลกระทบ COVID-19

สำหรับกลุ่มลูกค้าสินเชื่อหมุนเวียน Speedy Cash (ผ่อนเงินต้นค้างชำระ ด้วยอัตราดอกเบี้ยผ่อนชำระพิเศษ 22% ต่อปี นาน 48 เดือน)

กรณีลูกค้าขอเข้าโปรแกรมผ่อนจ่าย เป็นระยะเวลา 48 เดือน
 

ยกตัวอย่างเช่น 
 

  • ลูกค้ามียอดใช้วงเงินอยู่ที่ 10,000 บาท
  • ขอเข้าโปรแกรมผ่อนจ่าย (อัตราดอกเบี้ย 22% ต่อปี) 48 เดือน เดือนละ 308.33 บาท
  • ลูกค้าได้รับอนุมัติให้เข้าโปรแกรมผ่อนจ่ายด้วยยอดตั้งผ่อน 10,000 บาทดอกเบี้ย 22% ต่อปี นาน 48 เดือน

    ดังนั้น  ลูกค้าต้องนำเงินมาชำระเป็นงวดรายเดือน เดือนละ 308.33 บาท เป็นระยะเวลา 48 เดือน

    คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ของ SCB เพื่อเข้าสู่

    xxxx

    ขอขอบคุณที่ใช้บริการ SCB ธนาคารขอแนะนำให้ท่านศึกษานโยบายความเป็นส่วนตัว
    รายละเอียดเงื่อนไขผลิตภัณฑ์ในหน้าเว็บไซต์ปลายทางทุกครั้ง ก่อนตัดสินใจสมัคร หรือเข้าร่วมรายการส่งเสริมการขาย

    คำที่คุณใช้ค้นหาล่าสุด

      Your search <strong>"{{keyword}}"</strong> did not match any result

      Suggestion:

      • Make sure all words are spelled correctly.
      • Try different keywords
      • Try more general keywords.

      4 รูปแบบ ปรับโครงสร้างหนี้ เลี่ยงผิดนัดชำระ

      ในสถานการณ์วิกฤตอย่างกรณีโควิด-19 หลายคนอาจมีปัญหาการเงินแบบชักหน้าไม่ถึงหลัง เพราะรายได้ลดลง บางคนอาจถึงขั้นขาดรายได้ไปเลย ทำให้ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด และประหยัดกันให้มากขึ้น สำหรับใครที่มีหนี้ต้องจ่าย ก็อย่าเพิ่งหมดหวัง เพราะสามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ การคิดว่า ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย อาจทำให้เรื่องบานปลายจนถึงขั้นถูกยึดทรัพย์สิน และเสียประวัติเครดิตไปเลยก็เป็นได้

      การขอปรับโครงสร้างหนี้เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ไม่ผิดนัดชำระ และรักษาทรัพย์สินไว้ได้ โดยในเว็บไซต์ของศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แนะนำการปรับโครงสร้างหนี้ไว้ 4 แบบ แต่ละแบบก็เหมาะกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป

      1. จ่ายไหว แต่อยากประหยัดรายจ่ายที่เป็นดอกเบี้ยลง

      สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้

      • เปลี่ยนประเภทหนี้ จากสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง โดยการเปลี่ยนประเภทหนี้ในลักษณะนี้ ต้องมั่นใจว่าจะสามารถชำระคืนตามงวดที่กำหนดได้ ซึ่งบางกรณีอาจต้องจ่ายหนี้แต่ละงวดมากขึ้น หรือน้อยกว่าขั้นต่ำที่เคยจ่าย ขึ้นอยู่กับยอดค้างจ่าย และระยะเวลาการชำระคืนที่ได้รับอนุมัติมาใหม่

        สำหรับธนาคารไทยพาณิชย์สามารถเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตสถาบันการเงินใดก็ได้ เป็นหนี้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ด้วยสินเชื่อบุคคล Speedy Loan 
        //www.scb.co.th/th/personal-banking/promotions/loans/speedy-loan-all.html
         
      • รีไฟแนนซ์ โดยการปิดสินเชื่อจากเจ้าหนี้รายเดิมแล้วย้ายไปขอกู้กับเจ้าหนี้รายใหม่ที่มีเงื่อนไขดีกว่า ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งหนี้บ้าน หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด แต่การรีไฟแนนซ์จะมีค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเจ้าหนี้ด้วย เช่น ค่าจดจำนองหลักประกัน ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน ค่าทำประกันใหม่ ค่าปรับให้แก่เจ้าหนี้รายเดิมตามสัญญา ซึ่งต้องคำนวณให้ดีว่าเปลี่ยนแล้วคุ้มกับอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ลดลงหรือไม่

      2. จ่ายได้ไม่เต็มจำนวนที่ถูกเรียกเก็บ หรือจ่ายไม่ได้ตามสัญญา

      สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้

      • ขอลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่จ่าย เหมาะกับคนที่รายรับลดลงชั่วคราว เช่น 3 - 6 เดือน  เพราะสถาบันการเงินมักลดอัตราดอกเบี้ยให้เป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือ 6 เดือน
      • ขอพักชำระเงินต้น เหมาะสำหรับคนที่รายรับลดลงชั่วคราวเช่นเดียวกัน ซึ่งสถาบันการเงินมักจะพักชำระเงินต้นให้ประมาณ 3 – 12 เดือน โดยลูกหนี้จ่ายเฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ย แต่การพักชำระเงินต้นอาจทำให้ภาระหนี้ช่วงหลังจากพักชำระเพิ่มขึ้น หรืออาจต้องขยายเวลาการชำระหนี้ เนื่องจากต้องนำเงินต้นที่พักชำระไปจ่ายในช่วงหลังการพักชำระเงินต้นด้วย ทำให้อาจจะมีภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากยอดเงินต้นไม่ได้ลดลงตามกำหนดเวลาเดิม ดังนั้นต้องตกลงกับสถาบันการเงินหรือดูเงื่อนไขด้วยว่า หลังสิ้นสุดการพักชำระเงินต้นแล้ว จะต้องจ่ายคืนอย่างไร โดยต้องดูความสามารถในการชำระคืนของตัวเราประกอบด้วย
      • ขอลดอัตราผ่อนและขยายเวลาชำระหนี้ เหมาะกับคนที่รายรับลดลงในระยะยาว เช่น เปลี่ยนงานใหม่ที่รายรับน้อยกว่าเดิม ทำให้ไม่สามารถจ่ายหนี้ในจำนวนเท่าเดิมได้ ยิ่งขยายเวลานาน ยิ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น แม้จำนวนผ่อนต่อเดือนจะลดลงก็ตาม ดังนั้นควรขอขยายเท่าที่จ่ายไหวและใช้เวลาน้อยจะดีกว่า

      3. มีเงินก้อนแต่ไม่พอปิดหนี้ทั้งหมด

      สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้

      • เจรจาขอส่วนลด เพื่อจ่ายทั้งหมดแบบปิดบัญชีด้วยเงินก้อน เช่น มียอดหนี้คงค้าง 120,000 บาท ขอลดเหลือ 100,000 บาท  หากตกลงกันได้ด้วยวิธีนี้ ก็จะทำให้หมดหนี้ทันที แต่การปิดจบด้วยเงินก้อน มักมีเงื่อนไขว่าจะต้องจ่ายให้ครบภายในเวลาที่กำหนด เช่น 1 – 6 งวด หากไม่มั่นใจว่าจะจ่ายได้ทั้งหมดภายในเวลาที่กำหนด ให้พิจารณาทางเลือกอื่นแทน

      4. จ่ายไม่ไหวเลย

      สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการ

      • ขอพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน เมื่อครบกำหนดแล้ว ค่อยจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงที่พักไป (ดอกเบี้ยยังคงเดินอยู่ตลอดเวลาที่พักชำระ) ซึ่งอาจจะขอเจรจาเป็นการขยายเวลาการชำระหนี้ เฉลี่ยผ่อนชำระตามงวดที่เหลือ หรือชำระคืนเงินต้นที่พักชำระทั้งหมดคราวเดียวในงวดสุดท้ายก็ได้


      การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อให้ยังสามารถจ่ายหนี้ได้โดยไม่ผิดนัดชำระ จึงต้องดูความสามารถในการชำระคืนประกอบด้วย หากเงื่อนไขใหม่ที่ได้มาก็ยังเกินความสามารถในการจ่ายคืน ให้เลือกเจรจากับสถาบันการเงินอีกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจ่ายหนี้ไม่ได้อีก และการปรับโครงสร้างหนี้อีกครั้งอาจทำได้ยากขึ้น ทั้งนี้การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละแบบที่กล่าวมาข้างต้น ก็มีผลแตกต่างกันต่อประวัติในเครดิตบูโร จึงต้องสอบถามสถาบันการเงินในประเด็นนี้ด้วย ก่อนตัดสินใจ


      ที่มา: ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

      Toplist

      โพสต์ล่าสุด

      แท็ก