การ รัน เลขที่ ใบ หัก ณ ที่จ่าย

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/1057 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

เลขที่หนังสือ : กค 0702/1057
วันที่ : 9 กุมภาพันธ์ 2559
เรื่อง : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
ข้อกฎหมาย : ข้อ 4 ถึงข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.121/2545ฯ
ข้อหารือ

          กรณีการจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ สรุปข้อเท็จจริงได้ว่า หน่วยงานโดยฝ่ายสวัสดิการและกิจการสัมพันธ์ ได้ปรับปรุงการจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยพนักงานสามารถ Download หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ว่า หน่วยงานจะดำเนินการ ได้หรือไม่

แนววินิจฉัย

          1.กรณีที่ หน่วยงานประสงค์จะจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีข้อความอย่างน้อย ตามแบบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) เรื่อง กำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539 หน่วยงาน ย่อมสามารถกระทำได้ แต่จะต้องมีความถูกต้องและต้องกระทำตามวิธีการแบบปลอดภัยที่เชื่อถือได้ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 4ถึงข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.121/2545 เรื่อง การจัดทำและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานตามประมวลรัษฎากร ที่มีข้อความอยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2545 โดยต้องแจ้งการจัดทำและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานตามประมวลรัษฎากร ที่มีข้อความอยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามแบบแจ้งการจัดทำและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานไว้ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (แบบ ภ.อ.11) ต่ออธิบดีกรมสรรพากร


          2.กรณีที่ หน่วยงาน ประสงค์จะส่งมอบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่พนักงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เข้าลักษณะเป็นการส่งมอบเอกสารที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการส่งและรับข้อความด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง หน่วยงาน อาจกระทำได้โดยปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

เลขตู้ : 79/39994

ขอบคุณบทความจาก :://www.rd.go.th

  • บทความ
  • ภาษี
  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)

เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2564 หมวดหมู่ ภาษี โดย ปัณณพร ตันติเวชวุฒิกุล | Accounting Center

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย  (ใบ 50 ทวิ) คืออะไร?

“หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย” คือ หนังสือที่ ผู้จ่ายเงินซึ่งได้ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย ออกให้กับ ผู้รับเงินซึ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้เป็นหลักฐานการหักภาษี 

บางครั้งหนังสือรับรองนี้จะถูกเรียกย่อๆว่า “ใบหัก ณ ที่จ่าย” , “ใบ 50 ทวิ” ,  “หนังสือรับรอง 50 ทวิ” เป็นต้น

ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (ผู้รับเงิน) จะต้องเก็บหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย  (ใบ 50 ทวิ) นี้เอาไว้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) สำคัญอย่างไร?

สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) นี้สำคัญมาก 

  
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ละใบ มีมูลค่าเท่ากับภาษี หัก ณ ที่จ่าย ที่ระบุอยู่บนหนังสือรับรองใบนั้นๆ เลยค่ะ!! เพราะ

  • คุณสามารถนำไปยื่นกับกรมสรรพากรเพื่อลดจำนวนภาษีที่ต้องชำระตอนสิ้นปีได้ 
  • ในกรณีที่คุณถูกหักภาษี ไว้มากกว่าจำนวนภาษีที่คุณต้องชำระทั้งปี คุณก็สามารถใช้หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายยื่นเพื่อขอคืนภาษีได้

ดังนั้น เมื่อได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มา อย่าลืมเก็บเอกสารไว้ให้ดี  อย่าโยนทิ้งไปนะคะ   เงินนนน ทั้งนั้นเลยนะค้าาา!!

หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย  (ใบ 50 ทวิ) ต้องได้รับเมื่อไหร่?

กำหนดเวลาในการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) คือ

กรณีจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า บำเหน็จ ฯลฯ (เงินได้ตามมาตรา 40(1) (2))

  • ให้ออกภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ของปีถัดจากปีภาษี
  • หรือภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายออกจากงานในระหว่างปีภาษี

กรณีจ่ายเงินได้อื่นๆ (เงินได้ตามมาตรา 40(3)-(8))

  • ให้ออกในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ดังนั้น ถ้าคุณถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แล้วไม่ได้รับหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) ตามกำหนดเวลาข้างต้นนี้ อย่าลืมร้องขอกับผู้ที่หักภาษีคุณไปนะคะ

ได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย มาต้องตรวจสอบอะไรบ้าง?

1. ต้องได้รับหนังสือรับรอง จำนวน 2 ฉบับ 
ผู้จ่ายมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 2 ฉบับ โดยมีข้อความตรงกัน ตามที่กรมสรรพากรกำหนด

  • ฉบับที่ 1 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ใช้แนบพร้อมกับแบบแสดงรายการ”
  • ฉบับที่ 2 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เก็บไว้เป็นหลักฐาน”

2. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในหนังสือรับรอง

เพราะถ้าข้อมูลไม่ถูกต้องอาจเกิดปัญหาตอนนำไปใช้ลดภาษี หรือ ขอคืนภาษีสิ้นปี

  • ชื่อ-ที่อยู่-เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของผู้จ่ายเงิน (ผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย)
  • ชื่อ-ที่อยู่-เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของผู้รับเงิน  (ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย)
  • วันเดือนปี ที่จ่ายเงิน
  • จำนวนเงินที่จ่าย และ จำนวนภาษีที่หักและนำส่งไว้
  • ลายมือชื่อผู้จ่ายเงิน

ดาวน์โหลด แบบฟอร์ม หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ได้ที่นี่

ลายเซนต์บนหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) เป็นลายเซนต์ดิจิทัลได้หรือไม่?

คำตอบ คือ ได้ค่ะ

จากประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 62): การลงชื่อของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะใช้วิธีประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยตรายาง หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สูญหาย ต้องทำอย่างไร?

กรณีหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) ชำรุด/สูญหาย  ผู้ถูกหักภาษีสามารถขอให้ ผู้จ่ายเงินซึ่งเป็นผู้ออกหนังสือรับรองฯ ช่วยออก “ใบแทน” ให้ได้

  
วิธีการออกใบแทนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) คือ ให้ผู้ออก 

  1. ถ่ายเอกสาร หรือพิมพ์เอกสารจากเครื่องคอมพิวเตอร์ สําเนาคู่ฉบับซึ่งผู้ออกเก็บไว้
  2. เขียนข้อความว่า “ใบแทน” ไว้ด้านบนของเอกสาร
  3. ลงลายมือชื่อรับรอง

ที่มาข้อมูล: ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 62)

ต้องการหานักบัญชี ทำบัญชี ยื่นภาษี ปิดงบการเงิน?

คลิกที่รูปข้างล่างนี้ แล้วเลือกจังหวัดของคุณได้เลย :)

ต้องการหาผู้สอบบัญชี?

คลิกที่รูปข้างล่างนี้ แล้วเลือกจังหวัดของคุณได้เลย :)

นักบัญชี ห้ามพลาด! โปรโมทบริการบัญชี ฟรี!!

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก