คุณสมบัติของสาร ทํา ความเย็น

น้ำยาแอร์ หมายถึง สารทำความเย็นชนิดหนึ่งที่ใช้เรียกเฉพาะสารทำความเย็นในกลุ่มที่ใช้สำหรับปรับอุณหภูมิอากาศให้เย็นลง หรือ ที่เรียก เครื่องปรับอากาศ ทั้งเครื่องปรับอากาศภายในบ้านหรืออาคาร และเครื่องปรับอากาศภายในรถยนต์

สารทำความเย็น หมายถึง สารที่ใช้สำหรับดูดความร้อนหรือใช้ปรับลดอุณหภูมิของวัตถุ อากาศ หรือสารอื่นๆ ขณะที่อยู่ในสถานะเป็นไอที่ความดันต่ำ ทั้งชนิดที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ (แอร์) ห้องแช่แข็ง ตู้แช่แข็ง เครื่องทำน้ำเย็น และตู้เย็น เป็นต้น

ประวัติสารทำความเย็น
ในปี ค.ศ.1834 จาคอบเพอร์คิน ได้ประดิษฐ์เครื่องทำความเย็นแบบอัดไอขึ้นใช้ครั้งแรกของโลก โดยเป็นเครื่องที่ใช้น้ำ และกรดกำมะถันเป็นสารในการดูดซับความร้อนให้อากาศเย็นตัวลง และต่อมาในปี ค.ศ.1866 ได้เปลี่ยนสารทำความเย็นใหม่เป็นสารผสมของtpetroltethertและtnaphtha หรือเรียก chemogenetผสมกับคาร์บอนไดออกไซด์

ต่อมาในปี ค.ศ.1873 ได้ประยุกต์นำแอมโมเนียเหลวมาใช้เป็นสารทำความเย็นในเครื่องทำความเย็นแบบอัด ซึ่งเคยใช้ได้ผลในเครื่องทำความเย็นแบบดูดซึมในปี ค.ศ.1859 และในปี ค.ศ.1875 ได้มีการนำ sulfur dioxide มาใช้เป็นสารทำความเย็นเพิ่มขึ้นมากอีก รวมถึงในปี ค.ศ. 1878 มีการนำสาร methyl ether มาใช้เป็นสารทำความเย็นเพิ่มขึ้นอีกชนิดเช่นกัน

ทั้งนี้ สารทำความเย็นในยุคแรกๆที่ใช้ ส่วนใหญ่สามารถติดไฟได้ หรือมีความเป็นพิษต่อมนุษย์ ซึ่งมีข่าวคราวการเกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง จนกระทั่งในปี ค.ศ.1926 โธมัสมิดเกรย์ สามารถพัฒนาสารทำความเย็นที่ไม่ติดไฟ หากไม่สัมผัสเปลวไฟ และมีความเป็นพิษน้อย หากไม่สูดดมเข้าไป รวมถึงไม่กัดกร่อนโลหะหรืออุปกรณ์เครื่องทำความเย็น ซึ่งได้แก่ R-12 หรือ F-12 (dichlorodifluoromethanet) ที่ประกาศการค้นพบ เมื่อเมษายน ปี ค.ศ.1930 และผลิตจำหน่ายในราวปี ค.ศ.1931 โดย บริษัทดูปองก์ (DuPont) และต่อมามีการพัฒนาสารทำความเย็นชนิดอื่นๆเพิ่มเรื่อยมา ได้แก่
– R-11 ปี ค.ศ.1932
– R-114 ปี ค.ศ.1933
– R-113 ปี ค.ศ.1934
– R-22 ปี ค.ศ.1936

นอกจากนั้น ได้มีการพัฒนาสารทำความเย็นผสมของระหว่างสารทำความเย็นตระกูล CFC กับตระกูล HCFC ขึ้นใช้ด้วย

คุณสมบัติของน้ำยาแอร์/สารทำความเย็นที่ดี
1. มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ ไม่ทำลายโอโซนหรือทำให้โลกร้อน
2. ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ และสัตว์ โดยเฉพาะไม่เป็นสารก่อมะเร็ง
3. มีความเป็นพิษต่ำ
4. ไม่ติดไฟหรือทำให้เกิดการระเบิดในทุกสภาวะ
5. ไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีอื่นได้ง่าย
6. ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร และน้ำดื่ม จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพอาหารหรือก่อเป็นสารพิษ
5. ไม่ทำปฏิกิริยาหรือกัดกร่อนต่อโลหะหรือวัสดุในระบบทำความเย็น
6. มีความเสถียรภาพสูง ทนต่อความร้อน ความดัน และไม่เสื่อมสภาพง่าย
7. มีค่าความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอสูง ทำให้สามารถดูดซับความร้อนได้มากในขณะที่ใช้สารทำความเย็นน้อยหรือไหลเวียนสารน้อย
8. มีความหนาแน่นสูง ทำให้ช่วยลดขนาด และน้ำหนักของอุปกรณ์
9. จุดจุดเยือกแข็งต่ำ และจุดเดือดสูง
10. รวมตัวกับน้ำมันหล่อลื่นได้ดี ทำให้น้ำมันหล่อลื่นไหลคืนมาพร้อมกันกับสารทำความเย็นกลับสู่เครื่องอัดได้
11. มีค่าความต้านทานไฟฟ้าสูง ช่วยให้ขณะทำงานไม่เกิดการลัดวงจรของไฟฟ้า

ชนิดน้ำยาแอร์/สารทำความเย็นที่ใช้มากในปัจจุบัน
1. R-12
ชื่อเคมี : Dichloridefluoromethane
สูตรโมเลกุล : CCL2F2
คุณสมบัติ :
– ผลิตได้จากการปรับเปลี่ยนสาร R-10 ด้วยการใช้ฟลูออรีนแทนที่คลอรีน
– ไม่มีสี และไม่มีกลิ่น (ความเข้มข้นตํ่ากว่า 20%)
– ความเข้มข้นที่มากกว่า 20% จะมีกลิ่นคล้ายกับคาร์บอนเตตระคลอไรด์t(Carbon Tetrachloride)t
– ไม่เป็นพิษt
– ไม่กัดกร่อน
– ไม่ติดไฟt
– มีจุดเดือดที่ 29 ◦C
รหัสสี : สีขาว

2. R-22
ชื่อเคมี : Monochlorodifluoromethane
สูตรโมเลกุล : CHCIF2
คุณสมบัติ :
– เหมาะสำหรับระบบทำความเย็นที่ดูดวับความร้อนไม่สูงนัก (ตู้เย็น และแอร์บ้าน) แต่ทำลายโอโซน
– ไม่เป็นพิษ
– ไม่กัดกร่อน
– ไม่ติดไฟ
– มีจุดเดือดเท่ากับ -41 ◦C
– ใช้ได้กับคอมเพรสเซอร์ชนิดโรตารี่ ลูกสูบ ก้นหอย สกรู หรือชนิดหอยโข่งt
– ต้องติดตั้งฟิลเตอร์ดรายเออร์ เพราะมีนํ้าหรือความชื้นผสมอยู่
รหัสสี : สีเขียว

3. R-502
สูตรโมเลกุล : CHCIF2/CCIF2CF3
คุณสมบัติ :
– เป็นสารทำความเย็นผสมระหว่าง R-22 (48.8) และ R-115 (51.2)
– มีคุณสมบัติจากสารทั้ง 2 ชนิด
– ไม่กัดกร่อน
– ไม่ติดไฟ
– ไม่เป็นพิษ
– มีจุดเดือด -45.5 ◦C
– เหมาะกับคอมเพรสเซอร์ชนิดลูกสูบเท่านั้น อาทิ เครื่องทำความเย็นในโรงงานแช่แข็ง และแปรรูปอาหารทะเล
รหัสสี : สีม่วงอ่อน

4. R-134a
ชื่อเคมี : Tetrafluoroethane
สูตรโมเลกุล : CH2FCF3
คุณสมบัติ : R-134a
– มีความคล้ายคลังกับ R-22 มาก
– ไม่ทำลายโอโซน (ข้อต่างกับ R-22)
– ไม่กัดกร่อน
– ไม่ติดไฟ
– ไม่เป็นพิษ
– มีจุดเดือดเท่ากับ -26.1 ◦C
– เหมาะสำหรับแอร์บ้าน แอร์รถยนต์ หรือตู้เย็น
รหัสสี : สีฟ้าอ่อน

5. R-717
ชื่อเคมี : Ammonia
สูตรโมเลกุล : NH3
คุณสมบัติ :
– เหมาะสำหรับระบบทำความเย็นในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแช่แข็ง
– มีจุดเดือดเท่ากับ -33.33 ◦C
– เป็นก๊าซไม่มีสี
– มีกลิ่นฉุน
– ติดไฟได้น้อย
– แต่มีความเป็นพิษทำลายระบบประสาท
– หากสัมผัสผิวหนังจะทำให้เกิดแผลไหม้
รหัสสี : สีเงิน

6. R-125
ชื่อเคมี : Pentafluoroethane
สูตรโมเลกุล : CHCF5
คุณสมบัติ :
– มีจุดเดือด -48.5 ◦C
– ไม่เป็นพิษ
– ไม่ติดไฟ
– ไม่กัดกร่อน
– เหมาะสำหรับใช้แทน R-502
รหัสสี : สีแทน

7. R-407c
ชื่อเคมี : Terafluoroethane
สูตรโมเลกุล : R-32 (23%) + R-125 (25%)+ R-134a (52%)
คุณสมบัติ :
– เป็นสารผสมของ R-32 (23%) + R-125 (25%)+ R-134a (52%)
– มีคุณสมบัติของสารทั้ง 3 รวมกัน
– ไม่ทำลายโอโซน
– มีจุดเดือดเป็นช่วงๆ
รหัสสี : สีน้ำตาลอ่อน

8. R-410a
ชื่อเคมี : Difluoromethane
สูตรโมเลกุล : CH2F2 /CHF2CF3
คุณสมบัติ :รเหมือนกับ R22 แต่ประสิทธิภาพสูงกว่า 1.6 เท่า
รหัสสี : สีกุหลาบ

กลุ่มสาร ชื่อทั่วไป สูตรเคมี การใช้งาน
CFC R-11

R-12

R-113

R-114

(CCl3F

CCl2F2

CCl2CClF2

C2F4Cl2

ตู้แช่เย็นทั่วไป, แอร์รถยนต์
HCFC R-22

R-123

R-124

CHClF2

CHCl2CF,CHCl2CF3

CHClFCF3

ตู้แช่เย็นจัด, แอร์บ้าน
HFC R-125

R-134a

R-143a

R-152a

CHF2CF3

CF3CH2F

CH3CF3

CH3CHF2

ตู้แช่เย็นทั่วไป, ตู้เย็น, แอร์รถยนต์, แอร์บ้าน
อนินทรีย์ R-717

R-744

R-50

R-744A

Ammonia (NH3)

Carbon Dioxide (CO2)

Methane (CH4)

Nitrous Oxide (N2O)

ใช้ในระบบทำความเย็นขนาดใหญ่
สารผสม R-502

R-507

R-22  (48.8%) + R-115  (51.2%)

R-125 + R-143a

ตู้แช่เย็นจัด, ตู้แช่แข็ง, ห้องเย็น (R-507 นำมาใช้แทน R-502)
R-407C

R-410a

R-32 (23%) + R-125 (25%)+ R-134a (52%)

CH2F2 /CHF2CF3)

วิธีเติมน้ำยาแอร์
รอเพิ่มข้อมูล

ขอบคุณภาพจาก //synthestec.com/

สารทำความเย็นชนิดใดที่มีคุณสมบัติ ติดไฟ ได้

ส่วนใหญ่ที่เราจะเจอกันมีอยู่ 3 ชนิด คือ สารทำความเย็น R22 R32 และR410a. "ต้องบอกก่อนเลยว่าใน 3 ตัวนี้ มีตัวหนึ่งที่ติดไฟครับ"

คุณสมบัติที่ดีของสารความเย็น r

น้ำยาแอร์ R-12 (CCl2F2) : ใช้สำหรับเครื่องทำความเย็นที่ใช้ในบ้าน เช่นตู้เย็น เครื่องปรับอากาศรถยนต์ มีสภาพแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงสภาพได้ง่ายแม้อุณหภูมิสูง จุดเดือดอยู่ที่ -29.8 องศาเซลเซียส ที่ความดันบรรยากาศ น่ำยาแอร์ R-12 สามารถละลายในน้ำมันได้อย่างดีทุกสถานะ จึงทำให้อีวาพอเรเตอร์และคอมเพรสเซอร์แห้งอยู่เสมอ และมีความ ...

สารทําความเย็นคืออะไร

สารทำความเย็น” หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “น้ำยาแอร์” คือสารเคมีที่มีคุณสมบัติไม่มีพิษ ไม่มีกลิ่น จุดเดือดต่ำกว่าสารทั่วไป เมื่อผ่านกระบวนการอัดสารทำความเย็นให้เป็นไอ ไหลเวียนภายในระบบเครื่องปรับอากาศและสร้างความเย็นสบายให้แก่เรา ปัจจุบันสารทำความเย็นที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศสำหรับที่อยู่อาศัย มีอยู่ 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ...

สาร ทํา ความเย็น มี กี่ ชนิด อะไร บาง

ประเภทของสารทําความเย็น (Refrigerants).
1. CFC = คลอโรฟลูออโรคาร์บอน ... .
2. HCFC = ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ... .
3. HFC = ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน ... .
4. FC = ฟลูออโรคาร์บอน ... .
5. HC = ไฮโดรคาร์บอน ... .
6. NH3 = แอมโมเนีย ... .
7. CO2 = คาร์บอนไดออกไซด์.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก