ปัญหา ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับ นักเรียน

การเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์

ความหมายของมนุษย์สัมพันธ์(Relntion)เดวิส ให้ความหมาย เป้าหมายแนวทางก่อให้เกิดจุดมุ่งหมายและพลังของกลุ่มที่จะทำงานร่วมกันให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ฟลูเมอร์ Flumerเป็นความสัมพันธ์อันดีของบุคคลที่เกี่ยวข้องกันอันนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของทุกฝ่าย ดูบริน Dubrin เน้นว่า เป็นศิลปะและปฏิบัติการประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกันอันนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของทุกฝ่าย

มนุษย์สัมพันธ์ของครู คือ การมีปฏิบัติสัมพันธ์ระหว่างครูกับลูกศิษย์

ปรัชญาพื้นฐานของมนุษย์สัมพันธ์มนุษย์ทุกคนมีคุณค่า มีความเป็นคนเทียมกัน มนุษย์เกี่ยวข้องกับความต้องการ ไม่มีที่สิ้นสุด มนุษย์เป็นเพื่อนร่วมทุกข์

จุดเริ่มต้นพื้นฐานของมนุษย์สัมพันธ์

-การรู้จักตนเอง บุคคลที่ยอมรับตนเองได้ แม้จะไม่สมบูรณ์ก็สามารถนำมาสู่ชีวิตประจำวัน

กระบวนการของมนุษย์สัมพันธ์

กระบวนการมีมนุษย์สัมพันธ์ คือ การสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีกับบุคคล การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีจะต้องเริ่มต้นจากตัวเราก่อน เช่น การเปิดฉากทักทายผู้อื่นก่อน ยกมือไหว้ผู้อื่นก่อน พูดกับผู้อื่นก่อน

หลักการสร้างมนุษย์สัมพันธ์Dale Carnegie ได้กล่าวไว้ว่า ให้สิ่งที่เขาต้องการก่อน แล้วเราจะได้รับสิ่งที่เราต้องการ หรือกล่าวคำสั้นๆ คือ“เอาใจเขามาใส่ใจเรา”

การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ของครู

การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน

การสร้างความสัมพันธ์อันดีงามกับศิษย์

การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง

การสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน-จริงใจ -พบประสังสรรค์ -ไม่นินทา -เห็นอกเห็นใจ -ยกย่อง-ร่วมมือร่วมใจ -เสมอต้นเสมอปลาย

การสร้างความสัมพันธ์อันดีงามกับลูกศิษย์-รัก -ให้ -อารมณ์เป็นบวก -รับฟัง -ส่งเสริม-เป็นตัวอย่าง

การสร้างความสัมพันธ์อันกับผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป- ยิ้มแย้มแจ่มใส -ให้ความช่วยเหลือความรู้ -เป็นกันเอง-ให้ความร่วมมือ – ยกย่องให้เกียรติ – ประกาศเกียรติคุณ -รับฟัง-ถามทุกข์สุข

ลักษณะด้านมนุษย์สัมพันธ์มี10 ลักษณะ

1.ความสนใจหมั่นไต่ถามทุกข์สุขนักเรียน

2.การช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหา

3.ความเข้าใจในความแตกต่างของนักเรียน

4.การให้การปรึกษาหารือต่างๆ

5.การให้ความร่วมมือในกิจกรรมของนักเรียน

6.สนใจให้ความร่วมมือกับชุมชน

7.ให้การต้อนรับและเป็นกันเองกับผู้มาติดต่อด้วย

8.ให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนครูในโรงเรียน

9.สามารถปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนครูในโรงเรียน

10.การช่วยเหลือการแนะนำครูใหม่

มนุษย์สัมพันธ์เกี่ยวกับการพูดครูควรฝึกหัดพูดคำและสำนวนไพเราะ หมายถึง คำซึ่งเปล่งออกมาแล้วเป็นที่เข้าใจในความหมาย ถูกต้องตามหลักภาษาไทย เป็นคำที่เหมาะสม คำควบกล้ำถูกต้อง ไม่ใช่คำหยาบ ห้วนกระโชกโงกงาก น้ำเสียงนุ่มนวล คำที่สุภาพ คำที่ไม่สุภาพ จะให้บอกว่าใครโทรมา จะให้เรียนว่าใครโทรมานครับ รอเดี๋ยวนะ รอสักครู่นะค่ะ พูดมากฉิบหาย คุณพูดมากไปหน่อยนะค่ะ เดินซุ่มซ่าม เดินไม่ค่อยระวัง

                 ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและเด็กถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อระหว่างทั้งคู่หากเกิดความสัมพันธ์ที่ไม่ดีแล้ว จะกลายเป็นผลกระทบต่อการพัฒนาการศึกษาแน่นอน ฉะนั้นแล้ว ครูจะมองข้ามเรื่องความสัมพันธ์กับเด็กไปไม่ได้ อีกทั้งครูยังต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กอยู่เสมอ

ความสัมพันธ์ระหว่างครูและเด็กสำคัญอย่างไร?

               นอกจากจะเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาแล้ว ความสัมพันธ์ที่ดียังเป็นปัจจัยพื้นฐานในการเรียนของเด็ก เป็นเงื่อนไขสำคัญของความสำเร็จและความล้มเหลวทางการศึกษาของเด็ก และความสัมพันธ์ที่ดี จะทำให้เด็กรู้สึกว่า โรงเรียนเป็นที่ที่มีความอบอุ่นและส่งเสริมให้เด็กเกิดพัฒนาการที่ดีด้านอารมณ์ สังคม และการเรียน ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จด้านการศึกษาทั้งสิ้น

รู้ได้อย่างไรว่าความสัมพันธ์ที่มีอยู่นั้นดีหรือไม่?

               อีกประเด็นสำคัญก็คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความสัมพันธ์ของครูและเด็กที่มีอยู่นั้นเป็นความสัมพันธ์ที่ดีหรือไม่ ตรงนี้สามารถประเมินคุณภาพของความสัมพันธ์ได้จากการสังเกตปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเรียนการสอน ซึ่งคาบเรียนที่แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ดี สามารถสังเกตได้ว่า

               1.มีบรรยากาศการเรียนที่เป็นมิตร ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส

               2.ครูผู้สอนมีความไวต่อปฏิกิริยาของเด็กและให้การตอบสนอง ได้อย่างเหมาะสม ครูสามารถสังเกตระหว่างการสอนว่าเด็กแต่ละคนเป็นอย่างไร เช่น มีคนไม่เข้าใจ ตามไม่ทัน กังวล หรือดูเศร้า และนอกจากการสังเกตแล้ว ครูยังเข้าใจและสามารถตอบสนองต่อเด็กได้อย่างเหมาะสมด้วย

               3.ครูใส่ใจในความคิดเห็นของเด็กแต่ละคน ครูต้องถามถึงความคิดเห็นหรือมุมมองของเด็กในระหว่างคาบเรียนด้วย

               แล้วครูจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กได้อย่างไร ประเด็นสำคัญในเรื่องนี้คือการ เพิ่มเวลา เพิ่มคุณภาพ ซึ่งจะช่วยยกระดับความสัมพันธ์ของครูละเด็กได้เป็นอย่างดี สิ่งสำคัญในการทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี คือ

               1. การใช้เวลาที่ดีร่วมกัน เช่น การกินข้าวกลางวันร่วมกันในบรรยากาศที่เป็นกันเอง การทำกิจกรรมนอกห้องเรียนร่วมกัน ครูมีการจัดช่วงเวลาในการให้คำปรึกษาแก่เด็ก เมื่อเด็กต้องการ

               2.สื่อสารความต้องใจอันดีไปให้เด็กผ่านการแสดงออกในลักษณะต่างๆ เช่น ครูสามารถแสดงออกถึงความเอาใจใส่ด้วยการสังเกต สอบถามทุกข์สุขของเด็กเป็นระยะ แสดงการยอมรับในตัวเด็กด้วยการฟังความคิดเห็นของเด็กอย่างตั้งใจ หรือแม้แต่การแสดงออกให้เด็กเห็นว่าครูเป็นที่พึ่งให้แก่เขาได้ โดยการรับฟังปัญหาและช่วยกันคิดวิธีแก้ไขร่วมกัน

               3.มีวิธีการตอบสนองต่อเด็กที่เหมาะสม เน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ครูต้องมีความไวต่ออารมณ์ของเด็ก รู้จักและเข้าใจเด็กแต่ละคน มีวิธีการตอบสนองต่อเด็กแต่ละคนที่แตกต่างอย่างเหมาะสม เช่น ให้เวลาปรับตัวกับเด็กที่ขี้กังวล วางระบบระเบียบที่ชัดเจนให้เด็กที่สมาธิสั้น แต่อย่าลืมให้ทุกอย่างเป็นไปในทางบวก ด้วยการให้คำชม ให้รางวัลกับพฤติกรรมที่ดีของเด็กมากกว่าการลงโทษ            

 นับว่าเป็นอีกหนึ่งบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของผู้เป็นครู คนที่เป็นครูมักจะมีสิ่งต่างๆ ที่สร้างความท้าทายอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ครู จึงต้องหมั่นฝึกฝนตนเองให้พร้อมที่จะรับกับทุกสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก