ภ งด 51 ปี 2565 ยื่น เมื่อไหร่

การยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (แบบ ภ.ง.ด 51)

ผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีหน้าที่ในการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้

นิติบุคคลสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (6 เดือน) ต้องยื่นภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ด้วยแบบ ภ.ง.ด 51 ดังเช่น

สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ดังนี้

1. กรณี ยื่น ภ.ง.ด.51 แบบกระดาษ : วันสุดท้ายของการยื่นแบบ ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2564

2. กรณี ยื่น ภ.ง.ด.51 ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ขยายเพิ่ม 8 วัน : วันสุดท้ายของการยื่นแบบ ภายในวันที่ 8 กันยายน 2564

ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (แบบ ภ.ง.ด 51)

1. บริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อธิบดีเห็นชอบตามหลักเกณฑ์เสียภาษีเงินได้ครึ่งปีจากกำไรสุทธิจริง (งบการเงินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องผ่านการแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชี)

2.  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกเหนือจากข้อ 1 ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีจากการประมาณการกำไรสุทธิ คือ จากการประมาณการผลประกอบการของกิจการในรอบปีบัญชีนั้น ๆ ทั้งปี

ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (แบบ ภ.ง.ด 51)

1.  มูลนิธิหรือสมาคม เนื่องจากเสียภาษีเงินได้จากยอดรายรับ จึงไม่ต้องประมาณการกำไรหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้

2. ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีรอบระยะเวลาบัญชีปีแรก/ปีสุดท้ายน้อยกว่า 12 เดือน หรือรอบที่เปลี่ยนแปลงไม่เกิน 6 (ในกรณีนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมสรรพากร)

บทกำหนดโทษ

1. กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เกินกำหนดเวลา 

    1.1 ค่าปรับทางอาญาตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ล่าช้าไม่เกิน 2,000 บาท ดังนี้

         - ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ เสียค่าปรับ 1,000 บาท

         

- ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายหลัง 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ เสียค่าปรับ 2,000 บาท

    1.2 เงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร อีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ ตามแบบ ภ.ง.ด 51 

หากบริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวน โดยตรงเป็นหนังสือ ให้ลดเงินเพิ่มได้ แต่ต้องเสียในอัตราและตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

        - ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ไม่เกิน 2 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 0.1 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ

        - ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เกิน 2 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 0.5 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ

       

- ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายหลัง 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ จนกว่าเงินเพิ่มจะมีจำนวนครบร้อยละ 20 ของเงินภาษี

    1.3 กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดอาจถือได้ว่าไม่ให้ความร่วมมือแก่ทางราชการ 

ซึ่งอาจไม่ได้รับการพิจารณาลดหรืองดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มกรณีอื่น

2. กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ด้วยประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิจริงทั้งปีที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด 50 ตอนปลายปี

โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ จนกว่าเงินเพิ่มจะมีจำนวนครบร้อยละ 20 ของเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คลาดเคลื่อนไปนั้น 

วิธีการคำนวณประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกิน 25  % ของกำไรสุทธิ

กำไรสุทธิจริง 1,000,000 บาท ประมาณการกำไรสุทธิ 700,000 บาท พบว่าประมาณการกำไรสุทธิขาดไป 300,000 บาท

ประมาณการกำไรสุทธิขาดไป = 300,000*100/1,000,000 = 30 % 

กิจการประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 โดยไม่มีเหตุอันสมควร  กิจการจะเสียภาษี ดังนี้

- กรณีที่กิจการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51  เพิ่มเติม โดยที่ไม่ได้รับคำเตือนจากเจ้าหน้าที่  กิจการจะเลือกเสียเงินเพิ่มทางภาษีจากอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือ ร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระก็ได้

  จากกรณีดังกล่าวข้างต้น หากกิจการนำยื่นแบบ ภ.ง.ด 51 เพิ่มเติมในเดือน ธันวาคม กิจการจะเสียเงินเพิ่ม ดังนี้

ภาษีที่ชำระขาดในปี                            =    150,000 X 20 %         =  30,000     บาท 

เสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน  =    30,000 X 1.5 % X 6    =    2,700     บาท

เสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 ต่อเดือน   =    30,000 X 20 %            =    6,000     บาท

ฉะนั้นกิจการควรเลือกเสียเงินเพิ่มจากอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่ายชำระ คือ 2,700 บาท  

- กรณีที่กิจการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51  เพิ่มเติม โดยได้รับคำเตือนจากเจ้าหน้าที่  กิจการจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระเท่านั้น

จากบทความดังกล่างข้างต้น หวังว่าบริษัทและนิติบุคคลต่างๆ จะยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี  แบบ ภ.ง.ด 51 โดยถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และข้อบังคับของกรมสรรพากร

ผู้เขียน : นันทนภัส วรรณสมบูรณ์ บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด

ยื่นภาษี 2565 ภายในวันไหน

เหลือเวลาอีกไม่มากแล้ว สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี 2565 (ภ.ง.ด.94) ซึ่งผู้มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีครึ่งปี จะต้องยื่นภาษีสำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน พ.ศ.2565 ภายในวันที่ 30 กันยายน หรือยื่นแบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร ถึงวันที่ 10 ตุลาคม เพื่อป้องกันการถูกเรียกเก็บภาษี ...

ภงด.51 ยื่นตอนไหน

กรณีรอบบัญชีปกติตามปีปฎิทิน คือ เริ่มวันแรกในวันที่ 1 มกราคม และ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจะต้องจัดทำและยื่นแบบ .ง.ด. 51 ภายใน วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2562 (คำนวณจากกลางปี คือ 30 มิถุนายน 2562 ***บวก 2 เดือน คือ 31 สิงหาคม 2562)

ภาษีเงินได้นิติบุคคล 2565 ยื่นได้ถึงวันไหน

วันสุดท้ายสำหรับการยื่นงบการเงิน ยื่นภาษีบริษัท 2565 สำหรับ "บริษัทจำกัด" ที่มีวันสิ้นรอบปีบัญชี คือ 31 ธันวาคม 2564 จะต้องปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษีบริษัทประจำปี ภายในวันสุดท้ายดังนี้ ยื่นภ.ง.ด.1ก (สรุปการจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ภาษีที่ของพนักงาน ฯลฯ ตลอดปี) ภายใน 28 กุมภาพันธ์ 2565.

ยื่นชําระภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือน ม.ค. 2565 ได้ไม่เกินวันที่เท่าไร

ช่องทางการยื่นภาษี 2564-2565 ยื่นแบบกระดาษ-ยื่นภาษีออนไลน์ การยืนภาษีแบบกระดาษทำได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2565 ส่วนการยื่นภาษีออนไลน์ผู้มีรายได้สามารถยื่นภาษีผ่านทางออนไลน์ตามช่องทางต่างๆ ได้ด้วย ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 8 เมษายน 2565 ดังนี้ ยื่นออนไลน์ผ่านเว็บไซต์สรรพากร www.rd.go.th.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก