นโยบาย ตรีนุช เทียนทอง pdf

รายละเอียดคำแถลงนโยบายการจัดการศึกษา ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) คนใหม่ นางสาวตรีนุช เทียนทอง ณ ห้องประชุมราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2563

(โปรดกดถูกใจเพจด้านล่าง เพื่อติดตามข่าวสารบนเว็บไซต์ edunewssiam.com)

รมว.ศธ. มอบนโยบายการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 แก่ ผอ.สพท. และ ผอ.สถานศึกษา สังกัด สพฐ.ทั่วประเทศ เน้นย้ำ MOE Safety Center สถานศึกษาปลอดภัย ตามหลัก 3 ป. “ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม” พร้อมสร้างระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน “Screening Learning Loss” แก้ไขปัญหาความรู้ถดถอย ตั้งเป้าหมายต้องไม่มีนักเรียนออกกลางคัน
 
1 พฤศจิกายน 2565, สตูดิโอ OBEC Channel / นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 แก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และผู้อำนวยการสถานศึกษาสังกัด สพฐ. โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมผ่าน OBEC Channel

รมว.ศธ. กล่าวว่า ขอเน้นย้ำกับผู้บริหาร สพท. และสถานศึกษาในสังกัด สพฐ. ในการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ถึงแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาที่สำคัญในการดูแลพัฒนาการของนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยในสถานศึกษา ซึ่ง ศธ.ได้พัฒนาระบบแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัยขึ้น คือ ศูนย์ “MOE Safety Center” ทั้งการเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียน การจัดสภาพแวดล้อมสถานศึกษาให้ปลอดภัย การดูแลด้านโภชนาการ และสุขภาพ การป้องกันภัยธรรมชาติ

ที่สำคัญคือ การป้องกันภัยจากยาเสพติดทุกชนิด โดยเฉพาะกัญชา รวมทั้งภัยจากอาวุธปืน ซึ่งต้องไม่เกิดขึ้นในสถานศึกษาอย่างเด็ดขาด และต้องปฏิบัติอย่างเข้มข้น ตามหลัก 3 ป. คือ ป้องกัน ปลูกฝัง และ ปราบปราม ซึ่งนักเรียน ครู และประชาชนทุกคนสามารถแจ้งเหตุได้ 4 ช่องทาง ผ่านแอปพลิเคชัน MOE Safety Center เว็บไซต์ ไลน์ หรือสายด่วน 02-126-6565 ขณะนี้มีผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพื่อการใช้งานแล้ว มากกว่า 1 ล้านราย ซึ่งต้องชื่นชมทุกหน่วยงานที่ช่วยขับเคลื่อน พร้อมช่วยประชาสัมพันธ์ให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง รวมถึงประชาชนทั่วไปเข้าใช้ระบบเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างความปลอดภัยให้นักเรียน ครู และบุคลากรทุกคน
 
ทั้งนี้ ศธ.ได้มุ่งเน้นกำชับให้ครูกระชับความสัมพันธ์กับนักเรียนและผู้ปกครองมากขึ้น ทำให้เข้าใจนักเรียนเป็นรายบุคคล ทั้งนิสัยและชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ปกครองโดยตรง สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ปกครองไว้วางใจในการนำผู้เรียนมาอยู่ภายใต้การดูแลของครูผ่านการเยี่ยมบ้านนักเรียน ที่สำคัญเพื่อร่วมกันหาแนวทางช่วยเหลือนักเรียนที่อาจมีปัญหาในด้านต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมทันท่วงที อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายผู้ปกครองและชุมชนให้ช่วยกันเฝ้าระวัง และมีส่วนร่วมในการแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัย
 
ด้านการแก้ไขปัญหาความรู้ถดถอย ศธ.จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่นักเรียน ผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน “Screening Learning Loss” ครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้เรียน ดำเนินการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอย ด้วยการนำข้อมูลนักเรียนมาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม อาทิจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริม ชดเชย หรือกิจกรรมเสริมทักษะเพิ่มเติมตามความถนัด ความสนใจ ความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน และขอให้เพิ่มความสำคัญในวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง เพื่อสร้างสำนึกของความเป็นไทย รักในการเป็นชาติไทย โดยจัดการเรียนรู้ตามความพร้อม และเหมาะสมในแต่ละบริบทพื้นที่

โดยนำการเรียนการสอนรูปแบบ Active Learning มาใช้ช่วยให้ผู้เรียน เรียนอย่างมีความสุข มีทักษะการคิด ซึ่งจะทำให้เรียนรู้ได้เร็วและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้และป้องกันเด็กนักเรียนหลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งโครงการพาน้องกลับมาเรียน ยังเป็นนโยบายสำคัญที่เดินหน้าต่อเนื่อง โดยติดตามเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาให้ได้มากที่สุด และทำให้การออกกลางคันเป็นศูนย์ (Zero Drop Out) ในปีการศึกษา 2565 นี้

นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์ม School Mental Health ที่เป็นคอยคัดกรองดูแลช่วยเหลือนักเรียนและครูในสถานศึกษา ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รวมทั้งจะมีแผนเผชิญเหตุและผู้ให้คำปรึกษา เพื่อตรวจสภาพจิตใจของเด็กและครู ซึ่งสถานศึกษาทั่วประเทศสามารถประสานกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อขอรับคำปรึกษาและความช่วยเหลือเกี่ยวกับสุขภาพจิตได้
 
อีกเรื่องที่สำคัญ คือ สถานศึกษาควรสำรวจความต้องการของนักเรียนที่จะจบชั้น ม.ต้น ในการศึกษาต่อสายอาชีพ เพื่อเตรียมความพร้อม ให้คำแนะนำและส่งต่อเข้าสู่โครงการ “อาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่ครอบครัวประสบปัญหาด้านค่าใช้จ่าย สำหรับหลักสูตรทวิศึกษา ซึ่งเป็นการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและ ม.ปลาย เมื่อจบการศึกษาผู้เรียนจะได้รับวุฒิทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับ ม.ปลาย และปวช. นั้น ตนได้มอบหมายให้ สพฐ. ร่วมกับ สอศ. จัดทำแผนระดับจังหวัดว่าควรจัดทวิศึกษารายวิชาใด ในโรงเรียนไหนให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ โดยเป้าหมายระยะสั้น เน้นการเรียนการสอนทวิศึกษาในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์, โรงเรียนตามโครงการพระราชดำริ, โรงเรียนที่มีความพร้อม และศูนย์ศึกษาสงเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนในโครงการทวิศึกษา จำนวน 11,722 คน ศึกษาในโรงเรียนทั่วประเทศ 190 แห่ง
 
ในเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ใหม่) หรือเกณฑ์ PA นั้น ขณะนี้มี PA Support Team ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินแบบใหม่ ซึ่งไม่เพียงแค่มีความทันสมัย รวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้ แต่ยังเป็นการอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอน ลดภาระ ลดเวลา และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการขอเลื่อนวิทยะฐานะของคุณครูและบุคลากรทางการศึกษา ช่วยให้ครูไม่ต้องใช้เวลานอกห้องเรียนเพื่อไปทำเรื่องเกี่ยวกับทะเบียนประวัติอีกต่อไป ไม่ต้องเดินไกลเข้าส่วนกลางเพื่อยื่นเอกสาร สามารถส่งเป็นไฟล์เอกสารดิจิทัล และติดตามผลการประเมินได้ทางระบบเช่นเดียวกัน จะทำให้ครูมีเวลาอยู่ในห้องเรียนมากกว่าเดิม

“ฝากถึงผู้บริหารเขตพื้นที่และสถานศึกษา ผู้ซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญในการเชื่อมโยงนโยบาย และสร้างความเข้าใจแก่ครู ไปสู่การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ ขอให้ทุกฝ่ายเป็นพลังผลักดันขับเคลื่อนงาน รวมทั้งการประสานการทำงานแบบเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อเป้าหมายของการจัดการศึกษามุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ”

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก