เซลล์พืชและเซลล์ที่เหมือนกัน

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

เซลล์พืชและเซลล์สัตว์

สาระการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 หน่วยของสิ่งมีชีวิต

โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

โครงสร้างและหน้าที่ของส่วนต่างๆของเซลล์คล้ายคลึงกันแต่จะแตกต่างกันไปบ้างขึ้นกับชนิดของเซลล์ เช่น

  • เซลล์พืชมักมีรูปร่างเป็นเหลี่ยมมี ผนังเซลล์ (Cell Wall) ห่อหุ้มเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับเซลล์มีคลอโรพลาสต์ (Chloroplast) เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง แต่ไม่มีเซนทริโอล ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์

  • เซลล์สัตว์มีรูปร่างไม่แน่นอน ไม่มีผนังเซลล์ ไม่มีคลอโรพลาสต์ แต่มีเซนทริโอล

  • ถึงแม้ว่ารูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิตจะแตกต่างกัน แต่โครงสร้างหลักก็ยังคงเหมือนกัน คือ จะมีเยื่อหุ้มเซลล์ นิวเคลียส และไซโทพลาซึม

ผนังเซลล์ (Cell Wall) เป็นโครงสร้างที่ไม่มีชีวิตห่อหุ้มรอบนอกของเซลล์ ประกอบด้วยสารจำพวกเซลลูโลส ผนังเซลล์ทําหน้าที่ให้ความแข็งแรงแก่เซลล์ และช่วยให้เซลล์สามารถคงรูปอยู่ได้ ซึ่งพบเฉพาะในเซลล์พืชเท่านั้น เซลล์สัตว์ไม่มีผนังเซลล์ แต่เซลล์สัตว์บางชนิดอาจมีสารเคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ได้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของเซลล์นั้นๆ เช่น เปลือกกุ้ง กระดองปู มีสารเคลือบพวกไกลโคโปรตีน เซลล์ของไดอะตอมมีสารเคลือบพวกซิลิกา สารเคลือบเหล่านี้ทำให้เซลล์คงรูปได้

ภาพที่ 2.1 ผนังเซลล์ (Cell Wall)

2.เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane)

เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เป็นเยื่อบางๆที่ห่อหุ้มส่วนต่างๆของ มีองค์ประกอบสำคัญหลักๆ เป็นสารจำพวกโปรตีนและไขมัน มีคุณสมบัติยอมให้สารบางชนิดผ่านได้ เรียกว่า เยื่อเลือกทาง (Semi-permeable Membrane) พบในเซลล์ทุกชนิด

ภาพที่ 2.2 เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane)

3.โพรโทพลาซึม (protoplasm)

โพรโทพลาซึม (protoplasm) เป็นส่วนประกอบทั้งหมดภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วยส่วนที่มีลักษณะเป็นของเหลว เรียกว่า ไซโทพลาซึ่ม และส่วนประกอบอื่น ที่เป็นโครงสร้างลักษณะต่างๆ เรียกว่า ออร์แกเนลล์ ได้แก่ นิวเคลียส ไมโทคอนเดรีย ถ้าเป็นเซลล์พืชจะพบคลอโรพลาสต์ และแวคิวโอลเพิ่มขึ้น

ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วยสารประกอบทางเคมีและโครงสร้างต่างๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมส่วนใหญ่ภายในเซลล์ ซึ่งส่วนที่เป็น ออร์แกเนลล์ มีหลายชนิดและทำหน้าที่ต่าง ๆ กันดังนี้

  1. ร่างแหเอนโดพลาสซึม หรือไรโบโซม มีหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนและเอนไซม์

  2. กอลจิบอดี ประกอบด้วยถุงที่มีเยื่อบางๆเรียงซ้อนกันทำหน้าที่เก็บสารที่ร่างแหเอนโดพลาสซึมสร้างขึ้น

  3. ไมโทคอนเดรีย มีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ มีผนังหุ้มที่เป็นเยื่อ 2 ชั้น ทำหน้าที่เป็นแหล่งสร้างพลังงานให้แก่เซลล์

  4. คลอโรพลาสต์ จะพบเฉพาะในเซลล์พืชและสาหร่ายบางชนิด มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ภายในมีรงควัตถุหรือสารสีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ที่เรียกว่า คลอโรฟิลล์

  5. แวคิวโอล มีลักษณะใสกว่าส่วนอื่นๆ ทำให้มองเห็นคล้ายเป็นช่องว่างภายในเซลล์ พบได้ทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ในเซลล์พืชจะเป็นแหล่งสะสมน้ำและสารสีต่างๆ ที่ทำให้พืชมีสีสันสวยงาม ซึ่งแวคิวโอลในเซลล์พืชมีขนาดใหญ่กว่าในเซลล์สัตว์มาก ทำให้มองเห็นด้วยตาเปล่า

ภาพที่ 2.3 นิวเคลียส (Nucleus)

นิวเคลียส (์Nucleus) เป็นโครงสร้างที่สำคัญที่สุดภายในเซลล์ โดยทั่วไปมีรูปร่างค่อนข้างกลม แต่อาจพบรูปร่างรี แบน หรือไม่มีรูปทรงก็ได้ ขึ้นกับชนิดของเซลล์ พบทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ มักมีจำนวนเพียง 1 นิวเคลียส ยกเว้นเซลล์เม็ดเลือดขาว พบว่ามีนิวเคลียสหลายนิวเคลียส เป็นต้น

นิวเคลียสทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของเซลล์ มีบทบาทเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์ กล่าวคือถ้าไม่มีนิวเคลียส เซลล์จะไม่มีการแบ่งตัว และมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์สารประกอบโปรตีนของเซลล์

นิวเคลียสมีความสำคัญมาก ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ร่วมกับไซโทพลาซึม การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม นอกจากนี้ในเคลียร์ยังทำหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์สารประกอบของเซลล์

นิวเคลียสมีความสำคัญมาก ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ร่วมกับไซโทพลาซึม การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม นอกจากนี้ในเคลียร์ยังทำหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์สารประกอบของเซลล์

นิวเคลียสประกอบด้วย เยื่อหุ้มนิวเคลียส ซึ่งเป็นเยื่อบางๆ คล้ายเยื่อหุ้มเซลล์ล้อมรอบสารสำคัญเอาไว้ ภายในเชื่อมติดต่อกับร่างแหเอนโดพลาสมิก เยื่อหุ้มนิวเคลียสมีรูเล็กๆกระจายอยู่ทั่วไป เพื่อให้สารต่างๆผ่านเข้าออกระหว่างของเหลวภายในนิวเคลียส(นิวคลีโอพลาซึม) กับของเหลวภายนอกนิวเคลียสในเซลล์(ไซโทพลาซึม) โดยวิธีการแพร่

สารในนิวเคลียส คือ นิวคลีโอพลาซึม ประกอบด้วยสารสำคัญคือ

  1. นิวคลีโอลัส เป็นสารพวกนิวคลีโอโปรตีน มองเห็นทึบแสงหรือติดสีเข้มในนิวเคลียส เป็นตำแหน่งที่มีการสังเคราะห์ RNA

  2. ร่างแหโครมาทิน มีโครงสร้างเป็นเส้นที่สานกันเป็นร่างแห ประกอบด้วย DNA หรือยีนส์ ซึ่งมีสารพันธุกรรมประกอบอยู่ เมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว ร่างแหโครมาทินจะเปลี่ยนไปเป็นโครโมโซมและเป็นตัวควบคุมการแสดงออกถึงลักษณะต่างๆของสิ่งมีชีวิต

  3. เยื่อหุ้มนิวเคลียส เป็นเยื่อบางๆ 2 ชั้น ชั้นนอกขรุขระ เพราะมีไรโบโซมเกาะอยู่ และมีทางติดต่อกับร่างแหเอนโดพลาสมิก กอลจิบอดี้ และไมโทคอนเดรีย มีหน้าที่ควบคุมการแลกเปลี่ยนสารและเป็นทางผ่านของสารต่างๆระหว่างนิวเคลียสกับไซโทพลาซึม

  1. ส่วนประกอบใดที่ยอมให้สารโมเลกุลเล็กผ่าน แต่ไม่ยอมให้สารโมเลกุลใหญ่ผ่าน (2 Point)

  2. ส่วนประกอบใดมีคุณสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน (2 Point)

  3. เปลือกกุ้งหรือกระดองปูเปรียบเสมือนสิ่งใดของพืช (2 Point)

  4. เซลล์ที่ต้องใช้พลังงานมาก ควรมีส่วนประกอบชนิดใดมากเป็นพิเศษ (2 Point)

  5. เซลล์เม็ดเลือดขาวต่างจากเซลล์เม็ดเลือดแดงอย่างไร (2 Point)

การเปรียบเทียบเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

จากที่นักเรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะ รูปร่าง ส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์มาแล้ว สามารถนำรายละเอียดจากการศึกษามาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นความเหมือนและความแตกต่างระหว่างเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ดังนี้

แนวคิดสำคัญ

  • เซลล์พืชมีรูปร่างคล้ายกล่อง มีส่วนประกอบ คือ ผนังเซลล์ ไมโทคอนเดรีย ไซโทพลาซึม คลอโรพลาสต์ แวคิวโอล และนิวเคลียส

  • เซลล์สัตว์มีรูปร่างไม่แน่นอน มีส่วนประกอบ คือ เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม ไมโครคอนโทรลเลอร์ กอลจิบอดี้ และนิวเคลียส

  • เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีส่วนประกอบหลายอย่างเหมือนกัน แต่ที่แตกต่างกันคือเซลล์พืชมีรูปร่างค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยม แต่เซลล์สัตว์มีรูปร่างไม่แน่นอน เซลล์พืชส่วนมากมีผนังเซลล์และคลอโรพลาสต์ แต่เซลล์สัตว์ไม่มี เซลล์พืชมีขนาดของแวคิวโอลใหญ่กว่าเซลล์สัตว์ และนิวเคลียสของเซลล์พืชอยู่ด้านข้างเซลล์ แต่ในเฟซของเซลล์สัตว์อยู่กลางเซลล์

ความแตกต่างระหว่างเซลล์พืชกับเซลล์สัตว์

เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีโครงสร้างบ้านอย่างแตกต่างกัน ดังนี้

  • มีรูปร่างไม่แน่นอน มีลักษณะอ่อนนุ่มพร้อมมีเพียงเยื่อหุ้มเซลล์

  • มีนิวเคลียสอยู่บริเวณตรงกลางเซลล์

  • แวคิวโอลในสัตว์จะมีขนาดเล็กและพบในเฉพาะบางเซลล์

  • ไม่มีผนังเซลล์

  • ไม่มีคลอโรพลาสต์

  • มีรูปร่างคล้ายกล่อง มีลักษณะแข็งเพราะมีผนังเซลล์

  • มีนิวเคลียสอยู่ด้านข้างของเซลล์

  • แวคิวโอลมีขนาดใหญ่

  • มีผนังเซลล์

  • บางเซลล์มีคลอโรพลาสต์

  1. เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีลักษณะอย่างไร (2 Point)

  2. ส่วนประกอบใดบ้างที่พบในเซลล์พืช แต่ไม่มีในเซลล์สัตว์ (2 Point)

  3. ส่วนประกอบใดบ้างที่พบในเซลล์สัตว์ แต่ไม่มีในเซลล์พืช (2 Point)

  4. ส่วนประกอบใดบ้างที่พบได้ทั้งเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ (2 Point)

  5. เหตุใดเซลล์พืชสร้างอาหารเองได้ แต่เซลล์สัตว์สร้างอาหารเองไม่ได้ (2 Point)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก