พระมหาธรรมราชาที่ 1 ลิไทย ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง

พญาลิไทหรือพระมหาธรรมราชาที่ 1  เป็นพระราชโอรสพญาเลอไทย  และเป็นพระราชนัดดาพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ทรงครองเมืองศรีสัชนาลัยในตำแหน่งอุปราช เมื่อพ.ศ. 1882  ต่อมาได้เสวยราชย์ครองกรุงสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. 1890

พญาลิไททรงเป็นนักปราชญ์และนักการปกครองที่ทรงพระปรีชาสามารถทั้งฝ่ายราชอาณาจักรและฝ่ายพุทธจักร  ทรงเชี่ยวชาญในสรรพศาสตร์ อาทิ พุทธศาสตร์  ไสยศาสตร์  โหราศาสตร์  ดาราศาสตร์  ฯลฯ 

พระราชกรณียกิจในฝ่ายพระราชอาณาจักร เช่น ได้ทรงขยายอาณาเขต  โปรดให้ขุดคลอง  สร้างถนนหนทางเชื่อมโยงกับเมืองสำคัญในราชอาณาจักร  นอกจากนี้ยังทรงสร้างศิลาจารึกไว้หลายหลักทั้งภาษาไทย  ภาษามคธและภาษาขอม  ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์จนทุกวันนี้  

ส่วนพระราชกรณียกิจฝ่ายพุทธจักรนั้น ทรงผนวชเมื่อ พ.ศ. 1904  เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงพระผนวชในขณะเสวยราชย์  ได้ทรงสร้างโบราณสถานและโบราณวัตถุ  เช่น  พระวิหาร  พระมหาธาตุ  พระพุทธบาท  ไว้ตามเมืองสำคัญหลายแห่ง

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสรุปลักษณะการปกครองของพญาลิไทไว้ว่า  “...พระเจ้าขุนรามคำแหงทรงบำเพ็ญจักวรรติวัตรแผ่พระราชอาณาจักร  และพระราชอำนาจด้วยการมุ่งปราบปรามราชศัตรูฉันใด  พระมหาธรรมราชาลิไทยก็ทรงบำเพ็ญในทางที่จะเป็นธรรมราชา  คือปกครองพระราชอาณาจักร     หมายด้วยธรรมานุภาพเป็นสำคัญฉันนั้น”

พญาลิไทได้ทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิกถา* หรือไตรภูมิพระร่วง* อันเป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลในการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนากับธรรมานุภาพให้เจริญยิ่งในพระราชอาณาจักร

พญาลิไทเสด็จสวรรคตในราวพ.ศ. 1914  แต่ไม่เกินพ.ศ. 1919

ไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง

ตำนานมูลศาสนา ฉบับพุทธพุกาม.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2518.  (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงเดช  สนิทวงศ์)

“บานแพนก”  ใน  ไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไทย.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  พระนคร : คุรุสภา, 2506. 

พระรัตนปัญญาเถระ.  ชินกาลมาลีปกรณ์  แปลโดย ร.ต.ท.แสง  มนวิทูร.  กรุงเทพฯ : ม.ป.ท, 2517.  (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ร.ต.ท.แสง  มนวิทูร  เปรียญ ณ ฌาปนสถานของคุรุสภา วัดสระเกศราชวรวิหาร  วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2517)

“พระราชประวัติองค์นิพนธ์.”  ใน  พระมหาธรรมราชาที่ 1 พญาลิไทย.  ไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง.  พิมพ์ครั้งที่ 3  ฉบับตรวจสอบชำระใหม่.  กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, 2526.  (กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในการประชุมสัมมนาเรื่องไตรภูมิพระร่วง  ในโอกาสฉลอง 700 ปีลายสือไทย วันที่ 19-21 ธันวาคม 2526  ณ ห้องประชุมหอสมุดแห่งชาติ)

พระราชพงษาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์  เรื่องสมเด็จพระบรมศพ คือ จดหมายเหตุงานพระเมรุ ครั้งกรุงเก่า กับพระราชวิจารณ์ของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง.  กรุงเทพฯ : ต้นฉบับ, 2540.

“ศิลาจารึกหลักที่ 2, 3, 4, 5, 6, 8, 9, 11, 93” ใน  จารึกสุโขทัย.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526.  (กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสฉลอง 700 ปี ลายสือไทย พ.ศ. 2526)

          หนังสือไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีทางศาสนาที่สำคัญเล่มหนึ่ง ในสมัยสุโขทัย ซึ่งมีอิทธิพลต่อคนไทยมาก พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นหลังจากที่ทรงผนวชแล้ว และขึ้นครองราชย์ได้ ๖ ปี ประมาณ พ.ศ. ๑๘๙๖

         พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งกรุงสุโขทัย ขึ้นครองราชย์ต่อจากพญางัวนำถม จากหลักฐานในศิลาจารึกวัดมหาธาตุ พ.ศ. ๑๙๓๕ หลักที่ ๘ ข. ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ เมื่อพญาเลอไทสวรรคต ใน พ.ศ. ๑๘๘๔ พญางัวนำถมได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาพญาลิไทยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๑๘๙๐ ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีสุริยพงสรามมหาธรรมราชาธิราช ในศิลาจารึกมักเรียกพระนามเดิมว่า พญาลิไท หรือเรียกย่อว่า พระมหาธรรมราชาที่ ๑ เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๑๙๑๑

        พญาลิไท ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทรงอาราธนาพระเถระชาวลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย ได้สละราชสมบัติออกทรงผนวชที่วัดป่ามะม่วง นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก พญาลิไททรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก ทรงสนพระทัยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก และทรงพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วง ตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร) บูรณะเมืองนครชุม สร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เป็นเมืองลูกหลวง และสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ที่ฝีมือการช่างงดงามเป็นเยี่ยม

พญาลิไท หรือพระยาลิไท หรือพระศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเลอไท และเป็นพระนัดดาของพระเจ้ารามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์พระ ร่วง ครองกรุงสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๐ - พ.ศ. ๑๙๑๒ (๑๙๑๔) ก่อนขึ้นครองราชสมบัติทรงดำรงตำแหน่งอุปราช ครองเมืองศรีสัชนาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๘๓ - พ.ศ.๑๘๙๐ ใน พ.ศ. ๑๘๙๐ เมื่อพระยางั่วนำถม พระมหากษัตริย์ครองราชสมบัติ ณ กรุงสุโขทัย ได้เสด็จสวรรคตได้เกิดการจราจลชิงราชสมบัติกรุงสุโขทัยขึ้น พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ทรงสามารถยกกองทัพมาปราบปรามศัตรูได้หมดสิ้น และเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งราช วงศ์พระร่วงเฉลิมพระนามว่า ศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช
เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระเจ้าอู่ทอง ได้ส่งกองทัพจากศรีอยุธยามาโจมตี และยึดเมือง พิษณุโลก (สองแคว) ไว้ได้ ทำให้อาณาจักรสุโขทัยเกิดความไม่มั่นคง และไม่ปลอดภัย เพราะเมืองพิษณุโลกอยู่ใกล้กับสุโขทัยมาก ดังนั้น พระมหาธรรมราชาที่๑ (พระยาลิไท) จึงทรงส่งคณะราชฑูต ไปขอเจริญพระราชไมตรีกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)และได้ขอเมืองพิษณุโลกคืนจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ซึ่งก็ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ หลังจากนั้นพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ก็ทรงเสด็จไปประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก เป็นเวลา ๗ ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๐๕ - พ.ศ. ๑๙๑๒ เพื่อป้องกันมิให้ทางกรุงศรีอยุธยา ส่งกองทัพไปรุกรานกรุงสุโขทัยและทรงมอบให้พระขนิษฐาองค์หนึ่งของ พระองค์ปกครอง กรุงสุโขทัยแทน
ในปี พ.ศ. ๑๙๑๒ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) เสด็จสวรรคต พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ได้เสด็จกลับไปครองกรุงสุโขทัยดังเดิม

อนุสาวรีย์พญาลิไท

๑. ด้านการเมืองการปกครอง ทรงรวบรวมราชอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และขยายพระราชอำนาจออกไปได้เมืองระหว่างแควจำปาสักกับแม่น้ำปิง จนจดแม่น้ำน่านทาง ทิศเหนือ มาไว้ในราชอาณาจักรสุโขทัย
๒. ด้านศาสนา พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ทรงมีบทบาทสำคัญในการทำนุบำรุงและเผยแพร่พระพุทธศาสนา กล่าวคือ ได้ส่งพระ สงฆ์ออกไปเผยแพร่ พระพุทธศาสนายังที่ต่าง ๆ เช่น ที่เมืองเชียงใหม่ พิษณุโลก อยุธยา และหลวงพระบาง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมพระเจดีย์เมืองนครชุม (กำแพงเพชร) พ.ศ. ๑๙๐๒ ทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกุฏ ซึ่งอยู่นอกเมืองสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๐๔ โปรดให้สร้างวัด ป่ามะม่วง (สุโขทัย) พระองค์ทรงมีความเคารพเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก ได้ผนวชเป็นสามเณรในพระราชมณเฑียร และผนวชเป็นพระภิกษุที่วัดป่ามะม่วง ในกรุงสุโขทัย ทรงโปรดให้หล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดเท่ากับองค์พระพุทธเจ้า ถวายพระนามว่า พระศรีศากยมุนี ประดิษฐานที่พระวิหารวัดพระ ศรีรัตนมหาธาตุ สุโขทัย
๓. ด้านภาษาและวรรณคดี พระองค์ทรงมีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ดังมี หลักฐานปรากฏในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ว่าพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ทรงนิพนธ์ขึ้นใน พ.ศ.๑๘๘๘ ครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราช ครองเมืองศรีสัชนาลัย หนังสือไตร ภูมิพระร่วงนี้ ซึ่งเป็นวรรณคดี ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา นับเป็นวรรณคดีไทยชั้นเยี่ยมเล่มแรกของไทย และทรงโปรดเกล้าฯ ให้จารึกเรื่องราวต่าง ๆ ในรัชสมัยของพระองค์ลงในแผ่นศิลา โดยเฉพาะศิลาจารึกกรุงสุโขทัยหลักที่ ๔ ซึ่งมีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในสมัยสุโขทัย และประวัติศาสตร์ เมืองพิษณุโลกเป็นอย่างยิ่งพระราชกรณียกิจขณะทรงประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก

พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ทรงประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก เป็นเวลา ๗ ปี ได้ทรงสร้างเมืองพิษณุโลก และพระราชวังขึ้น ทางฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำน่าน คือ พระราชวังจันทน์ ทรงสร้างปูชนียสถานและปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หล่อพระพุทธชินราช ซึ่งเป็น พระพุทธรูปที่งดงามที่สุดในประเทศไทย พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำต้นโพธิ์จากลังกามาปลูกไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พิษณุโลก จากพระราชกรณียกิจที่พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ได้ทรงกระทำแล้ว นับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกที่ทรงวางรากฐาน และสร้าง ความเจริญในจังหวัดพิษณุโลก

    //www.prapucha36.com/article/8/ประวัติพระมหาธรรมราชาที่๑-พญาลิไท

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก