โรค อ้วน กับ ความ ดัน โลหิต สูง

Home > โรคอ้วน ภาวะอันตราย เสี่ยงหลายโรค!

โรคอ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากเกินกว่าปกติหรือมากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญ จึงสะสมพลังงานที่เหลือเอาไว้ในรูปของไขมันตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา

รู้ได้อย่างไรว่าเป็น “โรคอ้วน”

วิธีวัดไขมันมีหลายรูปแบบ โดยที่นิยมกันคือ การวัดจากดัชนีมวลกาย หรือBody Mass Index – BMI และการตรวจวัดรอบเอว โดยทั่วไปแล้ว ควรมีค่า BMI อยู่ที่ระหว่าง 18.5-22.9 kg/m2 หากมากหรือน้อยกว่านี้ จะเกิดภาวะทุพโภชนาการและโรคต่างๆ

  • ค่า BMI < 18.5 – 22.9 kg/m² เรียกว่า “ปกติ
  • ค่า BMI 23.0 – 24.9 kg/m² เรียกว่า “น้ำหนักเกิน
  • ค่า BMI > 25 kg/m² เรียกว่า “โรคอ้วน

สาเหตุของโรคอ้วน

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน แบ่งออกเป็น ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็นโรคอ้วน มักมีสาเหตุจากปัจจัยภายนอก เพราะมีพฤติกรรมการรับประทานที่ตามใจตนเอง จนทำให้รับประทานเกินความต้องการของร่างกาย

ปัจจัยภายนอก ได้แก่

  • รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง เนื้อ ไขมัน แป้ง ของหวาน
  • รับประทานไม่เป็นเวลา กินจุบกินจิบ
  • นั่งๆ นอนๆ เป็นส่วนใหญ่
  • ขาดการออกกำลังกาย

ปัจจัยภายใน ได้แก่

  • ความผิดปกติของต่อมไรท่อ เช่น ต้อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์
  • ภาวะเครียด
  • จิตใจและอารมณ์
  • กรรมพันธุ์
  • โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  • การรับประทานยาบางชนิด
  • อายุ เนื่องจากอายุมาก จะมีการใช้พลังงานน้อยลง

ผลกระทบจากโรคอ้วน

ผู้ที่มีภาวะอ้วน จะส่งผลเสียกับร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังและอาการต่างๆ ตามมา เช่น

  • โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไขมันเกาะตับ
  • โรคหัวใจ
  • โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • โรคมะเร็งต่างๆ
  • โรคหยุดหายใจขณะหลับ
  • ปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ
  • ภาวะมีบุตรยาก
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ปวดข้อ ข้อเสื่อมก่อนวัย
  • โรคผิวหนัง เช่น สิว ขนดก ผิวหนังติดเชื้อ มีกลิ่นตัว เป็นต้น

อ้วนลงพุง เสี่ยงหลายโรค

โรคอ้วน แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ อ้วนลงพุง และอ้วนทั้งตัว
(จากสถิติขององค์กรอนามัยโลก – WHO พบว่า เกือบหนึ่งในสามของประชากรไทย มีน้ำหนักตัวมากจนเป็นโรคอ้วน)

อ้วนลงพุง เป็นโรคที่มาจากการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ตั้งแต่อาหารการกิน ไม่มีเวลาออกกำลังกาย จนทำให้กลายเป็นโรคอ้วนตามมา คนที่อ้วนลงพุง มักจะมีไขมันสะสมในช่องท้องมากเกินไป ทำให้เกิดเมตาบอลิกซินโดรม ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมาก โดยพบว่าคนที่มีลักษณะท้วม มีโอกาสอ้วนลงพุงได้ถึง 25%

โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี โรงพยาบาลศิครินทร์

แชร์บทความ

ข้อมูลสุขภาพ

ความดันโลหิตสูง สาเหตุของความดันโลหิตสูง อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่

สาเหตุของความดันโลหิตสูง อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่
     1. พวกที่หาสาเหตุได้ เช่น จากโรคไตอักเสบ เส้นเลือดแดงตีบ พิษแห่งครรภ์ เป็นต้น 
     2. พวกที่หาสาเหตุไม่พบ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนมากมักจะเป็นชนิดนี้

บุคคลประเภทใดที่มักจะเป็นความดันโลหิตสูง
     1. ส่วนมากมักพบได้ในผู้สูงอายุโดยเฉพาะอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป
     2. พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังวัยหมดประจำเดือนพบได้บ่อย
     3. พบมากในคนอ้วน แต่คนผอมก็พบบ้างเหมือนกัน
     4. อาจเนื่องจากกรรมพันธุ์ประมาณ 30-40 %
     5. ในบุคคลที่มีอารมณ์รุนแรง เคร่งเครียด ตื่นเต้น ตกใจง่าย ดีใจง่าย เสียใจง่าย อารมณ์ที่เปลี่ยน แปลงรวดเร็วอาจจะกระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราวในตอนแรก แล้วจะค่อยลดลงเอง แต่ถ้าเกิดบ่อยและนานเข้า ความดันโลหิตก็จะสูงอย่างถาวรซึ่งถ้าสูงมากก็เป็นอันตรายได้

อาการ

          ผู้ป่วยด้วยความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรกส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอาจตรวจพบโดยการตรวจเช็คสุขภาพประจำปี หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นแล้วแพทย์วัดความดันของเลือดพบว่าผิดปกติ สำหรับที่รายมีอาการจะมีอาการมึนงง ตาพร่ามัว ปวดศรีษะตรงท้ายทอย มักจะปวดตอนตื่นนอน เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย บางรายเลือดกำเดาออกบ่อยๆ อาการดังกล่าวอาจเกิดจากโรคอื่นได้อีกหลายโรคและที่สำคัญที่สุดความดันโลหิตสูงบางรายอาจไม่มีอาการใดเลยก็ได้ นอกจากตรวจวัดด้วยเครื่องมือแพทย์จึงจะทราบ ฉะนั้นถ้าท่านสงสัยว่าเป็นโรคนี้หรือท่านที่มีอายุเกิน 35 ปี ควรตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง การปฏิบัติตัว

          ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ เพื่อรักษาให้ความดันเลือดลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ และเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น หัวใจโต หรือการไหลเวียนของเลือดในไตลดลง หลอดเลือดในสมองแข็งและเปราะ ฯลฯ การรักษาความดันโลหิตสูงต้องเป็นการรักษาของแพทย์ ที่จะตรวจและให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัว การใช้ยา แต่ผู้ป่วยก็ต้องปฏิบัติตัว เพื่อช่วยให้ความดันโลหิตลดลงได้ง่ายขึ้น คือ

     1. การพักผ่อนต้องพักผ่อนทั้งทางร่างกายและจิตใจ พยายามควบคุมอารมณ์และจิตใจไม่ให้ตึงเครียด ขุ่นมัวและวู่วาม
     2. คนอ้วนต้องลดน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
     3. ระวัง อย่าให้หกล้ม หรือศีรษะ กระทบกระแทก เพราะอาจจะทำให้หลอดเลือดในสมองแตก เป็นอัมพาตได้
     4. ไม่ควรวิตกกังวลหรือให้ความสำคัญกับระดับความดันโลหิตที่วัดไว้แต่ละครั้ง ความดันโลหิตในบุคคลเดียวกันเปลี่ยนแปลงได้เสมอตามภาวะแวดล้อมต่างๆในแต่ละวัน ควรให้แพทย์เป็นผู้ตัดสินว่า ระดับความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลง มีความสำคัญอย่างไรหรือไม่
     5. ต้องควบคุมอาหาร 

อาหารสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

     1. หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัด เพราะเกลือทำให้ความตึงตัวของผนังหลอดโลหิตแดง เพิ่มขึ้น ทำให้ความ ดันเลือด Diastolic สูงขึ้น
     2. อาหารพวกเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ด ซึ่งเป็นอาหารพวกโปรตีน ถ้าไตทำหน้าที่ได้ตามปกติก็ไม่ต้อง ลดลง แต่ถ้ามีอาการทางไตแทรกซ้อน ต้องลดโปรตีน
     3. อาหารไขมันอยู่ระดับกลาง ค่อนข้างต่ำ ควรหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์และพวกกะทิ
     4. อาหารหวานจัด เช่น ขนมหวานทุกชนิดพยายามหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด เพราะจะทำให้น้ำหนักตัว และระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น
     5. เครื่องดื่มต่างๆ เช่น ชา กาแฟ ซึ่งมีสารคาฟอีนสูง กระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น สูบฉีดโลหิตแรงขึ้น เป็นอันตรายสำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง
     6. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว การไหลเวียนของโลหิตเร็วและแรงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักและแรงโลหิตจะพุ่งสูงขึ้นนับว่าเป็นอันตรายยิ่ง ควรงดเด็ดขาด และงดสูบบุหรี่ 

สรุป
          การจัดอาหาร สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ถ้ามีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ จะต้องลดลงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติก็ต้องระวังไม่ให้เพิ่มมากขึ้น ควรรับประทานอาหารที่มีแรงงานต่ำ ไม่มีไขมันและแป้ง น้ำตาลมากรส อาหารค่อนข้างจืด จะเติมเกลือ ซอส น้ำปลาได้บ้าง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัดทุกชนิด รวมทั้งอาหารที่เก็บถนอม โดยการใช้เกลือ เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ผักดองเค็ม หมูแฮม เบคอน และขนมปังเค็ม ชนิดต่างๆ 

ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลวิภาวดี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก