แจ้งเข้าทะเบียนบ้าน

ย้ายเข้า・ย้ายออก

เนื่องในการเปลี่ยน「กฎหมายส่วนหนึ่งของระบบควบคุมการพำนักอาศัยแบบใหม่」(ปี 2009 กฏหมายฉบับที่ 77)ชาวต่างชาติผู้อยู่อาศัยในประเทศญี่ปุ่นได้มีสิทธิในการขึ้นทะเบียนผู้อยู่อาศัย ซึ่งรายละเอียดเริ่มใช้ตั้งแต่ 9 กรกฏาคม 2012 เป็นต้นไป ช่วยให้ผู้อยู่อาศัยชาวต่างชาติสามารถทำ「ทะเบียนบ้าน 」ได้ในเขตที่อยู่อาศัย

(ข้อควรระวัง)
เนื่องจากระเบียบการตรวจคนเข้าเมืองทางประเทศญี่ปุ่นจะนับว่าผู้ที่มีวีซ่าประเภทการพำนักระยะกลางและระยะยาว ผู้ที่มีวีซ่าประเภทตลอดชีวิตเป็นผู้ที่สามารถขึ้นทะเบียนผู้อยู่อาศัยชาวต่างชาติ (ไม่รวมผู้ที่มีสถานภาพการพำนักระยะสั้น หรือ ผู้ที่มีสถานภาพการพำนักต่ำกว่า3เดือน)

ผู้ที่ได้รับอนุญาติให้เข้ามาภายในประเทศญี่ปุ่นรายใหม่

ผู้ที่เข้ามาในประเทศญี่ปุ่นรายใหม่ซึ่งได้รับอนุญาติจากระเบียบการตรวจคนเข้าเมืองเพื่อการพำนักระยะกลางและระยะยาว(ไม่รวมผู้ที่มีสถานภาพการพำนักระยะสั้น หรือ ผู้ที่มีสถานภาพการพำนักต่ำกว่า3เดือน)จากระเบียบการตรวจคนเข้าเมืองประเทศญี่ปุ่นนั้นจะต้องนำบัตรประจำตัวผู้พำนักไปดำเนินเรื่องการย้ายเข้าสู่ที่อยู่ที่ใหม่แก่สำนักงานในเขตที่อยู่อาศัยภายในเวลา14วัน(สำหรับผู้ที่ไม่มีบัตรประจำตัวผู้พำนักที่สนามบิน กรุณานำพาสปอร์ตไปยังสำนักงานเขตเพื่อยื่นเรื่องการย้ายเข้าสู่ที่ใหม่)

ข้อควรระวัง:ผู้ที่อยู่อาศัยกับครอบครัวในประเทศญี่ปุ่น

ในกรณีที่จะยื่นเอกสารย้ายเข้า ผู้ที่มีข้อบันทึกในทะเบียนบ้านว่าเจ้าบ้านเป็นชาวต่างชาตินั้นจะต้องมีใบแสดงความสำพันธ์ที่มีกับเจ้าบ้าน(เอกสารทางราชการของประเทศญี่ปุ่น สูติบัตร ใบจดทะเบียนสมรส อื่นๆ)

คำเตือน เอกสารแสดงความสำพันธ์กับเจ้าบ้านนั้นนะต้องมีเอกสารที่แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นด้วย

แก่ชาวต่างชาติผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น

ในระบบการฃึ้นทะเบียนผู้อยู่อาศัยนั้น ชาวต่างชาติผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตนั้นๆต้องดำเนินการการย้ายทะเบียนบ้านออกจากเขตที่อยู่อาศัยที่สำนักงานของเขตที่อาศัยอยู่ และดำเนินการย้ายทะเบียนบ้านเข้าที่สำนักงานในเขตที่จะย้ายเข้า

ข้อควรระวัง

  • เมื่อมีการย้ายออกผู้ที่พำนักอยู่นั้นจะได้รับเอกสาร「แจ้งการเปลี่ยนแปลงที่พักอาศัย」จากสำนักงานของเขตที่อยู่อาศัย นอกจากนี้จะต้องนำเอกสาร「แจ้งการเปลี่ยนแปลงที่พักอาศัย」ไปดำเนินการที่สำนักงานเขตที่อยู่อาศัยที่จะย้ายเข้าภายในเวลา14วัน
  • ในกรณีที่มีการย้ายออกและย้ายเข้าในเขตที่อยู่อาศัยเขตเดียวกันนั้นจะต้องยื่นเอกสาร「แจ้งการเปลี่ยนแปลงที่พักอาศัย」ไปดำเนินการที่สำนักงานเขตที่พำนักอยู่เช่นกัน
  • กรณีที่จะย้ายที่อยู่อาศัยไปยังต่างประเทศนั้นต้องนำเอกสาร「หนังสือรับรองการย้ายออก」ไปดำเนินการที่สำนักงานเขตที่อยู่อาศัยที่จะย้ายออกเช่นกัน
  • ผู้ที่ต้องการดำเนินการเปลี่ยนแปลงที่พักอาศัยนั้นจะต้องนำบัตรประจำตัวผู้พำนัก หรือ หนังสือแสดงผู้พำนักถาวร(หรือหนังสือทะเบียนชาวต่างชาติ)ไปยังสำนักงานของเขตที่อยู่อาศัย

ページトップへ戻る

ไม่ว่าคุณจะต้องการดำเนินเอกสารใดๆ ก็ตามกับทางสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ขั้นตอนแรกสุดที่ต้องทำคือการจองคิวเพื่อเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งการจองคิวในช่วงก่อนหน้าจะเป็นการแจกคิวให้กับคนที่ไปถึงได้เร็วที่สุดและเรียงตามลำดับ ทำให้ผู้คนรู้สึกเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ปัญหานี้จึงถูกหยิบยกมาให้แก้ไขได้ด้วย 2 รูปแบบการจองคิวย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ ดังนี้

จองคิวผ่านเว็บไซต์กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

เราสามารถทำการจองคิวเพื่อแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ด้วยการเลือกเข้าสู่เว็บไซต์ //q-online.bora.dopa.go.th/ หรือค้นหาคำว่า ‘ลงทะเบียนขอรับบริการล่วงหน้า’ จากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย บนหน้าเว็บไซต์นี้คุณจะสามารถเลือก Login หรือเข้าสู่ระบบใช้งานด้วยการกรอกข้อมูลไม่ว่าจะเป็น เลขประจำตัวประชาชน, วันเดือนปีเกิด และเบอร์โทรศัพท์ หรือหากคุณใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) สามารถเลือก Login ผ่านการแอปพลิเคชันนี้ได้ เมื่อคุณเข้าสู่ระบบมาแล้วทำการเลือกที่ปุ่มเมนู เพื่อทำการเลือกระบบนัดหมายรับบริการ และระบุจังหวัด อำเภอ สำนักทะเบียน งานบริการที่ต้องการ และวันที่ที่คุณสะดวกเข้ารับบริการ

จองผ่านแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID )

กรมการปกครองได้มีการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนในรูปแบบดิจิทัลด้วยการเปิดตัวแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งจะหนึ่งในตัวช่วยให้ย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์สะดวกสบายยิ่งขึ้นโดยที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชัน D-DOPA ได้ด้วยการดาวน์โหลดลงบนโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้ารับบริการจากทางสำนักงาน โดยขั้นตอนการใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA มีดังนี้ 

ขั้นตอนการดาวน์โหลดเพื่อใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA 
  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน D-DOPA 

แอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) สามารถรองรับบนมือถือผ่านระบบปฏิบัติการ IOS และ Android โดยผู้ใช้งานควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่าโทรศัพท์มือถือของคุณใช้ระบบปฏิบัติการแบบใด แล้วจึงเลือกติดตั้งตามขั้นตอนต่อไปนี้

  • กรณีหากใช้งานระบบปฏิบัติการ IOS สามารถเข้ายัง App Store ทำการค้นหา D-DOPA จากนั้นจึงเลือก Install ( ติดตั้ง ) ลงบนโทรศัพท์มือถือของท่าน 
  • กรณีหากใช้งานระบบปฏิบัติการ Android สามารถเข้าไปยัง Gooogle Play Store ทำการค้นหา D-DOPA แล้วจึงเลือกติดตั้งลงบนโทรศัพท์มือถือของท่าน 
  1. ลงทะเบียนเข้าใช้งาน

เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้งแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) ลงบนโทรศัพท์มือถือของคุณแล้วเริ่มต้นเข้าสู่ขั้นตอนการลงเทียนเพื่อเข้าใช้งานโดยสามารถดำเนินการได้ 8 ขั้นตอน ดังนี้

  1.  กดเริ่มต้นเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID )
  2.  ในการเริ่มต้นใช้งานครั้งแรกผู้ใช้งานจำเป็นต้องทำการยืนยันตัวตนด้วยการนำบัตรประชาชนใบล่าสุดไปแจ้งยืนยันตัวตนกับเจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียน ณ สำนักงานเขตในท้องที่
  3.  เมื่อได้รับการยืนยันตัวตนจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตแล้วทำการเปิดแอปพลิเคชัน D-DOPA ขึ้นอีกครั้ง พร้อมทั้งกดอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ของเครื่องมือและระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของตนเองให้ถูกต้อง
  4.  อ่านข้อตกลงและเงื่อนไขในการให้บริการให้เรียบร้อยและกดยอมรับ
  5.  สแกน QR Code ในแอปพลิเคชัน D-DOPA 
  6.  ระบบจะทำการแจ้งเตือนให้กำหนดตั้งค่ารหัสผ่านใหม่ จำเป็นต้องกรอกรหัสผ่านทั้ง 2 ครั้งให้ตรงกัน
  7.  ระบบจะทำการแจ้งเตือนขอยินยอมอีกครั้ง โดยจะต้องระบุรหัสผ่านเพื่อทำการอัพโหลดข้อมูลลงแอปพลิเคชันของตน
  8. เมื่อการลงทะเบียนเสร็จสิ้นแล้วหน้าจอจะแสดงสถานะการสมัครสำเร็จ
ฟังก์ชันการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์

เมื่อทำการลงทะเบียนเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถเริ่มขั้นตอนย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ด้วยการกรอกรหัสประจำตัวประชาชนทั้ง 13 หลัก และเลือกไปคำสั่งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางเพื่อทำการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์ได้ทันที หลังจากนั้นคำสั่งยินยอมจะขึ้นแจ้งเตือนไปยังเจ้าบ้านตามที่ระบุไว้ในทะเบียนบ้าน ซึ่งตัวเจ้าบ้านมีสิทธิ์ในการยินยอมหรือไม่ในการรับลูกบ้านให้ย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์เข้ามาอยู่ร่วมกัน

ฟังก์ชันอื่น ๆ นอกจากการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์

นอกจากฟังก์ชันในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์แล้ว แอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) ยังมีฟังก์ชันอื่นๆ ที่ช่วยตอบโจทย์แก่ผู้ใช้งานที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้บริการกับสำนักงานเขตไม่ว่าจะเป็น

✔ การตรวจสอบข้อมูลคนเองที่หน่วยงานรัฐเป็นผู้จัดเก็บข้อมูล

✔ ระบบจองคิวขอรับบริการงานทะเบียนล่วงหน้า

✔ การตรวจสอบผู้มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น

✔การแจ้งเหตุจำเป็นหากไม่ได้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

✔ การตรวจสอบผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. เป็นต้น


ถือได้ว่าแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์เป็นอย่างมาก ด้วยฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ในเรื่องการจองคิวเพื่อเข้ารับบริการกับทางสำนักงาน และสามารถย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ในวันที่คุณสะดวกโดยไม่ต้องลางานเพื่อไปยังสำนักงานเขต สะดวกสบาย ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่สุดๆ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก