ประจําเดือน มา เกิน 10 วัน แต่ มา น้อย pantip

สำหรับสาวๆ แล้วประจำเดือนถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง เพราะหากสังเกตดีๆ สิ่งนี้อาจมีโรคภัยซ่อนอยู่ในการผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นได้

“อาการของรอบเดือนที่ไม่ควรมองข้าม”

การมีรอบเดือนหรือประจำเดือนที่มาแบบปกตินั้นจะเกิดขึ้นในช่วง 21 – 35 วัน นับจากรอบเดือนที่ผ่านมาอย่างสม่ำเสมอ โดยจะมาอยู่ประมาณ 3 – 5 วัน ปริมาณเลือดที่ออกมาประมาณ 30 – 50 มิลลิลิตรต่อรอบเดือน ลักษณะเลือดที่ออกมักไม่เป็นลิ่มเลือด ทั้งนี้ความผิดปกติของรอบเดือนเกิดขึ้นได้หลายแบบ ซึ่งได้แก่อาการเหล่านี้

  1. ปวดประจำเดือนมากผิดปกติ อาจสังเกตได้โดยจำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าอนามันบ่อยกว่าปกติ และมีก้อนเลือดขนาดใหญ่ออกมากับประจำเดือน
  2. ปริมาณเลือดออกมามากกว่าปกติ หรือมากกว่า 80 มิลลิลิตรต่อรอบเดือน
  3. รอบเดือนมาสั้นกว่า 21 วัน หรือยาวนานกว่า 35 วัน
  4. ประจำเดือนมามากกว่า 7 วัน
  5. ลักษณะเลือดที่ออกเป็นแบบกะปริดกะปรอย

ทั้งหมดนี้ไม่เพียงแต่โรคมะเร็งที่สาวๆ กลัวกันแต่เพียงอย่างเดียว แต่นั้นหมายถึงโรคน่ากังวลอื่นๆ ที่ส่อเค้าเริ่มต้นอีกด้วย ดังนั้นเมื่อมีอาการเหล่านี้ ควรให้มาพบแพทย์

“โรคอันตรายที่อาจมาพร้อมรอบเดือนที่ปกติ”

แน่นอนที่อาการผิดปกติของร่างกายมักมาพร้อมโรคที่คาดไม่ถึง ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่มะเร็งเท่านั้นแต่ยังมีโรคที่น่ากลัวอื่นๆ เช่น

โรคเนื้องอกมดลูก เป็นโรคยอดฮิตที่พบบ่อยมาก โดยจะพบถึง 4 ใน 10 คนของผู้หญิง ซึ่งส่วนใหญ่หากเป็นระยะเริ่มต้นจะไม่แสดงอาการใดๆ ประจำเดือนยังมีมาตามปกติ แม้มีโอกาสกลายเป็นเนื้อร้ายไม่มาก แต่หากเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากจน ไปเบียดอวัยวะข้างเคียงก็จะทำให้เป็นปัญหาได้

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นอีกโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ถ้าไปเจริญที่รังไข่ จะทำให้เกิดเป็นถุงน้ำที่มีของเหลวคล้ายช็อกโกแล็ตอยู่ภายใน (Chocolate cyst) ถ้าแทรกตัวเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก จะทำให้มดลูกมีขนาดโตผิดปกติ (Adenomyosis) ซึ่งโดยส่วนใหญ่ทั้งสองโรคนี้มักจะทำให้มีอาการปวดประจำเดือน ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ หรือปวดถ่วงเวลาถ่ายอุจจาระรุนแรงขณะมีประจำเดือนได้ และยังส่งผลให้มีบุตรยากได้ด้วย แต่ในบางรายก็ไม่แสดงอาการอาการใดๆ

ถุงน้ำรังไข่ (ซีสต์ในรังไข่) มีทั้งที่สามารถยุบเองได้และถุงน้ำที่ที่ไม่สามารถ ชนิดอื่นที่ไม่ใช่ช็อกโกแลตซีสต์ป่วยโรคนี้อาจจะไม่มีอาการใดๆ แต่บางคราวจะมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรงเฉียบพลันได้ ถ้าถุงน้ำนั้นเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การบิดของขั้วถุงน้ำรังไข่พวกนี้ ก็อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดฉุกเฉิน

“ป้องกันอย่างไรให้ห่างไกลโรคร้าย”

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นสาวๆ สามารถดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรค แถมไม่ทรมานกับการมีรอบเดือนได้ง่ายๆ ด้วยการเริ่มต้นดูแลตัวเองให้ดีตั้งแต่เริ่มวัยสาวโดย

  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างสม่ำเสมอ ยิ่งในช่วงใกล้มีประจำเดือนให้เน้นการรับประทานผักใบเขียว เพื่อช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและควรหลีกเลี่ยงชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดอาการปวดก่อนมีประจำเดือน
  2. เวลามีประจำเดือนใครว่าไม่ควรออกกำลังกาย ไม่จริงทั้งสิ้น เพราะแท้จริงแล้วการออกกำลังกาย จะช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟิน ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ แต่พึงระวังเรื่องความสะอาดไว้ด้วย
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อพักฟื้นและฟื้นฟูพลังงานที่เสียไประหว่างการมีประจำเดือน
  4. ช่วงมีประจำเดือนเป็นช่วงที่สาวๆ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายและเลือดประจำเดือนยังเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเชื้อแบคทีเรีย
  5. ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างน้อย 2 – 3 ชั่วโมง หรือเมื่อผ้าอนามัยที่รองรับเต็มแผ่นแล้ว

อย่างไรก็ตามเมื่อถึงเวลาที่เหมาะคุณควรปรึกษาแพทย์ พร้อมตรวจภายในและตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ใช้สารเสพย์ติด เป็นต้น ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพียงแต่จะช่วยวัยสาวของคุณให้สดใส แต่จะช่วยให้เมื่อคุณอยากมีครอบครัว จะได้ไม่ประสบปัญหามีบุตรยาก อีกด้วย ทั้งนี้ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เรายังมีทีมแพทย์ที่ยินดีอย่างยิ่งที่จะให้คำปรึกษาคุณในทุกช่วงวัย

  • Home
  • Blog
  • ความรู้ทั่วไป
  • ประจำเดือนแบบไหนไม่ปกติ

ประจำเดือนแบบไหนไม่ปกติ

ความรู้ทั่วไป, ความรู้สำหรับสุภาพสตรี   ลงวันที่ 22 April 2565

“ประจำเดือนแบบไหนไม่ปกติ”

โดย พญ.เมธาวี อุฬารวงศ์ (สูตินรีแพทย์)

            ในผู้หญิงทุกคน เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นก็จะมีสิ่งที่เรียกว่าประจำเดือนออกมาตามรอบเดือน ประจำเดือนนั้นไม่ใช่ของเสียอย่างที่หลาย ๆ ท่านเข้าใจ แต่คือสิ่งที่เกิดจากการหลุดลอกตัวของผนังเยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมไว้สำหรับรับการฝังตัวของตัวอ่อน เมื่อไม่ได้มีการฝังตัว ผนังจึงผลัดออกมาตามการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในแต่ละเดือน ดังนั้นประจำเดือนจึงควรออกเป็นรอบ ๆ อย่างสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสม

ประจำเดือน ควรมีลักษณะอย่างไร?

  • ประจำเดือนมักมีสีแดง ไม่มีลิ่มเลือดหรือชิ้นเนื้อปน บางครั้งประจำเดือนอาจออกมาพร้อมกับตกขาวจึงดูเป็นก้อนได้แต่ไม่อันตราย
  • ประจำเดือนมักไม่เกิน 7 วันต่อรอบ และมาเพียง 1 รอบต่อเดือน แต่ในบางครั้ง หากมีรอบเดือนในช่วงต้นเดือน อาจมีรอบเดือนอีกครั้งในช่วงวันท้ายๆของเดือนได้
  • โดยเฉลี่ยแล้ว แต่ละรอบประจำเดือนจะห่างกัน 28 วัน แต่สามารถเป็นได้ตั้งแต่ 21 ถึง 35 วัน โดยในแต่ละคนควรมีรอบเดือนที่สม่ำเสมอในทุกๆเดือน อย่างไรก็ตามในช่วงปีแรกๆที่เริ่มมีประจำเดือนหรือในวัยใกล้หมดประจำเดือนอาจไม่สม่ำเสมอได้
  • ปริมาณประจำเดือน ที่ปกตินั้นไม่ควรเกิน 80 ซีซี โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 35 ซีซีต่อรอบ เทียบได้กับผ้าอนามัยประมาณ 3-4 ผืนต่อวัน

เลือดออกผิดปกติแบบไหนที่ควรมาพบแพทย์

  • เลือดออกตามรอบเดือน แต่มาปริมาณมากผิดปกติ เปลี่ยนผ้าอนามัยถี่ขึ้น ใช้ผ้าอนามัยผืนใหญ่ขึ้นหรือต้องใช้ผ้าอ้อมอนามัย มีลิ่มเลือดปน เริ่มมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม รวมถึงตรวจพบว่ามีภาวะเลือดจาง
  • เลือดออกยาวนานขึ้น เช่น จากปกติมีรอบเดือนไม่เกิน 7 วัน แต่มียาวนานขึ้นเป็น 10 วัน
  • มีเลือดออกกะปริบกะปรอยนอกรอบเดือน หรือมีประจำเดือนมากกว่า 1 รอบต่อเดือน
  • เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
  • เลือดออกหลังหมดประจำเดือน หลังหมดประจำเดือนแล้ว ฮอร์โมนเพศหญิงจะค่อยๆลดลงจนหมดไป จึงไม่ควรกลับมามีประจำเดือนอีก หากมีเลือดออกจากช่องคลอดควรมาพบแพทย์เพื่อประเมินทุกครั้ง
  • ประจำเดือนไม่มาตามรอบ หรือประจำเดือนไม่มาติดต่อกันหลายเดือน

แพทย์จะให้การรักษาอย่างไร

  • แพทย์จะซักประวัติเบื้องต้น โดยเฉพาะประวัติทางสูตินรีเวช ได้แก่ ประวัติการตั้งครรภ์ ประวัติการคุมกำเนิด ประวัติการตรวจภายในและตัดกรองมะเร็งปากมดลูก รวมถึงประวัติประจำเดือนย้อนหลัง
  • ตรวจร่างกาย การตรวจภายใน และอาจใช้การอุลตร้าซาวด์อวัยวะอุ้งเชิงกรานร่วมด้วยหากแพทย์สงสัยว่ามีความผิดปกติ
  • ตรวจประเมินว่ามีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ อาจจำเป็นต้องส่งตรวจปัสสาวะเพื่อประเมินการตั้งครรภ์
  • ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูก และอาจใช้เครื่องมือดูดชิ้นเนื้อในโพรงมดลูกไปตรวจในรายที่มีความเสี่ยง

แนะนำให้คุณสุภาพสตรีมาพบสูตินรีแพทย์เพื่อประเมินทุกครั้ง หากพบว่ามีเลือดออกผิดปกติที่ลักษณะต่างออกไปจากประจำเดือน หรือไม่แน่ใจว่าเป็นเลือดออกผิดปกติหรือไม่ คลินิกนรีเวชกรรม ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกยินดีให้คำปรึกษาค่ะ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกนรีเวชกรรม

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 1571 , 1572

บทความที่เกี่ยวข้อง

ยามุ่งเป้า ทางเลือกใหม่ของการรักษามะเร็ง

ยามุ่งเป้า ทางเลือกใหม่ของการรักษามะเร็ง โดย นพ.วรเศรษฐ์ สายฝน ปัจจุบันการรักษามะเร็งวิวัฒนาการมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การศึกษาพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งทำให้ค้นพบว่าเซลล์มะเร็งมีคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมซึ่งส่งผลต่อการส่งสัญญาณการแบ่งตัวภายในเซลล์ (Signal transduction pathway) ทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตได้เองอย่างไม่จำกัด มีความสามารถในการสร้างหลอดเลือดมาเลี้ยงตัวเอง สามารถหลบหลีกการถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย และสามารถมีความสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะต่าง ๆ ได้ ความสามารถพิเศษเหล่านี้เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนบางชนิดซึ่งส่งผลต่อการทำงานของโปรตีนต่าง ๆ ที่ควบคุมการแบ่งตัวของมะเร็ง โดยมะเร็งแต่ละชนิดมีการกลายพันธุ์ของยีนต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน เมื่อนักวิจัยสามารถศึกษาจนค้นพบว่า กลไกใดสำคัญต่อมะเร็งชนิดใด จึงสามารถพัฒนายามายับยั้งกลไกการทำงานของยีนกลายพันธุ์นั้น ๆ ทำให้เซลล์มะเร็งถูกทำลายลงได้ในที่สุด จึงเรียกยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงในกลไกการแบ่งตัวที่ถูกรบกวนเหล่านี้ว่า ยามุ่งเป้า (Targeted therapy) โดยยามุ่งเป้าในปัจจุบันจะมีชนิดออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งเซลล์ และชนิดที่ยับยั้งการสร้างเส้นเลือดเป็นหลัก   ความแตกต่างระหว่างยามุ่งเป้าและยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้าทำลายเซลล์มะเร็งเป้าหมายโดยตรง โดยอาจส่งผลต่อเซลล์ปกติเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ยาเคมีบำบัดทำลายทั้งเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติที่แบ่งตัวเร็ว ยามุ่งเป้ามักมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้าใช้ได้เฉพาะในมะเร็งบางชนิดและต้องตรวจพบยีนกลายพันธุ์ที่เข้าได้กับยามุ่งเป้านั้น ในส่วนของยาเคมีบำบัดไม่ต้องตรวจการกลายพันธุ์ของมะเร็งก่อน   รูปแบบของยามุ่งเป้า มีทั้งรูปแบบยากิน (Tyrosine kinase inhibitors) และยาฉีด (monoclonal antibody) มีทั้งการใช้เป็นยาชนิดเดียวและการใช้ร่วมกับยาอื่น เช่น ยาเคมีบำบัด […]

Long Covid กับกลุ่มอาการเหนื่อยล้าหลังติดเชื้อ

Long Covid กับกลุ่มอาการเหนื่อยล้าหลังติดเชื้อ โดย พจ.รณกร โลหะฐานัส                 กลุ่มอาการเหนื่อยล้าหลังติดเชื้อ (Post-infective fatigue syndrome, PIFS) หมายถึงอาการเหนื่อยล้าที่รุนแรงและต่อเนื่อง หลังจากการติดเชื้อที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเงื่อนไขทางการแพทย์ ซึ่งมีมาอย่างน้อย 6 เดือนและส่งผลต่อการทำงานประจำวันอย่างมีนัยสำคัญ สาเหตุของกลุ่มอาการ PIFS เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ความเสียของเนื้อเยื่อปอดหรือหัวใจ การทำงานของไซโตไคน์ผิดปกติอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและการทำงานของกล้ามเนื้อ การบาดเจ็บภายในสมองหรือระบบประสาทส่วนปลาย ทั้งยังมีรายงานอีกว่ากลุ่มอาการ PIFS มีอัตราความชุกของความเหนื่อยล้าในแถบยุโรปที่สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ อาการแสดงของกลุ่มอาการ PIFS มักเกี่ยวข้องกับอาการทางระบบทางเดินหายใจหลายอย่าง เช่น เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ไอเรื้อรัง ปวดศีรษะ วิงเวียน เป็นต้น แนวทางการรักษา ทางการแพทย์แผนจีนจะให้การรักษาด้วยการฝังเข็มหรือจ่ายยาสมุนไพร ด้วยการตรวจวินิจฉัยตามกลุ่มอาการ ซึ่งการฝังเข็มจะเลือกใช้จุด LU7, LI4, ST36, SP6, SP9, SP10, HT7, KD6, TH5, GD41, LR3, LR8 เป็นจุดหลักในการรักษา […]

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome) คืออะไร โดย นพ.นพดล ตรีประทีปศิลป์ กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขเป็นภาวะที่มีอาการอยากขยับ ขาขณะตื่น  มีความรู้สึกคล้ายมีอะไรมาไต่ขา ถ้าไม่ขยับจะมีความรู้สึกไม่สะดวกสบาย สาเหตุ : อาจพบกับ โรคอื่นๆ เช่น โรคโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก, ไตวายเรื้อรัง เป็นต้น,ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยมักมีประวัติของโรคนี้ในครอบครัว ผลกระทบต่อสุขภาพ : นอนหลับยาก หรือ รู้สึกหลับไม่สนิท ทำให้การนอนไม่มีคุณภาพ ส่งผลให้เกิดอาการง่วงตอนกลางวัน โรคนี้มักมี อาการที่ขาแต่สามารถเกิดขึ้นกับส่วนอื่นๆ ได้ วิธีการรักษา :  รักษาโรคที่เป็นสาเหตุ  เช่น การให้ธาตุเหล็กเพื่อรักษา ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก หาและงดปัจจัยที่ อาจเป็นสาเหตุ เช่น ยาบางกลุ่มข้างต้น หลีกเลี่ยงคาเฟอีน ในชากาแฟ น้ำอัดลม ช็อคโกแลต —————————————————————————- คลินิกโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์ (ENT) ให้บริการวินิจฉัยและรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับหู คอ จมูก […]

ภาวะ Long Covid กับการรักษาทางแพทย์แผนจีน โดย แพทย์จีนธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล ภาวะลองโควิด (Long Covid) คือสภาวะที่ร่างกายได้รับการได้รับเชื้อโควิด-19 แล้วเกิดผลกระทบกับร่างกายถึงแม้ว่าจะหายจากเชื้อโรคแล้วก็ตาม ซึ่งเกิดจากร่างกายเมื่อได้รับการติดเชื้อแล้ว ร่างกายจะสร้างเม็ดเลือดขาว ไปต่อสู้กับเชื้อโรคจึงทำให้เกิดการอักเสบภายในร่างกายได้ หรือการทานยาฆ่าเชื้อไวรัสทำให้ร่างกายทำงานหนักขึ้น อาการที่มักจะพบได้บ่อย เช่น หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก  อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ หลงลืม การรักษาในมุมมองของแพทย์แผนจีน เราอ้างได้จากคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกของแพทย์แผนจีน พูดไว้ว่าการป้องกัน มี 3 กรณี ยังไม่ป่วย ต้องป้องกันก่อนเกิดโรค เมื่อป่วยแล้ว รีบรักษาป้องกันไม่ให้โรครุนแรง เมื่อหายป่วยแล้ว ต้องฟื้นฟูป้องกันไม่ให้โรคกำเริบ ซึ่งโรคโควิด -19 ในมุมมองของแพทย์แผนจีนเกิดจากพิษความชื้น “湿毒” ตำแหน่งของโรคอยู่ที่ปอด อาจจะทำให้คนไข้มีอาการ ไอมีเสมหะ ปอดอักเสบ หายใจลำบาก และความชื้นมักมีผลกับกระเพาะอาหารและม้าม ที่เป็นอวัยวะที่ไม่ชอบความชื้น ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยอาหาร อาจจะทำให้ท้องอืด ไม่อยากอาหารได้ ซึ่งการรักษาของแพทย์แผนจีนก็คือการบำรุงเจิ้งชี่ ที่ทำหน้าที่คล้ายหน้าที่กับภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานดีขึ้น และขับเซียชี่ เช่น […]

ประจำเดือนมาเกิน 10 วันผิดปกติไหม

ผู้หญิงจะมีประจำเดือนเฉลี่ยคือ 6 วัน โดยพบว่า มีผู้หญิงประมาณ 5% ที่มีประจำเดือนมาน้อยกว่า 4 วัน หากมีประจำเดือนมามากกว่า 7 วัน จะเรียกว่า ประจำเดือนมามาก ผู้หญิง 9-14% จะมีประจำเดือนมามาก คือมามากกว่า 7 วัน หากถ้าประจำเดือนมานานเกิด 8 วัน จะถือว่ามามากผิดปกติ ซึ่งเกิดในผู้หญิงราว 4%

ประจําเดือนมาน้อยมีโอกาสท้องไหม

การที่ประจำเดือนขาดๆ หายๆ หรือมาไม่ปกติ เป็นสิ่งที่บ่งชี้ได้ว่าร่างกายของคุณอาจมีไข่ตกบ้างไม่ตกบ้าง หรืออาจไม่มีไข่ตกเลยก็ได้ ซึ่งการที่ไม่มีไข่ตกนี้เองเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ยิ่งคุณมีไข่ตกน้อยเท่าโหร่โอกาสการตั้งครรภ์ก็จะน้อยลงไปด้วย

ประจำเดือนมานานควรทำอย่างไร

ผู้ที่ประสบภาวะประจำเดือนมามาก ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจสำหรับวินิจฉัยสาเหตุอาการดังกล่าว รวมทั้งเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งทำได้ ดังนี้ การตรวจหาสาเหตุของประจำเดือนมามาก ผู้ที่มีประจำเดือนมามากจะได้รับการตรวจ เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของภาวะดังกล่าว โดยต้องเข้ารับการตรวจต่อไปนี้

ประจำเดือนมาเกิน10วันเกิดจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมามาก เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนทำงานผิดปกติ เกิดการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกมากเกินไปหรือหนาเกินไป กระบวนการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อกลายเป็นเลือดประจำเดือน...จึงมากตามไปด้วยนั่นเอง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก