การ ทํา ถ่านอัดแท่งจาก ผักตบชวา

ข้อมูลผลงานนวัตกรรม-

• รายละเอียดของผลงานนวัตกรรม

ประเภทสิ่งประดิษฐ์ : สิ่งประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ปี 2561

ผักตบชวา เป็นวัชพืชที่มีการเจริญเติมโตค่อนข้างเร็ว ทนทานต่อสภาพแวดล้อม เป็นวัชพืชที่มีทุ่นลอย อยู่ได้ทั้งในน้ำนิ่งและน้ำไหล มีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วทั้งทางเมล็ดและการแตกหน่อ ดังนี้จึงทำให้มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วมาก เป็นสาเหตุที่ผลักดัน ให้นักวิยาศาสตร์ หาวิธีทางต่าง ๆ เพื่อกำจัดผักตบชวา ที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย ก่อให้เกิดปัญหาแก่แหล่งน้ำในหลายท้องที่เช่น เจริญเติบโตในพื้นที่มีน้ำ ที่เพาะปลูก ก่อให้เกิดปัญหาแก่งแย่งธาตุอาหาร ความชื้น แสงแดด และยังเป็นอุปสรรคทางการชลประทาน มีผลทำให้ความเร็วของน้ำลดลงซากพืชที่เน่าตายจะทับถมกันทำให้แหล่งน้ำตื้นเขินขึ้น จากปัญหาดังกล่าวจึงทำให้คณะผู้วิจัยต้องการที่จะลดปริมาณของผักตบชวา ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำลำคลองและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยการนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งเพื่อลด การใช้พลังงานจากไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม และถ่านไม้ และยังนำผักตบชวามาใช้ให้เกิดประโยชน์และลดปัญหาด้านต่าง ๆ ได้ดีในแม่น้ำลำคลองได้อย่างดียิ่ง

อาจารย์ที่ปรึกษา
1. นาย อิฐพร บุญฤทธิ์
2. นาย นิวัติ เพ็ชรสังวาลย์

ผู้ประดิษฐ์
1. นาย นพพร สุคนธสังข์
2. นาย จิรายุ ภาคมาลัย

• ความร่วมมือที่แสวงหา :

ถ่ายทอดเทคโนโลยี, เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

• วันที่เผยแพร่ผลงาน :

15 กันยายน 2564

• ระดับความพร้อมของนวัตกรรม :

TRL-7 นำผลงานไป ทดลองใช้แล้ว

• ความต้องการในการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ :

Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น

• ราคาของผลงานนวัตกรรม :

ยังไม่ได้กำหนดราคา

สถานที่เยี่ยมชมผลงานนวัตกรรม+

ข้อมูลกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา+

รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+

เชื้อเพลิงอัดแท่งที่มีส่วนผสมของผักตบชวา

• ราคาของผลงานนวัตกรรม : ยังไม่ได้กำหนดราคา

• จุดเด่นของผลงานนวัตกรรม :

คุณลักษณะ
1. แท่งรูปทรงกระบอกเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก 50 มม. เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 20 มม. ยาว 100 มม.
2. ให้ค่าความร้อนเทียบเท่าถ่านอัดแท่ง
3. สะดวกในการใช้งาน ไม่เกิดการปะทุในขณะเผาไหม้ ประโยชน์
1. ใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนถ่านไม้ แก๊สหุงต้ม
2. ลดปริมาณของผักตบชวาที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ
3. นำผักตบชวามาใช้ให้เกิดประโยชน์

• ชื่อเจ้าของข้อมูล : สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา

• ประเภทผลงานนวัตกรรม :

ผลงานนวัตกรรม

• หมวดหมู่นวัตกรรม :

อื่นๆ

• ระดับนวัตกรรม :

TRL-7 นำผลงานไป ทดลองใช้แล้ว

• ความร่วมมือที่แสวงหา :

ถ่ายทอดเทคโนโลยี, เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

• ความต้องการจำหน่าย :

Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น

วันที่เผยแพร่: 15 กันยายน 2564

|

ผู้เยี่ยมชม: 322


น้องนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ รวมกลุ่มกันช่วยคิดวิธีการกำจัดและลดปริมาณของผักตบชวา จนได้แนวคิดที่นำมาอัดแท่งทำเป็นถ่านใช้ในการหุงต้ม ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมีการผลิตถ่านอัดแท่งอยู่แล้วเลยนำไปต่อยอด ทดลอง จนสำเร็จ และส่งโครงการผักตบชวา วัชพืชไร้ค่า พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เข้าร่วมประกวด “โครงการกรุงไทย ต้นกล้าสีขาว” ประจำปี 2555 ภายใต้ทีม Inspiration of weed ที่หมายถึงแรงบันดาลใจจากวัชพืช

ทั้งนี้ ผักตบชวาสดปริมาณ 1,000 กิโลกรัม สามารถอัดเป็นแท่งที่มีน้ำหนักประมาณ 775 กิโลกรัม โดยมีขั้นตอนในการทำที่ไม่ยาก ดังนี้

ขั้นตอนแรกนำผักตบชวาที่เก็บได้มาสับละเอียด หรือนำเข้าเครื่องย่อยปุ๋ยพืชสด เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและสะดวก หลังจากนั้นนำผักตบชวาที่ย่อยแล้วตากแห้งประมาณ 5 -10 วัน แต่ถ้าต้องการประหยัดเวลาสามารถใช้เครื่องอบโดยอบในอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส นาน 12 ชั่วโมง ก็จะได้ผักตบชวาที่แห้งสนิท จากนั้นก็นำผักตบชวาที่แห้งสนิทแล้วมาผสมน้ำกับแป้งมันสำปะหลังในสัดส่วน ผักตบชวา 10 กิโลกรัม น้ำ 1 ลิตร แป้งมันสำปะหลัง 1 กิโลกรัม แล้วคนให้เข้ากัน เสร็จแล้วก็นำผักตบชวาที่ผสมน้ำและแป้งมันสำปะหลังมาอัดในท่อ PVC ตามขนาดที่ต้องการ หรือถ้าหากใครมีเครื่องอัดก็สามารถนำเข้าเครื่องอัดแท่งได้ หากมีปริมาณมาก จะช่วยประหยัดเวลา

พอได้ผักตบชวาอัดแท่งแล้ว ให้นำไปตากให้แห้งประมาณ 1-2 วัน หลังจากนั้นนำมาเผาแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยใช้แกลบแก่เผาถ่านประมาณ 1 วัน เมื่อเผาเสร็จก็จะได้ถ่านผักตบชวา 500 กิโลกรัม นำไปบรรจุภัณฑ์ชะลอมละ 500 กรัม จะได้ถ่านผักตบชวาทั้งหมด 1,000 ชะลอม ขายชะลอมละ 10 บาท ก็จะได้เงิน 10,000 บาท เมื่อหักต้นทุนค่าใช้จ่ายประมาณ 5,000 บาท ก็จะมีกำไร 5,000 บาท


สำหรับ สมาชิกในทีมประกอบไปด้วย นายจักรพันธ์ เลี่ยวเจริญสิริชัย นางสาวณัฐพร วงศ์ประสิทธ์ นางสาวธิดารัตน์ วาทกิจ นายชัชชัย ภมรจันทร์ และ นางสาวชาริณี ยอดดี

“น้องบาส” นายจักรพันธ์ เลี่ยวเจริญสิริชัย ซึ่งเป็นหัวหน้าทีม บอกว่า ผักตบชวา 1 ต้นสามารถขยายได้ 300 ต้นภายในระยะเวลา 1 เดือน จัดเป็นวัชพืชที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำลาย แม้ที่ผ่านมาจะนำไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์เครื่องจักสาน แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาผักตบชวาให้หมดไปจากแม่น้ำลำคลองได้หมด พวกเราจึงต้องการช่วยลดปริมาณผักตบชวาที่มีจำนวนมากในแม่น้ำปิงที่ส่งผลให้น้ำเน่าเสีย พอน้ำขาดออกซิเจน ก็ส่งผลต่อการเลี้ยงปลาในประชังของหลายชุมชน นอกจากนั้น ยังไปขวางทางน้ำซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วม จึงได้ร่วมกันคิดค้นวิธีการกำจัดและแปรรูปผักตบชวาที่ไร้ค่าให้มีประโยชน์เพื่อช่วยลดปริมาณของผักตบชวาลง

ถือว่าเป็นแนวคิดและแรงบันดาลใจจากการที่มหาวิทยาลัยได้ทำถ่านอัดแท่งอยู่ก่อนแล้ว จึงดัดแปลงวัตถุดิบจากไม้มาเป็นผักตบชวา ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้เกินคาดเพราะถ่านจากผักตบชวาอัดแท่งสามารถใช้งานได้จริงและให้พลังงานความร้อนที่ยาวนานกว่าถ่านไม้ธรรมดาทั่วไปอีกด้วย
สำหรับใครที่สนใจอยากเรียนรู้วิธีการทำถ่านผักตบชวาอัดแท่ง สามารถเข้าไปศึกษาและขอข้อมูลได้ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ชุมชนบ้านวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน หรือเข้าไปชมตัวอย่างของถ่านผักตบชวาอัดแท่งได้ที่ //www.facebook.com/BatteryPhakTb หรือติดต่อน้องๆ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ที่ น้องบาส จักรพันธ์ โทร 083-1575109 หรือ โครงการกรุงไทยต้นกล้าสีขาว โทร 0-2208-8674-6

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก