โครงงาน บ้าน วิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง ถั่วงอก

  1. หน้าแรก
  2. สมาชิก
  3. ดร. จันทวรรณ ปิยะ...
  4. สมุด
  5. ทำบ้านให้เป็นวัด
  6. โครงงานวิทยาศาสตร...

โครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย: การเรียนรู้แบบ backward design สังเกตการเติบโตของถั่วงอก

ต้นเทอมที่ผ่านมาคุณครูให้ลูกทำโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยของ ป.2 ด้วยการทดลองปลูกถั่วงอกจากเมล็ดถั่วเขียวโดยเปรียบเทียบระหว่างรดน้ำกับไม่รดน้ำ

หากครูค้นหาเพิ่มเติมอีกหน่อยแล้วมาเจอคลิปนี้จะทำให้เด็กๆ เข้าใจและสนใจวิชาวิทยาศาสตร์ยิ่งขึ้นนะคะ เป็นลักษณะของ backward design คือไล่ย้อนรอยกลับไปให้เห็นว่าจากเมล็ดถั่ว ออกราก เกิดใบเลี้ยงคู่ แล้วมาเป็นต้นถั่วได้อย่างไร

หมายเลขบันทึก: 591744เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2015 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2016 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:

ความเห็น (4)

เยี่ยมมากๆ ค่ะ เด็กๆ ได้ทำการทดลอง ทำจริง นะคะ

น่าสนใจมากค่ะ

ไปที่ Ipoh มาเลเซีย อาหารยอดนิยมที่หาได้จาก Google คือ ถั่วงอก ก็เลยไปหาทานจนได้

และอร่อยจริง กรอบ อ้วน หวาน เพื่อนที่นั่นบอกว่าเป็นเพราะน้ำที่ Ipoh มีคุณภาพดีค่ะ

เป็นพืชที่ปลูกง่าย..เติบโตเร็ว..ได้ใจผู้เรียนรู้จริงๆค่ะ...

เดี๋ยวนี้หาสื่อการเรียนรู้ได้ไม่ยาก ออกแบบกิจกรรมดีๆ เด็กๆ ได้ทั้งเรียนรู้ทั้งสนุก

ครูก็สนุกด้วย สอนน้อยๆ เรียนรู้เยอะๆ ดีกว่าสอนเยอะเรียนรู้น้อย

  1. หน้าแรก
  2. สมาชิก
  3. ดร. จันทวรรณ ปิยะ...
  4. สมุด
  5. ทำบ้านให้เป็นวัด
  6. โครงงานวิทยาศาสตร...

โครงงาน

เรื่อง  คุณค่าของถั่วงอก

ระดับปฐมวัย

ชั้นปีที่ .....................

โรงเรียน ........................................

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา .......................... เขต ………….

 ในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย

ชื่อโครงงาน     คุณค่าของถั่วงอก

ผู้ทำโครงงาน

นักเรียนชั้นอนุบาล …………………..      จำนวน ……………..  คน

โรงเรียน………………………….   ปีการศึกษา ……………………..

ครูที่ปรึกษา  ………………

บทคัดย่อ

การปลูกถั่วงอก  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนชั้นอนุบาล   นักเรียนเกิดการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงได้รับการพัฒนา จากการทำโครงการปลูกถั่วงอก เป็นการเตรียมความพร้อมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เช่น ด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา  ปลูกฝังให้นักเรียนได้เรียนรู้  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ส่งเสริมทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม   ประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง โรงเรียน และชุมชน  เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กร่วมกัน

กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณ คุณครู  ผู้ปกครอง  ผู้รู้ทุกท่าน ที่ให้ข้อมูลความรู้แก่เด็กๆ และขอขอบคุณที่ให้ความกรุณาให้คำแนะนำ คำปรึกษา

  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

ถั่วงอกทุกคนคงรู้จักเพราะเป็นพืชที่เพาะง่าย สามารถทำเป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ดี บางคนยึดเป็นอาชีพหลักก็มี ปัจจุบันการเพาะถั่วงอกได้มีการพัฒนาวิธีการทำเพื่อให้ได้ถั่วงอกที่ดี มีคุณภาพ สะอาดปราศจากสารเจือปน มีความอวบ สวย มากยิ่งขึ้น แต่บางครั้งมีการใส่สารเพื่อให้ถั่วงอกสดอยู่ได้หลายวันมากยิ่งขึ้นเมื่อ เก็บเกี่ยวแล้ว ทำให้เกิดอันตรายสำหรับผู้ที่ซื้อถั่วงอกไปรับประทาน และยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายสามารถอยู่อย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย

ศูนย์ปฐมวัยโรงเรียน...............................เห็นความสำคัญของตัวเด็ก  จึงทำการปลูกถั่วงอก ขึ้นจากการแสดงความคิดเห็นของนักเรียน  ครูมีบทบาทในการจัดประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม  เพื่อช่วยให้เด็กสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยใช้ทฤษฎีการเรียนการสอน กล่าวว่า  นักเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติที่หลากหลาย  ได้สัมผัส ครูคอยจัดสิ่งแวดล้อม และเตรียมอุปกรณ์ไว้ ครูและนักเรียนมี

ปฏิสัมพันธ์กัน และครูกับผู้ปกครองมีสัมพันธ์ที่ดี

 วัตถุประสงค์
          1. เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนา จากการทำโครงการปลูกถั่วงอก เป็นการเตรียมความพร้อมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เช่น ด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา
          2. ปลูกฝังให้นักเรียนได้เรียนรู้  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ส่งเสริมทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
          3. เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
          4. เพื่อให้นักเรียนรับประทานผัก(ถั่วงอกที่ตนปลูก)

          5.ประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง โรงเรียน และชุมชน  เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กร่วมกัน

 วิธีดำเนินงาน

          1. ให้นักเรียนนำกระดาษทิชชู ถ้วยพลาสติกจากบ้าน
          2. ครูนำถั่วเขียวที่เตรียมไว้ใส่กะละมังแล้วให้เด็กสัมผัส พร้อมตั้งคำถามให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
        - เด็กๆ จับถั่วเขียวแล้วรู้สึกอย่างไร
        - ทำไมต้องแช่ถั่วเขียวในน้ำ
          3. นำน้ำอุ่นเทใส่กะละมังถั่วเขียวให้ท่วม แช่ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง
          4. เมื่อครบ 1 ชั่วโมงแล้วให้เด็กๆ ลองสัมผัสถั่วเขียวที่แช่น้ำ พร้อมตั้งคำถามให้เด็กตอบ ให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง

- เด็กจับถั่วเขียวแล้วรู้สึกอย่างไร
         - ถั่วเขียวที่แช่น้ำมีลักษณะอย่างไร
          5. ครูสาธิตการปลูกถั่วเขียว โดยนำกระดาษทิชชู่วางบนจาน หรือถ้วย  2 - 3 ชั้น แล้วพรมน้ำให้กระดาษทิชชู่เปียก แล้วนำถั่วเขียวที่แช่น้ำไว้โรยบนกระดาษทิชชู่ที่เปียกให้กระจายๆกัน จากนั้นนำกระดาษทิชชู ปิดทับ 3 – 4 ชั้นแล้วพรมน้ำกระดาษทิชชู่ ให้ชุ่ม เป็นอันเสร็จ
          6. เด็กทุกคนทดลองปลูกด้วยตนเองตามวิธีการที่ครูได้สาธิต  ครูคอยดูแลและให้คำแนะนำ แต่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
           7. เมื่อเด็กทุกคนปลูกถั่วเขียวครบแล้ว ให้นำไปวางเรียงบนหลังตู้ จากนั้นเด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกันโดยให้เด็กช่วยกันคิดวิธีการดูแลรักษา ถั่วเขียว
         - ทำอย่างไรถั่วเขียวจะเจริญเติบโต
         - ในห้องเรียนเรามีหนูเราจะป้องกันไม่ให้หนูมากัดกินถั่วเขียวได้อย่างไร
          8. ครูให้นักเรียนช่วยกันสังเกตการเจริญเติบโต ครูสังเกตความสนใจ และบันทึกคำพูดเด็ก
          9. เมื่อถั่วเขียวกลายเป็นถั่วงอกที่โตเต็มที่ ให้เด็กๆ เก็บถั่วงอกของตนเอง โดยลอกเปลือกสีเขียวออก เด็ดรากออก  ใส่ถังล้างน้ำให้สะอาด นำไปรับประทานเป็นอาหารได้

 สรุปผล

เด็กและครูร่วมกันสรุปการทดลองการปลูกถั่วงอก พบว่า ก่อนปลูก ถั่วเขียวมีลักษณะแข็ง ควรนำเม็ดถั่วเขียวแช่น้ำอุ่นเพื่อให้เม็ดถั่วเขียวอ่อนเปลือกนิ่ม ช่วยให้รากออกเร็ว การปลูกโดยใช้กระดาษทิชชู่เพราะกระดาษทิชชู่อมน้ำ ถั่วเขียวจะได้รับความชุ่มชื้นช่วยให้การเจริญเติบโตเป็นถั่วงอกเร็วขึ้น ถั่วงอกใช้การเจริญเติบโตประมาณ 7 วัน ในขณะที่ถั่วงอกกำลังเจริญเติบโต ไม่ควรรบกวนจับเม็ดถั่วเขียวเล่นหรือฉีกกระดาษทิชชู่ออก  ควรปล่อยให้เติบโตตามธรรมชาติ

 ประโยชน์ที่ได้รับ

          1 .พัฒนาการทางด้านร่างกาย เด็กได้เคลื่อนไหว ประกอบเพลง มากินผักเด็กเล่นเกม หยิบของเล่นใส่ตะกร้า
          2. พัฒนาการด้านจิตใจ  เด็กมีความใจเย็น รู้จักการรอคอยการเจริญเติบโตของถั่วงอก เอาใจใส่ต่องานที่ได้รับมอบหมาย และเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง
          3 .พัฒนาการด้านสังคม เด็กรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การปรับตัวอยู่ร่วมกันในสังคม และการช่วยกับเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย
          4 .พัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กรู้จักการสังเกต การสัมผัส การทดลองวางแผนการทำงานก่อนลงมือปฏิบัติจริง และการดูแลเอาใจใส่ในงานจนเกิดผลสำเร็จ

          5. เด็กเกิดความภาคภูมิใจในผลงานอย่างมาก สังเกตการเจริญเติบโตของถั่วงอกของตนเองทุกวัน และยังคอยสอบถาม สังเกตการเจริญเติบโตของถั่วงอกของเพื่อน รู้จักการเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างถั่วงอกของตนเองและของเพื่อน
          6. เด็กๆ อยากชิมถั่วงอกของตนเอง จากการสอบถามความรู้สึกของเด็กๆ ต่อถั่วงอกของตนเอง ทำให้ทราบว่าอยากจะลองรับประทานถั่วงอกของตนเองที่ปลูก และอยากชิมถั่วงอกของเพื่อนด้วย

ภาคผนวก


Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก