หน่วยการเรียน รู้ที่ 1 เวลาและยุค สมัยทางประวัติศาสตร์ เฉลย

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ  รายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส ๒๑๑๐๒  

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เวลา ๕ ชั่วโมง

๑. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

        สาระที่ ๔ ประวัติศาสตร์

         มาตรฐานการเรียนรู้ ส ๔. เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ

                        ตัวชี้วัด ส ๔.๑ ม.๑/๑ วิเคราะห์ความสำคัญของเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์

                       ตัวชี้วัด ส ๔.๑ ม.๑/๒ เทียบศักราชตามระบบต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ 

. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

      เวลา ช่วงเวลา ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ และการเทียบศักราชตามระบบต่างๆ มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ ทำให้เห็นความสัมพันธ์และความสำคัญของอดีตที่มีต่อปัจจุบันและอนาคต

 . สาระการเรียนรู้

         ด้านความรู้

          . เวลากับประวัติศาสตร์

               - ความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับประวัติศาสตร์

               - ความสำคัญของเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์

          . การแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สากล

          . การแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย

          . ที่มาของศักราช ได้แก่ จ.ศ. / ม.ศ. / ร.ศ. / พ.ศ. / ค.ศ. / ฮ.ศ.

          ๕. วิธีการเทียบศักราชในระบบต่างๆ

          ๖. ตัวอย่างการใช้ศักราชในระบบต่างๆ ที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย.

          ด้านทักษะ/กระบวนการ

               - กระบวนการคิดวิเคราะห์

               - กระบวนการสร้างองค์ความรู้

               - ทักษะการนำเสนองาน

               - กระบวนการปฏิบัติ และกระบวนการกลุ่ม

          ด้านเจตคติ

      - เห็นความสำคัญของเรื่องเวลา

               - เห็นความสำคัญและตระหนักในคุณค่าของประวัติศาสตร์

 . สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

         ความสามารถในการสื่อสาร

          ความสามารถในการคิด

          ความสามารถในการแก้ปัญหา

          ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

          ความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยี

 . คุณลักษณะอันพึงประสงค์

          - ซื่อสัตย์  สุจริต

          - ใฝ่เรียนรู้

          - มุ่งมั่นในการทำงาน

         - รักความเป็นไทย

 . ชิ้นงาน/ภาระงาน

          - เขียนผังมโนทัศน์ในหัวข้อ “ความสำคัญของเวลากับการศึกษาประวัติศาสตร์”

         - แผ่นป้ายบัตรคำศักราชและ ตารางหลักการเทียบศักราช

 . การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ส ๔.๑ ม.๑/๑

ประเมินการเขียนผังมโนทัศน์

แบบประเมินการเขียนผังมโนทัศน์ในหัวข้อ ความสำคัญของเวลาและการแบ่งยุคสมัยในการศึกษาประวัติศาสตร์

ผ่านการประเมินระดับคุณภาพ

 ๓ ขึ้นไป

ประเมินชิ้นงาน

แบบประเมินผลงานการทำแผ่นป้ายศักราชและตารางการเทียบศักราช

ผ่านการประเมินระดับคุณภาพ

๒ ขึ้นไป

ประเมินการทำใบงาน

แบบประเมินการทำใบงานเรื่อง

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากล

ผ่านการประเมินระดับคุณภาพ

๒ ขึ้นไป

ส. ๔.๑ ม.๑/๒

ประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์

แบบทดสอบเกมส์การแข่งขัน

ได้คะแนนในการนำองค์ความรู้ไปใช้ในการตอบคำถามได้คะแนนร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล

แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล

ได้ระดับคุณภาพ ๒ ขึ้นไป

สังเกตทักษะกระบวนการกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

ได้คะแนนระดับคุณภาพ ๒ ขึ้นไป

ประเมินทักษะการนำเสนองาน

แบบประเมินการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน

ได้คะแนนระดับคุณภาพ ๒ ขึ้นไป

 . กิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ ๑ (การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม)

จุดประสงค์การเรียนรู้

         ๑. วิเคราะห์ความสำคัญของเวลาและความสัมพันธ์ของช่วงเวลาจากอดีต ปัจจุบันและอนาคตได้

         ๒. เห็นความสำคัญของเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์

 สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

         การศึกษาประวัติศาสตร์สิ่งสำคัญจะต้องกำหนดเวลา มีการนับย้อนอดีตว่ามีวิวัฒนาการมานานเท่าใด ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวของประวัติศาสตร์จึงมักควบคู่ไปกับการนับเวลาเสมอ

 กิจกรรมการเรียนรู้

         ๑. ครูให้นักเรียนดูภาพนาฬิกาแล้วซักถามนักเรียนว่า นาฬิกามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องใด และมีความสำคัญอย่างไรกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ (แนวคำตอบเกี่ยวข้องกับเรื่องของเวลา ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการทำกิจกรรมต่างๆ)

         ๒. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้

         ๓. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ ๕-๖ คน คละกันตามความสามารถ เพื่อดำเนินกิจกรรมตามใบงานที่ ๑ ใช้เวลา ๒๐ นาที ดังนี้

           ๓.๑ ครูแจกใบงานที่ ๑ โดยมีคำชี้แจงการทำงานด้วยกระบวนการกลุ่ม และแจกใบความรู้ที่ ๑ ประกอบด้วยภาพเหตุการณ์และบัตรข้อความเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ให้กับนักเรียนทุกกลุ่มประกอบด้วย

                ภาพเหตุการณ์ การเลิกทาส

                ภาพเหตุการณ์ การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย

                ภาพเหตุการณ์ ๑๔  ตุลาคม  ๒๕๑๖

                ภาพเหตุการณ์ สงครามโลกครั้งที่ ๒

                ภาพเหตุการณ์ วินาศกรรม ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔

               ๓.๒ สมาชิกในกลุ่มช่วยกันจับคู่ภาพและบัตรข้อความเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ให้ตรงกัน

โดยกำหนดให้นักเรียนทุกกลุ่มเลือกภาพกลุ่มละ ๑ ภาพ เลือกบัตรข้อความเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ กลุ่มละ ๑ บัตร โดยให้นักเรียนในกลุ่มอภิปรายเกี่ยวกับภาพและบัตรข้อความ ที่สมาชิกในกลุ่มเลือกและให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันตอบคำถาม พร้อมทั้งเตรียมนำเสนอทีละกลุ่มดังประเด็นคำถามต่อไปนี้

               ๓.๒.๑  ภาพที่กลุ่มเลือกตอบ คือภาพเหตุการณ์ใด

               ๓.๒.๒ เป็นภาพที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด

               ๓.๒.๓ เหตุการณ์ภาพในอดีตที่เกิดขึ้นนั้นมีความสำคัญและมีความสัมพันธ์กับปัจจุบันและอนาคตอย่างไร

               ๓.๓. ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน ครูและนักเรียนร่วมกันเสนอแนะและเพิ่มเติมเนื้อหาให้สมบูรณ์ (ใช้เวลา ๑๐ นาที )

         ๔. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงความสำคัญของเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์

         ๕. ครูมอบหมายการบ้านให้นักเรียนทุกคน เขียนผังมโนทัศน์ในหัวข้อ “ความสำคัญของเวลากับการศึกษาประวัติศาสตร์ เพื่อนำมาศึกษากันในชั่วโมงที่ ๒

 สื่อและแหล่งเรียนรู้

         ๑. ภาพนาฬิกา

         ๒. ภาพเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

         ๓. บัตรข้อความเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์    

การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ประเมินการเขียนผังมโนทัศน์

แบบประเมินการเขียนผังมโนทัศน์ในหัวข้อ “ความสำคัญของเวลากับการศึกษาประวัติศาสตร์”

ได้คะแนนการประเมินระดับคุณภาพ ๓ ขึ้นไป

ประเมินกระบวนการกลุ่ม

แบบประเมินการปฏิบัติงานและ

การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน

ร่วมปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มและนำเสนองานหน้าชั้นเรียนได้คะแนนระดับคุณภาพ ๓ ขึ้นไป

ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป 

ประเมินสมรรถนะสำคัญผู้เรียน

แบบประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป

ชั่วโมงที่ ๒ (วิธีการสอนแบบโมเดลซิปปา )

 จุดประสงค์การเรียนรู้

         อธิบายการแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์สากลได้

 สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ทำให้มนุษย์เข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สัมพันธ์กับ

อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตระหนักถึงความสำคัญในความต่อเนื่องของเวลา 

 กิจกรรมการเรียนรู้

. ครูฉายภาพ (หรือนำภาพ) การดำรงชีวิตและเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ยุคหินและมนุษย์ยุค

ปัจจุบันให้นักเรียนดู แล้วถามนักเรียนว่านักเรียนเคยเห็นภาพนี้หรือไม่ เป็นภาพเกี่ยวกับอะไร และเป็นมนุษย์ยุคใดภาพทั้งสองภาพมีความเหมือนกัน และแตกต่างกันอย่างไร

         ๒. นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น (ครูอธิบายให้นักเรียนทราบว่าภาพทั้งสองภาพมีความเหมือนกัน คือ เป็นภาพการดำรงชีวิตและภาพเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์เหมือนกัน แต่ส่วนที่แตกต่างกัน คือช่วงของเวลาและพัฒนาการของเครื่องมือเครื่องใช้และวิถีการดำรงชีวิต ใช้เวลา ๑๐ นาที)

         ๓. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้

         ๔. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ ละ ๕-๖ คนตามความเหมาะสมของจำนวนนักเรียน คละกันตามความสามารถ และแจกใบงานที่ ๒ โดยใช้เวลา ๒๐ นาที โดยมีกิจกรรมดังนี้

               ๔.๑ ให้นักเรียนทุกคนศึกษาใบความรู้ที่ ๒.๑ เรื่อง การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากล พร้อมทั้งให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มร่วมกันอภิปราย แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ ถึงยุคสมัยต่างๆ และเขียนคำตอบลงในใบงานของแต่ละคน

                ๔.๒ นักเรียนแต่ละกลุ่มมอบหมายให้ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการอภิปราย การคิดวิเคราะห์ตามที่ได้สรุปลงในใบงานที่ ๒ จนครบทุกกลุ่ม (โดยใช้เวลา ๑๐ นาที)

         ๕. นักเรียนและครูร่วมกัน ถึงสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาใบความรู้และจากผลการสรุปของแต่ละกลุ่มสมัยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์สากล นักเรียนทุกกลุ่มนำผลงานของตนเองไปติดที่หน้าห้องเพื่อให้เพื่อนๆได้ศึกษาอีกครั้ง และนำไปสู่การเรียนรู้ในชั่วโมงที่ ๓ (ใช้เวลา ๑๐ นาที)

สื่อและแหล่งเรียนรู้

         ๑. รูปภาพมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์และมนุษย์ยุคปัจจุบัน

๒. รูปภาพเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และมนุษย์ยุคปัจจุบัน

๓. ผังการแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สากล

๔. ใบความรู้ที่ ๒ เรื่อง เกณฑ์การยุคสมัยช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สากล

๕. ใบงานที่ ๒ เรื่อง การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากล

 การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ทดสอบ

คำถามตามใบงานที่ ๒

เรื่องการแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากล

ได้คะแนนการประเมิน ระดับคุณภาพ ๓  ขึ้นไป 

สังเกตการทำงานกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรม

กระบวนการทำงานกลุ่ม

ได้คะแนนระดับคุณภาพ ๓ ขึ้นไป

ประเมินคุณลักษณะ

อันพึงประสงค์

แบบประเมินคุณลักษณะ

อันพึงประสงค์

ได้คะแนนจากการประเมินระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป 

ประเมินสมรรถนะ

สำคัญผู้เรียน

แบบประเมินสมรรถนะสำคัญผู้เรียน

ได้คะแนนจากการประเมินระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป

 ชั่วโมงที่ ๓ (วิธีการสอน กระบวนการกลุ่ม)

จุดประสงค์การเรียนรู้

         ๑. อธิบายการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ไทยได้

. วิเคราะห์ความสำคัญของการแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทยได้

 สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

เกณฑ์การแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์ไทยใช้เกณฑ์การแบ่งทั้งสอดคล้องกับหลักสากลและแบบไทย

 กิจกรรมการเรียนรู้

         ๑. ครูทบทวนเนื้อหาการแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สากล โดยตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ว่า การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากลมีประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ มีประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย เพราะช่วยให้ทราบช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์

ในประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์สากลที่ตรงกัน)

. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ให้นักเรียนทราบ

. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังเกี่ยวกับการแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทยว่ามีการแบ่งทั้งสอดคล้องและแตกต่างจากช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สากล โดยมีการแบ่งเป็น ๒ ยุค กว้างๆ เหมือนกัน คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ ในส่วนของยุคก่อนประวัติศาสตร์ใช้เกณฑ์เดียวกันกับแบบสากล แต่ที่แตกต่างจากแบบสากลคือ การแบ่งช่วงเวลาสมัยประวัติศาสตร์ของไทยจะมีการแบ่งเป็นหลายแบบ

(นำเข้าสู่บทเรียนใช้เวลา  ๑๐ นาที)

. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ ละ ๕-๖ คน โดยใช้กลุ่มเดิมจากชั่วโมงที่ ๒ และแจกใบงานที่ ๓ และใบความรู้ที่ ๓  โดยใช้เวลา ๓๐ นาที โดยมีกิจกรรมดังนี้

            ๔.๑ ครูแจกใบความรู้ที่ ๓ เรื่อง การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย โดยให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มร่วมกันศึกษาและอภิปราย พร้อมทั้งร่วมกันสรุปองค์ความรู้เรื่องการแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทยให้ออกมาในรูปของผังมโนทัศน์ โดยเขียนลงในใบงานที่ ๓  พร้อมทั้งส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอผังมโนทัศน์ตามที่สรุปในใบงานที่ ๓ พร้อมทั้งติดไว้ที่กระดานหน้าห้อง

             ๔.๒ ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาให้สมบูรณ์ ตามผังมโนทัศน์ที่ทุกกลุ่มนำเสนอ

. นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบ เรื่อง การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย (โดยใช้เวลา ๑๐ นาที)

๖. ครูนัดหมายการเตรียมเนื้อหาสำหรับการเรียนในชั่วโมงที่ ๔

 สื่อและแหล่งเรียนรู้

๑.ใบความรู้ที่ ๓ เรื่องการแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย

๒. แบบทดสอบเรื่องการแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย

 ๕. วัดและประเมินผล    

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ทดสอบ

แบบทดสอบ เรื่อง การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย

คะแนนร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

สังเกตทักษะการทำงานกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

ระดับคุณภาพ ๓ ขึ้นไป  

ชิ้นงานผังมโนทัศน์

แบบประเมินผังมโนทัศน์

ระดับคุณภาพ ๒ ขึ้นไป 

สังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์

แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป  ผ่านเกณฑ์

สังเกตสมรรถนะสำคัญผู้เรียน

แบบประเมินสมรรถนะสำคัญผู้เรียน

ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์

                                      ชั่วโมง ๔ (เทคนิคการสอนแบบจิกซอร์ )                                 

จุดประสงค์การเรียนรู้

. บอกที่มาของศักราชในระบบต่างๆได้

. อธิบายวิธีการเทียบศักราชในระบบต่างๆได้อย่างถูกต้อง

 สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

         การทราบที่มาของศักราชมีความสำคัญในการเทียบศักราช เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมการเรียนรู้ 

. ครูกระตุ้นนักเรียนด้วยการสนทนาซักถามดังนี้

               - นักเรียนคิดว่าปฏิทินมีความสำคัญอย่างไรกับมนุษย์

               - นักเรียนคิดว่าประเทศไทยรับวิธีการนับศักราชมาจากที่ใด

(แนวคำตอบ ปฏิทินมีความสำคัญต่อมนุษย์ในการดำเนินชีวิตประจำวันและมีประโยชน์มากมาย เราทุกคนจำเป็นต้องดูปฏิทินเพื่อให้รู้ว่าวันนั้นเป็นวันอะไร มีความสำคัญอย่างไรบ้าง เพื่อให้รู้เวลาในแต่ละวันในหนึ่งปีในการกำหนดกิจกรรมต่างๆ ของตนเอง ประเทศไทยรับเอาวิธีการนับศักราชมาทั้งจากสากลและที่คนไทยคิดขึ้นมาเอง)

. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ นำเข้าสู่บทเรียนใช้เวลา ๑๐ นาที

. นักเรียนแบ่งกลุ่มๆ ละ ๔ – ๕ คน คละกันตามความสามารถ พร้อมทั้งแจกใบงานที่ ๔ โดยใช้เวลาในทำกิจกรรมทั้งหมด ๓๐ นาที ดังนี้

               ๓.๑ ใบงานที่ ๔ มีคำชี้แจงว่า ให้สมาชิกในกลุ่มเลือกประธานกลุ่ม รองประธาน และเลขานุการเลือกหมายเลขประจำตัวสมาชิก เรียกว่ากลุ่มบ้าน

               ๓.๒ ให้สมาชิกในกลุ่มทุกคน แยกย้ายกันไปเข้ากลุ่มใหม่ที่มีหมายเลขตรงกับหมายเลขตนเอง เรียกว่ากลุ่มเชี่ยวชาญ

               ๓.๓ ให้สมาชิกกลุ่มเชี่ยวชาญทุกคนตั้งใจศึกษาหัวข้อย่อยในใบความรู้ที่ ๔ ตามหัวข้อย่อยที่ตนเองได้รับผิดชอบ โดยใช้เวลา ๑๐ นาที ดังนี้

                            หมายเลข ๑ คริสต์ศักราชและฮิจเราะห์ศักราช

                            หมายเลข ๒ มหาศักราชและจุลศักราช

                            หมายเลข ๓ พุทธศักราช

                            หมายเลข ๔ รัตนโกสินทร์ศก

               ๓.๔ สมาชิกกลุ่มเชี่ยวชาญศึกษาใบความรู้ตามหัวข้อย่อยที่ตนเองได้รับ จนเกิดความเข้าใจพร้อมที่จะกลับไปอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มบ้านฟัง ก็เชิญสมาชิกทุกคนกลับเข้ากลุ่มบ้านของตนเอง นำเสนอข้อมูลให้เพื่อนๆสมาชิกทุกคนฟังพร้อมกัน  โดยใช้เวลาอธิบาย ๑๐ นาที

               ๓.๕. ให้สมาชิกในกลุ่มร่วมกันสรุปองค์ความรู้เรื่องที่มาของศักราชและวิธีการเทียบศักราชในระบบต่างๆ พร้อมทั้งตอบคำถามลงในใบงานที่ ๔ ของทุกคน ใช้เวลา ๑๐ นาที

               ๓.๖ ครูเฉลยคำตอบในใบงาน แล้วนำคะแนนที่ได้ของสมาชิกทุกคนมาหาค่าเฉลี่ยเป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มใดมีคะแนนสูงสุด ครูและนักเรียนร่วมกันชมเชย

         ๔. ครูมอบหมายงานให้นักเรียนทุกกลุ่มไปทำป้ายข้อความศักราช และตารางการเทียบศักราช ไปติดตามบริเวณโรงเรียน โดยใช้เวลาหลังเลิกเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้

๑. บัตรคำ คำย่อศักราช จ.ศ. ม.ศ. ร.ศ. พ.ศ. ค.ศ. ฮ.ศ.

๒. ใบความรู้ที่ ๔ เรื่องที่มาของศักราช

๓. ใบงานที่ ๔ และแบบทดสอบเรื่องที่มาของศักราชและวิธีการเทียบศักราช

   วัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ทดสอบ

แบบทดสอบเรื่องที่มาของศักราช ตามใบงานที่ ๔

ได้คะแนนจากการทำแบบทดสอบ ๖ ข้อขึ้นไป

ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

แบบประเมินคุณลักษณะ

อันพึงประสงค์

ได้คะแนนจากการประเมิน ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป 

ประเมินสมรรถนะสำคัญผู้เรียน

แบบประเมินสมรรถนะ

สำคัญผู้เรียน

ได้คะแนนจากการประเมิน ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป

ชั่วโมง ๕ (ใช้วิธีการสอนแบบ ที.จี.ที )

จุดประสงค์การเรียนรู้

         สามารถเทียบศักราชในตัวอย่างการใช้ศักราชในระบบต่างๆ ที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย.

สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

การนำวิธีการเทียบศักราชมาใช้ในการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ส่งผลให้เกิดความเข้าใจในเหตุการณ์และความเชื่อมโยงของอดีต ปัจจุบันและอนาคต

กิจกรรมการเรียนรู้

๑. ครูทบทวนความรู้เรื่องการเทียบศักราชด้วยการถามนักเรียนว่าวิกฤติการณ์ ร.ศ. ๑๑๒

เป็นวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ.ใด  นักเรียนใช้ตัวเลขใดในการเทียบศักราช (แนวคำตอบ เป็นเหตุการณที่เกิดขี้นใน พ.ศ. ๒๔๓๖. สมัยรัชกาลที่ ๕ใช้วิธีการเทียบโดย นำ ตัวเลข ๒๓๒๔ + ๑๑๒ = ๒๔๓๖ )

. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ (นำเข้าสู่บทเรียนและทบทวนความรู้เดิมใช้เวลา ๑๐ นาที )

. ครูจัดนักเรียนเข้ากลุ่มเดิมในชั่วโมงที่แล้ว เรียกว่ากลุ่มบ้านของเรา

. ครูทำหน้าที่เป็นผู้จัดการห้องเรียน โดยให้สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา แยกย้ายกันเป็นตัวแทนกลุ่มไปแข่งขันกับกลุ่มอื่น กลุ่มใหม่ที่รวมกันเรียกว่ากลุ่มแข่งขัน โดยมีขั้นตอนและกติกา ดังนี้

               ๔.๑ ครูแจกใบงานที่  ๕  ให้สมาชิกในกลุ่มแข่งขัน แข่งกันตอบคำถาม ๑๐ คำถาม (เป็นคำถามเหมือนกัน) โดยกำหนดให้สมาชิกคนที่ ๑ เป็นคนอ่านคำถาม จับคำถามขึ้นมา และอ่านคำถามให้กลุ่มฟัง ให้สมาชิกที่เหลือ จำนวน ๓๔ คน เขียนคำตอบลงในใบงานที่ ๕  (ใช้เวลาทำกิจกรรม ๒๐ นาที)

               ๔.๒ เมื่อผู้อ่าน อ่านคำถามครบทั้ง ๑๐ คำถามแล้ว ให้ผู้อ่านคำถามเปิดคำตอบแล้วอ่านเฉลยคำตอบที่ถูกให้กลุ่มฟัง โดยให้สมาชิกตรวจคำตอบในใบงาน พร้อมยกมือตอบโดยมีเกณฑ์ให้คะแนนคำตอบ ดังนี้

                   ผู้ยกมือตอบถูกเป็นคนแรกได้ ๒   คะแนน

                   ผู้ยกมือตอบถูกคนต่อไปได้    ๑   คะแนน

                   ผู้ยกมือแต่คำตอบผิดได้       ๐    คะแนน

               ๔.๓ ให้ผู้อ่านปฏิบัติตามขั้นตอนไปเรื่อยๆ จนครบทั้ง ๑๐ ข้อ ใช้เวลา ๑๐ นาที แล้วให้ทุกคนรวมคะแนนของตนเองจัดลำดับคะแนนที่ได้

                   ผู้ได้คะแนนรวมอันดับ ๑  ได้โบนัส          ๑๐  คะแนน

                   ผู้ได้คะแนนรวมอันดับ ๒  ได้โบนัส          ๘    คะแนน

                   ผู้ได้คะแนนรวมอันดับ ๓  ได้โบนัส          ๕    คะแนน

                   ผู้ได้คะแนนรวมน้อยที่สุด  ได้โบนัส          ๔    คะแนน

. เมื่อการแข่งขันเสร็จแล้วได้คะแนนเรียบร้อย ได้รับโบนัสจากกลุ่ม สมาชิกกลับไปกลุ่มบ้านของเรา รวมแต้มโบนัสของทุกคน ทีมใดที่มีแต้มโบนัสสูงสุดจะได้รับรางวัลและติดประกาศ

. ครูและนักเรียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการแข่งขันตอบคำถามในเกมส์การแข่งขัน เพื่อสร้างความคิดรวบยอดร่วมกันเรื่อง การนำวิธีการเทียบศักราชมาใช้ในการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ไทย ส่งผลให้เกิดความเข้าใจในเหตุการณ์และความเชื่อมโยงของอดีต ปัจจุบันและอนาคต

สื่อและแหล่งเรียนรู้

๑. ใบงานที่ ๕ เรื่อง เกมส์การแข่งขันการเทียบศักราชในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย

๒. แบบคำถามเพื่อใช้ในการแข่งขัน เรื่อง การเทียบศักราชในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย

การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ทดสอบ

แบบทดสอบเกมส์การแข่งขัน

ได้คะแนนรวมของกลุ่มร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

กระบวนการกลุ่ม

แบบประเมินกระบวนการกลุ่ม

ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป 

ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

แบบประเมินคุณลักษณะ

อันพึงประสงค์

ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป 

ประเมินสมรรถนะสำคัญผู้เรียน

แบบประเมินสมรรถนะสำคัญผู้เรียน

ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก