คํานวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564

Advertisement

workpointTODAY สรุปอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปีภาษี 2565 ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท ได้แก่ ที่อยู่อาศัย ที่ดินเกษตรกรรม ที่ดินใช้ประโยชน์อื่นๆ และที่ดินว่างเปล่า มาให้อ่านกันแบบง่ายๆ ในบทความเดียว

โดยอันดับแรก เราไปดูวิธีการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกันก่อน

  1. มูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ราคาประเมิน) – ฐานภาษีที่ได้รับยกเว้น = ฐานภาษีของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
  2. ฐานภาษีของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องเสีย

ทั้งนี้ workpointTODAY ได้คำนวณเป็นตัวเลขกลมๆ มาให้ผู้อ่านแล้วด้านล่าง

ประเภทที่ 1 ที่อยู่อาศัย

1.1 ที่อยู่อาศัย หลังที่หนึ่ง : เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับอยู่อาศัย และต้องมีชื่อในทะเบียนบ้าน ในวันที่ 1 ม.ค. ของปีภาษีนั้น จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้

1.2 ที่อยู่อาศัย หลังที่หนึ่ง : เป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว และต้องมีชื่อในทะเบียนบ้าน ในวันที่ 1 ม.ค. ของปีภาษีนั้น จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้

1.3 ที่อยู่อาศัย หลังที่สองขึ้นไป : เป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับอยู่อาศัย

กรณี บ้านเช่า – ห้องเช่า หากปล่อยเช่าเป็นรายเดือนหรือรายปี ถือว่าเป็นการใช้เพื่ออยู่อาศัย เริ่มคำนวณภาษีที่อัตรา 0.02% เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้เช่ามากเกินไป แต่หากเป็นการเช่าแบบรายวัน ถือว่าเป็นการใช้ในเชิงพาณิชย์ จะเริ่มคำนวณภาษีที่อัตรา 0.30% (อ้างอิง ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย) โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายคือ เจ้าของบ้านเช่า – ห้องเช่านั้น ส่วนคนที่มาเช่าอยู่ไม่ได้มีหน้าที่เสียภาษีแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติเจ้าของบ้านเช่า – ห้องเช่า อาจผลักภาระให้ผู้เช่า เช่น เพิ่มค่าเช่า เป็นต้น

ประเภทที่ 2 ที่ดินเกษตรกรรม

2.1 ที่ดินเกษตรกรรม ของบุคคลธรรมดา : ต้องขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกร จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้

แต่ในปี 2565 เจ้าของที่ดินประเภทดังกล่าว ยังไม่ต้องเสียภาษี เพราะ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ยกเว้นภาษี 3 ปีแรก ให้บุคคลธรรมดาที่ใช้ประโยชน์ที่ดินทำเกษตรกรรม ดังนั้น บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้ทำเกษตรกรรมจะเริ่มเสียภาษีจริงๆ ในปี 2566

2.2 ที่ดินเกษตรกรรม ไม่ใช่ของบุคคลธรรมดา : เช่น บริษัท ต้องขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทที่ทำเกษตรกรรม จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้

ประเภทที่ 3 ที่ดินใช้ประโยชน์อื่นๆ

เช่น ใช้เชิงพาณิชย์ จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้

ประเภทที่ 4 ที่ดินว่างเปล่า

ที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้ และหากเจ้าของไม่ได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินว่างเปล่านั้นติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี จะถูกเรียกเก็บภาษีในปีที่ 4 เพิ่มขึ้นจากอัตราเดิม 0.30% และเพิ่มขึ้นอีก 0.30% ทุกๆ 3 ปี หากยังไม่มีการใช้ประโยชน์ โดยอัตราภาษีสูงสุดไม่เกิน 3%

อ้างอิง

  • พระราชบัญญัติ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562
  • พระราชกฤษฎีกา กำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2564

podcast

กำลังโหลดบทความถัดไป...

เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ว่าจะเป็นมรดกที่ดินต่างจังหวัด หรือ บ้านพร้อมที่ดิน จะต้องเตรียมตัวเสียภาษี ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 13 มีนาคม 2562 และจะเริ่มจัดเก็บภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 โดยเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะเสียภาษีต่างกันขึ้นอยู่กับประเภท บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล และประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินอีกด้วย แถมยังมีรายละเอียดยิบย่อย เช่น มีสิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดาในช่วง 2 ปีแรก มีการยกเว้นการจัดเก็บภาษีในช่วง 3 ปีแรกสำหรับ ที่ดินเพื่อการเกษตรที่เป็นบุคคลธรรมดา และอื่นๆ
รายละเอียดเหล่านี้อาจจะฟังดูยุ่งยากสำหรับเจ้าของที่ดิน หรือ ผู้ที่สนใจทั้งหลาย Tooktee จึงได้พัฒนาโปรแกรมคำนวณ คำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ใครต้องเสียภาษีเท่าไหร่บ้าง? มาให้คุณแล้ว!! มาลองคำนวณกันเลย

อ่านเพิ่ม พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สรุปแล้วเสียภาษียังไง ถ้าไม่จ่ายจะเกิดอะไรขึ้น >>

1.กรอกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินของคุณ

รูปแบบทรัพย์ของคุณ

คุณมีทะเบียนบ้านอยู่ในทรัพย์นี้ไหม*

ราคาประเมินทรัพย์สินของคุณ

* บ้านหลังหลัก (บ้านที่เจ้าของมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน) ได้สิทธิการลดหย่อน

มูลค่า(ล้านบาท)อัตราภาษีต่อปีภาษี(บาท)
มูลค่า(ล้านบาท)อัตราภาษีต่อปีภาษี(บาท)

** สิ่งปลูกสร้างและที่ดินที่เป็นของบุคคลธรรมดา จะได้รับการลดหย่อนฐานภาษีในช่วง 2 ปีแรก (ปี 2563-2564)

** ที่ดินเพื่อการเกษตรที่เป็นของบุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีในช่วง 3 ปีแรก (ปี 2563-2565)

แต่ รัฐบาลได้มีมาตรการลดหย่อนภาษีในช่วง 3 ปีแรก ต้องการคำนวนภาษีหลังการลดหย่อนหรือไม่

มาตรการบรรเทาภาระภาษี

ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มาตรา 97 รัฐได้มีมาตรการบรรเทาภาระภาษี ในช่วง 3 ปีแรก (ปี 2563-2565) คำนวนจากการนำยอดภาษีที่ต้องชำระในปีนี้ ไปหักลบกับภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือภาษีบำรุงท้องที่ที่ได้จ่ายไปในปีก่อนหน้า แล้วนำส่วนต่างที่ได้มาลดจนเหลือเพียง 25%, 50% และ 75% ของภาษีที่จ่ายเพิ่ม ในปีที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ

จำนวนภาษีที่ชำระไปในปีก่อนหน้า

สรุปภาษีที่คุณจำเป็นต้องจ่ายภายในปีนี้เป็นจำนวน

***ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2562 นายเอ เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือภาษีบำรุงท้องที่จำนวน 100 บาท โดยเมื่อมีมาตรการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในปี 2563 นายเอ คำนวณภาษีได้จำนวน 120 บาท เพิ่มจากที่ต้องจ่ายเดิมในปีก่อนหน้าจำนวน 20 บาท ทั้งนี้มาตรการบรรเทาภาระภาษีกำหนดให้ในปีแรกคำนวณภาษีเพียง 25% ของส่วนที่เกิน

ดังนั้นในปี 2563 นายเอ จะจ่ายภาษีคิดเป็น 100 บาท (ภาษีที่จ่ายปี 2562) + 5 บาท (ส่วนเกิน 20 x 25%) = 105 บาท ซึ่งจำนวน 105 บาท คือเงินที่จะต้องจ่ายในปี 2563


Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก