โครง งาน โคม ไฟ จาก ไหม พรม 5 บท

โครงงานอาชีพ

เรื่อง     การทำโคมไฟจากเส้นด้าย

อาจารย์ที่ปรึกษา

อาจารย์ อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ CAI ช่วยสอน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5/4

ภาคเรียนที่2ปีการศึกษา2556

โครงงานอาชีพ

เรื่อง การทำโคมไฟจากเส้นด้าย

คณะผู้จัดทำ

                       นาย อนุวัฒน์   เชื้อจำพร           เลขที่ 5

                       นางสาว วัชราภรณ์  จันเขียว   เลขที่31

                       นางสาว ปานจรี  เหล่ามา         เลขที่35

                       นางสาว  วิชุดาพร  สมตัว         เลขที่ 38

อาจารย์ที่ปรึกษา

อาจารย์ อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ CAI ช่วยสอน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5/4

ภาคเรียนที่2ปีการศึกษา2556

บทคัดย่อ

                 ในปัจจุบันการทำโคมไฟเส้นด้ายเริ่มหมดไปพร้อมกับวัฒนธรรมที่เสื่อมถอยเนื่องจากคนในปัจจุบันได้นำเอาวันธรรมตะวันตกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเพื่อเป็นการอนุรักษ์การทำโคมไฟเส้นด้ายพวกเราจึงจัดทำโครงงานเล่มนี้ขึ้นเพื่อศึกษาค้นคว้าวิธีทำโคมไฟเดส้นด้ายซึ่งเป็นโคมไฟชนิดหนึ่งและได้รวบรวมไว้ในโครงงานเล่มนี้ เพื่อให้บุคคลที่สนใจได้ศึกษาและเป็นแนวทางต่อไป

กิตติกรรมประกาศ

               โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประวัติและวิธีการทำโคมไฟที่ถูกวิธีและสวยงาม  โคมไฟเส้นด้ายสามารถเป็นของตกแต่งได้ดีทีเดียว ซึ่งโคมไฟเส้นด้ายก็เป็นโคมไฟชนิดหนึ่งถือเป็นการช่วยในการตกแต่งบ้านเรือนไปในตัว

              และการจัดทำโครงงานครั้งนี้สำเร็จรุร่วงไปได้ดัวยดีเนื่องจากได้คำปรึกษาจาก อาจารย์ อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด กลุ่มของพวกเราจึงขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้

สารบัญ

เรื่อง                                                                                  หน้า

บทที่1 บทนำ                                                                          1

- ที่มาและความสำคัญ                                  

-จุดมุ่งหมายของโครงงาน

-สมมติฐาน

-ขอบเขตการศึกษา

บทที่2เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                            2

-เอกสารที่เกี่ยวข้อง

-ประโยชน์ของโคมไฟ

-วิธีการทำโคมไฟเส้นด้าย

บทที่3 วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนวิธีดำเนินงาน                                      6

-วัสดุอุปกรณ์

-ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน

บทที่4 ผลการเรียนรู้                                                                    7

-ผลการเรียนรู้

บทที่5 สรุปผลและอภิปรายผลงาน                                                                       15

-สรุป

-อภิปราย

-ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน

-ข้อเสนอแนะ

อ้างอิง

บทที่1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

      เนื่องจากในปัจจุบันวัสดุที่เหลือใช้จากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์มากขึ้น อาจมีวัสดุบางประเภทที่มีมากในท้องถิ่น อาจนำมาเเปรรูปให้เกิดความสวยงามและใช้สอยได้ สามารถนำมาประดิษฐ์เพื่อจำหน่ายหารายได้เสริมก็ได้ มะพร้าวเป็นที่หาง่ายในท้องถิ่นตามบ้านเรือนเเละอยู่กับชาวไทยมานานนับปี จึงคิดว่ามะพร้าวในเขต อำเภอห้วยเเถลงเป็นผลิตภัณฑ์ที่หาง่ายตามเรือน

กลุ่มของข้าพเจ้าจึงเล็งเห็นประโยชน์จากกะลามะพร้าวของมะพร้าวนั้นนั้นก็คือ การนำมาประดิษฐ์เป็นโคมไฟ ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีการออกเเบบโคมไฟในหลากหลายรูปเเบบ เราจึงสร้างสรรค์รูปเเบบของโคมไฟในรูปแบบต่างๆ ได้ อาจสามารถนำมาประดับตกเเต่งบ้านเรือนหรือตามสถานที่ต่างๆ เพื่อทำให้เกิดความสวยงามเเก่ผู้พบเห็น อีกทั้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มรายได้ในระหว่างเรียนเเก่นักเรียนด้วย

จุดมุ่งหมายของโครงงาน

1.            เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

2.            เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม

3.            เป็นการสร้างรายได้ระหว่างเรียน

4.            เพื่อฝึกการทำโคมไฟจากเส้นด้าย

5.            เพื่อศึกษาประวัติและวิธีทำโคมไฟเส้นด้าย

สมมุติฐาน
หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการทำโครงงาน เพื่อนำไปประกอบอาชีพในอนาคต และสามารถประยุกต์และใช้ตกแต่งบ้านเรือนให้สวยงาม
ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาจากเว็บไซต์และสอบถามบุคคลที่รู้เกี่ยวกับการทำโคมไฟจากเส้นด้าย

บทที่2

                                                       เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ประวัติโคมไฟ  นับแต่สมัยโบราณ ยามค่ำคืน ไม่มีแสงสว่างจากไฟฟ้า มีเพียงแต่แสงดาว แสงจันทร์ และคบเพลิง ซึ่งจากคบเพลิงไม้ ก็ได้นำไปสู่โคมไฟ เพื่อใช้เป็นแสงสว่างยามค่ำคืน โคมไฟถูกสร้างขึ้น น่าจะรับอิทธิพลมาจากประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันโคมไฟที่ได้รับความนิยม อันดับต้นๆ เลยก็คือ โคมไฟไม้สัก ซึ่งมีความสวยงาม คงทน แข็งแรง แต่มีความคลาสสิกในตัวของโคมเอง                 ลักษณะของดวงโคม                 1. ดวงโคมไฟเพดานเป็นดวงโคมไฟที่ติดเหนือศีรษะ บริเวณฝ้าเพดาน หรือห้องลงมาจากเพดาน เช่น โคมไฟห้อยเพดานหรือไฟช่อระย้า ที่มีรูปแบบต่าง ๆ ให้เลือกมากมาย ทั้งที่ทำจากแก้ว พลาสติก โลหะ หรือเซรามิค มีทั้งแบบโคมไฟธรรมดา ราคาไม่แพงไปจนถึงโคมไหแชนเดอเลียร์ ที่ประกอบไปด้วยหลอดไฟเล็ก ๆ มากมาย สวยงาม ให้แสงสว่างและความร้อนมาก กินไฟมาก ราคาแพง ไฟติดเพดาน มีทั้งแบบดวงโคมที่ยึดติดกับฝ้าเพดาน ประกอบไปด้วยที่ครอบ หรือโป๊ะทำจากแก้ว หรือพลาสติกคลุมหลอดไฟเพื่อช่วยในการกระจายแสง เช่น โคมไฟโป๊ะกลมสำหรับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หรือโคมไฟซาลาเปาสำหรับหลอดไส้ เป็นต้น และแบบที่ติดตั้งโดยเจาะฝ้า เพดานฝังซ่อนดวงโคมไว้ภายใน ที่เราเรียกกันว่า ไฟดาวน์ไลท์ (Downlight) ซึ่งให้แสงสว่างได้ดี สามารถเลือกใช้ชนิดของหลอดไห ลักษณะของแสงที่ส่องลงมา และทิศทางการส่องของสำแสงได้หลายแบบเป็นได้ทั้งไฟพื้นฐานและไฟสร้างบรรยากาศ   2. ดวงโคมไฟผนังเป็นชนิดที่ใช้ยึดติดกับผนัง มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบเช่นกัน การกระจายแสงส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับลักษณะของโป๊ะ มีทั้งแบบให้แสงส่องออกมาตรง ๆ หรือแบบสะท้อนเข้าผนังเพื่อสร้างบรรยากาศให้กับห้อง เป็นต้น    3. ดวงโคมไฟตั้งพื้น ตั้งโต๊ะ เป็นดวงโคมไฟแบบลอยตัวที่ช่วยในการให้แสงสว่างตามจุดต่าง ๆ เป็นพิเศษ เช่น ในบริเวณที่นั่งอ่านหนังสือโต๊ะทำงาน หรือโต๊ะหัวเตียง และยังใช้เป็นของประกอบการตกแต่งในห้องชุดร่วมกับชุดเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ อีกด้วย เช่น ชุดรับแขก ชุดทานอาหาร เป็นต้น มีรูปแบบและวัสดุให้เลือกมากมายหลายหลายราคา    4. ลักษณ์โคมไฟจากกะลามะพร้าว

                มีลักษณ์เดียวกับโคมไฟตั้งพื้น ตั้งโต๊ะแต่สามารถออกแบบได้หลายแบบ              สีสันสามารถทำไดหลายสีแต่ที่นิยมคือสีเนื้อไม้

บทที่ 3

วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนการดำเนินงาน

         วัสดุอุปกรณ์

  1. ปากกา
  2. ดินสอ
  3. ยางลบ
  4. ไม้บรรทัด
  5. สมุด
  6. ลิขวิด

ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน

  1. แบ่งกิจกรรตามหน้าที่
  2. สืบค้นหาข้อมูล
  3. รวบรวมข้อมูล
  4. จัดทำเป็นรูปเล่มที่สวยงาม
  5. จัดทำเป็นโครงงานนำเสนอ

 บทที่ 4

ผลการเรียนรู้

             จากการศึกษาค้นคว้าและฝึกทำโคมไฟจากเส้นด้ายผลที่ได้คือพวกเราได้เรียนรู้วิธีการทำ               โคมไฟที่ถูกวิธี และได้โคมไฟสวยงามด้วยวิธีข้างล่างนี้

วัสดุอุปกรณ์

1. ด้ายวีนัสเบอร์ 60 เป็นเบอร์ที่เราใช้เย็บผ้าทั่วไป
2. ลูกโป่ง
3. ผ้าสักหลาด [สำหรับตกแต่ง]
4. หลอดจำปาขนาด 7 วัตต์
5. ขั้วต่อหลอดไฟ
6. สายไฟพร้อมปลั๊กตัวผู้
7. เทปพันสายไฟ
8. ลวดเบอร์ 17 [ใช้ไม้แขวนแทนก็ได้ค่ะ]
9. เชือกด้ายดิบ [เหมือนที่ใช้ผูกกล่องพัสดุไปรษณีย์]
10. สวิตช์สำหรับทำสวิตช์เปิดปิด
11. แผ่นไม้สำหรับทำฐาน
12. กรรไกร
13. คัตเตอร์
14. กาวลาเท็กซ์
วิธีการทำ

1. นำลูกโป่งมาเป่าให้ได้ขนาดตามที่เราต้องการ แต่เป่าขนาดไม่ใหญ่มากนะคะ
มัดเป็นปมให้แน่น เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับนำด้ายมาพัน

2. นำด้ายมาพัน โดยคราวนี้เราต้องพึ่งกาวลาเท็กซ์กันแล้วนะคะ ขั้นตอนง่ายๆ เลยสำหรับการจะทากาวเส้นด้ายตลอดเส้นก็คือการเจาะขวดกาวลาเท็กซ์ให้เป็นรู ทะลุจากด้านหนึ่งไปด้านหนึ่ง แล้วดึงด้ายผ่านเข้าไปในขวด ตามรูปค่ะ

แล้วนำด้ายนั้นมาพันให้รอบ ลูกโป่ง จนกว่าด้ายจะหมดหลอด แล้วรอให้กาวแห้ง หรือใช้เอาไดร์เป่าผมมาเป่าก็ได้ค่ะ สำเร็จออกมาแล้วเราก็จะได้ลูกบอลแบบนี้ค่ะ

3. เอาลูกโป่งออกมา โดยการเอาเข็มเย็บผ้าเจาะลงไป หลายรูได้เลยยิ่งดี แล้วก็รอเท่านั้นเองค่ะ

ขั้นตอนนี้จะสนุกมากสนุกเพราะตอนลมค่อยๆ รั่วออกมา มันก็จะมีเสียงแต๊กๆๆๆๆ ตลอดเวลา เพราะว่ากาวที่เกาะอยู่ระหว่างลูกโป่งและด้ายค่อยๆ หลุดออกจากกัน เกิดเป็นเสียงค่ะ ตลกดี แล้วก็ค่อยดึงลูกโป่งออกมานะคะ ระวังลูกบอลด้ายจะบี้

ถ้าเพื่อนๆ ทำโคมไฟใหญ่ ทำให้ด้ายแค่หลอดเดียวไม่สามารถทำให้ลูกบอลด้ายของเราคงตัวได้ แต่เอาลูกโป่งออกมาแล้ว ก็สามารถนำลูกโป่งใบใหม่สอดเข้าไปในรูเดิม เป่าลมให้เต็ม แล้วพันด้ายเพิ่มได้นะคะ]

4. เจาะรูบนโคมไฟดังรูป

5. ติดหลอดไฟ โดยการนำหลอดจำปาติดเข้ากับขั้วที่ซื้อมานะคะ หมุนให้แน่น ใช้กาว UHU ยางทาตรงฐานแล้วค่อยๆ สอดเข้าไปภายในอย่างระมัดระวังนะคะ โดยให้สายไฟที่จะใช้ต่อกับสายไฟเส้นนอกลอดผ่านรูตรงจุกลูกโป่ง

6. ค่อยๆใช้คัตเตอร์ควั่นพลาสติกรอบๆสายไฟ ระวังอย่าลงแรงมาเดี๋ยวสายลวดทองแดงข้างในจะขาดเอานะคะ แล้วก็กรีดเป็นตามยาวอีกทีหนึ่ง แล้วค่อยๆ เลาะออกค่ะ ทำแบบนี้ทั้งเส้นจากฐานหลอดไฟ และเส้นที่มีเต้าเสียบนะคะ เสร็จแล้วก็นำลวดทองแดงพันต่อเข้าด้วยกันค่ะ ใช้เทปดำสำหรับพันสายไฟพันทับอีกที
      7. ตัดผ้าสักหลาดเป็นรูป ตา หู จมูก ขา หาง และนำมาประกอบ ตกแต่ง โคมไฟ

8. ลองเสียบปลั๊ก ตรวสอบว่า ไฟใช้งานได้หรือไม

9. เอาแท่นไม้ที่เตรียมไว้ ต่อกับสวดซึ่งดัดเป็นรูปตัว L คว่ำนะคะ สูง 30 ซ.ม. ยาว 17ซ.ม. แล้วนำโคมไฟของเรามาแขวนนะคะ ระวังให้ได้ศูนย์ถ่วงให้ดีนะ ไม่งั้นโคมไฟของเราอาจจะล้มได้ ใช้สกอตส์เทปยึดสายไฟกับลวดไว้เป็นแนวทาง แล้วนำเชือกด้ายดิบที่ซื้อมา มาพันรอบสายไฟและเส้นลวด เพื่ออำพรางสายไฟ และเพื่อสร้างความสวยงามนะคะ

10. ชื่นชมผลงานได้แล้วค่ะ

บทที่ 5

สรุปผลและอภิปรายผลงาน

สรุป

   การทำโครงงานโคมไฟเส้นด้ายสีสวยครั้งนี้ทำให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสืบค้นหาข้อมูลและปฏิบัติเป็นรูปเล่มโครงงานและทำเป็นโคมไฟสวยๆงามๆเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ และนอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาวิธีการทำ และลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง

อภิปราย

1.            สามารถนำเอาโครงงานมาเป็นแบบอย่างในการศึกษาข้อมูลในการทำครั้งต่อไป

2.            ใช้ประโยชน์จากรูปเล่มโครงงานไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

3.            นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

4.            ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้กับตนเองและครอบครัว

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน

           ในการทำโครงงานเรื่องโคมไฟจากเส้นด้ายในครั้งนี้ ทำให้ได้รู้และศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้และได้รับประโยชน์ ดังนี้

1.            รู้และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี

2.            ได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆและนำมาจัดทำเป็นรูปเล่มโครงงาน เพื่อการศึกษาต่อไป

3.            นำไปประกอบการเรียนรู้ในวิชาที่เกี่ยวข้อง

4.            ได้เรียนรู้และฝึกทักษะการทำโคมไฟจากเส้นด้าย

 ข้อเสนอแนะ

ไอเดียน่ารักๆ ทำไว้สวยๆประดับบ้านค่ะ

ไม่ต้องไปหาซื้อโมบายแบบราคาแพง มาใช้หรอกค่ะ ทำเองได้ สวยเหมือนกัน แถมยังเลือกลายสวยๆ ได้เองอีกต่างหาก จริงไหมคะ

ปัจจุบันนี้ โคมไฟสวย ๆ ที่วางขายตามท้องตลาดค่อนข้างจะมีราคาแพงอยู่น่ะนะคะ ในวันนี้บล็อกไอเดียดี ๆ มีไอเดียสำหรับการประดิษฐ์โคมไฟสวย ๆ แนว ๆ ไว้ใช้เองโดยใช้วัสดุเหลือใช้ เช่นลังกระดาษลูกฟูกมาฝากกันค่ะ เผื่อจะเอาไว้เป็นไอเดีย สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้องการโคมไฟรูปแบบแนว ๆ ในราคาประหยัดได้บ้าง

อย่างแรก แน่นอนว่าต้องมีโครงสร้างที่ทำให้มันกลมก่อน นั่นก็คือลูกโป่ง แต่หาที่เป่าแล้วมันกลมดิ๊กเลยนะ โคมจะได้กลมสวยเช่นกัน ต่อมาก็ กาวและก็ด้ายป่าน หรือไม่ป่านก็ได้ เส้นใหญ่หน่อย ตามรูป

วิธีการทำก็เอาสีเมจิกมาเขียนเป็นวงกลมหรือไม่กลมก็ได้ แล้วแต่ design เพื่อที่เราจะให้แสงไฟลอดออกมาได้ทางด้านรูวงกลมนี้ จะเอากว้างหรือแคบก็แล้วแต่นะ

จากนั้นก็เริ่มพันเลย ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดสิ้นสุด เอาให้มันได้วงกลมสม่ำเสมอ ตามรูปเป็นใช้ได้ เอาถี่ขนาดไหน ก็บอกไม่ได้ เพราะแล้วแต่ความชอบ ชอบแบบไหนก็เอาแค่นันแหละ ขั้นตอนนี้อย่าลืมทากาวไปด้วยนะ เพื่อให้ด้ายมันยึดติดกันหมด

ทิ้งไว้ให้กาวแห้ง แล้วก็เอาลมออกจากลูกโป่ง สิ่งที่เราจะได้ก็คือ โครงสร้างด้ายเป็นรูปทรงกลม ยึดติดกันด้วยกาวลาเท๊กซ์ธรรมดาที่แห้งแล้ว

ขั้นตอนต่อจากนี้ ก็ต้องใช้ฝีมือส่วนตัวในการร้อยเอาชุดไฟ เข้าไปไว้ในโคม เด็กๆคงทำเองได้ยาก ให้ผู้ใหญ่สอนหรือทำให้ดีกว่านะ ..ที่สำคัญก็คืออย่าให้ตัวหลอดไฟ ไปอยู่ใกล้ด้าย ให้เว้นห่างออกมาสัก 3 - 4 นิ้ว ด้ายจะได้ไม่ไหม้เมื่อโดนความร้อน

ก่อนการนำไปใช้งาน ควรเปิดทดสอบเป็นเวลานานๆ สัก 12 ชั่วโมง เพื่อดูว่า หลอดไฟสร้างความร้อนให้กับด้ายขนาดไหน หากไม่มีความร้อนเกิดขึ้นเลยก็แสดงว่าระยะห่างใช้ได้ ... ถ้าจะให้สวยงานก็ให้ใช้ด้ายสีต่างๆกัน หรือจะทำโคมสีรุ้งไปเลยก็สุดยอด ลองทำดู ทุกอย่างมักจะพบอุปสรรคเสมอ หากไม่ลองทำก็จะไม่รู้วิธีแก้ไขนะ

 ภาคผนวก

สวยเว้ยยย!!

เยี่ยมมากๆเลยจ้าา 


กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก