ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมด้านความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน ของพนักงานฝ่ายผลิต


  1. Dhonburi Rajabhat University Intellectual Repository
  2. Dhonburi Rajabhat University Intellectual Repository - คลังปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  3. Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Please use this identifier to cite or link to this item: //hdl.handle.net/123456789/316

Title:  การรับรู้นโยบายและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน ของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท ช.มหาอาจ จำกัด
Other Titles:  Recognition of Policies and Behavior Towards Safety in Operation of Employees Working in Production Department of Chor-Mahaard Co.,Ltd
Authors: 
Srithep, Jeerawat
Keywords:  ความปลอดภัยในการทำงาน - วิจัย
ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม - วิจัย
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป)
การค้นคว้าอิสระ
Issue Date:  2010
Publisher:  Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract:  การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้นโยบายและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการ ทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท ช.มหาอาจ จำกัด และเพื่อเปรียบเทียบการรับรู้นโยบายและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้นโยบายด้านความปลอดภัยของพนักงาน โดยรวม คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน 6 รายการ 2 อันดับแรก คือ หัวหน้า งานจัดการประชุมพูดคุยกิจกรรมด้านความปลอดภัยเป็นการภายในก่อนลงมือทำงานเป็นประจำ และมีการจัดตั้ง คณะกรรมการความปลอดภัยประกอบด้วยตัวแทนนายจ้างและตัวแทนลูกจ้างทำการเผยแพร่ ติดตามประเมินผล การรับรู้นโยบายด้านความปลอดภัยของบริษัท พฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน โดยรวม คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน 9 รายการ 2 อันดับแรก คือ ท่านให้คำแนะนำวิธีการทำงานที่ถูกต้องปลอดภัย กับเพื่อนร่วมงาน เมื่อพบเห็นการกระทำที่จะเป็นอันตราย และท่านปฏิบัติตามเครื่องหมายเตือนภัยอย่างเคร่งครัด ผลการเปรียบเทียบการรับรู้นโยบายและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน จำแนกตาม สถานภาพส่วนบุคคล พบว่า การรับรู้นโยบายด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานที่มีอายุงาน อายุ และ ประสบการณ์ฝึกอบรมต่างกัน มีการรับรู้นโยบายด้านความปลอดภัยในการทำงาน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ และพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ที่มีอายุงานต่างกัน มีพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01
URI:  //cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/316
Appears in Collections: Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

ความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมด้านความปลอดภัย ของพนักงานกรมช่างโยธาทหารเรือ กรณีศึกษา : สายงานฝ่ายผลิต

ผู้แต่ง

  • ชลันดา ปานนนท์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • ศิริพร นุชสำเนียง โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมด้านความปลอดภัย, พนักงานกรมช่างโยธาทหารเรือ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ด้านความปลอดภัย ทัศนคติด้านความปลอดภัยและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของพนักงานกรมช่างโยธาทหารเรือ 2) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อความรู้ด้านความปลอดภัย และทัศนคติด้านความปลอดภัยของพนักงานกรมช่างโยธาทหารเรือ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านความปลอดภัย และทัศนคติด้านความปลอดภัยของพนักงานกรมช่างโยธาทหารเรือ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านความปลอดภัยและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของพนักงานกรมช่างโยธาทหารเรือ 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติด้านความปลอดภัยกับพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของพนักงานกรมช่างโยธาทหารเรือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

            ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับความรู้ด้านความปลอดภัย อยู่ในระดับต่ำ ส่วนระดับทัศนคติด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับมาก และพฤติกรรมด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง 2) อายุ และตำแหน่งในการทำงานแตกต่างกันมีผลให้ด้านความรู้ด้านความปลอดภัย และด้านทัศนคติด้านความปลอดภัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการศึกษาแตกต่างกันมีผลต่อด้านความรู้ด้านความปลอดภัยไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านทัศนคติด้านความปลอดภัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ส่วนเพศ ประสบการณ์การทำงาน  และ การประสบอุบัติเหตุในการทำงานไม่แตกต่างกัน 3) พบว่า ด้านความรู้ด้านความปลอดภัยไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติด้านความปลอดภัยของความคิดเห็นพนักงานกรมช่างโยธาทหารเรือในทิศทางเดียวกัน 4) ด้านความรู้ด้านความปลอดภัยไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของความคิดเห็นพนักงานกรมช่างโยธาทหารเรือในทิศทางเดียวกัน 5) ด้านทัศนคติด้านความปลอดภัยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของความคิดเห็นพนักงานกรมช่างโยธาทหารเรืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทิศทางเดียวกัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กองแผนและโครงการ กรมช่างโยธาทหารเรือ. (2561). จำนวนเจ้าหน้าที่ที่ประสบอันตรายและเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2556-2560. กรุงเทพฯ: กองแผนและโครงการ กรมช่างโยธาทหารเรือ.

โชติพิสิฐ ทรัพย์ประเสริฐ. (2559). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ของพนักงานที่มีต่อมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานของบริษัทประกอบรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทรงศักดิ์ มณฑา. (2560). พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานสายการผลิตในบริษัท บูรณาพากรุ๊ป จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธวัช เหลืองวสุธา. (2556). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัท คอทโก้ เมททอลเวอร์คส จำกัด จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

มธุริน เถียรประภากุล. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานหน่วยงานผลิต โอเลฟินส์ 1 บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน)สาขาที่ 2 โรงงานโอเลฟินส์ ไอ – หนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศิริพงศ์ ศรีสุขกาญจน์. (2553). ความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของพนักงานอู่ทหารเรือ พระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ กรณีศึกษา : ในสายงานฝ่ายผลิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

สุธาทิพย์ รองสวัสดิ์. (2555). ปัจจัยการรับรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ที่มีผลต่อพฤติกรรมในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ประจาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.เชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรีวัลย์ ใจกล้า. (2557). พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน บริษัทเอสอีไอ อินเตอร์คอนเนคส์โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานกองทุนเงินทดแทน. (2561). สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานจำแนกตามความรุนแรงรายเดือน ปี 2560.กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนเงินทดแทน.

อัครชาติ ติณสูลานนท์. (2561). ความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรณีศึกษาในสายงานธุรกิจวิศวกรรม ธุรกิจก่อสร้างและบำรุงรักษา. ( วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

Yamane, T. (1973 ).Statistics: An Introductory Analysis.(3rd ed.) New York: Harper and Row Publications.

How to Cite

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก