กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ผู้แต่ง

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)

ฉันทลักษณ์ไทยกลวิธีประพันธ์
กาพย์
กลอน
โคลง
ฉันท์
ร่าย
ร้อยกรองแบบใหม่
กลบท
กลอักษร

กาพย์ห่อโคลง ผู้แต่งชื่อ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยะวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) เป็นชื่อของบทประพันธ์ ที่แต่งขึ้น โดยใช้กาพย์ยานี สลับกับ โคลงสี่สุภาพ กาพย์ยานี กับ โคลงสี่สุภาพนั้น จะต้องมีความอย่างเดียวกัน คือให้วรรคที่หนึ่ง ของกาพย์ยานี กับบาทที่หนึ่ง ของโคลงสี่สุภาพ บรรยายข้อความ อย่างเดียวกัน หรือบางที ก็ให้คำต้นวรรค ของกาพย์ กับคำต้นบท ของโคลง เป็นคำเหมือนกัน ส่วนบัญญัติ หรือกฎข้อบังคับต่างๆ เหมือนกับ กฎของกาพย์ยานี และโคลงสี่สุภาพ ทั้งสิ้น มีเนื้อหาเล่าเรื่องการเดินทางไปพระพุทธบาทและชมธรรมชาติอันน่าตื่นตาตื่นใจที่พบเห็นระหว่างทาง เริ่มต้นจากบทชมริ้วขบวนการเดินทาง และปิดท้ายด้วยการบอกข้อมูลเกี่ยวกับกวี จุดประสงค์ของกวี และวิธีอ่านโคลงให้ไพเราะ เป็นจำนวนกาพย์ทั้งสิ้น ๑๐๘ บท และโคลง 113 บท

ตัวอย่างกาพย์ห่อโคลง[แก้]

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

ส่วนกาพย์ยานี

เที่ยวเล่นเป็นเกษมสุข.............แสนสิ่งสนุกปลุกใจหวัง

เร่ร่ายผายผาดผัง................หัวริกรื่นชื่นชมไพร

ส่วนโคลงสี่สุภาพ

สนุกเกษมเปรมหน้าเหลือบ..........ลืมหลัง

แสนสนุกปลุกใจหวัง..............วิ่งหรี้

เดินร่ายผายผันยัง...............ชายป่า

หัวร่อรื่นชื้นชี้..................ส่องนิ้วชวนแล

อ้างอิง[แก้]

  • //my.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=353900&chapter=2
  • //www.bloggang.com/mainblog.php?id=song982&month=26-07-2009&group=14&gblog=2
บทความเกี่ยวกับวรรณกรรมนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล
ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:โลกวรรณศิลป์

รหัสข้อมูล

TLD-001-093

ชื่อเรื่องหลัก

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

ชื่อเรื่องอื่น

กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง

ยุคสมัย

ผู้แต่ง

คำประพันธ์

กาพย์ห่อโคลง 

ฉันทลักษณ์

กาพย์ยานี , โคลงสี่สุภาพ 

เนื้อเรื่องย่อ

เนื้อหาของกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง เป็นการบรรยายและพรรณนากระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค  ขบวนช้าง  เครื่องสูง  สนมนางในผู้ตามเสด็จ  กวีบรรยายภาพสัตว์ป่าประเภทต่างๆ ที่ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน  มีสัตว์สี่เท้า เช่น ช้าง กระบือ โค กวาง ทราย หมูป่า สุนัขจิ้งจอก กระทิง หมี เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาว โคแดง ละมั่ง อ้น กระแต กระรอก ฯลฯ

วัตถุประสงค์

ผู้เรียบเรียง

เอกสารอ้างอิง

ศิลปากร, กรม. วรรณกรรมสมัยอยุธยา  เล่ม 2.  กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, 2545.

คำสำคัญ

หมายเหตุ

ทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อครั้งตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีในคราวเดียวกับเมื่อทรงนิพนธ์กาพย์เห่เรือ

เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) 

            เจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าธรรม      ธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือพระนามที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง พระองค์ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๒๔๘ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระซึ่งเป็นพระปิตุลา (ลุง) ของพระองค์ ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศประสูติแต่กรมหลวงอภัยนุชิต

        พระองค์ได้รับการสถาปนาที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์มีพระปรีชาสามารถหลายด้าน โดยเฉพาะด้านวรรณกรรมนั้น ทรงพระนิพนธ์วรรณกรรมไว้หลายเรื่อง เช่น กาพย์เห่เรือนันโทปนันทสูตรคำหลวงพระมาลัยคำหลวง เนื่องจากพระองค์ลักลอบเป็นชู้กับพระสนมของสมเด็จพระราชบิดาจึงต้องพระอาญาให้เฆี่ยน เป็นเหตุให้พระองค์เสด็จสวรรคตในที่สุด

พระราชประวัติ

            สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเสนาพิทักษ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศประสูติแต่กรมหลวงอภัยนุชิต (สมเด็จพระอัครมเหสีใหญ่ หรือ พระพันวัสสาใหญ่) โดยพระมารดาของพระองค์สืบเชื้อสายมาจากสกุลพราหมณ์บ้านสมอพลือ ที่มีต้นสกุลมาจากเมืองรามนคร มัชฌิมประเทศ พระองค์ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๒๔๘ มีพระนามว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือ เจ้าฟ้าธรรม        ธิเบศร พระองค์มีพระเชษฐภคินี ๑ พระองค์ คือ เจ้าฟ้าบรม และพระขนิษฐา ๖ พระองค์ ได้แก่ เจ้าฟ้าธิดา เจ้าฟ้ารัศมี เจ้าฟ้าสุริยวงษ์ เจ้าฟ้าสุริยา เจ้าฟ้าอินทสุดาวดี (กรมขุนยิสารเสนี พระอัครมเหสีในพระองค์) นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระอนุชาต่างพระมารดา ๒ พระองค์ คือ เจ้าฟ้าเอกทัศ (สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์) และ เจ้าฟ้าดอกเดื่อ (สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร) เมื่อสมเด็จพระราชบิดาขึ้นครองราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยาแล้ว พระองค์ได้รับการสถาปนาให้ทรงกรมที่ กรมขุนเสนาพิทักษ์

เหตุแห่งการออกผนวช

เนื่องจากเจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระนั้น ทรงสนิทกับสมเด็จพระราชบิดาในพระองค์อย่างมาก ทำให้พระองค์เกิดความระแวงขึ้น เมื่อสมเด็จพระราชบิดาเกิดประชวรและเจ้าพระกรมขุนสุเรนทร พิทักษ์เสด็จเข้ามาทรงเยี่ยม พระองค์จึงตรัสให้พระองค์เจ้าชื่นและพระองค์เจ้าเกิดไปนิมนต์เจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์เข้ามายังพระราชวังหน้า เมื่อเจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์เสด็จมาถึง พระองค์ได้ใช้พระแสงดาบฟันเจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ แต่ไม่ทรงได้รับบาดเจ็บเพียงถูกแต่ผ้าจีวรขาดเท่านั้น เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นดังนั้นจึงเกรงพระราชอาญาแล้วจึงเสด็จไปยังตำหนักกรมหลวงอภัยนุชิต พระมารดาในพระองค์

หลังจากนั้น เจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์เสด็จเข้าเฝ้าสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวและพระองค์ตรัสถามว่า เหตุใดผ้าจีวรจึงขาด เจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ถวายพระพรว่ากรมขุนเสนาพิทักษ์หยอกท่าน เมื่อเจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ถวายพระพรลาสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวแล้ว กรมหลวงอภัยนุชิตได้เสด็จมาอ้อนวอนและตรัสว่าถ้าท่านไม่ช่วยในคราวนี้เห็นทีกรมขุนเสนาพิทักษ์คงสิ้น เจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์จึงตรัสว่าคงมีแต่ร่มกาสาวพัตรเท่านั้นที่จะช่วยได้ กรมหลวงอภัยนุชิตจึงพากรมขุนเสนาพิทักษ์เสด็จออกผนวชทันทีที่วัดโคกแสง

            ในครั้งนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธกรมขุนเสนาพิทักษ์มาก มีพระราชดำรัสให้ค้นหาตัวจนทั่วพระราชวัง แต่พบเพียงพระองค์เจ้าชื่นและพระองค์เจ้าเกิดที่สมรู้ร่วมคิดเท่านั้น จึงมีพระราชดำรัสให้นำตัวทั้ง ๒ พระองค์ไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์

การขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๘๐ กรมหลวงอภัยนุชิตทรงพระประชวรหนักและได้ตรัสทูลขอพระราชทานอภัยโทษให้กรมขุนเสนาพิทักษ์ซึ่งทรงผนวชอยู่นั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระราชทานอภัยโทษให้ หลังจากนั้น กรมหลวงอภัยนุชิตก็เสด็จสวรรคตลง ส่วนกรมขุนเสนาพิทักษ์ทรงลาผนวชและได้เข้าเฝ้าละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวดังเดิม

ในปี พ.ศ. ๒๒๘๔ พระราชโกษาปานบ้านวัดระฆังได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวขอพระราชทานให้สถาปนากรมขุนเสนาพิทักษ์ขึ้นประดิษฐานที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำรัสให้ประชุมเสนาบดี เมื่อทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งพระราชพิธีอุปราชาภิเษกสถาปนากรมขุนเสนาพิทักษ์ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พร้อมกันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เจ้าฟ้าอินทสุดาวดีทรงกรมที่กรมขุนยิสารเสนีและพระราชทานให้เป็นพระอัครมเหสีในกรมพระราชวังบวรฯ ด้วย

เสด็จสวรรคต

พระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรทรงพระประชวรด้วยโรคสำหรับบุรุษและกลายไปเป็นพระโรคคชราด (โรคคุดทะราด) เป็นเหตุให้พระองค์ไม่สามารถเข้าเฝ้าสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวถึง ๓ ปีเศษ วันหนึ่งพระองค์มีพระบัณฑูรให้ตำรวจมานำตัวเจ้ากรม ปลัดกรม และนายเวรปลัดเวรของกรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพภักดี มาถามความว่า เจ้ากรมนั้นเป็นแต่หมื่น เหตุใดจึงตั้งบรรดาศักดิ์ให้เป็นขุน ซึ่งนับว่าทำสูงเกินว่าศักดิ์ จึงมีพระบัณฑูรให้ลงพระราชอาญาโบยหลังคนละ ๑๕ ทีบ้างคนละ ๒๐ ทีบ้าง

หลังจากนั้นไม่นาน กรมหมื่นสุนทรเทพทำเรื่องกราบทูลสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเป็นการลับว่า พระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรเสด็จเข้ามาลอบทำชู้กับเจ้าฟ้านิ่มและเจ้าฟ้าสังวาลย์ถึงในพระราชวังหลายครั้ง สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำรัสให้หาพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรเพื่อนำตัวมาสอบความ เมื่อพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรรับเป็นสัจแล้ว จึงมีพระราชดำรัสลงพระราชอาญาเฆี่ยน แล้วให้เสนาบดีและลูกขุนพิพากษาโทษ ท้าวพระยามุขมนตรีและลูกขุนกราบบังคมทูลว่า โทษของพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรเป็นมหันตโทษขอพระราชทานให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ตามขัตติยประเพณี สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสขอชีวิตไว้แต่ให้นาบพระนลาถแล้วถอดให้เป็นไพร่เสีย ส่วนเจ้าฟ้านิ่มและเจ้าฟ้าสังวาลย์ให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนองค์ละ ๓๐ ที พร้อมทั้งถอดเป็นไพร่เช่นกัน เจ้าฟ้าสังวาลย์อยู่ได้ ๓ วันก็สิ้นพระชนม์ ส่วนพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรต้องรับพระราชอาญาเฆี่ยนและเสด็จสวรรคตลง สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสให้นำพระศพทั้งสองไปฝังยังวัดไชยวัฒนาราม

ผลงาน

พระองค์ได้เป็นกองการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีสรรเพชญ์และวัดอื่นๆ มากมาย นอกจากนี้ ยังทรงพระปรีชาสามารถหลายด้าน โดยเฉพาะด้านวรรณกรรม พระองค์ทรงเป็นกวีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่ง ผลงานด้านวรรณกรรมที่พระองค์ทรงนิพนธ์ไว้นั้นจัดเป็นวรรณกรรมอันเลอค่า โดยเฉพาะคำประพันธ์ประเภทกาพย์ห่อโคลงดูจะมีมากกว่างานพระนิพนธ์ชนิดอื่นๆ งานนิพนธ์ที่เหลือจนบัดนี้ ได้แก่

                  ๑. กาพย์เห่เรือ

                  ๒. บทเห่เรื่องกากี ๓ ตอน

                  ๓. บทเห่สังวาสและเห่ครวญอย่างละบท

                  ๔. กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก

                  ๕. กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง (กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง)

                  ๖. นันโทปนันทสูตรคำหลวง ทรงพระนิพนธ์ พ.ศ. ๒๒๗๙ ขณะทรงผนวช

                  ๗. พระมาลัยคำหลวง ทรงพระนิพนธ์ พ.ศ. ๒๒๘๐ ขณะทรงผนวช

                   ๘. เพลงยาวบางบท

ผู้แต่งกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงคือผู้ใด

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงเป็นวรรณคดีที่แต่งขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ผู้ทรงพระนิพนธ์คือ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์(เจ้าฟ้ากุ้ง) แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกาพย์ห่อโคลง ในโอกาสที่พระองค์ขบวนเสด็จทางสถลมารคของ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปนมัสการพระพุทธบาทที่สระบุรีธารทองแดงเป็นลำธารที่เกิดจาก ...

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงแต่งโดยใช้คำประพันธ์อะไร

เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงนิพนธ์กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงขึ้น เนื่องในโอกาสตามเสด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศพระราชบิดา ไปนมัสการพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงนี้ได้ทรงนิพนธ์ต่อจากกาพย์เห่เรือ มีลักษณะคำประพันธ์เป็นกาพย์ห่อโคลง

ผู้แต่งทรงมีพระประสงค์อย่างไรในการนิพนธ์เรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

❖ จุดประสงค์ในการแต่งกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง จุดประสงค์ในการแต่ง คือ เป็นบทชมธรรมชาติเพื่อความ เพลิดเพลินในการเดินทาง เพื่อพรรณนากระบวนเสด็จทาง สถลมารคจากท่าเจ้าสนุกถึงธารทองแดง และพรรณนาธรรมชาติ บริเวณธารทองแดง ซึ่งเป็นธารนํ้าที่อยู่ในบริเวณพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ข้อใดเป็นสาระสำคัญในเรื่องกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง เป็นวรรณคดีเกี่ยวกับบันทึกการเดินทางที่พรรณนาถึงความ สนุกสนาน รื่นรมย์ที่ได้รับจากธรรมชาติ โดยเฉพาะการพรรณนาให้เห็นเป็นภาพสัตว์บกและสัตว์น้ำที่เปี่ยมไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ที่ปรากฏในธรรมชาติระหว่างการเดินทาง ตั้งแต่ท่าเจ้าสนุกไปถึงพระพุทธบาท

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก