พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นแบบอย่างที่ดีของพระสงฆ์ทางด้านใด

พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ::

ที่มา : www.google

                พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อ คำด้วง มารดาชื่อ จันทร์ เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ บ้านคำบง ต.สงยาง อ.ศรีเชียงใหม่ จ. อุบลราชธานี) มีพี่น้อง ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนแรกของตระกูล มีบุคลิกลักษณะเป็นคนร่างเล็ก ผิวขาวแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดี เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย

                ในสมัยเด็กท่านได้เรียนอักขรสมัยในสำนักของ อา คือเรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรมและอักษรขอม ต่อมาเมื่ออายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบ้านคำบง ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนามีสวดมนต์และสูตรต่าง ๆ เป็นต้น มีกิริยามารยาทและความประพฤติเรียบร้อยดีงามเป็นที่น่าเลื่อมใส

                เมื่ออายุได้ ๑๗ ปี บิดาได้ขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานของบิดาด้วยความพยายามและเต็มความสามารถ  ต่อมาเมื่อท่านอายุได้ ๒๒ ปี ได้อำลาบิดามารดาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้นามฉายาว่า ภูริทตฺโต แปลว่า “ผู้ให้ปัญญา ผู้แจกจ่ายความฉลาด”

                เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้กลับมาศึกษาวิปัสสนาธุระกับพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ณ วัดเลียบ และในระหว่างนั้น ท่านได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้นอันเป็นส่วนแห่งพระวินัย คือ อาจาระ ความประพฤติ มารยาท อาจริยวัตร และอุปัชฌายวัตรปฏิบัติได้เรียบร้อยดีจนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌาย์และ ให้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจ คือเดินจงกรมนั่งสมาธิกับการสมาทานธุดงควัตรต่าง ๆ

                ในสมัยต่อมา ท่านได้แสวงหาวิเวกบำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฏที่แจ้ง หุบเขา ซอกเขา ห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถ้ำ เรือนว่างทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้าง ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ทางกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่วัดประทุมวนาราม และจำพรรษายังสถานที่ต่าง ๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท่านได้ให้การสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น ๆ มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติได้ติดตามศึกษาอบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่านได้แพร่กระจายไปทั่งทุกภาคของประเทศไทย ยังเกียรติคุณของท่านให้ฟุ้งขจรเลื่องลือไป

ในวัยชรานับแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้มาอยู่จำพรรษาที่จังหวัดสกลนคร หมุนเวียนเปลี่ยนไปตามสถานที่ต่าง ๆ จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึงปีสุดท้ายแห่งชีวิต ท่านได้เอาธุระอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ทางสมถวิปัสสนาเป็นอันมาก ได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์เป็นประจำ

                ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เริ่มอาพาธเป็นไข้ อาการอาพาธสงบเป็นครั้งคราว และกำเริบขึ้นเป็นครั้งคราว และต่อมาอาการอาพาธมีแต่ทรงกับทรุดลงโดยลำดับ ครั้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๒ ศิษยานุศิษย์ได้นำท่านมาพักที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวังสกลนคร จนถึงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๒ ท่านได้ถึงมรณภาพด้วยอาการอันสงบ สิริอายุได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน ๕๖ พรรษา และได้มีการถวายพระเพลิงศพของท่าน ณ วัดป่าสุทธาวาส จ. สกลนคร ในวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๓

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

                พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ศึกษาเล่าเรียนและประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างเคร่ง ครัด วัตรปฏิบัติของท่านนำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธาแก่ศิษยานุศิษย์และพุทธ ศาสนิกชนเป็นจำนวนมากในวัยเด็กท่านเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายมีความทรงจำดี และมีความขยันหมั่นเพียร ชอบการศึกษาเล่าเรียน

                พระธรรมเทศนาของท่านมักให้ข้อคิดแก่ผู้ฟัง เช่น “ท่านทั้งหลายจงอย่าทำตัวเป็นตัวบุ้งตัวหนอนคอยกัดแทะกระดาษ แห่งคัมภีร์ใบ ลานเปล่า ๆ โดยไม่สนใจพิจารณาสัจธรรมอันประเสริฐที่มีอยู่กับตัว แต่มัวไปยึดธรรมที่ศึกษามาถ่ายเดียว ซึ่งเป็นสมบัติของพระพุทธเจ้า มาเป็นสมบัติของตน ด้วยความเข้าใจผิดว่าตนเรียนรู้และฉลาดพอตัวแล้ว ทั้งที่กิเลสยังกองเต็มหัวใจยิ่งกว่าภูเขา มิได้ลดน้อยลงบ้างเลย จงพากันมีสติคอยระวังตัวอย่าให้เป็นคนประเภทใบลานเปล่า ๆ เรียนเปล่าและตายทิ้งเปล่า ไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริงติดตัวบ้างเลย” นี่คือคำสอนของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโตที่เคยพูดเสมอ ๆ นอกจากนั้นท่านยังเป็นตัวอย่างของพระนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่เคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติน่าเลื่อมใสศรัทธา ซึ่งถือว่าเป็นแนวปฏิบัติในการบริหารจิตและเจริญปัญญาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ในปัจจุบัน จึงถือว่าท่านเป็นชาวพุทธตัวอย่างที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาด้วยดี มาตลอด

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เป็นพระสงฆ์ประเภทใด

หลวงปู่มั่น เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกายชาวจังหวัดอุบลราชธานี เป็นบูรพาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย ตลอดที่บวชเรียนได้ปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนพระศาสดาอย่างเคร่งครัด และยึดถือธุดงควัตรด้วยจริยวัตรปฏิปทางดงาม จนได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธาทั้งหลายว่า เป็นพระผู้เลิศทางธุดงควัตร

ภูริทัตโต แปลว่าอะไร

"ภูริทัตโต" แปลว่า "ผู้ให้ปัญญา ประดุจดั่งแผ่นดิน"

หลวงปู่มั่น ทำอะไรบ้าง

โดยแนวปฏิบัติ ที่ท่านยึดมั่นมาตลอดชีวิตนั้น คือธุดงค์ ซึ่งธุดงควัตรข้อสำคัญที่ท่านสามารถยึดมั่นมาตลอดจนวาระสุดท้ายของชีวิต มี 7 ประการ คือ ปังสุกุลิกังคธุดงค์ - ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล ปิณฑปาติกังคธุดงค์ - ถือภิกขาจารวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์

ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต *

วัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดของหลวงปู่มั่น ก็คือ “บิณฑบาตเป็นวัตร ฉันในบาตรเป็นวัตร ฉันมื้อเดียวเป็นวัตร และใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร” หากผู้ใดต้องการถวายจีวร ผ้าสบง ผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ใด ๆ ให้แก่ท่าน ก็เป็นอันรู้กันว่า จะต้องนำไปวางไว้ที่บันไดบ้าง วางไว้ใกล้ ๆ กุฏิของท่านบ้าง วางไว้ตรงทางเดินไปห้องน้ำบ้าง เมื่อ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก