แผนการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือในด้านใดบ้าง

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

(ASEAN Socio-Cultural Community)

          อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จาการรวมตัวกันเพื่อทำให้ประชาชนมีการอยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บมีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความรู้สึกเ็ป็นอันหนึ่งอันเดียว โดยมีความร่วมมือเฉพาะด้าน (funtional cooperation) ภายใต้ประเด็นเชิงสังคมและวัฒนธรรมที่ครอบคลุมในหลายด้านได้แก่ เยาวชน การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิทธิมนุษยชน สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สตรี แรงงาน การขจัดความยากจน สวัสดิการสังคมและการพัฒนา วัฒนธรรมและสารนิเทศ กิจการพลเรือน การตรวจคนเข้าเมืองและกงสุล ยาเสพติด และการจัดการภัยพิบัติ สิทธิมนุษยชน โดยมีคณะทำงานอาเซียนรับผิดชอบการดำเนินความร่วมมือในแต่ละด้าน

          อาเซียนได้ตั้งเป้าการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนในปี 2558 โดยมุ่งหวังให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เือื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนรวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)

          เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน อาเซียได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่

          1.  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development)

          2.  การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)

          3.  สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)

          4.  ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้่อม (Environmental Sustainability)

          5.  การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Narrowing the Development Gap)

          โดยมีกลไกลดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขา (Sectoral) ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Offcials Meeting) ระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio Cultural Community Council) รวมทั้งการประชุมคณะกรรมการด้านสังคมและวัฒนธรรม (Senior officials Comittee for ASEAN Socio-Cultural Community)

ที่มา: //moac2aec.moac.go.th/ewt_news.php?nid=47

YouTube Video


วีดีทัศน์  ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ASCC

แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint: ASCC Blueprint)

ที่มา

ผู้นำอาเซียนได้แสดงเจตนารมณ์ในปฏิญญาอาเซียนคอนคอร์ดสอง (Bali Concord II) ในการประชุมที่ บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี ๗ ตุลาคม พ.ศ ๒๕๔๖

(ค.ศ. 2003) เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2563

(ค.ศ. 2020) โดยกำหนดให้ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยสามเสาหลัก ได้แก่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งเกี่ยวข้องและส่งเสริมซึ่งกันและกัน

เพื่อวัตถุประสงค์ในการที่จะทำให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืน ความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค

ต่อมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ (ค.ศ. 2007) ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามเพื่อเร่งรัดการเป็นประชาคมอาเซียน เร็วขึ้นอีก 5 ปี คือ จากปี พ.ศ.2563 (ค.ศ. 2020) เป็นปี

พ.ศ.2558 (ค.ศ. 2015) ใน ปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ปี ๒๕๕๘ (Cebu Declaration on the Acceleration of the Establishment of an ASEAN Community by 2015)

และในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 ที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ (ค.ศ. 2007) ประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นพ้องร่วมกันในการจัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) โดยจัดประชุมเพื่อยกร่างแผนงาน 4 ครั้ง (ไทยเป็นเจ้าภาพจัดครั้งที่ 1 และ 3 ระหว่างวันที่ 11-13 มีนาคม และระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม, ลาว ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 28-29 เมษายน และฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 4 โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ได้ให้การรับรองแผนงานดังกล่าว

เป้าหมายและองค์ประกอบ

แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) ให้ความสำคัญและมีเป้าหมายให้ประชาคมอาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People-centered) สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน (Caring and sharing society) มีความเป็นเอกภาพ (Unity) ทั้งในระดับประเทศสมาชิกด้วยกันและในระดับประชาชนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความรู้สึกถึงการเป็นพลเมืองอาเซียนร่วมกัน มีส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน (ASEAN identity) รวมทั้งมีเป้าหมายให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (Sustainable development) เพื่อรองรับเป้าหมายข้างต้นในการการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) ประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่

1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development)

2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)

3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)

4. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้่อม (Environmental Sustainability)

5. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building an ASEAN Identity)

6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap)

และใน ๖ ประเด็นหลักนี้ ยังประกอบไปด้วยเป้าหมายย่อยดังนี้

๑. A. การพัฒนามนุษย์ (๗ เป้าหมาย ๖๑ มาตรการ)
A1. ให้ความสำคัญกับการศึกษา
A2. การลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
A3. ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม
A4. ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ
A5. การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์
A6. เสริมสร้างทักษะในการประกอบการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
A7. พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ

๒. B. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (๗ เป้าหมาย ๙๔ มาตรการ)
B1. การขจัดความยากจน
B2. เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวมตัวอาเซียนและ โลกาภิวัฒน์
B3. ส่งเสริมความมั่นคง และความปลอดภัยด้านอาหาร
B4. การเข้าถึงการดูแลสุขภาพและส่งเสริมการดำรงชีวิตที่มีสุขภาพ
B5. การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ
B6. รับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด
B7. การสร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

๓. C. ความยุติธรรมและสิทธิ (๓ เป้าหมาย ๒๘ มาตรการ)
C1. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
C1. การคุ้มครองและส่งเสริมแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน
C1. ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ

๔. D. ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (๑๑ เป้าหมาย ๙๘ มาตรการ)
D1. การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก
D2. การจัดการและการป้องกันปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน
D3. ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชน
D4. ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม (อีเอสที)
D5. ส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานการดำรงชีวิตในเขตเมืองต่างๆ ของอาเซียน และเขตเมือง
D6. การทำการประสานกันเรื่องนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูล
D7. ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรชายฝั่ง และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
D8. ส่งเสริมการจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
D9. ส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรน้ำจืด
D10. การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการต่อผลกระทบ
D11. ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน

๕. E. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (๔ เป้าหมาย ๕๐ มาตรการ)
E1. ส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียน และความรู้สึกของการเป็นประชาคม
E2. การส่งเสริมและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน
E3. ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม
E4. การมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน

๖. F. การลดช่องว่างทางการพัฒนา

ประเด็นในเสาประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน อาทิ สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติทางธรรมชาติ (ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม สึนามิ) ศิลปะ ประเพณีและวัฒนธรรม และอาชญากรรมข้ามชาติ

ส่วนความร่วมมือเฉพาะด้าน (funtional cooperation) ภายใต้ประเด็นเชิงสังคมและวัฒนธรรมที่ครอบคลุมในหลายด้านได้แก่ เยาวชน การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิทธิมนุษยชน สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สตรี แรงงาน การขจัดความยากจน สวัสดิการสังคมและการพัฒนา วัฒนธรรมและสารนิเทศ กิจการพลเรือน การตรวจคนเข้าเมืองและกงสุล ยาเสพติด และการจัดการภัยพิบัติ สิทธิมนุษยชน กีฬา โดยมีคณะทำงานอาเซียนรับผิดชอบการดำเนินความร่วมมือในแต่ละด้าน

กลไกการดำเนินงานภายใต้เสาสังคมและวัฒนธรรมนั้น ได้แก่ การประชุมรายสาขา (Sectoral) ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Offcials Meeting) ระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio Cultural Community Council) รวมทั้งการประชุมคณะกรรมการด้านสังคมและวัฒนธรรม (Senior officials Comittee for ASEAN Socio-Cultural Community) (กรมอาเซียน . กระทรวงการต่างประเทศ. 2552 : 1-3)

ตามมติครม เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ กำหนดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบ ภายใต้แผนงานแห่งชาติสำหรับการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียนทั้งสามเสาหลัก เพื่อขับเคลื่อนแผนงานการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ไปสู่การปฏิบัติ (ดูเพิ่มเติม file ด้านล่าง )
ผลกระทบเชิงบวกของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม

-เกิดความร่วมมือระดับภูมิภาคในประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น การส่งเสริม คุ้มครองสิทธิสตรี เด็ก ผู้พิการ การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การช่วยเหลือกันในยามที่ประเทศสมาชิกเกิดภัยพิบัติ การกระชับสัมพันธ์และติดต่อกันของประชาชน ผ่านการท่องเที่ยว กิจกรรมแลกเปลี่ยนภายใต้ Sectoral Bodies ต่าง ๆ

– ข้อได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ทำให้ไทยมีโอกาสเป็น Hub ในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา การรักษาทางการแพทย์ สปา
ผลกระทบเชิงลบของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม

– ระบบคุ้มครองทางสังคมของไทยยังไม่ครอบคลุมถึงแรงงานนอกระบบรวมทั้งสมาชิก ที่เป็นเด็ก

– ความสามารถภาษาอังกฤษที่ต่ำกว่าทำให้เกิดการเสียเปรียบในด้านการ แข่งขันในเรื่องการหางาน การประกอบการ รวมถึงการเจรจาเพื่อรักษาจุดยืนของไทย และผลประโยชน์ของประเทศ

– ปัญหาภัยคุกคามต่าง ๆ ที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายแรงงาน เช่น โรคติดต่อ ยาเสพติด การค้ามนุษย์

– ภาคบริการของไทย เช่น การศึกษา การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ อาจได้รับ ผลกระทบจากประเทศที่มีกำลังทุนสูงกว่า
Focal point of ASCC

คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 รับทราบคำสั่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2554 มอบหมายให้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็ น หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ทั้งในระดับหัวหน้าคณะผู้แทน และระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ของคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) และนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2555

แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือในด้านใด

- แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community. Blueprint) ประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่1. การพัฒนามนุษย์(Human Development) 2. การคุ้มครอง และสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection) 3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)

ข้อใดเป็นความร่วมมือทางด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

ความร่วมมือของอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ความร่วมมือเฉพาะด้านคือ ความร่วมมือด้านอื่นๆ ที่มิใช่ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ โดย มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบในระดับภูมิภาค พัฒนาและเสริมสร้างสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาคให้ดีขึ้น รวมถึงลดผลกระทบทางสังคมที่เกิดจาก ...

ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความร่วมมือกันในด้านใด

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 (ค.ศ. 1967) ณ กรุงเทพฯ เป็นองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความมั่นคงทางการเมือง การเจริญเติบโตทางการค้าและทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาทางสังคมของประเทศสมาชิก แรกเริ่ม อาเซียนประกอบด้วย 5 ...

งานมหกรรมดนตรีอาเซียนมีความสำคัญในการสร้างความร่วมมือในด้านใด

(VOVWORLD) - นี่คือกิจกรรมวัฒนธรมและศิลปะที่สำคัญเพื่อกระชับความสัมพันธ์ร่วมมือและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างเวียดนามกับประเทศต่างๆในภูมิภาค

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก