การปรับปรุงประเทศของ ร.4 ร. 7

การจัดระเบียบการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 4 ยังคงใช้รูปแบบเดิมเหมือนสมัยรัชกาลที่ 3 กล่าวคือโปรดให้ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นดำรงตำแหน่ง วังหน้า แต่ยกฐานะเทียบเท่าพระมหากษัตริย์ พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศร์ มหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ( พระนามเดิมเจ้าฟ้าจุธามณี ) เป็นพระอนุชาร่วมพระชนนีเดียวกันกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในสมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการปฏิรูปประเพณีที่เกี่ยวกับการปกครองบางประการ ได้แก่

1. การใช้กฎหมาย

การปรับปรุงประเทศของ ร.4 ร. 7

ในสมัยรัชกาลที่ 4 อารยธรรมตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทในวงราชการอย่างมาก กฎหมายตราสามดวง ที่ไทยเคยใช้อยู่ไม่สามารถนำมาใช้บังคับได้ทั้งหมด เนื่องจากชาวต่างชาติมักใช้เป็นข้ออ้างอยู่เสมอว่า กฎหมายไทยป่าเถื่อนล้าสมัย กฎหมายบางข้อไม่ยุติธรรมหรือบางครั้งรุนแรงเกินกว่าเหตุ จึงได้มีการตรากฎหมายขึ้นใหม่เกือบ 500 ฉบับ นอกจากนี้ยังมีประกาศต่าง ๆ ที่มีผลบังคับใช้เหมือนกฎหมายอีกมากมาย อาทิ ประกาศให้ชาวกรุงรับจ้างฝรั่งได้ ประกาศห้ามนำคนในบังคับของชาวต่างชาติมาเป็นทาส ประกาศให้ราษฎรและขุนนางสามารถเป็นเจ้าของละครผู้หญิงได้ เป็นต้น นอกจากนี้ได้โปรดให้ตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังนามว่า โรงอักษรพิมพการ เพื่อใช้พิมพ์เอกสารต่าง ๆ ของทางราชการ โดยพิมพ์ออกมาในรูปหนังสือพิมพ์แถลงข่าวของทางราชการ โดยพระราชทานนามว่า “ราชกิจจานุเบกษา”

การปรับปรุงประเทศของ ร.4 ร. 7

2. การพิพากษาคดีและการศาล

การปรับปรุงประเทศของ ร.4 ร. 7

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศาล ส่วนใหญ่ยังคงใช้แบบเดิมยังไม่ได้รวมเป็นกระทรวงเดียวกัน การพิจารณาคดีความต่าง ๆ ได้โปรดให้ยกเลิกวิธีการพิจารณาพิพากษาตามจารีตนครบาลอันทารุณโหดร้ายเสีย มีการจัดตั้ง ศาลคดีต่างประเทศหรือศาลต่างประเทศ ขึ้น เพื่อใช้ว่าความในกรณีที่คนไทยเป็นจำเลย โดยมีเรื่องราวกับชาวต่างชาติ ที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในเมืองไทย หรือเข้ามาติดต่อค้าขายกับคนไทย มีการจัดตั้งศาลกงสุลขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจัดตั้งขึ้นอันเนื่องมาจากการทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตก เมื่อเกิดกรณีพิพาทระหว่างคนไทยกับคนในบังคับของชาวต่างชาติหรือชาวต่างชาติแล้ว ถ้าเป็นความอาญาและคนในบังคับของชาวต่างชาติหรือชาวต่างชาติเป็นผู้กระทำผิด กงสุลประเทศนั้น ๆ จะเป็นผู้พิจารณาพิพากษาโทษ ตามกฎหมายของเขาเอง ลักษณะอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยไม่มีเอกราชในทางศาลหรือที่เรียกกันว่า ไทยเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

3. กำเนิดตำรวจนครบาล

การปรับปรุงประเทศของ ร.4 ร. 7

ได้มีการจัดตั้งตำรวจพระนครบาลหรือโปลิส Polis ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2404 โดยได้จ้างชาวยุโรปและชาวมลายูซึ่งเคยเป็นนายโปลิสมาก่อนมาเป็นครูฝึก การจัดตั้งตำรวจพระนครบาลในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายอันจะเกิดขึ้นแก่ชีวิตและทรัพย์สินของชาวยุโรป ตลอดจนรักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร โดยเริ่มปฏิบัติงานครั้งแรกบริเวณตลาดสำเพ็ง

4. การฝึกทหารแบบยุโรป

การปรับปรุงประเทศของ ร.4 ร. 7

ได้จ้าง ร้อยเอกอิมเปย์ Captain Impey ซึ่งเป็นทหารนอกประจำการของกองทัพบกอังกฤษ ประจำประเทศอินเดีย เข้ามาเป็นครูฝึก จัดระเบียบทหารบกใหม่ตามแบบตะวันตก เมื่อ พ.ศ. 2394 การเรียกชื่อ ยศ ตำแหน่ง และการบอกแถวทหาร ใช้ภาษาอังกฤษทั้งสิ้น จึงเรียกการฝึกทหารหน่วยนี้ว่า ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรปหรือทหารเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง ในการฝึกทหารครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นทหารประจำพระองค์ ซึ่งมีถึง 2 กอง คือกองทหารรักษาพระองค์ปืนปลายหอกข้าหลวงเดิมและกองทหารหน้า ในปี พ.ศ. 2395 ได้จ้างทหารนอกราชการชาวอังกฤษอีกคนหนึ่งชื่อ ร.อ.โทมัส ยอร์ช นอกซ์ เข้ามาฝึกทหารทำนองเดียวกันกับร้อยเอกอิมเปย์ ให้กับวังหน้าอีกด้วย

ต่อมาในตอนปลายรัชกาลได้จ้างชาวฝรั่งเศสชื่อ ลามาส เข้ามาฝึกทหารแบบยุโรปแต่ใช้ภาษาฝรั่งเศส การฝึกทหารที่กล่าวมานี้เป็นการฝึกเพื่อใช้เป็นทหารรักษาพระองค์เท่านั้น การป้องกันประเทศยังคงใช้วิธีเดิมทั้งสิ้น

5. ปรับปรุงการทหารเรือ

การปรับปรุงประเทศของ ร.4 ร. 7

ได้โปรดให้เปลี่ยนแปลงเรือรบใหม่ จากเรือกำปั่นรบใช้ใบมาเป็น เรือกำปั่นรบกลไฟ โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ( ช่วง บุนนาค ) เสนาบดีสมุหพระกลาโหมเป็นผู้อำนวยการต่อเรือกำปั่นและบังคับบัญชาเรือกลไฟหลวง ซึ่งจัดเป็นกรมหนึ่งเรียกว่า กรมอรสุมพล ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของกองทัพเรือแห่งราชนาวีไทยในปัจจุบัน ในสมัยนี้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงโปรดการทหารเรืออย่างมากเป็นผู้อำนวยการต่อเรือกลไฟ เรือกลไฟลำแรกของไทยที่ต่อขึ้นในรัชกาลนี้คือ เรือสยามอรสุมพล นอกจากนี้ยังต่อเรือปืนขึ้นอีกหลายลำ อาทิ เรือราญรุกไพรี เรือศรีอยุธยาเดช เป็นต้น และตอนปลายรัชกาลได้ต่อเรือรบขนาดใหญ่ขึ้นคือ เรือสยามูประสดัมภ์ แล้วโปรดให้ตั้ง กรมเรือกลไฟขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2411

          นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงริเริ่มให้ใช้เงินที่เหลือจากการสร้างพระบรมรูปทรงม้าของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาจัดสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทรงพระราชทานที่ดินของพระคลังข้างที่ให้เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเพื่อ ใช้เป็นแหล่งรวบรวมศิลปวิทยาการให้กับประชาชนชาวไทยมาจนทุกวันนี้

หัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ไทยตอนนี้ อยู่ที่การทำ สนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชการที่ 4 ที่มาและสาระสำคัญของการทำสนธิสัญญาเบาริง มีดังนี้สนธิสัญญาเบาริง

ในสมัยรัชการที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงนโยบาย ต่างประเทศ มาเป็นการคบค้ากับชาวตะวันตก เพื่อความอยู่รอดของชาติ เนื่องจากทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งกำลังคุกคามประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนั้น
จุดเร่ิมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ คือ การทำสนธิสัญญาเบาริง กับอังกฤษ ใน พ.ศ. 2398 โดยพระนางเจ้าวิกตอเรีย ได้แต่งตั้งให้ เซอร์ จอห์น เบาริง เป็นราชทูตเข้ามาเจรจา
สาระสำคัญของสนธิสัญเบาริง มีดังนี้
อังกฤษขอตั้งสถานกงสุลในประเทศไทย
คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินในประเทศไทยได้
คนอังกฤษสามารถสร้างวัด และเผยแพร่คริสต์ศาสนาได้
เก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3
พ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าไทยมีสิทธิค้าขายกันได้โดยเสรี
สินค้าต้องห้าม ได้แก่่ ข้าว ปลา เกลือ
ถ้าไทยทำสนธิสัญญากับประเทศอื่น ๆ ที่มีผลประโยชน์เหนือประเทศ อังกฤษ จะต้องทำให้อังกฤษด้วย
สนธิสัญญานี้ จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จนกว่าจะใช้แล้ว 10 ปี และในการแก้ไข ต้องยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย และต้องบอกล่วงหน้า 1 ปี
ผลของสนธิสัญญาเบาริง
ผลดี
รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
การค้าขยายตัวมากขึ้น เปลี่ยนแปลงการค้าเป็นแบบเสรี
อารยธรรมตะวันตก เข้ามาแพร่หลาย สามารถนำมาปรับปรุงบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้ามาขึ้น
ผลเสีย
ไทยเสียสิทธิทางการศาลให้อังกฤษ และคนในบังคับอังกฤษ
อังกฤษ เป็นชาติที่ได้รับสิทธิพิเศษหลายอย่าง
อังกฤษ เป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงไม่ยอมทำการแก้ไข
ผลจากการทำสนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้สภาพสังคมไทย เปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อนำประเทศให้เจริญก้าวหน้า ตามแบบอารยธรรมตะวันตก การเปลี่ยนแปลง ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้

 

1.ด้านการปกครอง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่าง เพื่อให้ราษฎร มีโอกาสใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ คือ เปิดโอกาสให้ราษฎร เข้าเฝ้าได้โดยสะดวก ให้ราษฎรเข้าเฝ้าถวายฎีการ้องทุกข์ได้ ในขณะที่ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ครั้งสำคัญ โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การปรับปรุงในระยะแรก ให้ตั้งสภา 2 สภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และ สภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) กับการปรับปรุงการปกครอง ในระยะหลัง (พ.ศ. 2435) ซึ่งนับว่า เป็นการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยมีลักษณะ คือ การปกครองส่วนกลาง โปรดให้ยกเลิกการปกครอง แบบจตุสดมภ์ และ จัดแบ่งหน่วยราชการเป็นกรมต่าง ๆ 12 กรม (กะรทรวง) มีเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง การปกครองส่วนภูมิภาค ทรงยกเลิก การจัดหัวเมืองที่แบ่งเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี และจัตวา เปลี่ยนการปกครองเป็น เทศาภิบาล ทรงโปรดให้รวมเมืองหลายเมืองเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครอง ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย กับทรงแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด (เมือง) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน และการปกครองส่วนท้องถิ่น เริ่มจัดการทดลองแบบ สุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรก

การปรับปรุงประเทศของ ร.4 ร. 7

 

2. การปฏิรูปกฎหมายและการศาล ในรัชกาลที่ 4 ทรงตรากฎหมายขึ้นหลายฉบับ เพื่อให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาพบ้านเมือง เช่น กฎหมายเกี่ยวกับมรดก สินสมรส ฯลฯ ในสมัยรัชกาลที่ 5 การปฏิรูปกฎหมายและการศาลครั้งสำคัญ มีในสมัยรัชกาลที่ 5 ดดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระบิดาแห่งกฎหมาย) เป็นกำลังสำคัญ ผลการปฏิรูปกฎหมายและการศาล มีดังนี้
ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมาย
ตรากฎหมายขึ้นตามแบบอารยประเทศ ฉบับใหม่ และทันสมัยที่สุด คือ กฎหมาย ลักษณะอาญา
จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น
ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้ปฏิรูปเพิ่มเติมดังนี้

ตั้งกรมร่างกฎหมาย
ร่างกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ทรงดำเนินการเพื่อหาทางแก้ไขสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เช่น การส่งทหารเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1

การปรับปรุงประเทศของ ร.4 ร. 7

3. ด้านเศรษฐกิจ ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้ว การค้าของไทยเจริญก้าวหน้าขึ้น มาก ทำให้มีการปรับปรุงด้านเศรษฐกิจ เช่น ในรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนการใช้เงินพดด้วงมาเป็นเงินเหรียญ และขุดคลอง ตัดถนนเพิ่มขึ้นหลายสาย ในสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนมาตราเงินไทยมาใช้ระบบทศนิยม ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแทนเงิน ให้ใช้เหรียญบาท สลึง และเหรียญสตางค์แทนเงินแบบเดิม มีการจัดตั้งธนาคารของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรก คือ แบางก์สยามกัมมาจล (ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์) ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้ตั้งคลังออมสินขึ้น (ปัจจุบันคือ ธนาคารออสนิ)

4. ด้านการศึกษา ผู้มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาของไทย ตามแบบสมัยใหม่ คือ คณะมิชชันนารีอเมริกัน ซึ่งเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3 และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็ได้ตั้งโรงเรียนชายขึ้นที่ตำบลสำเหร่ ซึ่งปัจจุบัน คือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ส่วนโรงเรียนสตรีแห่งแรกในไทย คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนวัฒนาวิทยา) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการศึกษาครั้งสำคัญขึ้น เืพื่อสร้างคนที่มีความรู้ให้เข้ารับราชการ เพื่อพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ได้มีโรงเรียนประเภทต่าง ๆ เกิดขึ้น คือ โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และโรงเรียนวัดมหรรณพาราม (โรงเรียนสำหรับราษฎรแห่งแรก) นอกจากนี้ ยังได้โปรดให้จัดทำแบบเรียนขึ้น ซึ่งเรียบเรียงโดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

การปรับปรุงประเทศของ ร.4 ร. 7

ในคราวที่ปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้น เพื่อรับผิดชอบในด้านการศึกษา และยังได้พระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงอีกด้วย ส่วนการปรับปรุงการศึกษาที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 6 มีดังนี้

ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้นใช้ในปี พ.ศ. 2464
ให้เรียกเก็บเงิน “ศึกษาพลี” จากราษฎรเพื่อบำรุงการศึกษาในท้องถิ่น
ตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นเป็นแห่งแรก คือ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
5. ด้านศาสนา รัชกาลที่ 4 ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติ ลักษณะการปกครองสงฆ์เป็นฉบับแรก โดยมีสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาสูงสุด มีมหาเถรสมาคมให้คำปรึกษา โปรดให้สร้างวัดขึ้นหลายแห่ง เช่น วัดโสมนัสวิหาร วัดราชประดิษฐ์ วัดปทุมวนาราม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระกรณียกิจที่สำคัญ คือ โปรดให้จัดตั้งสถานศึกษาสำหรับพระสงฆ์ขึ้น 2 แห่ง (ซึ่งต่อมา เป็นมหาวิทยาลัยของสงฆ์ หรือมาหวิทยาลัยพระพุทธศาสนา มีการศึกษาถึงระดับปริญญาเอก) คือ

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยา อยู่ที่วัดมหาธาตุฯ เป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงการณราชวยิทยาลัย ศึกษาได้ทุกนิกาย ทั้งพระสงฆ์ และฆราวาส ทั่วโลก
มหามกุฏราชวิทยาลัย อยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย (ปัจจับันคือ มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย การให้บริการด้านการศึกษา เช่นเดียวมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)

การปรับปรุงประเทศของ ร.4 ร. 7

 

6. ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า ทรงให้เสรีภาพประชาชน ในการนับถือศาสนาและประกอบอาชีพ โปรดให้สตรีได้ยกฐานให้สูงขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการสวมเสื้อราชปะแตก และสวมหมวกอย่างยุโรป ให้ข้าราชการทหารแต่งเครื่องแบบ ตามแบบตะวันตก โปรดให้ผู้ชายในราชสำนัก ไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนมาไว้ผมตัดยาวทั้งศีรษะแบบฝรั่ง โปรดให้ผู้หญิงเลิกไว้ผมปีก ให้ไว้ผมตัดยาว ที่เรียกว่า “ทรงดอกกระุุทุ่ม” ทรงแก้ไขประเพณีการสืบสันตติวงศ์ โดยยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แล้วโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ขึ้น ทรงเลิกประเพณีหมอบคลานเข้าเฝ้า และให้ยืนเข้าเฝ้าแทน ยกเลิกการโกนผม เมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต ยกเลิกการไต่สวนคดีแบบจารีตนครบาล และที่สำคัญที่สุด ที่พระองค์ทรงได้พระราชสมัญญานาม ว่่า “พระปิยมหาราช” ซึ่งแปลว่า มหาราชที่ทรงเป็นที่รักของประชาชน คือการยกเลิกระบบไพร่ และระบบทาส ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัตินามกสุล โปรดให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชทางราชการ แทนรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการ ให้สอดคล้องกับสากลนิยม โปรดให้กำหนดคำนำหน้าชื่อเด็กหญิง เด็กชาย นางสาว และนาง เปลียนแปลงธงประจำชาติ จากธงรูปช้างเผือก มาเป็นธงไตรรงค์ ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ตามแบบประเทศยุโรป

การปรับปรุงประเทศของ ร.4 ร. 7

 

7. ด้านศิลปกรรม ในสมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการก่อสร้างแบบ ตะวันตก เช่น พระราชวังสราญรมย์ พระนครคีรีที่เพชรบุรี ด้านจิตรกรรม ได้แก่ ภาพเขียนฝาผนังในพระอุโบสถ และวิหารวัดบวรนิเวศวิหาร จิตรกรเอกในสมัยนี้ ได้แก่ ขรัวอินโข่ง ซึ่งเริ่มเขียนภาพแบบสามมิติ ตามแบบตะวันตก เป็นบุคคลแรก ในสมัยรัชกาลที่ 5 สถาปัตยกรรม ได้รับอิทธิพล แบบตะวันตกมากขึ้น ประติมากรรม ได้แก่ พระพุทธชินจำลอง วัดเบญจมบพิตร พระบรมรูปหล่อพระมหากษัตริย์ 4 รัชกาล พระราชนิพนธ์ที่สำคัญ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน เงาะป่า ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการก่อสร้างตามแบบไทย ได้แก่ หอประชุมโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย อนุสาวรีย์ทหารอาสา การก่อสร้างแบบตะวันตก เช่น พระราชวังสนามจันทร์ พระราชวังพญาไท ด้านจิตรกรรม ได้แก่ ภาพเขียนที่ฝาผนังวิหารทิศ ที่นครปฐม การก่อสร้างพระพุทธรูป เช่น พระแก้วมรกตน้อย แม่พระธรณีบีบมวยผม ฯลฯ ด้านดนตรี และการแสดงละคร มีความรุ่งเรืองมาก มีการแสดงละครเพิ่มขึ้น หลายประเภท เช่น ละครร้อย ละครพูด ด้านวรรณคดี ได้มีพระราชนิพนหลายเรื่อง เช่น เวนิสวานิช พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ฯลฯ ในรัชสมัยนี้ ได้มีการก่อตั้งวรรณคดีสโมสรขึ้นด้วย