การนําเข้าและส่งออก หมายถึง

ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2562 เป็นต้นมาภาคการนำเข้า – ส่งออกของประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตน้อยลง รวมถึงยังได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และมีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นอีกในปี 2563 ซึ่งส่งผลเสียต่อภาคการนำเข้า ส่งออกอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามงานภาคการส่งออกก็ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญของเศรษฐกิจไทยที่ขาดไม่ได้ หากใครกำลังสนใจงานภาคการส่งออกอยู่ แต่ยังไม่รู้ว่าต้องทำงานอะไรบ้าง วันนี้เรามีรายละเอียด งานนำเข้า ส่งออก มาอธิบายเพื่อทำความเข้าใจงานด้านนี้ให้มากขึ้น

ตำแหน่งงานด้านการนำเข้า – ส่งออก

พนักงานฝ่ายจัดซื้อ และจัดส่ง
– พนักงานคลังสินค้า
– พนักงานประเมินราคา
– ตัวแทนการนำเข้า และส่งออกสินค้า

คุณสมบัติของพนักงาน
– สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. ปวส. ถึงปริญญาตรี ถ้าหากว่ามีประกาศนียบัตรแสดงการอบรมหลักสูตรตัวแทนออกของจากสถาบันที่ได้การรับรองจากกรมศุลกากรด้วยจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
 – มีบัตรผ่านพิธีการศุลกากร หรือบัตรตัวแทนออกของจากกรมศุลกากร
 – สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานพื้นฐานได้
– สามารถใช้ภาษาต่างประเทศได้อย่างคล่องแคล่วโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
– มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับทางศุลกากร วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเอกสารการค้าธุรกิจระหว่างประเทศ
– มีความรับผิดชอบต่อองค์กร และลูกค้า

รายละเอียดหน้าที่การทำงาน

งานนำเข้า (Import)
เป็นงานนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศทั้งจากทางเรือ ทางอากาศ ทางรถยนต์ หรือทางรถไฟ โดยผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าจะต้องดูแลเรื่องราคาสินค้า ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ค่าประกันภัยต่างๆ นอกจากนี้เมื่อสินค้ามาถึงท่าเรือ หรือท่าอากาศยานแล้ว จะต้องเตรียมเอกสารในการสำแดงรายละเอียดต่อกรมศุลกากร ชำระภาษีนำเข้า รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อนำสินค้าชิ้นนั้นออกมา

งานส่งออก (Export)

คืองานที่ดูแลรายละเอียดในการขนส่งสินค้าในประเทศออกไปยังต่างประเทศ โดยจะต้องติดต่อเจรจากับผู้ซื้อในต่างประเทศทั้งเรื่องราคา เส้นทางการขนส่ง ค่าใช้จ่าย และค่าประกันต่างๆ

ซึ่งทั้งงานนำเข้า และส่งออกจะต้องประสานงานกับหลายหน่วยงานมาก ไม่ว่าจะเป็นกรมศุลกากร กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นต้น และมีหน้าที่ในการจัดเรียงใบแจ้งหนี้ให้กับลูกค้า เตรียมการเช็คสินค้าเพื่อรับการเรียกเก็บเงิน สอบถามข้อมูลด้วยตนเองการตรวจสอบความถูกต้องจากภายใน และเอกสารภายนอก ต้องมีความรู้ด้านสิทธิประโยชน์ทาง BOI สิทธิประโยชน์เรื่องเขตการค้าเสรีต่างๆ ควบคุมเอกสารที่จำเป็นทั้งหมด อาทิ

– PO, Purchasing Order หรือใบสั่งซื้อสินค้า
PI, Proforma Invoice หรือใบเรียกเก็บเงิน
PL, Packing List หรือรายการบรรจุสินค้า
CI, Commercial invoice หรือใบกำกับราคาสินค้า
B/L, Bill of lading หรือใบตารางส่งสินค้าทางเรือ
AWB, Airway Bill หรือใบตารางส่งทางอากาศ
D/O, Delivery order หรือใบปล่อยสินค้า
Export / Import entry หรือใบขนสินค้าขาออก/ขาเข้า
Marine/Air Insurance หรือประกันภัยขนส่งสินค้า
CO, Certificate of Origin หรือเอกสารยืนยันถิ่นกำเนิด

ระบบการทำงานนำเข้า หรือส่งออก เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่เกี่ยวกับการขนส่ง ที่ต้องติดต่อประสานงานทั้งในระดับประเทศ และนานาชาติอย่างมาก ดังนั้นการทำงานจะต้องมีความละเอียด รอบคอบ รวมถึงสามารถประสานงานได้เป็นอย่างดี หากสนใจสมัครงานนำเข้า ส่งออก ก็สามารถสมัครได้หลากหลาย เพราะนอกจากบริษัทที่นำสินค้าเข้า และส่งสินค้าออกของประเทศไทยแล้ว ยังมีบริษัทต่างประเทศที่ให้บริการนำของเข้า และส่งออกระดับนานาชาติโดยเฉพาะ ซึ่งต้องการพนักงานที่จะมาทำงานในด้านนี้มากพอสมควร

สมัครงานด้านการนำเข้า ส่งออกกับบริษัทชั้นนำได้ที่ jobsDB
#ให้ก้าวแรกของการทำงานกำหนดเส้นทางชีวิตคุณ
#jobsDB


หางานได้ง่ายกว่าเดิมผ่าน application บนมือถือจาก jobsDB ทั้ง iOS และ Android โหลดเลย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การส่งออก (อังกฤษ: export) หมายถึง การจัดส่งสินค้าและบริการจากต้นทางสู่ปลายทางในทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ โดยผู้ส่งสินค้าหรือบริการออกเรียกว่า "ผู่ส่งออก" ส่วนในทางการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกหมายถึง การขายสินค้าและบริการในประเทศไปสู่ตลาดอื่น (ตลาดสากล)

ในการส่งออกและนำเข้าซึ่งสินค้าจะต้องมีหน่วยงานที่ต้องเกี่ยวข้องด้วยคือ กรมศุลกากร แม้ว่าจะเป็นการนำเข้าหรือส่งออกผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตเองก็จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับกรมศุลการกรด้วย และที่สำคัญต้องอยู่ภายใต้กฎหมายการนำเข้าและส่งออกของประเทศนั้น ๆ[1]

ความสำคัญของการส่งออกในประเทศไทย[แก้]

ในประเทศไทยมักพบว่าสินค้าทางการเกษตรเกินอุปทานของตลาดในประเทศอยู่เสมอ การส่งออกจึงเหมือนเป็นการลดปริมาณสินค้าที่เกินความต้องการของตลาดลง และในภาคอุตสาหกรรมมีบริษัทที่ผลิตสินค้าที่ต่างประเทศต้องการโดยเฉพาะ อาทิ สินค้าทางเกษตรบางประเภท สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในปี พ.ศ. 2555 พบว่าไทยมีรายได้จากการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนออกสูงถึง 831,752.3 ล้านบาท โดยตลาดการส่งออกที่สำคัญได้แก่ จีน อาเซียนและยุโรป ดังนั้นการส่งออกจึงช่วยให้เกิดการขยายการจ้างแรงงานเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย[2][3]

ความสำคัญของภาคการส่งออกสามารถแบ่งได้ดังนี้[แก้]

1. ผลักดันในด้านการขยายการลงทุนและสร้างความต้องการแรงงาน

2. ช่วยในการนำเข้าเงินตราต่างประเทศ

3. ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

4. ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพยากร (Value Added)

5. เป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตลง (Economy of Scale)

6. ช่วยสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

7. ช่วยลดการพึ่งพิงสินค้าจากต่างประเทศ

การอ้างอิง[แก้]

  1. Joshi, Rakesh Mohan, (2005) International Marketing, Oxford University Press, New Delhi and New York ISBN 0-19-567123-6
  2. ความสำคัญของการส่งออกจากเว็บไซต์ Nidambe11.com Archived 2012-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 09.59 น.
  3. มูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในปีพ.ศ. 2555 จากเว็บไซต์ ThaiBiz.netสืบค้นวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 10.11 น.

การนําเข้าคืออะไร

การนำเข้า (Import) หมายถึง การนำเข้าสินค้าเข้ามาจากต่างประเทศ โดยสินค้าที่นำเข้ามักเป็นสินค้าที่ไม่มีหรือผลิตในประเทศไม่ได้ เช่น ยารักษาโรค เครื่องจักรต่าง ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต สินค้าเกษตรบางชนิด

Import กับ Export ต่างกันอย่างไร

สองคำนี้เชื่อว่านักธุรกิจและผู้ทำบัญชีเช่นคุณคงคุ้นเคยเป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็น การนำเข้า (Import) การส่งออก (Export) ความหมายนั้นก็ตามการเรียกนั้นเลย การนำเข้าและส่งออกสินค้าจากต่างประเทศเข้าและออกไปนอกประเทศเพื่อทำการค้าระหว่างกัน เหตุผลแรกที่ทำให้มีขั้นตอนเหล่านี้คือสินค้านั้นๆ ไม่มีในประเทศหรือสามารถผลิตในประเทศนั้น ...

การส่งออกคืออะไร

การส่งออก (อังกฤษ: export) หมายถึง การจัดส่งสินค้าและบริการจากต้นทางสู่ปลายทางในทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ โดยผู้ส่งสินค้าหรือบริการออกเรียกว่า "ผู่ส่งออก" ส่วนในทางการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกหมายถึง การขายสินค้าและบริการในประเทศไปสู่ตลาดอื่น (ตลาดสากล)

ภาษีสินค้านำเข้าและสินค้าส่งออกเรียกว่าอะไร

การนำเข้าและส่งออกสินค้าจะมีการเก็บ ภาษีศุลกากร หรือ Customs Duty ที่เรียกว่า อากร หมายถึง เงินรายได้ของประเทศที่กฎหมายกำหนดให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานจัดเก็บจากการนำของเข้ามาหรือส่งของออกไปต่างประเทศ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก