ถ้าหาก ใน คำสั่ง switch case ไม่มี break เมื่อ โปรแกรม ทำงาน จะ เกิดอะไรขึ้น

ในภาษา C มีคำสั่งควบคุมหลายประเภทที่เราสามารถใช้ได้ เช่น if, if-else, for, while, do-while เป็นต้น ซึ่งคำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรมนั้นจะมีสองประเภทคือ คำสั่งเลือกเงื่อนไขและคำสั่งวนซ้ำ

คำสั่งเลือกเงื่อนไข

คำสั่ง If

คำสั่งควบคุมการทำงานที่เป็นพื้นฐานที่สุดในภาษา C นั้นก็คือคำสั่ง if มันใช้สำหรับสร้างเงื่อนไขให้โปรแกรมทำงานตามที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากวันนี้ฝนไม่ตก คุณจะออกไปเที่ยวข้างนอก นี่เป็นการตัดสินใจที่เกิดขึ้นและถูกนำแนวคิดมาใช้ในการเขียนโปรแกรม นี่เป็นรูปแบบของการใช้งานคำสั่ง if ในภาษา C

if (expression) { // statements }

คำสั่ง if เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบว่าเงื่อนไขเป็นจริงหรือไม่ โดยการใช้ตัวดำเนินการต่างๆ ในการสร้างเงื่อนไขหรือ expression ถ้าผลลัพธ์เป็นจริง โปรแกรมจะทำงานในบล็อคของคำสั่ง if ที่เราได้กำหนดขึ้น และถ้าหากผลลัพธ์ไม่เป็นจริงโปรแกรมจะข้ามการทำงานในบล็อคคำสั่งไป มาดูตัวอย่างการใช้งานของมัน

#include <stdio.h> main() { if (10 == 10) { printf("block 1 is executed.\n"); } if (3 < 1) { printf("block 2 is executed.\n"); } int a = 10; if (a % 2 == 0) { printf("block 3 is executed.\n"); } }

ในการทำงานของโปรแกรมเป็นการใช้คำสั่ง if เพื่อเปรียบเงื่อนไขต่างๆ โดยแต่ละบล็อคคำสั่งจะทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็นจริงเท่านั้น บล็อคแรกจะทำงานเพราะว่า 10 มีค่าเท่ากับ 10 บล็อคที่สองจะไม่ทำงานเพราะว่า 3 ไม่น้อยว่า 1 และสำหรับบล็อคสุดท้ายจะทำงาน เพราะว่า a เป็นจำนวนคู่

และนี่เป็นผลลัพธ์ของโปรแกรมเมื่อรัน คุณจะเห็นว่ามีแค่ block 1 และ 3 ที่แสดงผลเพราะว่าเงื่อนไขของ if เป็นจริง

block 1 is executed block 3 is executed

คำสั่ง If else

คำสั่ง if else เป็นคำสั่งมีการเพิ่มเงื่อนไข else if เข้ามาสำหรับการสร้างเงื่อนไขแบบหลายทางเลือก นั่นหมายถึงในบล็อคของคำสั่งจะทำงานเมื่อเงื่อนไขไม่ต้องกับเงื่อนไขก่อนหน้าแต่ตรงกับเงื่อนไขปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีคำสั่ง else ซึ่งเป็นบล็อคของคำสังที่จะทำงานถ้าหากไม่มีเงื่อนไขใดเป็นจริงเลย มาดูตัวอย่างของการใช้คำสั่ง if-else

#include <stdio.h> main() { int score; scanf ("%d", &score); if (score < 50) printf("Your grade is F"); else if (score < 60) printf("Your grade is D"); else if (score < 70) printf("Your grade is C"); else if (score < 80) printf("Your grade is B"); else printf("Congratulation! You got grade A"); }

ในตัวอย่างนี้เป็นโปรแกรมสำหรับการคำนวณเกรด โดยโปรแกรมจะให้คุณสามารถใส่เกรดเข้ามา และเปรียบเทียบเงื่อนไขโดยใช้คะแนนตรวจสอบ คุณจะสังเกตเห็นว่าเราสามารถ ใช้ else if ได้ถ้าหากมีหลายเงื่อนไข และใช้คำสั่ง else เป็นเงื่อนไข default ในกรณีที่ไม่ตรงกับเงื่อนไขใดๆ เลย

74 Your grade is B

นี่เป็นผลลัพธ์การทำงานของโปรแกรมเมื่อเราได้กรอกคะแนนเป็น 74 ซึ่งตรงกับเงือนไขของเกรด B

คำสั่ง Switch case

Switch case เป็นคำสั่งเงื่อนไขที่ทำงานคล้ายกับ if แต่ส่วนมากจะใช้สำหรับการเปรียบเทียบกับค่าคงที่และต้องเป็นข้อมูลประเภท Integer หรือ Char เท่านั้น มาดูตัวอย่างของการใช้คำสั่ง Switch

#include <stdio.h> main() { int number = 5; switch (number) { case 1: printf("n is 1"); break; case 2: printf("n is 2"); break; case 3: printf("n is 3"); break; default: printf("Unknown"); } }

ในการทำงานจากตัวแปรด้านบน เป็นการส่งตัวแปร number โดยจะนำไปเปรียบเทียบกับแต่ละ case ถ้าเงื่อนไขตรง โปรแกรมจำทำงานทันที่ จนกว่าจะสิ้นสุดบล็อคของคำสั่ง switch ดังนั้นเราจำเป็นต้องใช้คำสั่ง break เพื่อให้จบการทำงาน สำหรับคำสั่ง default จะเป็นการทำหลังจากที่ number ไม่ตรงกับเงื่อนไขใดๆ ก่อนหน้า

คำสั่งวนซ้ำ

คำสั่ง while loop

หลังจากที่คุณได้รู้จักคำสั่งเงื่อนไขพื้นฐานไปแล้ว ต่อไปคุณจะได้รู้จักคำสั่งของการทำงานซ้ำ ซึ่งสามารถให้เราประมวลผลส่วนของโปรแกรมที่ต้องการได้

คำสั่งวนซ้ำที่ง่ายที่สุดคือคำสั่ง while loop โดยการทำงานของคำสั่ง while loop จะทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง และจะสิ้นสุดการทำงานจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ มาดูตัวอย่างของโปรแกรม

#include <stdio.h> main() { int n = 1; while (n <= 10) { printf("%d, ", n); n++; } }

ในตัวอย่างเป็นการใช้คำสั่ง while เพื่อแสดงผลตัวเลข 1 ถึง 10 โดยเราได้กำหนดค่าเริ่มต้นให้ n เท่ากับ 1 และจะเพิ่มขึ้นในการแสดงผลแต่ละครั้ง จนกว่าจะมากกว่า 10 จึงสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรม และจะได้ผลลัพธ์ดังนี้

1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10,

คำสั่ง do-while loop

คำสั่ง do while นั้นคล้ายกับคำสั่ง while แต่สิ่งที่แตกต่างกันเล็กน้อยคือ คำสั่ง do while จะทำงานก่อนอย่างน้อยหนึ่งรอบ แล้วจะตรวจเงื่อนและถ้าเงื่อนไขไม่เป็นจริงจะสิ้นสุดการทำงาน มาดูตัวอย่างการใช้งาน

#include <stdio.h> main() { int n = 1; do { printf("Enter number: "); scanf ("%d", &n); printf("You have entered %d\n", n); } while (n != 0); printf("The program is terminated"); }

ในตัวอย่างนี้ เป็นโปรแกรมที่จะรับค่าจากคีย์บอร์ด โดยจะรับตัวเลขเข้ามาและแสดงผลตัวเลขที่ได้รับเข้ามา และจะสิ้นสุดการทำงานเมื่อตัวเลขเป็น 0

1 You have entered 1 3 You have entered 3 0 You have entered 0 The program is terminated

คำสั่ง for loop

คำสั่ง for loop เป็นคำสั่งวนซ้ำที่เราสามารถกำหนดค่าเริ่มต้นเงื่อนไขและการเปลี่ยนแปลงของค่าได้ ในตอนแรกครั้งเดียว โดยมีรูปแบบดังนี้

for (initial; expression; increment) { // statements }

คำสั่ง for loop สามารถใช้ได้เหมือนกับ คำสั่ง while loop และ do while loop แต่โดยทั่วไปแล้ว เรามักจะใช้คำสั่ง for loop กับการวนซ้ำในจำนวนรวบที่แน่นอน หรือมันมักจะถูกใช้กับอาเรย์ มาดูตัวอย่างการใช้งาน

int i; for (i = 0; i <= 10; i++) { printf("%d, ", i); }

ในตัวอย่างเป็นการใช้คำสั่ง for loop เพื่อวนซ้ำแสดงผลลัพธ์เลข 1 ถึง 10 เหมือนกับตัวอย่างของคำสั่ง while loop ก่อนหน้า มาดูตัวอย่างเพิ่มเติมในการใช้คำสั่ง for loop

#include <stdio.h> main() { char n[] = "Hello World"; int i; for (i = 0; i < strlen(n); i++) { printf("%c", n[i]); } printf("\n"); for (i = strlen(n) - 1; i >= 0; i--) { printf("%c", n[i]); } }

ในตัวอย่างเราได้ใช้ for loop ในการวนอ่านค่าจากในตัวแปรอาเรย์ โดยจำนวนรอบในการวนจะใช้ฟังก์ชัน strlen ในการหาความยาวของอาเรย์ ซึ่งคุณจะได้เรียนรู้เรื่องอาเรย์ในบทหลัง โดยในครั้งแรกจะอ่านมาแสดงปกติ และครั้งที่สองจะอ่านจากด้านหลังมา โดยจะได้ผลลัพธ์ดังนี้

Hello World dlroW olleH

คำสั่ง break

คำสั่ง break เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับหยุดการทำงาน loop ในทันที โดยจะไม่สนใจเงื่อนไขของ loop ว่ายังเป็นจริงอยู่หรือไม่ มาดูตัวอย่างการใช้งานในการแสดงผลตัวเลข 1 ถึง 10

#include <stdio.h> main() { int i; for (i = 1; i <= 10; i++) { printf("%d, ", i); if (i == 3) break; } }

ในการทำงานของโปรแกรม โปรแกรมจะวนเพียง 3 รอบ เพราะว่าเมื่อ i มีค่าเป็น 3 เราได้ใช้คำสั่ง break เพื่อให้สิ้นสุดการทำงานของ for loop ทันที โดยจะไม่สนใจกว่าเงื่อนไขของ for loop จะยังคงเป็นจริง และนี่เป็นผลลัพธ์ของโปรแกรมเมื่อรัน

1, 2, 3,

คำสั่ง continue

คำสั่ง continue เป็นคำสั่งสำหรับการข้ามการทำงานในรอบปัจจุบัน และทำงานในรอบใหม่ทันที มาดูตัวอย่าง

#include <stdio.h> main() { int i; for (i = 1; i <= 10; i++) { if (i % 2 != 0) continue; printf("%d, ", i); } }

ในตัวอย่างโปรแกรมจะทำงานคำสั่ง continue ถ้าหาก i หาร 2 มีเศษเป็น 0 หรือจำนวนคู่ ดังนั้นโปรแกรมจะได้ดังนี้

2, 4, 6, 8, 10,

ถ้าไม่มีคำสั่ง break ในการทำงานแบบ Switch จะเกิดอะไรขึ้น

การนำคำสั่ง break มาซ้อนไว้ใน case ต่าง ๆ ของคำสั่ง switch จะช่วยให้โปรแกรมไม่ล่วงล้ำเข้าไปทำใน case ที่อยู่ถัดไป แต่ถ้าไม่มีประโยคคำสั่ง break เมื่อทำ case ใด ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว คอมไพล์เลอร์ก็จะให้ไปทำใน case ที่อยู่ถัดไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะจบบล๊อกของประโยค

คำสั่ง Switch..case สามารถใช้ได้ในกรณีใด

คำสั่ง switch-case นี้จะใช้ในกรณีที่มีหลายทางเลือก แต่ใช้ค่าของตัวแปรเพียงตัวเดียวมาตรวจสอบกับค่าคงที่ ถ้าตรวจสอบแล้วมีค่าตรงกับค่าคงที่ใดก็จะไปทำงานส่วนการทำงานของค่าคงที่นั้น และหากค่าที่นำมาตรวจสอบไม่ตรงกับค่าคงที่ใด ๆ ก็จะทำงานในส่วนของ default. รูปแบบคำสั่ง switch(Variable)

การสร้างบล๊อคของสเตตเมนต์หรือสร้างสเตตเมนต์รวมจะเขียนอยู่ในเครื่องหมายใด

2.ถ้าหากสเตตเมนต์ที่ต้องการให้ทำหลัง if เป็นสเตตเมนต์รวม หรือมีการทำหลายๆ คำสั่ง จะต้องใส่เครื่องหมายวงเล็บ เพื่อรวมสเตตเมนต์เป็นบล็อก ตัวอย่างเช่น

คำสั่งใดทำหน้าที่ให้การทำงานออกจาก case ของคำสั่งswitch

break หมายถึง คำสั่งที่สั่งให้ออกจาก case นั้นแล้วกลับไปทำงานต่อจากคำสั่งที่อยู่ ต่อจากคำสั่ง switch() default หมายถึง ส่วนที่จะให้ทำงานเมื่อไม่มีค่าของตัวแปรตรงกับเงื่อนไขใดในแต่ละ case ซึ่งส่วน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก