ถ้าขาดความสามัคคีจะเกิดอะไรขึ้น

ไทยรัฐ สำนักข่าวอันดับ 1 ของไทย | ไทยรัฐออนไลน์ ไทยรัฐออนไลน์

  • ข่าว

    • พระราชสำนัก
    • ทั่วไทย
    • ในกระแส
    • การเมือง
    • เศรษฐกิจ
    • ต่างประเทศ
    • อาชญากรรม
    • ยานยนต์
    • เทคโนโลยี
    • ราคาทองคำ
    • รายงานพิเศษ

  • วิดีโอ
  • หนังสือพิมพ์
  • ไทยรัฐทีวี

    • ดูย้อนหลัง
    • ผังรายการ
    • Live

  • ไลฟ์สไตล์
  • กีฬา

    • ฟุตบอลต่างประเทศ
    • ฟุตบอลไทย
    • Sport insider
    • ไฟต์สปอร์ต
    • กีฬาโลก
    • วิดีโอ
    • แกลเลอรี่
    • ซีเกมส์ 2021

  • บันเทิง
  • ดวง
  • หวย
  • นิยาย
  • โปรโมชั่น

    • ซื้อ-ขาย
    • ส่วนลด
    • เช็คราคา

  • ThairathPlus

ขาดความสามัคคี

THAIRATH MEMBERSHIP

ข่าว

  • ข่าวล่าสุด
  • พระราชสำนัก
  • ทั่วไทย
  • ในกระแส
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ
  • ต่างประเทศ
  • อาชญากรรม
  • ยานยนต์
  • เทคโนโลยี
  • ราคาทองคำ
  • รายงานพิเศษ

  • ฟุตบอลต่างประเทศ
  • ฟุตบอลไทย
  • Sport insider
  • ไฟต์สปอร์ต
  • กีฬาโลก
  • วิดีโอ
  • แกลเลอรี่
  • ซีเกมส์ 2021

  • ดูย้อนหลัง
  • วาไรตี้บันเทิง
  • กีฬา
  • ผังรายการ
  • Live

ความสามัคคี

     สามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้องการ เกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์ ผู้ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตน ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ

คุณธรรมพื้นฐานเรื่องสามัคคีมีความสำคัญอย่างไร?

     ในการดำเนินชีวิตของเรา ย่อมต้องมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมห้อง เพื่อนร่วมงาน ร่วมชุมชน ตลอดจนพี่น้องร่วมครอบครัว จะเกิดเป็นความสัมพันธ์อันดีหรือที่เรียกว่า ความสามัคคี ได้นั้น ต้องอาศัยเหตุที่เรียกว่า สาราณียธรรม หรือธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน กระทำซึ่งความเคารพระหว่างกัน อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยดี มีความสุข ความสงบ ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ทำร้ายทำลายกัน มี 6 ประการ นั่นคือ
     1. เมตตากายกรรม หรือ ทำต่อกันด้วยเมตตา คือ แสดงไมตรีและความหวังดีต่อเพื่อน ต่อผู้อื่นด้วยการช่วยเหลือธุระต่างๆ โดยเต็มใจ แสดงอาการกิริยาสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
     2. เมตตาวจีกรรม หรือ พูดต่อกันด้วยเมตตา คือ ช่วยบอกสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอนหรือแนะนำตักเตือนกันด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
     3. เมตตานโนกรรม หรือ คิดต่อกันด้วยเมตตา คือ ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน
     4. สาธารณโภคี หรือ ได้มาแบ่งกันกินใช้ คือ แบ่งปันลาภผลที่ได้มาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน
     5. สีลสามัญญตา หรือ ประพฤติให้ดีเหมือนเขา คือ มีความประพฤติสุจริต ดีงาม รักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจ หรือทำความเสื่อมเสียแก่หมู่คณะ
     6. ทิฏฐิสามัญญตา หรือ ปรับความเห็นเข้ากันได้ คือ เคารพรับฟังความคิดเห็นกัน มีความเห็นชอบร่วมกัน ตกลงกันได้ในหลักการสำคัญ ยึดถืออุดมคติหลักแห่งความดีงาม หรือจุดหมายอันเดียวกัน

     ธรรมทั้ง 6 ประการนี้ อันได้แก่ ทำ-พูด-คิดต่อกันด้วยเมตตา มีน้ำใจ แบ่งปัน ประพฤติสุจริต รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน สามารถเคารพนับถือกัน ช่วยเหลือดูแลกัน มีความพร้อมเพรียง มีความร่วมมือ ผนึกกำลังกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน หากเราทุกคนได้ปฏิบัติ ก็จะเกิดเป็นคุณค่าที่จะก่อให้เกิดความสามัคคีในการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยดีและมีความสงบสุข ปลอดภัย อันเป็นสิ่งที่เราทุกคนล้วนปรารถนา

ที่มา : //taamkru.com/

หนังสั้น ความสามัคคีคืออะไร Full HD 

(รางวัลที่ 1 ระดับประเทศ)

"ความสามัคคี คือ การรวมพลังกับคนอื่น เพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความพร้อมเพียงกันให้สำเร็จสมประสงค์ "
ความสามัคคี จาก หนังสือนวนิยาย ความสามัคคีของคนในชาติ
ผู้แต่ง นายชิต บุรทัต

     ความสามัคคี คือ การรวมพลังกับคนอื่น เพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความพร้อมเพียงกันให้สำเร็จสมประสงค์ การรวมกำลังกับคนอื่น จะเพิ่มขีดความสามารถทำงานใหญ่ได้สำเร็จ การรวมกำลังอาจจะเป็น กำลังกาย กำลังความคิดเห็น กำลังความรู้ สุดแต่ผูใดจะมีกำลังอย่างใด แล้วใช้กำลังความสามารถที่มีอยู่ด้วยความพร้อมเพียง เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยไม่มีการวิวาบาดหมางกัน ความพร้อมเพียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หมายถึง การทำหน้าที่ ใครมีหน้าที่อย่างใดก็ทำหน้าที่อย่างนั้น ไม่สับสน เกี่ยงงานรักษาหน้าที่ของตนให้ดำเนินไปด้วยดี ประเทศชาติที่มีคนพร้อมเพรียงอย่างนี้ ย่อมนำไปสู่ความเจริญมั่นคง ซึ่งเป็นบ่อเกิดของความสุขความเจริญ และเป็นสิ่งคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ไปด้วย

     ความพร้อมเพรียงกันจำแนกเป็น 2 อย่าง คือ

1. การพร้อมเพรียงกันทางกาย ได้แก่ การช่วยกันสนับสนุนส่งเสริมการงาน ของหมู่คณะให้สำเร็จลุล่วงไม่รังเกียจเกี่ยงงอน แก่งแย่งชิงดีกัน หรือแตกแยกเป็นก๊กเป็นเหล่า

2. การพร้อมเพรียงกันทางใจ ได้แก่ มีใจรักใครหวัดดีต่อกัน ไม่บาดหมาง เกลียดชัง มีความคิดเห็นกลมเกลียว ช่วยกันคิดอ่านการงานของหมู่คณะด้วยใจซื่ตรง และหวังประโยชน์ส่วนรวม เป็นใหญ่ ไม่ทำความคิดเห็นแตกต่าง แก่งแย่งกันหรือคิดชิงดีกันด้วยอำนาจ ถือทิฎฐิมานะ

     ความสามัคคี เป็นสิ่งคุ้มครองป้องกันภัยอันตราย ถ้าชาติใดมีความสามัคคีพร้อมเพียงกัน ชาตินั้นก็มีพลังต่อสู้เข้มแข็ง หากมีชาติอื่นมารุกรานก็สามารถรวมกำลังต่อสู้เพื่อรักษาอิสรภาพไว้ได้ การแตกความสามัคคีจะเป็นผลร้าย นำความหายนะมาสู่หมู่คณะ ตลอดถึงประเทศชาติ ควาสามัคคีของชาติคือ บุคคลในชาติต่างทำหน้าที่ของตนเอง ถ้าต่างไม่ทำหน้าที่หรือเกี่ยงงอนกัน พนักงานต่าง ๆ ทำงานล่าช้าผลัดวันประกันพรุ่ง หรือใช้อำนาจข่มขู่ราษฎร คนก็เบื่อหน่ายชิงชัง ประชาชนไม่ยอมเสียภาษีเท่าที่ควค ก็จะพัฒนาประเทศชาติไม่ได้เต็มที่ ชาวไร่ชาวนาไม่ทำหน้าที่ให้ได้ผลผลิตเต็มที่ก็ย่อมทำให้เกิดการขาดแคลนและทำให้ราคาสินค้าต่าง ๆ พลอยสูงขึ้น ตำรวจไม่ทำหน้าที่ โจรผู้ร้ายชุกชุม ทหารไม่ทำหน้าที่ฝึกหัดอบรมเตรียมความพร้อมไว้ป้องกันประเทศชาติ คือต่างไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตน ประเทศชาติก็จะถึงความพินาศล่มจม ซึ่งเป็นผลมาจากการแตกความสามัคคีทั้งสิ้น เหตุที่ทำให้ความสามัคคีแตกร้าว มักเป็นด้วยบุคคลคิดถึงประโยชน์ของตนยิ่งกว่าประโยชน์ของหมู่คณะ

นางสาวฐิติพร บุญล้วน

ที่มา : www.gotoknow.org/posts/356714

พลังสร้างชาติคือพลังของความสามัคคี

     

ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2532 ถึงแม้จะผ่านมาหลายปีแต่กระผมเห็นว่ายังคงทันสมัยอยู่ อีกทั้งแสดงให้เห็นว่าความสามัคคีเป็นจริยธรรมที่มีความสำคัญในการสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงให้ประเทศชาติ พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีดังนี้

     "...ความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับความรักใคร่เผื่อแผ่ช่วยเหลือกันฉันญาติพี่น้องสอง ประการนี้ คือ คุณลักษณะสำคัญของไทย ที่ช่วยให้ชาติบ้านเมืองอยู่รอดเป็นอิสระ และเจริญมั่นคงมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน..."

     เราต้องยอมรับว่า ในยุคปัจจุบันสังคมไทยมีความแตกแยกทางด้านความคิดกันมาก โดยเฉพาะเรื่องประเด็นของการเมือง ไม่ว่าเรื่องของ คนเสื้อแดง คนเสื้อเหลือง คนเสื้อน้ำเงิน คนเสื้อดำ และคนเสื้อเขียว เป็นต้น

     ซึ่งการแตกแยกดังกล่าว ทำให้เกิดความกลัว เกิดความไม่ไว้วางใจกันขึ้น บางคนไม่กล้าที่จะใส่เสื้อสีแดง หรือ เสื้อสีเหลือง ไปในที่ต่างๆ เนื่องจาก เกรงกลัวว่า กลุ่มคนเสื้อสีฝ่ายตรงกันข้ามจะเข้าใจผิด อีกทั้งอาจถูกทำร้ายได้

     การแตกแยกความคิดทางการเมืองดังกล่าวทำให้ เศรษฐกิจของประเทศ สังคม รวมทั้งบ้านเมืองถูกทำลาย ดังเช่นการชุมชนทางการเมืองในอดีตที่ผ่านมามีการเผา ทำลาย ตึก อาคาร สถานที่ราชการ ทำให้ประเทศไทยของเราถดถอย ในทางตรงกันข้าม ประเทศเพื่อนบ้านของเรากลับเจริญรุดหน้า ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม เขมร มาเลเซีย ฯลฯ

     เนื่องจากประเทศเหล่านี้ไม่ได้เกิดการแตกแยกกันภายในประเทศ แต่ประเทศเหล่านี้กลับมีความสามัคคีกันของคนในชาติ จึงทำให้เกิดการรุดหน้าทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

     ในประวัติศาสตร์ชาติไทยของเรา ชาวบางระจัน ชนะศึกสงครามเพราะอะไร ในอดีตไทยเรา สมเด็จพระนเรศวร ทรงชนะศึกเพราะเหตุใด หรือ พระเจ้าตากสินมหาราชชนะศึกเพราะเหตุใด ไม่ใช่เพราะความสามัคคีของคนในชาติหรือ

     ความสามัคคีมีความสำคัญมาก ความสามัคคีจะช่วยให้ชาติของเรา สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้อย่างมั่นคงและถาวร ดังสัตว์ชนิดหนึ่งคือ ปลวก ปลวกเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ แต่ปลวกสามารถสร้างจอมปลวกอันเข้มแข็งใหญ่โตเท่าภูเขาลูกเล็กๆขึ้นมาได้ ซึ่งจอมปลวกสามารถทนต่อลมฝน อีกทั้งพายุไม่สามารถจะทำลายลงได้ ทั้งนี้เพราะเหตุใด ก็เพราะปลวกเป็นสัตว์ตัวเล็กที่รู้จักช่วยเหลือกัน รู้จักความสามัคคี ทำงานกันเป็นทีม และมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อหน้าที่ของมัน

     หากพวกเรามีความสามัคคีกัน กระผมเชื่อว่า หากสังคมไทย ต้องการมีความสงบสุข มีความเจริญก้าวหน้า มีความอบอุ่นและน่าอยู่มากกว่าทุกวันนี้ เราคงหนีไม่พ้นในเรื่องของความสามัคคีกัน เพราะความสามัคคีจะก่อให้เกิด การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เกิดการเรียนรู้ในเรื่องการเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน ยอมรับในความแตกต่างซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และรู้จักการให้อภัยกัน

     ดังนั้น หากเรา มาร่วมมือกันพัฒนาสังคมของเราให้มีความอบอุ่นและน่าอยู่ ก็ด้วยการเสริมสร้างความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันให้เกิดขึ้นในสังคมไทยของ เรา แล้วเราจะได้พบกับสันติภาพและความอบอุ่นที่เราแต่ละคนต่างก็ปรารถนาและใฝ่ฝันหาตลอดมา

     ท้ายนี้อยากฝากบทเพลงที่มีความหมายชื่อเพลง “รักกันไว้เถิด” ที่แต่งเนื้อร้องโดยครูนคร ถนอมทรัพย์

     “รักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทย จะเกิดภาคไหนก็ไทยด้วยกัน เชื้อสายประเพณีไม่มีกัดกั้น เกิดใต้ธงไทยนั้นปวงชนทุกคนคือไทย…"

     โดย...สถาบันพัฒนาบุคลากร ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

ที่มา : //www.oknation.net/

หนังสั้น ปัญหาการขาดความสามัคคี

Union is strength

สามัคคีคือพลัง 


หากคนไทยขาดความสามัคคี...ใครจะได้ประโยชน์กันบ้าง??????

     วันนี้นั่งคิดแล้วรู้สึกอึดอัดเลยอยากเขียนความรู้สึกออกมาบ้าง ข่าวคราวในช่วงที่ผ่านมาทำให้เริ่มวิตกกังวลว่าต่อไปประเทศไทยจะเป็นอย่างไรกันบ้าง การที่พวกเรามีความคิดที่แตกต่างกันคงจะไม่ใช่เรื่องผิด แต่ในความต่างแล้วทำให้เกิดการแตกความสามัคคี หากมองต่อไปในวันข้างหน้า จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เคยมองกันบ้างหรือเปล่า

     เคยมีคนต่างชาติบอกว่าหากประเทศไทยรวมตัวกันได้จะเป็นประเทศที่น่ากลัวเพราะเรามีความพร้อมในทุกด้าน มีอาหารอุดมสมบูรณ์เป็นครัวของโลกได้ มีภูิมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา(ซึ่งคนไทยมองไม่เห็นแต่นักวิจัยต่างชาติเข้ามาศึกษาให้ทุนวิจัยแล้วก็...นำกลับไปจดสิทธิบัตรเป็นของตนเอง) มันสมองของคนไทยก็ไม่แพ้ชาติใดในโลก ไม่มีภัยธรรมชาติเ่ท่ากับประเทศอื่น มีประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาิติที่สวยงาม

     แต่...ทำไมประเทศไทยถึงเหมือนย่ำอยู่กับที่ ลองมองประเทศต่างๆรอบๆตัวเราดูบ้างว่าเขาพัฒนาไปถึงไหนกันแล้วแล้วเปรียบเทียบกับประเทศเราบ้าง

     การท่องเที่ยว ผู้เขียนไปเวียดนามเมื่อปีที่แล้วเจอนักท่องเที่ยวบอกว่าเขาไม่มาประเทศไทยหรอกเพราะว่า "ประเทศไทยมีสงครามกลางเมือง" ตอนนี้เห็นหลายๆประเทศรอบๆตัวเราล้วนประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในประเทศกันใหญ่

     การลงทุน ธุรกิจหลายแห่งเริ่มปิดกิจการและย้ายฐานการลงทุนไปอยู่ประเทศไหนกันบ้าง ส่วนแรงงานไทยที่ทิ้งไร่นาเข้ามาขายแรงงานในเมือง จะกลับไปทำนาก็ล้วนขายที่นาให้กับ....นายหน้าซึ่งเจ้าของที่แท้จริงล้วนเป็นชาวต่างชาติทั้งสิ้น

     การเงิน/การคลัง คนไทยถูกสร้างค่านิยมให้เป็นหนี้กันมากขึ้น กลายเป็นพวกบริโภคนิยม การกู้เงินสามารถทำกันได้ง่ายๆ สถาบันการเงินต่างประเทศเข้ามามากมาย ส่วนรัฐบาลก็เน้นนโยบายทางด้านรายจ่ายมาก หนี้สาธารณะก็เิพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย แล้วรายรับมาจากไหนบ้างนอกจาก ภาษีอากร

     การศึกษา........ทราบมาว่าเิริ่มมีการวางแผนระยะยาวที่ดีในรัฐบาลชุดนี้ แต่สิ่งที่เป็นห่วงมากคือ เดี๋ยวนี้เด็กไทยเน้นพัฒนากันแต่ IQ เห็นเด็กไทยเก่งมากได้รับรางวัลระดับนานาชาติมากมาย แต่ EQ และ AQ ได้พัฒนาด้วยหรือเปล่า

     การเมือง......อันนี้ก็ขอผ่านไปไม่อยากพูดถึงในบันทึกนี้ก็อย่างที่เราเห็นกัน

ลูกศิษย์เคยถามผู้เขียนว่า
     " อาจารย์เคยฟังนิทานเรื่องนี้มั้ยคะเขาเล่าว่า ตอนพระเจ้าสร้างโลกนั้น บริเวณแผ่นดินที่ต้องเจอภัยธรรมชาติ มรสุมมากมายพระเจ้าก็จัดสรรคนอย่างเช่น ให้คนเวียดนามอยู่ เพราะเป็นคนขยัน อดทน แต่เพื่อให้เกิดความยุติธรรมเมื่อเป็นแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์เพียบพร้อมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติอย่างดินแดนขวานทองของเรา พระเจ้าจึงส่งคนไทยมาอยู่ไงคะอาจารย์.....เพื่อให้สมดุลกัน "

     บันทึกนี้เขียนขึ้นมาแบบไม่ทราบว่าจะมีใครเข้ามาอ่านหรือเปล่านะคะ แต่เป็นหนึ่งเสียงที่รู้สึกเป็นห่วงจริงๆค่ะ เพราะถ้าพวกเราไม่ช่วยกันสร้างความสามัคคี เห็นแต่ผลประโยชน์ส่วนตน ผลเสียก็ตกอยู่กับพวกเราคนไทยทั้งประเทศ ทั้งๆที่เรามีความได้เปรียบประเทศอื่นมากมายแท้ๆ

     ลองคิดดูว่า..ถ้าคนไทยเราทั้งประเทศรวมตัวกันได้จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง????? ความฝัน...ที่รอวันเป็นจริง

ที่มา : //www.gotoknow.org/posts/311848

GEN231_A1_G04_เมืองไทยขาด_ความสามัคคี

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดูความคิดเห็นเกี่ยวกับ [กดลิ้งค์]

ที่มา : th.answers.yahoo.com/question

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วิธีสร้างความรักและความสามัคคีของคนไทย

     ในภาวะเหตุการณ์ที่บ้านเมืองวุ่นวายอย่างทุกวันนี้ ทุกคนต่างมองหาความสงบสุขและไม่อยากรับรู้ข่าวสารที่ไม่ดีระหว่างคนไทยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อเหลือง + เสื้อแดงหรือจะเสื้ออะไรก็ช่าง เราเป็นคนไทยทุกคน และมีความหวังว่าเราจะกลับมารวมกันเป็นหนึ่งอีกครั้ง

     1. ให้คิดก่อนว่า เราอาจมีความเห็นแตกต่าง(นานาจิตตัง)ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์โลก แต่เราต้องไม่แตกแยก รับฟังความคิดเห็นของทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นกลางและคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล

     2. คนไทยใช้สันติวิธี โดยตระหนักว่าความคิดเห็นที่แตกต่างไม่ใช่ศัตรูของเรา มองหาจุดร่วมเป็นความสมัครสมานสามัคคีซึ่งจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

     3. คนไทยมีสติและปัญญาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งรุนแรงต่างๆ ด้วยเหตุผล

     4. คนไทยยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมที่ดีงาม

     5. คนไทยควรทำหน้าที่มากกว่ารักษาสิทธิ เช่น เราเป็นเด็กมีหน้าที่เรียนหนังสือ ก็ควรตั้งใจเรียนหนังสือให้ดีที่สุด เป็นต้น

     6. คนไทยพูดจานุ่มนวลด้วยความสมานสามัคคี เป็นไมตรีอันดียิ่ง

     7. คนไทยมาร่วมระดมความคิด หันมาผูกมิตรกันด้วยคุณธรรม

     8. อย่าให้ความโกรธ ความริษยามาทำลายคนไทยด้วยกันเอง

     9. ลด ละ เลิก อคติหรือความลำเอียงทางความคิด ไม่ต้องเลือกอยู่ฝ่ายไหน เพราะทำให้เราสูญเสียศักยภาพในการที่จะใช้ปัญญาอย่างเป็นกลาง

พอเสียทีได้ไหม ?

เลิก "จับผิด ริษยา แตกสามัคคี"

หันมา "จับตาดู (อย่างไม่มีอคติ)

มุทิตา (เมตตา) สามัคคี" กันดีไหม ?

ที่มา : //www.dek-d.com/board/view/1184810/

ความสามัคคีมีความสําคัญอย่างไร

ความสามัคคี เป็นสิ่งคุ้มครองป้องกันภัยอันตราย ถ้าชาติใดมีความสามัคคีพร้อมเพียงกัน ชาตินั้นก็มีพลังต่อสู้เข้มแข็ง หากมีชาติอื่นมารุกรานก็สามารถรวมกำลังต่อสู้เพื่อรักษาอิสรภาพไว้ได้ การแตกความสามัคคีจะเป็นผลร้าย นำความหายนะมาสู่หมู่คณะ ตลอดถึงประเทศชาติ ควาสามัคคีของชาติคือ บุคคลในชาติต่างทำหน้าที่ของตนเอง ถ้าต่างไม่ทำ ...

ความสามัคคีมีอะไรบ้าง

ความสามัคคีคือ ความพร้อมเพรียง ความปรองดอง ความกลมเกลียว เป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง หรือ วิวาทบาดหมางกันและกัน มีการประชุม ปรึกษาหารือกันเมื่อเกิดปัญหา ( ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต )

ความสามัคคีในครอบครัวมีอะไรบ้าง

ธรรมทั้ง 6 ประการนี้ อันได้แก่ ทำ-พูด-คิดต่อกันด้วยเมตตา มีน้ำใจ แบ่งปัน ประพฤติสุจริต รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน สามารถเคารพนับถือกัน ช่วยเหลือดูแลกัน มีความพร้อมเพรียง มีความร่วมมือ ผนึกกำลังกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน หากเราทุกคนได้ปฏิบัติ ก็จะเกิดเป็นคุณค่าที่จะก่อให้เกิดความสามัคคีในการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยดี ...

คุณธรรมใดก่อให้เกิดความสามัคคี

สาราณียธรรม 6 หลักธรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคี.
เมตตาทางกาย (กายกรรม).
เมตตาทางวาจา (วจีกรรม).
เมตตาทางใจ (มโนกรรม).
ปัญญา (ทิฎฐิสามัญญตา).

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก