หากต่อมไทรอยด์

Skip to content

  • รู้จักเรา
  • บริการผู้ป่วย
  • บริการทางการแพทย์
  • แพ็กเกจและโปรแกรม
  • บทความสุขภาพ
  • ข่าวสารและบริการ

เจ็บแต่จบในหนึ่งชั่วโมง “จี้ไฟฟ้าหัวใจ” หยุดปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยประสบการณ์ของ นพ.ปริวัตร เพ็งแก้วอ่านต่อ

หมดกังวลเรื่องการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจแค่มาเจอ นพ.ทวีศักดิ์ โชติวัฒนพงษ์อ่านต่อ

เลเซอร์ริดสีดวงพักฟื้น 1 คืน ไม่เจ็บอย่างที่คิดอ่านต่อ

ผอมเพรียวด้วยบอลลูนลดน้ำหนัก 8 เดือน ลง 35 กิโลกรัมอ่านต่อ

INTERNATIONAL REFERRAL CENTER (-RAA)อ่านต่อ

โปรแกรมตรวจสุขภาพหลังติดโควิดอ่านต่อ

1 เดือนเปลี่ยนชีวิต กับโปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติอ่านต่อ

สิทธิพิเศษสำหรับผู้ถือบัตรเครดิตไทยพาณิชย์เบาใจไม่ต้องจ่ายเยอะ แลก Point 10%* รับเงินคืนสบายอ่านต่อ

สัญญาณต่อมลูกหมากโตที่ผู้ชายควรรู้อ่านต่อ

เลเซอร์ ทางเลือกรักษาช่องคลอดแห้งอ่านต่อ

CANCER VACCINE นวัตกรรมใหม่ของการรักษาอ่านต่อ

เปิดประสบการณ์การทำความสะอาดฟันแบบใหม่ ที่โรงพยาบาลเวชธานี GBT Certified Dental Clinicอ่านต่อ

Breast Cancer Awareness Month เวชธานี เรื่องเต้า เราเข้าใจคุณอ่านต่อ

โรงพยาบาลเวชธานีร่วมกับสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพแก่สมาชิก“ECONMASS FIT HERO”อ่านต่อ

โรงพยาบาลเวชธานี ร่วมออกบูธในงาน Thailand InsurTech Fair 2022 “Reshaping Insurance to the Multiverse of InsurTech for the Futureอ่านต่อ

โรงพยาบาลเวชธานีขอเรียนเชิญเข้าร่วมงาน BREAST CANCER AWARENESS MONTH “เวชธานี เรื่องเต้า เราเข้าใจคุณ”อ่านต่อ

“ไทรอยด์เป็นพิษ” อันตรายต่อร่างกายเกือบทั้งระบบ

“ไทรอยด์” (Thyroid Gland) เป็นต่อมไร้ท่อใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่บริเวณส่วนหน้าของลำคอ มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนและหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปทำหน้าที่ตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมองและต่อมไฮโปธาลามัส ซึ่งการสร้างฮอร์โมนนั้นจำเป็นต้องใช้ไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ หากได้รับไอโอดีนมากหรือน้อยเกินไปก็อาจทำให้การทำงานผิดปกติและส่งผลกระทบต่ออวัยวะแทบทุกระบบในร่างกาย

ความสำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์

ฮอร์โมนไทรอยด์ส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้

  • ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ
  • สัมพันธ์กับการทำงานของสมองและระบบประสาท รวมถึงภาวะด้านอารมณ์
  • ควบคุมระบบเผาผลาญและอุณหภูมิของร่างกาย
  • ช่วยส่งเสริมการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ เช่น กล้ามเนื้อ หัวใจ กระดูก

ทั้งนี้ หากร่างกายมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูงกว่าปกติ ระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น โดยภาวะนี้เรียกว่า “ไทรอยด์เป็นพิษ” ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก

สาเหตุ “ไทรอยด์เป็นพิษ”

ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีสาเหตุของโรคแตกต่างกันไป ดังนี้

  • สร้างฮอร์โมนมากผิดปกติ
  • ต่อมไทรอยด์อักเสบ จึงปล่อยฮอร์โมนที่เก็บไว้ออกมาเป็นจำนวนมาก
  • ได้รับฮอร์โมนไทรอยด์มากเกิน จากยาหรือส่วนผสมในอาหารเสริมบางชนิด
  • การรับประทานยาบางชนิด
  • ภาวะแพ้ท้องรุนแรง หรือเนื้องอกรังไข่สร้างฮอร์โมนมากเกินไป
  • เนื้องอกต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนกระตุ้น แต่พบได้น้อยมาก

เมื่อร่างกายเกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการแสดง บางรายอาจแสดงอาการชัดเจนและเป็นรุนแรงมากจนถึงขั้นวิกฤต เนื่องจากฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของร่างกายหลายระบบพร้อมกัน โดยผู้ป่วยแต่ละรายแสดงอาการได้หลากหลาย ดังนี้

  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด : เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจถึงขั้นหัวใจล้มเหลว
  • ระบบประสาท : มือสั่น หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ขาดสมาธิ
  • ระบบผิวหนัง : เหงื่อออกมาก ผิวชื้น ผมร่วง ศีรษะล้าน ผิวหนังบริเวณหน้าแข้งหนาขึ้น นิ้วปุ้มหรือนิ้วตะบอง เล็บกร่อน
  • ระบบตา : ตาโตขึ้น เปลือกตาเปิดกว้าง หรืออาจตาโปน
  • ระบบทางเดินอาหาร : หิวบ่อย ถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว คลื่นไส้ อาเจียน
  • ระบบเผาผลาญ : น้ำหนักตัวลดแม้รับประทานอาหารในปริมาณปกติหรือรับประทานมากกว่าปกติ ตัวอุ่นขึ้น
  • ระบบสืบพันธุ์ : ประจำเดือนมาผิดปกติ กะปริบกะปรอย ประจำเดือนขาด มีบุตรยาก
  • ระบบกล้ามเนื้อ : อ่อนแรง มือสั่น
  • คอ : คอโต บางรายอาจมีก้อนที่บริเวณคอ

การรักษาไทรอยด์เป็นพิษ

สามารถรักษาได้ด้วยการให้ยายับยั้งการสร้างฮอร์โมนโดยการกลืนแร่รังสีหรือผ่าตัด อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาโรคไทรอยด์ขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรง และโรคประจำตัวของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

วิธีการดูแลตัวเองหากไทรอยด์เป็นพิษ

ผู้ป่วยควรพบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจติดตามอาการ และรับประทานยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเอง งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไอโอดีนสูง วางแผนการคุมกำเนิดอย่างจริงจังและไม่ควรตั้งครรภ์ขณะมีอาการ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดกับแม่และทารก หากมีอาการผิดปกติหรืออาการกำเริบต้องรีบพบแพทย์โดยเร็ว

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ
โทร.  0-2734 0000 ต่อ 1071 , 1072

  • Readers Rating
  • Rated 3.2 stars
    3.2 / 5(96 Reviewers)
  • Good

  • Your Rating

โทรหาเรา

(+66)8-522 38888

Please select your language

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก