มีคนให้เงิน ต้องเสียภาษีไหม

ภาษีการรับให้โดยเสน่หา

 “เสน่หา” แปลว่า “ความรัก” เพราะฉะนั้นการให้โดยเสน่หาคือการให้ด้วยความรักนั่นเอง และถ้าเป็นความรักส่วนใหญ่แล้ว เราก็จะไม่หวังผลตอบแทนจากการให้ใช่ไหม?

ทรัพย์สินโดยเสน่หา ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากเป็นการโดยเสน่หาเนื่องใน พิธี หรือ ตามโอกาสขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น งานศพ งานแต่ง งานวันเกิด งานวันขึ้นปีใหม่ งานวันครบรอบบริษัท เป็นต้น

อาจจะให้เป็น เงินสด เช็ค ที่ดิน บ้าน รถยนต์ หรือทรัพย์สินอื่นๆ ก็ได้

สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากการรับให้โดยเสน่หาที่เป็นสังหาริมทรัพย์ทุกประเภทที่สามารถคำนวณเป็นเงินนั้น กำหนดให้บุคคลธรรมดาที่ได้รับ “เงินได้” ดังต่อไปนี้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี

  • กรณีให้อสังหาริมทรัพย์
    • เงินได้ จากการอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หาจากบุพการี ผู้สืบสันดานหรือคู่สมรส*(ไม่รวมบุตรบุญธรรม)
    • อัตราร้อยละ 5 เฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านบาทต่อปี
  • กรณีให้สังหาริมทรัพย์
    • เงินได้ จากการอุปการะหรือจากการให้ โดยเสน่หาจากบุพการี ผู้สืบสันดานหรือคู่สมรส*
      • อัตราร้อยละ 5 เฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านบาทต่อปี
    • เงินได้ จากการให้ในพิธีหรือตามโอกาสขนบธรรมเนียมประเพณี จากคนอื่นที่ไม่ใช่ บุพการี ผู้สืบสันดานหรือคู่สมรส*
      • อัตราร้อยละ 5 เฉพาะส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทต่อปี

ทั้งกรณีอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ หากผู้ให้เจตนาเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนากิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์ =>ไม่ต้องเสียภาษี

การให้ทรัพย์สินโดยเสน่หา จะต้องมีมูลค่าไม่เกินสมควร และ ให้ในพิธีหรือตามโอกาสขนบธรรมเนียมประเพณี ผู้ที่ได้รับ จึงจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เรื่อง: พรี่หนอม TAXBugnoms


Hi-Light:

  • “ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี” หมายความว่า ถ้าตายไประหว่างปีไหน ปีนั้นก็จะกลายเป็นว่ายังต้องเสียภาษีอยู่ในชื่อของตัวเอง แต่เปลี่ยนฐานะใหม่เป็นผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี หรือพูดง่ายๆ ว่า ตายแล้วก็ต้องไปเสียภาษีอีกต่อหนึ่ง


หลายคนคงเคยได้วลียอดฮิตอย่าง ‘Nothing is certain except for death and taxes.’ ของ Benjamin Franklin ที่แปลว่า ‘ไม่มีอะไรที่แน่นอนเท่าความตาย และ การจ่ายภาษี’ วันนี้คอลัมน์ สปภ. สร้างเสริมประสบการณ์ภาษีของพรี่หนอมจะมาอธิบายวลีนี้กับความสัมพันธ์กับระบบภาษีไทยให้ทุกคนฟังครับ


เราลองสมมติสถานการณ์ง่ายๆ กันก่อนครับ เช่น ถ้านายบักหนอมเป็นมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่งที่มีรายได้เดือนละประมาณ 100,000 บาท เรียกว่าอยู่ในระดับตัวท็อปของวงการมนุษย์เงินเดือนเลยทีเดียว แถมยังมีรายได้จากการให้เช่าที่ดินอีกเดือนละ 50,000 บาทต่อเดือนจากทรัพย์สินทีได้รับจากคุณพ่อเป็นมรดกตกทอดมา


นายบักหนอมแต่งงานกับภรรยา มีลูกน้อยอยู่หนึ่งคน ทุกวันนี้ดูแลทั้งภรรยาและลูกเป็นอย่างดี โถว พ่อเทพบุตรในฝัน คนดีแบบนี้หาได้ยากจริงๆ (เหมือนชีวิตจริงพรี่หนอมเป๊ะเลยครับ)


แต่แล้วฟ้าก็เหมือนมากลั่นแกล้ง นายบักหนอมทำงานอยู่ดีๆ ทำโอที (Over Time) ดึกไปหน่อย มีเป็นอันต้องหัวใจวายล้มฟุบคาโต๊ะทำงานไป เจ้านายมาเจอตอนเช้าก็เห็นแต่ร่างไร้วิญญานของนายบักหนอมเสียแล้ว และออฟฟิศที่ว่านี้ก็จะไม่กล้ามีใครพูดประโยค “งานหนักไม่เคยฆ่าคนอีกต่อไป”


คำถามคือนายบักหนอมตายแล้วไปไหนคงไม่มีใครรู้ แต่ถ้ามาดูภาระภาษีในชีวิตของนายบักหนอมตามหลักของกฎหมายแล้วล่ะก็ เรียกได้ว่าน่าสนใจกันเลยล่ะครับ


ถ้าเราลองค้นหาคำว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใน Google จะพบว่าอันดับแรกของการค้นหาคือเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ซึ่งให้ความหมายของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

  1. บุคคลธรรมดา 
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล        
  3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  5. วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

"น้องปลายฟ้า" หนูน้อยผู้โชคดีจากการโหวตตั้งชื่อ "หลินปิง" คว้าเงินพร้อมรางวัลรถเก๋งมูลค่ากว่า 1.6 ล้านบาท กำลังเผชิญวิบากกรรมถูก "สรรพากร" ยื่นโนติสเรียกเก็บภาษีอีกกว่า 2.1 แสนบาท ยายโวยลั่นไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเสียภาษีถึง 2 ต่อ…


ถ้าใครได้อ่านพาดหัวข่าวแบบนี้ เชื่อเลยว่าหัวใจที่มีต้องรู้สึกเจ็บปวดอย่างแน่นอน เพราะดูเหมือนกรมสรรพากรจะไปรังแกเด็กซะอย่างนั้น ทำไมถึงใจร้ายใจดำมาเก็บภาษีเสียได้


แต่ถ้าเรามองให้ดีและแจกแจงเรื่องนี้ออกมาตามหลักการของกฎหมาย จะเห็นว่ามันมีความรู้มากมายซ่อนอยู่ และเราสามารถดูเป็นตัวอย่างการคิดได้แบบนี้เลยล่ะครับ


1. เงินรางวัลที่ได้ ต้องเสียภาษีไหม?

สิ่งแรกที่เราควรตั้งคำถาม คือ เงินรางวัลที่ได้มา เราต้องเสียภาษีแบบไหนอย่างไร ซึ่งเงินรางวัลแบบนี้ กฎหมายจะกำหนดไว้ตามนี้ คือ

  1. ตอนส่งมอบรางวัล ผู้จ่ายต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 5% นั่นคือ ถ้าเงินรางวัล 1.6 ล้านบาท ก็ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตรา 5% หรือ 80,000 บาท ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ในข้อ 9 ของ ทป.4/2528 นั่นเองครับ
  2. ตอนยื่นภาษีประจำปี ตัวผู้มีเงินได้ ต้องเอารายได้ส่วนนี้มายื่นภาษีเป็นรายได้ของตัวเอง โดยถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 ตามกฎหมาย และคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อไป


2. น้องปลายฟ้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีไหม?

เรามักแย้งในใจว่า น้องปลายฟ้ายังเด็กอยู่ แต่ในเรื่องของกฎหมายนั้นไม่มีคำว่า เด็ก หรือ ผู้ใหญ่ มีแต่คำว่า ‘ผู้มีเงินได้’ ดังนั้น ถ้าน้องปลายฟ้าเป็นผู้มีเงินได้ น้องปลายฟ้าก็ต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกัน
 

ดังนั้น น้องปลายฟ้าจะต้องนำเงินรางวัลจำนวน 1.6 ล้านบาท มายื่นภาษีให้ถูกต้องต่อไป ซึ่งวิธีการคำนวณภาษีนั้นก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย เพียงแค่คำนวณจาก 2 วิธีนี้ คือ

วิธีเงินได้สุทธิ = (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี ซึ่งถ้าไม่รู้อะไรเลย การคำนวณน่าจะออกมาเป็นแบบนี้ครับ คือ

  • รายได้ = 1,600,000 บาท
  • ค่าใช้จ่าย (กรณีนี้ต้องหักตามจริง แต่เงินรางวัลก็ไม่มีค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว) = 0
  • ค่าลดหย่อน (กรณีนี้มีค่าลดหย่อนส่วนตัวอย่างเดียว) = 60,000 บาท
  • เงินได้สุทธิที่ได้ คือ 1,540,000 บาท คิดเป็นภาษี 250,000 บาท

วิธีเงินได้พึงประเมิน = รายได้ x 0.5%

  • รายได้ = 1,600,000 บาท  x 0.5% = 8.000
  • เมื่อเปรียบเทียบทั้งสองวิธี จะเลือกวิธีที่คำนวณภาษีได้สูงกว่า ดังนั้นคือวิธีแรกที่คำนวณได้ทั้งหมด 250,000 บาท

เมื่อได้จำนวนภาษีแล้ว มาดูกันต่อจะเห็นว่ากรณีนี้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 80,000 บาท ทำให้ต้องเสียภาษีเพิ่มจำนวน 170,000 บาท


3. ทำไมกรมสรรพากรถึงเรียกภาษีเกินกว่าที่คำนวณได้ ตรงนี้ตอบด้วยเหตุผลง่าย คือ มีเรื่องของเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มตามกฎหมาย ที่คิดเพิ่มจากยอดภาษี

  • โดยเบี้ยปรับจะคิดในกรณีที่มีการหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งมีโทษสูงสุดคือ 2 เท่า
  • ส่วนเงินเพิ่มจะเป็นการคิดดอกเบี้ยจากทางกรมสรรพากรในอัตรา 1.5% ต่อเดือน โดยจำนวนเงินเพิ่มจะสูงสุดไม่เกินจำนวนภาษีที่คำนวณได้

จาก 3 คำถามเบื้องต้น จะทำให้เราตอบได้ว่า จากข่าวที่ว่ามา ถ้ามองกันดูแล้วจะเห็นว่าไม่ได้มีใครผิด เพียงแต่ทางน้องปลายฟ้า ได้รับรางวัลแล้วไม่รู้ว่าตัวเองต้องเสียภาษี ส่วนพี่สรรพากรก็ไม่ได้มาตรวจสอบทันที อาจจะเป็นเพราะระบบการตรวจสอบ หรือ กว่าจะเจอก็สาย ทำให้น้องปลายฟ้าต้องเสียเงินเพิ่มมากขึ้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก