ถ้าออกจาก bios พร้อมทั้งเก็บค่าติดตั้งไว้ต้องใช้รายการใด

วิธีเข้า BIOS และ UEFI บนคอมพิวเตอร์ และโน้ตบุ๊ค ยี่ห้อต่างๆ

คำว่า "ไบออส" หรือ "BIOS" ย่อมาจากคำว่า "Basic Input / Output System" จริงๆ แล้วมันคือ โปรแกรมที่อยู่ในเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ตรวจสอบการเชื่อมต่อของฮาร์ดแวร์ต่างๆ ภายในเครื่อง ทุกครั้งที่เราเปิดเครื่องไบออสจะทำงานก่อนเป็นอันดับแรก ที่เราสามารถบูตเข้าระบบปฏิบัติการได้ก็เพราะ BIOS นี่แหละที่เรียกข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ให้ทำงาน

บทความเกี่ยวกับ BIOS อื่นๆ

ข้อมูลเพิ่มเติม : BIOS กับ UEFI คืออะไร ? และ 2 ระบบนี้ แตกต่างกันอย่างไร ?

โดยปกติแล้ว คนส่วนใหญ่จะไม่เคยเข้าไปปรับแต่งอะไรใน BIOS หรอก และไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันเข้ายังไง แต่ถ้าคุณเป็นคนช่างสังเกตสักหน่อย จะพบว่าเวลาเปิดเครื่อง ก่อนจะเข้าหน้าโลโก้ของระบบปฏิบัติการ มันมักจะมีหน้าจอปรากฏขึ้นมาประมาณ 1-2 วินาที บอกให้เรากดปุ่มเพื่อเข้า BIOS ได้ ส่วนใหญ่ก็จะเป็น "ปุ่ม F2" มั่ง Delete มั่ง แล้วแต่ยี่ห้อ นั่นแหละครับ คือ การกดเพื่อทำการเข้า BIOS

เข้า BIOS ไปแล้ว สามารถทำอะไรได้บ้าง ?

เราสามารถเข้าไปปรับแต่งค่าฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ใน BIOS ได้ เช่น การแต่งปรับการทำงานของแรม, เปิด-ปิดหน่วยการทำงานของโปรเซสจำลอง (Virtual Thread) ของ CPU, ปรับแต่งขั้นตอนการบูตเครื่อง ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เราจะปรับค่าต่างๆ ใน BIOS ควรศึกษาให้ดีก่อนนะครับ เพราะมันอาจจะทำให้เกิดปัญหากับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หากว่าเราปรับมันมั่วๆ

รูปแบบของ BIOS

ถ้าเป็นคอมเครื่องเก่าๆ BIOS จะเป็นจอสีเทาๆ ฟ้าๆ หน้าตาดูโบราณๆ หน่อย ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะมันพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) โน่นเลย และทำงานบนสถาปัตยกรรมแบบ 16 บิต เท่านั้น

แต่ว่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) เป็นต้นมา BIOS ได้ถูกพัฒนาใหม่ เรียกกันว่า UEFI (Unified Extensible Firmware Interface) ซึ่งมีหน้าตาที่สวยงาม และมีข้อดีมากมาย ซึ่งนอกจากที่จะใช้งานง่ายแล้ว ยังสามารถรองรับฮาร์ดดิสก์ความจุสูงกว่า 2.1 TB แถมยังสามารถแบ่งพาร์ทิชันได้อย่างไม่จำกัดอีกด้วย

  

ด้านล่างภาพซ้าย คือ BIOS แบบเก่า ส่วนภาพขวา คือ UEFI ที่เป็นแบบใหม่ (คลิกที่ภาพเพื่อขยายใหญ่)

ขั้นตอนการเข้า BIOS

สำหรับผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 10

สำหรับผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 10 เชื่อว่าน่าจะใช้ UEFI กันอยู่แล้ว ซึ่งใน Windows 10 มีวิธีง่ายๆ ในการเข้า BIOS อยู่ด้วย

ให้เราไปที่เมนู Start → Settings (Windows + I) → Update & Security → Recovery ดูที่ใต้หัวข้อ Advanced startup คลิกไปที่ "ปุ่ม Restart Now"

***คอมพิวเตอร์ของเราจะทำการรีสตาร์ทนะ ดังนั้นก่อนกดบันทึกงานให้เรียบร้อยด้วย

เราจะพบกับหน้าจอ Boot Options ให้เราเลือกไปที่ Troubleshoot → Advanced options → UEFI Firmware Settings แล้ว คลิก "ปุ่ม Restart Now" จากนั้น คอมพิวเตอร์ของเราจะบูตเข้าสู่หน้าจอ UEFI BIOS ทันที

สำหรับผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 8 และ Windows 8.1

Windows 8

เปิด Charms Bar ด้วยการกด "ปุ่ม Windows+C" (บนคีย์บอร์ด) จากนั้นคลิกไปที่ "ปุ่ม Settings" แล้วเลือก Change PC settings ที่อยู่บริเวณขวาล่าง จากนั้นไปที่แท็บ General แล้วคลิก "ปุ่ม Restart Now" ที่อยู่ใต้ Advanced startup

Windows 8.1

ขั้นตอนจะแตกต่างนิดหน่อย โดยในเมนู PC Settings ให้เราไปที่แท็บ Update and Recovery → Recovery แล้วคลิก "ปุ่ม Restart Now" ที่อยู่ใต้ Advanced Startup

หรือจะใช้วิธีลัดด้วยการกด "ปุ่ม Shift" บนคีย์บอร์ดค้างไว้ แล้วค่อยคลิกที่ "ปุ่ม Restart"

คอมพิวเตอร์จะรีบูต เข้าสู่หน้าจอเลือกตัวเลือกในการบูต (Boot Options) ที่มีเมนู UEFI BIOS ให้เลือก ก็เหมือนกับ Windows 10 แหละ ให้เราไปที่ Troubleshoot → Advanced Options → UEFI Firmware Settings แล้ว คลิก Restart เพื่อบูตเข้า BIOS

การเข้า BIOS ในระบบปฏิบัติการรุ่นเก่า

หากเราใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 หรือเก่ากว่า เราก็จะต้องใช้วิธีดั้งเดิมในการเข้า BIOS นั่นก็คือ กดปุ่มให้ถูก ภายในช่วงเวลาที่ถูกต้อง (ส่วนใหญ่ก็จะใช้ใช้วิธีกดปุ่มรัวๆ ตั้งแต่เริ่มบูตเครื่อง) ทั้งนี้ วิธีดังกล่าวจะใช้เข้า BIOS บนระบบปฏิบัติการ Windows 8 หรือ Windows 10 ก็สามารถทำได้เช่นกัน


ภาพจาก : www.drivereasy.com/knowledge/how-to-enter-bios-on-windows-10-windows-7/

วิธีนี้ตาคุณต้องไว มองหาปุ่มที่มันบอกให้ทัน (ส่วนใหญ่ก็ไม่พ้น "ปุ่ม Delete", หรือ "ปุ่ม F2" ฯลฯ) แล้วรีบกดให้ทัน มันมีเวลาแค่ไม่กี่วินาทีเท่านั้น ก่อนที่ BIOS จะบูตเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ ถ้าหน้าจอขึ้นหน้ากำลังเริ่มต้นเข้าระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Starting Windows Screen) แล้วละก็ คุณพลาดจังหวะนั้นไปละ


ภาพจาก //www.lifewire.com/how-to-start-windows-7-in-safe-mode-2624540

ปุ่มลัดเข้า BIOS ของเมนบอร์ดแต่ละยี่ห้อ

  • Acer BIOS  
    • ส่วนใหญ่ใช้ "ปุ่ม F2" ไม่ก็ "ปุ่ม Delete"
    • แต่หากเป็นรุ่นเก่ามากๆ ให้ลองกด "ปุ่ม F1" หรือ "ปุ่มชุด Ctrl+Alt+Esc"
  • Asrock BIOS
    • ส่วนใหญ่ใช้ "ปุ่ม F2"
  • ASUS BIOS
    • ส่วนใหญ่ใช้ "ปุ่ม F2"
    • แต่บางรุ่นใช้ "ปุ่ม Delete" หรือไม่ก็ "ปุ่ม Insert"
    • หากยังไม่ได้ให้ลองใช้ "ปุ่ม F10"
  • Compaq BIOS
    • ส่วนใหญ่ใช้ "ปุ่ม F2"
    • แต่บางรุ่นใช้ "ปุ่ม Esc" หรือไม่ก็ "ปุ่ม F9"
  • Dell BIOS
    • หากเป็นเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ จะให้เรากด "ปุ่ม F2" ตอนที่เราเห็นโลโก้ Dell บนจอ
    • หากไม่ได้ให้ลอง F1, Delete, F3 และ F12
    • หากเป็นรุ่นเก่ามากๆ ให้ลองกด "ปุ่มชุด Ctrl+Alt+Enter" หรือ "ปุ่ม Delete" หรือ "ปุ่มชุด Fn+Esc" หรือ "ปุ่ม Fn+F1"
  • Fujitsu BIOS
    • ส่วนใหญ่ใช้ "ปุ่ม F2"
    • แต่บางรุ่นใช้ "ปุ่ม F12"
  • GALAX BIOS
    • ส่วนใหญ่ใช้ "ปุ่ม Delete"
  • GIGABYTE BIOS
    • ส่วนใหญ่ใช้ "ปุ่ม Delete"
  • HP BIOS
    • ส่วนใหญ่ใช้ "ปุ่ม F10" และ "ปุ่ม Esc"
    • แต่บางรุ่นใช้ "ปุ่ม F1", "ปุ่ม F2", "ปุ่ม F6" หรือ "ปุ่ม F11"
    • หากเป็นบนแท็บเล็ตพีซี ให้กด "ปุ่ม F10" หรือไม่ก็ "ปุ่ม F12"
  • Lenovo BIOS
    • ส่วนใหญ่ใช้ "ปุ่ม F1" หรือ "ปุ่ม F2"
    • หากเป็นรุ่นเก่าๆ มักจะกด
      • "ปุ่มชุด Ctrl+Alt+F3" หรือ
      • "ปุ่มชุด Ctrl+Alt+Insert" หรือ
      • "ปุ่มชุด Fn+F1"
  • MSI BIOS
    • ส่วนใหญ่ใช้ "ปุ่ม Delete"
    • แต่บางรุ่นใช้ "ปุ่ม F2"
  • NEC BIOS
    • ส่วนใหญ่ใช้ "ปุ่ม F2"
    • แต่บางรุ่นใช้ "ปุ่ม F5"
  • SHARP BIOS
    • ส่วนใหญ่ใช้ "ปุ่ม F2"
  • Sony BIOS
    • ส่วนใหญ่ใช้ "ปุ่ม F2" หรือ "ปุ่ม F3"
    • แต่ถ้าไม่ได้ให้ลอง "ปุ่ม F1"
    • หากบนเครื่องมี "ปุ่ม ASSIST" อยู่ ให้กดค้างไว้ตอนที่เปิดเครื่อง (เฉพาะ Windows 8)
  • Toshiba BIOS
    • แนะนำให้เสี่ยงดวงด้วย "ปุ่ม F2", "ปุ่ม F1" หรือ "ปุ่ม Esc"
    • หากใช้ Toshiba Equium ให้กด "ปุ่ม F12"

ที่มา : www.makeuseof.com , lifehacker.com , geekprank.com , www.logicsupply.com , www.lifewire.com , www.drivereasy.com

เขียนโดย

    Thaiware

แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก