วิธี รับมือกับผู้ป่วยทางจิต

อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงจากสภาวะที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วยติดเตียง เป็นหนึ่งในสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย และสิ่งที่ผู้ป่วยติดเตียงต้องการจากผู้ดูแลและคนรอบข้างคือความเข้าใจถึงสภาวะที่เปลี่ยนแปลงนี้ และเพื่อให้เข้าใจสภาพอารมณ์ของผู้ป่วยติดเตียงเราจึงจำเป็นต้องเริ่มเข้าใจก่อนว่า คำว่า ผู้ป่วยติดเตียง ในทางการแพทย์ หมายถึง ผู้ป่วยที่ร่างกายเสื่อมโทรมจนต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา ซึ่งอาจขยับตัวได้บ้างแต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในเรื่องอื่นๆ ได้เลย โดยสาเหตุของการเป็นผู้ป่วยติดเตียงนั้นอาจมีได้มากมายไม่ว่าจะเป็นการประสบอุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ ไปจนถึงโรคประจำตัว  ในการดูแลด้านจิตใจของผู้สูงอายุติดเตียงนั้นมีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก เนื่องจากโดยปกติผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นคนที่คิดมาก และมีความรู้สึกอ่อนไหวอย่างมาก ยิ่งผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องนอนติดเตียง ยิ่งมีความรู้สึกกังวลในหลายเรื่อง ทั้งจากโรคที่เจ็บป่วย รู้สึกเป็นภาระในการดูแล กลัวถูกทอดทิ้งและกลัวความตายในวาระสุดท้ายของชีวิต การดูแลผู้สูงอายุที่นอนติดเตียงจึงจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยความรู้และความเข้าใจ การรับมืออารมณ์ผู้ป่วยติดเตียงจึงมีความสำคัญในการดูแลเป็นอย่างยิ่ง

การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของผู้สูงอายุ มักจะมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อันก่อให้เกิดความเครียด เมื่อมีวัยสูงขึ้น พฤติกรรมของผู้สูงอายุจะเปลี่ยนแปลงไป เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้หลงลืม สับสนได้ง่าย ในวัยนี้จะต้องพบกับการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ในช่วงชีวิต คือ การขาดคู่ชีวิต ซึ่งเป็นผลทำให้ภาวะจิตใจของผู้สูงอายุได้รับการกระทบกระเทือน การอยู่โดยขาดคู่คิดจะทำให้จิตใจหดหู่ และเพื่อนฝูงวัยเดียวกันก็มักจะล้มหายตายจากไป ที่เหลือก็ขาดการติดต่อ เนื่องจากสุขภาพไม่อำนวย จึงต้องอยู่แบบเหงา ๆ ซึ่งภาระแบบนี้ผู้สูงอายุจะท้อแท้ มักมีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธง่าย สิ้นหวัง และอาจจะเป็นเหตุให้การทำงานของระบบต่าง ๆ อ่อนล้าลงอีกได้

เหตุผลดังกล่าวจึงพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยและอารมณ์ออกมาคล้ายคลึงกัน ได้แก่
1. สนใจตัวเองมากเป็นพิเศษ
2. แสนงอน ใจน้อย มีทิฐิ มีความรู้สึกไวต่อคำพูดและเหตุการณ์ต่าง ๆ แต่แสดงออกโดยการไม่พูด เงียบเฉย
3. สนใจกับบุคคลในทางที่จะต้องเอาใจตัวเอง
4. รำลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตและชอบเปรียบเทียบกับตัวเองเสมอ
5. มีความวิตกกังวล ทุกข์ร้อน ห่วงใยบุตรหลานและครอบครัวตนเองเป็นอย่างมาก
6. กลัวถูกทอดทิ้ง ว้าเหว่

สภาวะจิตใจของผู้ป่วยติดเตียงก็เช่นกัน  เมื่อสภาวะร่างกายเริ่มไม่ดี มีอาการป่วยต่างๆแทรกซ้อนขึ้นมา จึงทำให้อารมณ์ของผู้ป่วยติดเตียงแย่ลงไปด้วย อาการที่พบได้แก่

  • ซึมเศร้า บางทีผู้ป่วยไม่ได้แสดงอารมณ์ที่เป็นซึมเศร้าโดยตรง แต่จะออกมาในเชิงอารมณ์หงุดหงิด ต่อว่าคนรอบข้าง หรือแสดงความน้อยใจ เช่น พูดจาประชดประชัน พูดเสียดสี หรือขว้างของ เป็นการแสดงออกทางอารมณ์รูปแบบอื่นที่ไม่จำเป็นต้องเศร้าซึม ร้องไห้ เสมอไป
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย เพราะฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงหรือที่เรารู้จักกัน คือ วัยทอง
  • ดื้อ เราต้องเข้าใจก่อนว่าคนในวัยนี้ผ่านอะไรมาค่อนข้างเยอะ จึงมีความคิดเป็นของตัวเองค่อนข้างสูง
  • ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแบบเดิมๆ ไม่ค่อยคำนึงถึงสุขภาพตัวเอง

เมื่อผู้ดูแลเข้าใจอารมณ์/ความต้องการของผู้ป่วยติดเตียงแล้ว  ผู้ดูแลจะคลายความวิตกกังวล ไม่เครียดคะ ผู้เขียนขอแนะนำวิธีรับมือกับอารมณ์ผู้ป่วยติดเตียงแก่ผู้ดูแล  แบบดูแลด้วยหัวใจ คือ

  • ควรเป็นผู้ฟังที่ดี ชื่นชมในสิ่งที่ท่านเล่าให้ฟัง
  • ใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล อ่อนโยน  ยิ้มรับในทุกเรื่องและทุกครั้ง
  • สร้างอารมณ์ขันแก่ผู้ป่วยติดเตียง   การหัวเราะจะช่วยสร้างสุขภาพจิตที่ดี
  • ปรับวิธีคิดไม่ควรยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง หรือเอาความคิดของตัวเองเป็นใหญ่หรือถูกต้องเสมอ พร้อมให้ข้อคิดเช่น “เอาใจเขามาใส่ใจเรา”
  • หมั่นทำกิจกรรมร่วมกัน ดูรายการทีวีที่สนุกๆร่วมกัน กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้ท่านรู้สึกเพลิดเพลินและช่วยให้ท่านไม่หมกมุ่นกับความคิดเดิมๆ
  • เมื่อท่านหงุดหงิด ไม่ต้องตอบโต้ด้วยความรุนแรง พยายามเบี่ยงเบนไปสนใจเรื่องอื่นแทน
  • หาอาหารของโปรดให้ท่านทาน  ให้ความสำคัญกับรายการอาหารโปรดของท่าน แต่ก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละท่านด้วย
  • อาจใช้ธรรมะในการดูแลด้านจิตใจได้แก่ฟังวิทยุธรรมะฟังเทปธรรม แต่ถ้าท่านไม่ชอบอาจเปลี่ยนเป็นอ่านหนังสือที่ท่านชื่นชอบ
  • ควรแสดงความรักต่อกันในครอบครัวให้ท่านเห็น เช่น การกอด การหอมแก้ม และผู้ดูแลควรสัมผัสท่านด้วยความรัก มีการโอบกอดบ้างและบอกรักแก่ท่านเป็นประจำ
  • การปรึกษาจิตแพทย์เป็นเรื่องที่ดี  ควรทำให้เป็นเรื่องปกติ จะช่วยลดความกังวลของผู้ป่วยติดเตียงและผู้ดูแลด้วย

ผู้เขียนขอกล่าวโดยสรุป ผู้ดูแลควรตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจของผู้ป่วยติดเตียง โดยเอาใจใส่ พูดคุยอย่างสม่ำเสมอ ให้ความรัก แสดงความเห็นอกเห็นใจและการให้อภัยกัน การแสดงออกถึงความเข้าใจ และเอื้ออาทรแก่ผู้สูงอายุ รวมทั้งการให้ความเคารพ การยกย่อง ยอมรับนับถือแก่ผู้สูงอายุ ฟังผู้สูงอายุเล่าประสบการณ์ชีวิต ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องยอมรับเลยว่าเป็นงานที่หนัก หากทุกท่านเข้าใจในสิ่งที่ผู้ป่วยเป็น ปัญหาของโรคที่ผู้ป่วยติดเตียงเป็นอยู่ ผู้ดูแลก็จะรู้สึกปล่อยวางได้มากขึ้น และนอกจากการพาผู้ป่วยติดเตียงพบจิตแพทย์แล้ว  ผู้ดูแลก็ควรพบแพทย์เช่นเดียวกัน ควรแจ้งแพทย์ เรื่องภาวะความกังวล ไม่ว่าจะเป็นภาวะความกังวลเรื่องแผลกดทับ ความกังวลเรื่องอาการอาการของผู้ป่วย หรือแม้แต่ความกังวลเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของผู้ดูแลเอง ภาวะโรคซึมเศร้าหรือภาวะอื่นๆที่พบของผู้ป่วยติดเตียง เพราะแพทย์จะได้ดูแลทั้งตัวผู้ป่วยติดเตียงและญาติที่เป็นผู้ดูแล สิ่งที่สำคัญมากที่สุดก็คือสภาพแวดล้อมภายในบ้านต้องอบอุ่นด้วยบรรยากาศแห่งความรัก ความเอาใจใส่ ลูกหลานต้องมีความเอื้ออาทรและเป็นหลักในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง เมื่อผู้ดูแลเข้าใจผู้ป่วยติดเตียงเป็นอย่างดี  การรับมือกับอารมณ์ของผู้ป่วยติดเตียงเป็นเรื่องง่ายเลยทีเดียว

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก