1 ภาคเรียน” มีกี่สัปดาห์ สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

                แนวปฏิบัติในการจัดหลักสูตรของโรงเรียนตังเอ็งกำหนดโครงสร้างหลักสูตรขั้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

ระดับการศึกษา

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดระดับการศึกษาเป็น 2 ระดับ ดังนี้

                1. ระดับประถมศึกษา  (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6)   การศึกษาระดับนี้เป็นช่วงแรกของการศึกษาภาคบังคับมุ่งเน้นทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ทักษะการคิดพื้นฐาน  การติดต่อสื่อสาร  กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม โดยเน้น จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ         

2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัดและความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน มีทักษะในการคิดวิจารณญาณ  คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา มีทักษะในการดำเนินชีวิต มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความดีงาม และมีความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือการศึกษาต่อ    

การจัดเวลาเรียน

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งโรงเรียนได้จัดเพิ่มเติมตามความพร้อมและจุดเน้น  โดยปรับให้เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษาและสภาพของผู้เรียน ดังนี้

                1. ระดับชั้นประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6)  จัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนวันละ ไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง

                2. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค มีเวลาเรียนวันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง คิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชา เท่ากับ 1 หน่วยกิต (นก.)

การกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และเพิ่มเติม โรงเรียนได้ดำเนินการ ดังนี้

ระดับประถมศึกษา  ปรับเวลาเรียนพื้นฐานของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามความเหมาะสม  มีเวลาเรียนรวมตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด  

ระดับมัธยมศึกษา  จัดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานเป็นไปตามที่กำหนดและสอดคล้องกับเกณฑ์การจบหลักสูตร

สำหรับเวลาเรียนเพิ่มเติม ทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมภาษาจีนโดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกับความพร้อม จุดเน้นของสถานศึกษาและเกณฑ์การจบหลักสูตร 

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่กำหนดไว้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีละ 120 ชั่วโมง เป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรมแนะแนวกิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์  ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์  สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้

                 ระดับประถมศึกษา (ป.1-6)                      รวม  6  ปี       จำนวน  60  ชั่วโมง

                 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3)              รวม  3  ปี      จำนวน  45  ชั่วโมง

ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 77.21 KB

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

ทำไมต้องสอน 200 วันต่อปี สะท้อนนโยบายกับการปฏิบัติ ที่แตกต่าง การสื่อสารที่ล้มเหลวระหว่า ศธ. กับ โรงเรียน การสั่งการที่เน้นการใช้ดุลพินิจของผู้ปฏิบัติที่ไม่เคยใช้ดุลพินิจ แต่ถนัดปฏิบัติอย่างเดียว ดีครับผม เหมาะสมครับนาย....บทวิเคราะห์โดย ชัยวัฒน์ ปานนิล

     กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดแนวทางการเปิด-ปิดภาคเรียน และการสอนชดเชยปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียน และกำชับให้โรงเรียนจัดการเรียนการสอนให้ครบ 200 วัน ตามหลักสูตร แม้เหตุการณ์จะไม่ปกติ สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ในการบริหารงานในระดับนโยบาย ที่ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ยังคงยึดมั่นในหลักการแม้สถานการณ์จะเปลี่ยนไป

อ่านข่าว: ศธ.ย้ำ 'เปิด-ปิด'ภาคเรียน ยึดตามกรอบเวลาเดิม เล็งนำผลการเรียนกลางเทอมมาใช้เลื่อนชั้นหรือจบการศึกษา

     ตามโครงสร้างเวลาเรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 กำหนดให้การจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย มีเวลาเรียนแตกต่างกันไปและเวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์หรือแต่ละวัน ไม่เท่ากัน ในระดับชั้นประถมศึกษา ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี วันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง เมื่อหารเฉลี่ยแล้วต้องใช้เวลาเรียน จำนวน 200 วัน จึงจะครบตามที่หลักสูตรกำหนด ในกรณีที่จัดการเรียนการสอนตามปกติ

     ในสถานการณ์ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) กระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้กำหนดแนวทางการเปิด-ปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2563 ไว้ดังนี้ ภาคเรียนที่ 1/2563 เรียนตั้งแต่ 1 ก.ค.-13 พ.ย.2563 จำนวนวันเรียน 93 วัน ปิดภาคเรียน 14-30 พ.ย.63 รวม 17 วัน ภาคเรียนที่ 2/2563 เรียนตั้งแต่ 1 ธ.ค.63-9 เม.ย.64 จำนวนวันเรียน 88 วัน ปิดภาคเรียน 10 เม.ย.-16 พ.ค.64 รวม 37 วัน     

     เท่ากับว่า ปีการศึกษา 2563 นักเรียนจะมีเวลาเรียนรวมทั้งสิ้น 181 วัน ซึ่งโครงสร้างเวลาเรียนระดับชั้นประถม-มัธยมต้น-มัธยมปลาย กำหนดไว้ 200 วัน/ปี ดังนั้นส่วนเวลาที่ขาดหายไป 19 วัน โรงเรียนจึงต้องสอนชดเชยเพื่อให้นักเรียนเรียนครบตามหลักสูตร โดยภาคเรียนที่ 1 สอนชดเชย 7 วัน และภาคเรียนที่ 2 สอนชดเชย 12 วัน    

     หลังจากนั้น ในวันที่ 18 ธันวาคม 2563 ได้มีการระบาดของเชื้อ โควิด-19 รอบใหม่ ทำให้โรงเรียนต้องประกาศปิดเรียนอีกครั้ง แต่ว่าเป็นการปิดเรียนที่มากน้อยแตกต่างกันตามสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ เพราะรัฐบาลไม่ได้ประกาศล็อกดาวน์ ทำให้เวลาเรียนส่วนหนึ่งหายไป และแต่ละโรงเรียนแต่ละพื้นที่ จำนวนวันไม่เท่ากัน

     จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า จำเป็นหรือไม่ที่ต้องจัดการเรียนการสอนให้ครบ 200 วัน ในปีการศึกษา 2563 ด้วยข้อจำกัดว่า ในระดับประถมศึกษาต้องสอนไม่เกิน 5 ชั่วโมงใน 1 วัน หรือจะมีการปรับเปลี่ยนในวิชาที่ไม่สำคัญให้สอนน้อยลง เพิ่มเวลาเรียนให้กับวิชาอื่นๆ ที่จำเป็นมากกว่า หรือเพิ่มเวลาเรียนในแต่ละวันให้มากขึ้น เพื่อให้จำนวนวันในการจัดการเรียนการสอนครบถ้วนตามที่หลักสูตรกำหนด

     เป็นการเน้นผลการปฏิบัติในเชิงปริมาณมากกว่าที่จะเน้นคุณภาพ ต้องเข้าใจนโยบายที่ผ่อนปรนของกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องของการเลื่อนชั้นอัตโนมัติ แต่เมื่อนโยบายดังกล่าวเดินทางไปถึงระดับโรงเรียน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติจะเป็นอย่างไร

     หลายนโยบายที่ล้มเหลว เมื่อถึงระดับปฏิบัติ เพราะวิธีการสั่งการที่ไม่ชัดเจน เน้นการใช้ดุลพินิจของผู้ปฏิบัติ ยกตัวอย่างเช่น การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต (O-NET) ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กำหนดให้เป็นสิทธิ์ส่วนตัวของนักเรียนที่จะสอบหรือไม่สอบก็ได้ เชื่อขนมกินได้เลยว่า พอถึงวันสอบนักเรียนได้สอบครบทุกคน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก