พร บ ดิจิทัล 2562 มี กี่ มาตรา

พิมพ์โดย: Open Development Thailand

“รัฐบาลดิจิทัล” หมายความว่า การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงาน ภาครัฐและการบริการสาธารณะ โดยปรับปรุงการบริหารจัดการและบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทำงาน ให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน ในการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐต่อสาธารณชน และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

ทรัพยากรข้อมูล (2)

  • บริการภาครัฐ
  • กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
  • การบริการกฎหมายด้านรัฐประศาสนศาสตร์
  • นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการบริหารจัดการ

ตัวอย่างทรัพยากรข้อมูล - พระราชบัญญัติ การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562

ข้อมูลเพิ่มเติม

ฟิลด์ค่าพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (ช่วงข้อมูล)หน่วยงาน/ส่วนงานออกกฎหมายภาษาประเภทเอกสารที่เป็นทางการชื่อเรื่องแบบย่อหัวข้อเรื่องใบอนุญาตลิขสิทธิ์ข้อจำกัดการใช้งานและเข้าถึงสถานะวันที่บันทึก (ร่าง)วันที่นำไปใช้/วันที่ประกาศใช้/วันที่ลงนามวันที่มีผลบังคับใช้อ้างอิงสิ่งพิมพ์เชื่อมโยงไปยังแหล่งที่มาติดต่อคำสำคัญวันที่อัพโหลดแก้ไขเมื่อ
  • ไทย
  • สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • ภาษาอังกฤษ
  • ไทย
พระราชบัญญัติ
พรบ. รัฐบาลดิจิทัล
  • บริการภาครัฐ
  • กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
  • การบริการกฎหมายด้านรัฐประศาสนศาสตร์
  • นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการบริหารจัดการ
Other (Public Domain)
No

This law is under the public domain.

ลงนามและมีผลบังคับใช้
19 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
19 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
19 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
ราชกิจจานุเบกษา หน้า 57 เล่ม 136 ตอนที่ 67 ก 22 พฤษภาคม 2562 Published in the Government Gazette, Vol. 136, Part 67 a, Page 57, dated 22nd May B.E. 2562 (2019)
//www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/067/T_0057.PDF (Translation version) //www.dga.or.th/wp-content/uploads/2021/02/6.pdf

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

Digital Government,Digitality,Digitization,Public Administration and Services Delivery
เมษายน 10, 2020, 05:03 (UTC)
กันยายน 9, 2021, 09:23 (UTC)

ตัวชี้วัดการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล > การประเมินตัวชี้วัดของส่วนราชการระดับจังหวัด > เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง > พ.ร.บ.การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562

พ.ร.บ.การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562

10 มกราคม 2563    

พ.ร.บ.การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562


เอกสารประกอบ

 

1. เกิดการบูรณาการร่วมกันและลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของรัฐจะมีการทำงานที่บูรณาการกันมากขึ้น เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ต้องเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐและการทำงานให้มีความสอดคล้องกัน รวมทั้งมีแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบดิจิทัล [อ้างอิง มาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 12 และมาตรา 13]

2. ลดขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการเนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเกิดความสะดวกและลดภาระในการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน เนื่องจากมีการนำระบบดิจิทัลมาที่เหมาะสมมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานและการให้บริการประชาชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรวมทั้งเกิดการทำงานอย่างเต็มศักยภาพ ตลอดจนสามารถเรียกใช้ข้อมูลภาครัฐที่ถูกจัดเก็บอยู่ในรูปแบบดิจิทัลมาใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ [อ้างอิง มาตรา 4 มาตรา 12 มาตรา 13 และมาตรา 15]

3. มีธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐเป็นกรอบในการบริหารจัดการข้อมูล หน่วยงานของรัฐมีระบบบริหารจัดการข้อมูลของภาครัฐและข้อมูลของประชาชนที่อยู่ในการควบคุมหรือครอบครองของหน่วยงานของรัฐให้มีความมั่นคงปลอดภัย เนื่องจากมีธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐเป็นกรอบในการกำกับดูแลและการบริหารจัดการ รวมทั้งกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบในการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ [อ้างอิง มาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 12]

4. ภาครัฐโปร่งใส และประชาชนมีส่วนร่วม หน่วยงานของรัฐมีระบบการทำงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ เนื่องจากกฎหมายนี้กำหนดให้ต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการหรือข้อมูลเปิดภาครัฐผ่านรูปแบบหรือช่องทางดิจิทัล ขณะเดียวกันประชาชนสามารถใช้ข้อมูลเปิดภาครัฐในการมีส่วนร่วม ติดตาม และตรวจสอบการทำงานของภาครัฐได้ด้วย [อ้างอิง มาตรา 17 และมาตรา 18]

5. ลดภาระค่าใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ กฎหมายฉบับนี้มีวัถตุประสงค์สำคัญประการหนึ่ง โดยกำหนดให้การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล จะต้องเป็นไปเพื่อรักษาวินัยการเงินการคลังและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ ให้เกิดความคุ้มค่าและเป็นไปตามเป้าหมาย โดยมีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินความคุ้มค่าของการดำเนินการ รวมทั้งต้องพัฒนาให้มีกลไกการใช้ข้อมูลเพื่อลดความซ้ำซ้อนและเกิดความสอดคล้องกับแผนงานและโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐด้วย [อ้างอิง มาตรา 4 (5)]

6. เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับการพัฒนาหรือยกระดับทักษะด้านดิจิทัล กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมีหน้าที่และอำนาจที่สำคัญประการหนึ่งในการกำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล ขณะเดียวกันยังกำหนดให้ สพร. มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนทางวิชาการเพื่อยกระดับทักษะความรู้ความสามารถด้านดิจิทัลให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ นอกจากนี้ยังกำหนดให้หน่วยงานของรัฐต่าง ๆ มีหน้าที่ต้องส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลแก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานอีกด้วย [อ้างอิง มาตรา 7 (4) มาตรา 10 (6) และมาตรา 12 (6)]

7. สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนผู้รับบริการจากภาครัฐ เมื่อการดำเนินการต่าง ๆ บรรลุเจตนารมณ์ตามกฎหมายฉบับนี้ ตลอดจนสามารถพัฒนาหน่วยงานของรัฐให้ยกระดับสู่การเป็น “รัฐบาลดิจิทัล” ประโยชน์สุดท้ายย่อมเกิดแก่ประชาชน กล่าวคือเมื่อได้รับความสะดวก รวดเร็ว ไม่สร้างภาระเกินจำเป็นจากบริการภาครัฐ ประชาชนย่อมเกิดความพึงพอใจ และเกิดความรู้สึกที่ดีต่อกันระหว่างภาครัฐในฐานะผู้ให้บริการและประชาชนในฐานะผู้รับบริการ [อ้างอิง วัตถุประสงค์ของกฎหมายในมาตรา 4] 

-------------------------------------------------

อ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 (Government digital 2019)

-------------------------------------------------

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก