สมมติเทพมีความเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยาอย่างไร

พระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา

เมื่อสิ้นกรุงสุโขทัย พระเจ้าอู่ทองได้สร้างกรุงศรีอยุธยา ศาสนาพราหมณ์เข้ามามีบทบาทอย่างมากโดยอิทธิพลของขอมและละโว้ ซึ่งถือว่ากษัตริย์คือพระผู้เป็นเจ้าอวตารมาเกิด พระเจ้าอู่ทองก็กลายเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ รูปแบบของสถาบันพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาแตกต่างจากสมัยสุโขทัยอย่างมากระบอบการปกครองของอยุธยาเป็นระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์มีอำนาจเป็นล้นพ้น

สังคมในสมัยอยุธยาขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์โดยตรง ซึ่งต่างกับสมัยสุโขทัยที่พระมหากษัตริย์ทรงปกครองราษฎรเยี่ยงบิดาปกครองบุตร แต่ในสมัยอยุธยาเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้ากับข้าโดยแท้ ตำแหน่งพระมหากษัตริย์เป็นตำแหน่งที่ช่วงชิงกันด้วยอำนาจทางทหาร แนวความคิดเกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวราชและทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะที่ทรงเป็นสมมติเทพ กฎเกณฑ์ตลอดจนขนบประเพณีต่างๆ ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อรักษาฐานะเทวราชของพระมหากษัตริย์ ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอาจเป็นล้นพ้น

ดูเพิ่ม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • พระมหากษัตริย์

งานวิจัยเล่มนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาแนวคิดเทวราชาในวรรณคดีไทยสมัยอยุธยา ที่ปรากฏในหนังสือวรรณคดีไทยสมัยอยุธยา จำนวน 35 เรื่อง

ผลการศึกษาพบว่าพระมหากษัตริย์ในวรรณคดีไทยสมัยอยุธยามีคุณสมบัติสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ด้านสถานภาพของพระมหากษัตริย์ และด้านราชธรรม สามารถสรุปได้ดังนี้ ด้านสถานภาพของพระมหากษัตริย์พระองค์ในฐานะเทวราชาได้รับการยกย่องว่าเป็น สมมติเทพ พระมหากษัตริย์อยู่ในภาวะที่เหนือกว่าบุคคลธรรมดา 5 ประการ คือ การตั้งพระนามจากเทพเจ้า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทพเจ้า พระชาติกำเนิดจากเทพเจ้า การสืบเชื้อสายจากเทพเจ้า และพระบุญญาบารมีดุจเทพเจ้า ซึ่งแสดงถึงสถานภาพและภูมิหลังที่สูงส่งมากกว่ามนุษย์ธรรมดา

ในด้านราชธรรมนั้น ราชธรรมของพระมหากษัตริย์ในฐานะเทวราชามี 4 ประการคือ การขยายดินแดนและป้องกันราชอาณาจักรโดยการทำสงคราม การมีกองทัพที่ยิ่งใหญ่ การปกครองโดยใช้พระราชอำนาจ และการประกอบพิธีกรรม พระมหากษัตริย์ทรงนำกองทัพที่ยิ่งใหญ่ออกรบต่อสู้กับข้าศึกศัตรูเพื่อขยายและป้องกันราชอาณาจักรทรงมีความชอบธรรมในการใช้อำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองบ้านเมือง และการที่พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดและอยู่เหนือคนธรรมดา จึงต้องมีกฎเกณฑ์มีพิธีกรรมต่างๆมาประกอบซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้แสดงแสดงถึงคุณลักษณะของ เทวราชาได้เป็นอย่างดี

King of Deities from Thai Literature in the Ayutthaya Period

This research aims at studying the concept of the king as deities in 35 Thai literary works in the Ayutthaya period.

The results show that the kings in Ayutthaya Thai literature possess two characteristics: the king’s status and the royal righteousness.

For the king’s status, the kings are honored as the deities. They are higher than other ordinary people in five concepts: giving names from deities, king as deities, being born from deities, being descended from deities, and being meritorious as deities, showing that their status and background are higher than the general ordinary people.

For the kings’ righteousness, it is divided into four areas: expanding territory and preventing the kingdom by war, having the great troops, ruling by royal authority, and making rituals. The kings fight against enemies to expand and protect the kingdom, and rule the country with their righteousness and royal authority. The kings have supreme royal authority, and are higher than the general ordinary people. Consequently, there must be rules and various rituals to perform. This reveals the characteristic of divine kings well.

สถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา

        อาณาจักรอยุธยาปกครองด้วยระบอบราชธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตลอดสมัยของอาณาจักรสุโขทัยมีกษัตริย์ปกครองรวม 33 พระองค์ลักษณะการใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์คือต้องการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่สถานบันพระมหากษัตริย์ จึงได้นำลัทธิสมมติเทพ ซึ่งเป็นหลักศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาเสริมสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความศักดิ์สิทธิและมั่งคง และมีพระราชอำนาจส่งขึ้น

        ในระยะแรกก่อตั้งอาณาจักร สถาบันพระมหากษัตริย์ของอยุธยาผูกพันกับคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาตามแบบที่เคยเป็นมา โดยเรียกผู้ปกครองว่ามหาสมมติราช หมายถึงผู้ได้รับมอบหมายจากคนทั้งปวงให้เป็นผู้ปกครองสังคม นอกจากนี้ยังเป็น พระจักรพรรดิราช หรือพระราชาผู้ยิ่งใหญ่เปรียบเสมือนเทพเจ้า เป็นองค์สมมติเทพ จึงต้องมีระเบียบประเพณีและพิธีการ ต่างๆ โดยมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีถวาย คำสั่งพระมหากษัตริย์เรียกว่าโองการ มีภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์เรียกว่า ราชาศัพท์ ที่อยู่ของพระมหากษัตริย์เรียกว่าพระราชวัง ผู้ใดที่ละเมิดจะถูกลงโทษ


        

ที่มา://chayaphon410.blogspot.com/p/blog-page.html

        การปกครองและการบริหารของสมัยอยุธยาจะแบ่งออกเป็นสามระยะคือ สมัยอยุธยาตอนต้น สมัยอยุธยากลาง และสมัยอยุธยาตอนปลาย

คติสมมติเทพมีความเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยอย่างไร

"สมมติเทพ" หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทพลงมาจุติเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อประกอบคุณความดีและสะสมบารมี เมื่อเสด็จสวรรคตก็กลับขึ้นสรวงสวรรค์

พระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยาเป็นอย่างไร

ลักษณะสำคัญของการปกครองสมัยอยุธยา ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าชีวิต คือ ทรงมีอำนาจสูงสุดเหนือชีวิตของทุกคนที่อยู่ภายใต้การปกครอง คำสั่งของพระมหากษัตริย์มีความศักดิ์สิทธิ์ถือเป็นกฎหมายที่ประชาชนต้องปฏิบัติตาม พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะพระเจ้าแผ่นดิน พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะธรรมราชา

ฐานะของพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยอยุธยาเปรียบเทียบได้กับสิ่งใด

1. พระมหากษัตริย์ พระราชฐานะและอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในสมัยอยุธยา ทรงมีฐานะเป็นสมมติเทพ (ไทยได้รับแนวความคิดนี้ มาจากคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ทรงเป็นประมุขของประเทศ มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง ทรงมีพระราชอำนาจในฐานะเป็นเจ้าชีวิตและเจ้าแผ่นดิน

พระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยาทรงอยู่ในฐานะอะไร

กรุงศรีอยุธยาปกครองรูปแบบที่มีกษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ที่มีอำนาจสูงสุดในการปกครองแผ่นดินพระองค์ทรงมอบหมายให้พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางปกครองดูแลเมืองลูกหลวงหลานหลวง และเมืองหน้าด่านต่างพระเนตรพระกรรณ ส่วนเมืองประเทศราชมีเจ้านายในราชวงศ์เก่าปกครอง ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยาเมืองราชธานี

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก